คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนกระทรวงมหาดไทย (ศตจ.มท.) รายงานสรุปความคืบหน้าการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย (ครั้งที่ 4) ถึงวันที่ 16 กรกฎาคม 2547 สรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินงานของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน และกระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมกันประมวลแนวคำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนให้กับผู้ปฏิบัติงาน หลังจากที่ได้รับข้อสะท้อนจากการไปตรวจราชการเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติเพิ่มเติม ได้แก่ การปรับฐานข้อมูลจำนวนลูกหนี้และมูลหนี้ระหว่างกระทรวงการคลัง กับข้อมูล (สย.6) ของอำเภอให้ถูกต้องตรงกัน แนวทางการเจราจาหนี้นอกระบบ กรณีเจ้าหนี้ไม่ยินยอมลดงเงินต้นหรือลดดอกเบี้ยให้ลูกหนี้ และการบันทึกผลการเจราจา เป็นต้น
การเจรจาหนี้ให้คณะผู้เจรจาหนี้ มีผู้แทนธนาคารเข้าร่วมในการเจรจาหนี้ทุกครั้ง เพื่อจะได้ศึกษาข้อมูลลูกหนี้ตั้งแต่ต้น การเจรจาขอให้ใช้หลักเมตตาธรรม ประนีประนอม เน้นการปรับโครงสร้างหนี้ให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ เพื่อมิให้หวนกลับไปสู่หนี้นอกระบบ การช่วยเหลือลูกหนี้และเจ้าหนี้ให้ได้รับความเป็นธรรมมากที่สุด ซึ่ง ศตจ.มท. ได้แจ้งเวียนให้ ศตจ. จังหวัดทราบแล้ว
2. ความคืบหน้าการดำเนินการ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของ ศตจ. จังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีความคืบหน้าโดยลำดับ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม 2547 มีผู้ลงทะเบียนด้านหนี้สินนอกระบบที่ผ่านการประชาคม ในแบบ สย. 6 (ไม่รวม กทม.) จำนวน 1,691,650 ราย มูลหนี้ 123,314,469,517 บาท
ในส่วนของ ศตจ.กทม. ได้มีการเจรจาหนี้สินนอกระบบ ดังนี้ เชิญเจ้าหนี้และลูกหนี้มาเจรจา 15,709 ราย (21.69% ของเป้าหมาย) มูลหนี้ 2,008,858.798 บาท การเจรจาได้ข้อยุติ 10,361 ราย (65.96% ที่มาเจรจา) มูลหนี้ 1,310,248,254 บาท
3. การตรวจนิเทศผลการดำเนินงาน
1) การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน ให้ทุกภาคีในจังหวัดร่วมกันปฏิบัติงานแบบบูรณาการและยั่งยืน เน้นย้ำหลักเมตตาธรรมและยุติธรรม เพื่อให้เกิดความเกื้อกูล เข้าใจและพอใจในการประนอมหนี้ให้วิเคราะห์และใช้ดุลยพินิจในการเจรจาประนอมหนี้ โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับลูกหนี้และเจ้าหนี้ ในการแก้ปัญหาหนี้เข้าสู่ระบบเป็นการแบ่งเบาภาระของชาวบ้าน เพื่อให้มีกำลังใจในการประกอบอาชีพต่อไป
2) ในการเจรจาหนี้ ให้วิเคราะห์ลักษณะหนี้และตรวจสอบความถูกต้องของมูลหนี้ พิจารณาดอกเบี้ยที่เคยเสียไปล่วงหน้าที่เกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับลูกหนี้มากที่สุด โดยย้ำว่าการดำเนินการของรัฐบาลเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ มิใช่ การถ่ายหนี้
3) ในระดับนโยบายอาจพิจารณาความเป็นไปได้ในลักษณะการปล่อยเงินกู้ฉุกเฉิน หรือเงินด่วนทันใจ หรือให้เปิดวงเงินสินเชื่อ (โอ.ดี.) รายย่อย
4) เมื่อเข้าระบบธนาคารแล้ว ในส่วนของ ธกส. จะพิจารณาลูกค้าเข้าโครงการฟื้นฟูอาชีพให้เกิดการเรียนรู้ในการใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ การดำเนินวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
5) สำหรับพื้นที่ที่อยู่ในเขตเมืองบางแห่ง มีลูกหนี้ เจ้าหนี้ และมูลหนี้จำนวนมากอาจประสบปัญหาการข่มขู่ ให้ศตจ.จังหวัด/อำเภอ ใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าควบคุมและดำเนินการในกระบวนการของสรรพากรและ ปปง.
6) หากตรวจสอบพบกรณีที่มีความสลับซับซ้อนของปัญหาและผูกโยงต่อเนื่องเป็นวงเงินจำนวนมาก เช่น กรณีหนี้ในโรงงานน้ำตาล ซึ่งโรงงานได้ปล่อยเงินกู้นอกระบบให้กับชาวไร่ไปใช้จ่ายก่อนฤดูกาลเพาะปลูก เป็นต้น จะให้ส่วนกลางพิจารณาจัดทีมเฉพาะกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาเป็นกรณีพิเศษ
7) ในพื้นที่ที่ไม่มีธนาคารรับผิดชอบในการเจรจาหนี้ในพื้นที่ ได้ประสานความร่วมมือกับพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อขอรับการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ธนาคาร ในคณะเจรจาประนอมหนี้ เช่น ในพื้นที่ไม่มีธนาคารอาคารสงเคราะห์มอบให้ธนาคารออมสินรับไปดำเนินการ
8) ให้ ศตจ. จังหวัด ปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนลดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟื่อย การปรับพฤติกรรมนิสัยในบางจังหวัดได้มีแผนฟื้นฟูการประกอบอาชีพที่เหมาะสม การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น และการส่งเสริมสินค้า OTOP
4. ข้อสังเกตจากการดำเนินการของ ศตจ. จังหวัด/อำเภอ
ศตจ.มท. ได้ประมวลผลการดำเนินงานของคณะเจรจาประนอมหนี้นอกระบบของ ศตจ. จังหวัด/อำเภอ ที่ได้รายงานให้ห้วงระยะเวลา อาทิตย์
4.1 ศตจ.จังหวัด ได้รณรงค์และประชาสัมพันธ์ปลุกจิตสำนึกให้ประชาชน ลด ลด เลิกอบายมุข และลดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟื่อย เพิ่มรายได้ให้กับประชาชน มีแผนการฟื้นฟูการประกอบอาชีพและการมีงานทำที่เหมาะสมให้กับลูกหนี้ เพื่อเชื่อมโยงกับการขยายงานการส่งเสริมอาชีพที่จะมีต่อไป
4.2 ลูกหนี้และเจ้าหนี้ส่วนใหญ่มีความพอใจและมีทัศนคติที่ดีในการดำเนินการของรัฐบาลที่เข้าไปเป็นคนกลางในการเจรจาประนอมหนี้ ซึ่งได้รับความร่วมมือในการดำเนินงานและประสบผลสำเร็จด้วยดี
4.3 คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดให้เป็นวันเลือกตั้งนายกและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลที่ครบวาระ 2,143 แห่ง (ร้อยละ 32 ของ อบต. ทั่วประเทศ) ในวันอาทิตย์ที่ 18 และ 25 กรกฎาคม 2547 ซึ่งนายอำเภอ และทีมเจรจามีภารกิจในการสนับสนุนกำลังเจ้าหน้าที่ การจัดทำบัญชีรายชื่อและการรักษาความสงบเรียบร้อยในช่วงก่อนวันเลือกตั้งตามสมควร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. การดำเนินงานของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน และกระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมกันประมวลแนวคำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนให้กับผู้ปฏิบัติงาน หลังจากที่ได้รับข้อสะท้อนจากการไปตรวจราชการเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติเพิ่มเติม ได้แก่ การปรับฐานข้อมูลจำนวนลูกหนี้และมูลหนี้ระหว่างกระทรวงการคลัง กับข้อมูล (สย.6) ของอำเภอให้ถูกต้องตรงกัน แนวทางการเจราจาหนี้นอกระบบ กรณีเจ้าหนี้ไม่ยินยอมลดงเงินต้นหรือลดดอกเบี้ยให้ลูกหนี้ และการบันทึกผลการเจราจา เป็นต้น
การเจรจาหนี้ให้คณะผู้เจรจาหนี้ มีผู้แทนธนาคารเข้าร่วมในการเจรจาหนี้ทุกครั้ง เพื่อจะได้ศึกษาข้อมูลลูกหนี้ตั้งแต่ต้น การเจรจาขอให้ใช้หลักเมตตาธรรม ประนีประนอม เน้นการปรับโครงสร้างหนี้ให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ เพื่อมิให้หวนกลับไปสู่หนี้นอกระบบ การช่วยเหลือลูกหนี้และเจ้าหนี้ให้ได้รับความเป็นธรรมมากที่สุด ซึ่ง ศตจ.มท. ได้แจ้งเวียนให้ ศตจ. จังหวัดทราบแล้ว
2. ความคืบหน้าการดำเนินการ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของ ศตจ. จังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีความคืบหน้าโดยลำดับ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม 2547 มีผู้ลงทะเบียนด้านหนี้สินนอกระบบที่ผ่านการประชาคม ในแบบ สย. 6 (ไม่รวม กทม.) จำนวน 1,691,650 ราย มูลหนี้ 123,314,469,517 บาท
ในส่วนของ ศตจ.กทม. ได้มีการเจรจาหนี้สินนอกระบบ ดังนี้ เชิญเจ้าหนี้และลูกหนี้มาเจรจา 15,709 ราย (21.69% ของเป้าหมาย) มูลหนี้ 2,008,858.798 บาท การเจรจาได้ข้อยุติ 10,361 ราย (65.96% ที่มาเจรจา) มูลหนี้ 1,310,248,254 บาท
