คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบในหลักการโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้เร่งรัดจัดทำหลักสูตรเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ว่าราชการจังหวัด ให้เป็นผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Leader) สามารถบริหารจัดการและสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยนวัตกรรม (Innovation) ในองค์การเพื่อพัฒนาศักยภาพไปสู่ระดับการแข่งขันในเวทีโลก
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้มีมติเห็นชอบในหลักการแนวทางการดำเนินการพัฒนานักบริหาร การเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ เพื่อเป็นผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลงและบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ตามที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเฉพาะกิจเกี่ยวกับการจัดหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารเสนอ โดยจัดทำโครงการพัฒนานักบริหารเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนานักบริหารรุ่นใหม่ให้เป็นนักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ ที่มีสมรรถนะครบครันในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Leader) โดยเป็นทั้งนักคิดที่มีวิสัยทัศน์ (Visionary Thinker) นักพัฒนาและวางแผน (Developer & Planner) และนักปฏิบัติ (Operator) อย่างสมดุล
2. กลุ่มเป้าหมาย กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าศึกษาในโครงการฯ เป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 : กลุ่มนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือปริญญาโท หรือปริญญาตรี ในสาขาวิชาชีพใด ๆ จากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศที่ได้รับการรับรอง อายุไม่เกิน 28 ปี
กลุ่มที่ 2 : กลุ่มข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทต่าง ๆ ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ปริญญาโท หรือปริญญาตรีและได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ มีประสบการณ์การทำงานในหน่วยงานภาครัฐไม่น้อยกว่า 5 ปี อายุไม่เกิน 30 ปี
กลุ่มที่ 3 : กลุ่มบุคคลภายนอกที่ทำงานภาคเอกชน หน่วยงานหรือองค์การระหว่างประเทศ สำเร็จการศึกษาไม่น้อยกว่าระดับปริญญาโท มีประสบการณ์การทำงานในหน่วยงานงานภาคเอกชน หน่วยงานหรือองค์การระหว่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีผลการปฏิบัติงานดีเยี่ยม อายุไม่เกิน 30 ปี จำนวน 40 คน สำหรับปี 2548 และปี 2549 นี้ ดำเนินการเป็นโครงการนำร่องเพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ จึงได้พิจารณาให้กลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นกลุ่มข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก และให้กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 เข้าร่วมโครงการฯ นี้ได้ในสัดส่วนที่เหมาะสม
3. เงื่อนไขการบรรจุให้ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานภาครัฐ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าศึกษาในโครงการฯ นี้เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับการบรรจุให้ดำรงตำแหน่งระดับ 4 หรือ 5 หรือ 6 หรือ 7 ในหน่วยงานภาครัฐที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ โดยปฏิบัติหน้าที่ในกลุ่มงานยุทธศาสตร์ของหน่วยงานและมีบทบาทเป็น Think Tank ของผู้บริหารระดับสูง
4. การสรรหาและคัดเลือกเข้าศึกษาในโครงการฯ มีการสรรหาและคัดเลือกอย่างเคร่งครัดและโปร่งใส ถูกต้องตามหลักวิชาการของการประเมินบุคคล เพื่อให้ได้บุคคลที่มีความพร้อมทั้งในด้านความรู้พื้นฐาน ความสามารถมีความเหมาะสมในการเป็นผู้นำด้านการบริหารจัดการในระบบราชการไทยในอนาคต
5. แนวทางการพัฒนา มีการกำหนดกรอบแนวทางการพัฒนาดังนี้
5.1 ภาคการเรียนรู้ด้านวิชาการ เป็นการปรับฐานองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ สำหรับนักบริหารยุคใหม่ที่จะต้องบริหารงานแบบบูรณาการ เพื่อเตรียมพร้อมเป็นผู้บริหารระดับสูงในองค์การภาครัฐ (CEO) ต่อไป
5.2 การเรียนรู้การบริหารจัดการหน่วยงานภาครัฐ กำหนดให้มีการเรียนรู้และปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หน่วยงานภาคเอกชน และในต่างประเทศ โดยให้ไปปฏิบัติงานร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นผู้บริหารสูงสุด (CEO : Chief Executive Officer) และบริหารงานแบบบูรณาการ รงมทั้งศึกษาวิธีการกำหนดยุทธศาสตร์องค์การและการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่แผนปฏิบัติการ ตลอดจนบริหารจัดการงานด้านต่างประเทศ ฯ สถานทูตไทยในประเทศต่าง ