คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เพื่อทำเหมืองแร่ ท้องที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติให้บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ใช้พื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ 1 เอเอ็ม และ 1 บีเอ็ม เพื่อทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนและหินดินดาน (เพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์) ตามคำขอประทานบัตรที่ 3-6/2543 4-8/2544 และ 12-19/2544 จำนวน 17 แปลง โดยขอผ่อนผันการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 และวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544
2. ผ่อนผันให้บริษัทฯ ใช้เส้นทางขนส่งแร่และโรงแต่งแร่ ตลอดจนอาคารและสิ่งปลูกสร้างเดิมที่ใช้เพื่อกิจกรรมทำเหมืองที่ตั้งอยู่ในเขตคำขอประทานบัตรดังกล่าว หากการอนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและการอนุญาตประทานบัตรใหม่ไม่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จก่อนที่ประทานบัตรจะสิ้นอายุ เพื่อให้สามารถผลิตปูนซีเมนต์จากพื้นที่ประทานบัตรที่อายุประทานบัตรยังคงเหลืออยู่ได้อย่างต่อเนื่อง
กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานว่า
1. บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำขอประทานบัตรทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนและหินดินดาน (เพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์) ในพื้นที่ประทานบัตรเดิมของบริษัทฯ จำนวน 21 แปลง ที่ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยคำขอจำนวน 17 แปลง อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ 1 เอเอ็ม และ 1 บีเอ็ม ของ ลุ่มน้ำป่าสัก ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งครบอายุประทานบัตรแล้ว จำนวน 4 แปลง และจะครบอายุประทานบัตรในปี พ.ศ. 2548 และปีพ.ศ. 2552 จำนวน 13 แปลง
2. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กรมทรัพยากรธรณีเดิม) ได้ประชุมเรื่องนี้ร่วมกับกรมป่าไม้ และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2545 เห็นชอบให้นำเรื่องเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรี โดยให้ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ความเห็นชอบในรายงานการประเมินศักยภาพการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ก่อน
3. คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 7/2545 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2545 เห็นชอบในหลักการกับรายงานการประเมินศักยภาพการใช้ พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ในการผ่อนผันการใช้พื้นที่เพื่อการทำเหมืองหินปูนและหินดินดานของบริษัทฯ ซ้ำในประทานบัตรเดิมเฉพาะที่ได้ทำการเปิดเหมืองไปแล้ว 14 แปลง (พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 จำนวน 11 แปลง) สำหรับประทานบัตรที่ยังไม่เปิดการทำเหมือง 7 แปลง (พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 จำนวน 6 แปลง) ให้บริษัทฯ เสนอข้อมูลรายละเอียดต่อคณะกรรมการสิ่งแวด-ล้อมแห่งชาติ ซึ่งต่อมาคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2547 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2547 เห็นชอบเพิ่มเติมจำนวน 7 แปลงที่เหลือ โดยมีเงื่อนไขให้กำหนดพื้นที่กันชนเพื่อป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายนอก พื้นที่ฟื้นฟูสภาพป่าไม้คืนสู่สภาพธรรมชาติ และพื้นที่ที่ใช้ในการทำเหมืองแร่ในแต่ละช่วงเวลาการผลิต ทั้งนี้ ในกรณีที่การดำเนินการอนุญาตประทานบัตรใหม่ตามคำขอยังไม่แล้วเสร็จก่อนที่ประทานบัตรเดิมสิ้นอายุลง ควรผ่อนผันให้บริษัทฯ ใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ) เพื่อเป็นเส้นทางขนส่งแร่ ที่ตั้งโรงแต่งแร่ และอาคารเพื่อกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับการทำเหมืองที่มีอยู่เดิมได้ต่อไป เพื่อให้บริษัทฯ สามารถผลิตหินปูนและหินดินดานจากประทานบัตรแปลงอื่นๆ ที่ยังมีอายุอยู่ได้อย่างต่อเนื่องเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบของโรงงานผลิตปูนซีเมนต์
4. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เห็นว่า พื้นที่คำขอประทานบัตรทั้ง 17 แปลง ของบริษัทฯ เป็นพื้นที่ที่เคยผ่านการทำเหมืองมาก่อน จำนวน 11 แปลง ซึ่งการทำเหมืองที่ผ่านมา บริษัทฯได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างครบถ้วน และการทำเหมืองตามคำขอดังกล่าวจะทำเหมืองโดยวิธีเหมืองหาบ สำหรับคำขอจำนวน 6 แปลง เป็นแหล่งแร่สำรองหินปูนและหินดินดานและสำหรับใช้เป็นเส้นทางขนส่งแร่ พื้นที่ปลูกสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้าง และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการทำเหมือง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. อนุมัติให้บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ใช้พื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ 1 เอเอ็ม และ 1 บีเอ็ม เพื่อทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนและหินดินดาน (เพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์) ตามคำขอประทานบัตรที่ 3-6/2543 4-8/2544 และ 12-19/2544 จำนวน 17 แปลง โดยขอผ่อนผันการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 และวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544
2. ผ่อนผันให้บริษัทฯ ใช้เส้นทางขนส่งแร่และโรงแต่งแร่ ตลอดจนอาคารและสิ่งปลูกสร้างเดิมที่ใช้เพื่อกิจกรรมทำเหมืองที่ตั้งอยู่ในเขตคำขอประทานบัตรดังกล่าว หากการอนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและการอนุญาตประทานบัตรใหม่ไม่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จก่อนที่ประทานบัตรจะสิ้นอายุ เพื่อให้สามารถผลิตปูนซีเมนต์จากพื้นที่ประทานบัตรที่อายุประทานบัตรยังคงเหลืออยู่ได้อย่างต่อเนื่อง
กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานว่า
1. บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำขอประทานบัตรทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนและหินดินดาน (เพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์) ในพื้นที่ประทานบัตรเดิมของบริษัทฯ จำนวน 21 แปลง ที่ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยคำขอจำนวน 17 แปลง อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ 1 เอเอ็ม และ 1 บีเอ็ม ของ ลุ่มน้ำป่าสัก ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งครบอายุประทานบัตรแล้ว จำนวน 4 แปลง และจะครบอายุประทานบัตรในปี พ.ศ. 2548 และปีพ.ศ. 2552 จำนวน 13 แปลง
2. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กรมทรัพยากรธรณีเดิม) ได้ประชุมเรื่องนี้ร่วมกับกรมป่าไม้ และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2545 เห็นชอบให้นำเรื่องเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรี โดยให้ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ความเห็นชอบในรายงานการประเมินศักยภาพการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ก่อน
3. คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 7/2545 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2545 เห็นชอบในหลักการกับรายงานการประเมินศักยภาพการใช้ พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ในการผ่อนผันการใช้พื้นที่เพื่อการทำเหมืองหินปูนและหินดินดานของบริษัทฯ ซ้ำในประทานบัตรเดิมเฉพาะที่ได้ทำการเปิดเหมืองไปแล้ว 14 แปลง (พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 จำนวน 11 แปลง) สำหรับประทานบัตรที่ยังไม่เปิดการทำเหมือง 7 แปลง (พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 จำนวน 6 แปลง) ให้บริษัทฯ เสนอข้อมูลรายละเอียดต่อคณะกรรมการสิ่งแวด-ล้อมแห่งชาติ ซึ่งต่อมาคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2547 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2547 เห็นชอบเพิ่มเติมจำนวน 7 แปลงที่เหลือ โดยมีเงื่อนไขให้กำหนดพื้นที่กันชนเพื่อป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายนอก พื้นที่ฟื้นฟูสภาพป่าไม้คืนสู่สภาพธรรมชาติ และพื้นที่ที่ใช้ในการทำเหมืองแร่ในแต่ละช่วงเวลาการผลิต ทั้งนี้ ในกรณีที่การดำเนินการอนุญาตประทานบัตรใหม่ตามคำขอยังไม่แล้วเสร็จก่อนที่ประทานบัตรเดิมสิ้นอายุลง ควรผ่อนผันให้บริษัทฯ ใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ) เพื่อเป็นเส้นทางขนส่งแร่ ที่ตั้งโรงแต่งแร่ และอาคารเพื่อกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับการทำเหมืองที่มีอยู่เดิมได้ต่อไป เพื่อให้บริษัทฯ สามารถผลิตหินปูนและหินดินดานจากประทานบัตรแปลงอื่นๆ ที่ยังมีอายุอยู่ได้อย่างต่อเนื่องเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบของโรงงานผลิตปูนซีเมนต์
4. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เห็นว่า พื้นที่คำขอประทานบัตรทั้ง 17 แปลง ของบริษัทฯ เป็นพื้นที่ที่เคยผ่านการทำเหมืองมาก่อน จำนวน 11 แปลง ซึ่งการทำเหมืองที่ผ่านมา บริษัทฯได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างครบถ้วน และการทำเหมืองตามคำขอดังกล่าวจะทำเหมืองโดยวิธีเหมืองหาบ สำหรับคำขอจำนวน 6 แปลง เป็นแหล่งแร่สำรองหินปูนและหินดินดานและสำหรับใช้เป็นเส้นทางขนส่งแร่ พื้นที่ปลูกสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้าง และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการทำเหมือง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-