3. การตรวจนิเทศผลการดำเนินงาน
1) การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน ให้ทุกภาคีในจังหวัดร่วมกันปฏิบัติงานแบบบูรณาการและยั่งยืน เน้นย้ำหลักเมตตาธรรมและยุติธรรม เพื่อให้เกิดความเกื้อกูล เข้าใจและพอใจในการประนอมหนี้ให้วิเคราะห์และใช้ดุลยพินิจในการเจรจาประนอมหนี้ โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับลูกหนี้และเจ้าหนี้ ในการแก้ปัญหาหนี้เข้าสู่ระบบเป็นการแบ่งเบาภาระของชาวบ้าน เพื่อให้มีกำลังใจในการประกอบอาชีพต่อไป
2) ในการเจรจาหนี้ ให้วิเคราะห์ลักษณะหนี้และตรวจสอบความถูกต้องของมูลหนี้ พิจารณาดอกเบี้ยที่เคยเสียไปล่วงหน้าที่เกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับลูกหนี้มากที่สุด โดยย้ำว่าการดำเนินการของรัฐบาลเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ มิใช่ การถ่ายหนี้
3) ในระดับนโยบายอาจพิจารณาความเป็นไปได้ในลักษณะการปล่อยเงินกู้ฉุกเฉิน หรือเงินด่วนทันใจ หรือให้เปิดวงเงินสินเชื่อ (โอ.ดี.) รายย่อย
4) เมื่อเข้าระบบธนาคารแล้ว ในส่วนของ ธกส. จะพิจารณาลูกค้าเข้าโครงการฟื้นฟูอาชีพให้เกิดการเรียนรู้ในการใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ การดำเนินวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
5) สำหรับพื้นที่ที่อยู่ในเขตเมืองบางแห่ง มีลูกหนี้ เจ้าหนี้ และมูลหนี้จำนวนมากอาจประสบปัญหาการข่มขู่ ให้ศตจ.จังหวัด/อำเภอ ใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าควบคุมและดำเนินการในกระบวนการของสรรพากรและ ปปง.
6) หากตรวจสอบพบกรณีที่มีความสลับซับซ้อนของปัญหาและผูกโยงต่อเนื่องเป็นวงเงินจำนวนมาก เช่น กรณีหนี้ในโรงงานน้ำตาล ซึ่งโรงงานได้ปล่อยเงินกู้นอกระบบให้กับชาวไร่ไปใช้จ่ายก่อนฤดูกาลเพาะปลูก เป็นต้น จะให้ส่วนกลางพิจารณาจัดทีมเฉพาะกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาเป็นกรณีพิเศษ
7) ในพื้นที่ที่ไม่มีธนาคารรับผิดชอบในการเจรจาหนี้ในพื้นที่ ได้ประสานความร่วมมือกับพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อขอรับการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ธนาคาร ในคณะเจรจาประนอมหนี้ เช่น ในพื้นที่ไม่มีธนาคารอาคารสงเคราะห์มอบให้ธนาคารออมสินรับไปดำเนินการ
8) ให้ ศตจ. จังหวัด ปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนลดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟื่อย การปรับพฤติกรรมนิสัยในบางจังหวัดได้มีแผนฟื้นฟูการประกอบอาชีพที่เหมาะสม การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น และการส่งเสริมสินค้า OTOP
4. ข้อสังเกตจากการดำเนินการของ ศตจ. จังหวัด/อำเภอ
ศตจ.มท. ได้ประมวลผลการดำเนินงานของคณะเจรจาประนอมหนี้นอกระบบของ ศตจ. จังหวัด/อำเภอ ที่ได้รายงานให้ห้วงระยะเวลา อาทิตย์
4.1 ศตจ.จังหวัด ได้รณรงค์และประชาสัมพันธ์ปลุกจิตสำนึกให้ประชาชน ลด ลด เลิกอบายมุข และลดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟื่อย เพิ่มรายได้ให้กับประชาชน มีแผนการฟื้นฟูการประกอบอาชีพและการมีงานทำที่เหมาะสมให้กับลูกหนี้ เพื่อเชื่อมโยงกับการขยายงานการส่งเสริมอาชีพที่จะมีต่อไป
4.2 ลูกหนี้และเจ้าหนี้ส่วนใหญ่มีความพอใจและมีทัศนคติที่ดีในการดำเนินการของรัฐบาลที่เข้าไปเป็นคนกลางในการเจรจาประนอมหนี้ ซึ่งได้รับความร่วมมือในการดำเนินงานและประสบผลสำเร็จด้วยดี
4.3 คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดให้เป็นวันเลือกตั้งนายกและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลที่ครบวาระ 2,143 แห่ง (ร้อยละ 32 ของ อบต. ทั่วประเทศ) ในวันอาทิตย์ที่ 18 และ 25 กรกฎาคม 2547 ซึ่งนายอำเภอ และทีมเจรจามีภารกิจในการสนับสนุนกำลังเจ้าหน้าที่ การจัดทำบัญชีรายชื่อและการรักษาความสงบเรียบร้อยในช่วงก่อนวันเลือกตั้งตามสมควร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-