คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ. …. ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และเห็นควรให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2547 เห็นชอบในหลักการ และแนวทางการจัดโครงสร้างองค์กรรูปแบบที่ไม่ใช่ส่วนราชการ หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ รวมทั้งการนำรูปแบบการจัดโครงสร้างองค์กรฯ ดังกล่าวไปทดลองปฏิบัติใน 5 หน่วยงาน ตามความเห็นของ ก.พ.ร. และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 เห็นชอบให้มีการจัดตั้งสถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะ (สพน.) มีลักษณะเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit : SDU) ในสำนักนายกรัฐมนตรี
สาระสำคัญของร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ. …. ดังกล่าว กำหนดให้ส่วนราชการที่ประสงค์จะจัดให้หน่วยงานหรือภารกิจใดของส่วนราชการนั้นมีระบบการบริหารงานในรูปแบบพิเศษที่มีอิสระในการดำเนินงานดังนี้
1. ให้ส่วนราชการที่จะจัดให้หน่วยงานหรือภารกิจใดมีการบริหารงานในรูปแบบพิเศษ เสนอให้ ก.พ.ร. เป็นผู้พิจารณาเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาจัดตั้งเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการภาครัฐเป็นหลักและการดำเนินการจะต้องไม่เป็นทางการแข่งขันกับภาคเอกชน
2. หน่วยบริการรูปแบบพิเศษให้อยู่ในความควบคุมดูแลโดยตรงของหัวหน้าส่วนราชการ หรือจะให้มีคณะกรรมการอำนวยการเป็นผู้ควบคุมดูแลรายงานผลการดำเนินงานต่อหัวหน้าส่วนราชการก็ได้ และผู้มีอำนาจควบคุมจะวางระเบียบให้หน่วยงานรูปแบบพิเศษปฏิบัติก็ได้
3. ให้มีอำนวยการคนหนึ่งซึ่งมาจากการสรรหาของผู้มีอำนาจควบคุม เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงานและผลการปฏิบัติงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ และมีหน้าที่ตามที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ควบคุมกำหนด
4. ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการรูปแบบพิเศษมีฐานะเป็นพนักงานราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการฯ และให้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของผู้อำนวยการตามระเบียบที่ผู้มีอำนาจควบคุมกำหนด
5. ให้กระทรวงการคลังดำเนินให้รายได้ที่หน่วยบริการรูปแบบพิเศษได้รับเป็นงบประมาณอุดหนุนจากส่วนราชการเจ้าสังกัด และรายได้จากการให้บริการทั้งปวง ไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และห้ามนำเงินรายได้ส่วนเงินอุดหนุนจากส่วนราชการเจ้าสังกัดมาจัดสรรเป็นเงินเพิ่มพิเศษหรือเงินรางวัลแก่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
6. ให้ ก.พ.ร. ร่วมมือกับส่วนราชการเจ้าสังกัดในการประเมินผลการปฏบัติงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ และให้ ก.พ.ร. เป็นผู้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติให้ยุบเลิกหน่วยบริการรูปแบบพิเศษนั้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2547 เห็นชอบในหลักการ และแนวทางการจัดโครงสร้างองค์กรรูปแบบที่ไม่ใช่ส่วนราชการ หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ รวมทั้งการนำรูปแบบการจัดโครงสร้างองค์กรฯ ดังกล่าวไปทดลองปฏิบัติใน 5 หน่วยงาน ตามความเห็นของ ก.พ.ร. และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 เห็นชอบให้มีการจัดตั้งสถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะ (สพน.) มีลักษณะเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit : SDU) ในสำนักนายกรัฐมนตรี
สาระสำคัญของร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ. …. ดังกล่าว กำหนดให้ส่วนราชการที่ประสงค์จะจัดให้หน่วยงานหรือภารกิจใดของส่วนราชการนั้นมีระบบการบริหารงานในรูปแบบพิเศษที่มีอิสระในการดำเนินงานดังนี้
1. ให้ส่วนราชการที่จะจัดให้หน่วยงานหรือภารกิจใดมีการบริหารงานในรูปแบบพิเศษ เสนอให้ ก.พ.ร. เป็นผู้พิจารณาเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาจัดตั้งเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการภาครัฐเป็นหลักและการดำเนินการจะต้องไม่เป็นทางการแข่งขันกับภาคเอกชน
2. หน่วยบริการรูปแบบพิเศษให้อยู่ในความควบคุมดูแลโดยตรงของหัวหน้าส่วนราชการ หรือจะให้มีคณะกรรมการอำนวยการเป็นผู้ควบคุมดูแลรายงานผลการดำเนินงานต่อหัวหน้าส่วนราชการก็ได้ และผู้มีอำนาจควบคุมจะวางระเบียบให้หน่วยงานรูปแบบพิเศษปฏิบัติก็ได้
3. ให้มีอำนวยการคนหนึ่งซึ่งมาจากการสรรหาของผู้มีอำนาจควบคุม เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงานและผลการปฏิบัติงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ และมีหน้าที่ตามที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ควบคุมกำหนด
4. ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการรูปแบบพิเศษมีฐานะเป็นพนักงานราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการฯ และให้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของผู้อำนวยการตามระเบียบที่ผู้มีอำนาจควบคุมกำหนด
5. ให้กระทรวงการคลังดำเนินให้รายได้ที่หน่วยบริการรูปแบบพิเศษได้รับเป็นงบประมาณอุดหนุนจากส่วนราชการเจ้าสังกัด และรายได้จากการให้บริการทั้งปวง ไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และห้ามนำเงินรายได้ส่วนเงินอุดหนุนจากส่วนราชการเจ้าสังกัดมาจัดสรรเป็นเงินเพิ่มพิเศษหรือเงินรางวัลแก่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
6. ให้ ก.พ.ร. ร่วมมือกับส่วนราชการเจ้าสังกัดในการประเมินผลการปฏบัติงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ และให้ ก.พ.ร. เป็นผู้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติให้ยุบเลิกหน่วยบริการรูปแบบพิเศษนั้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-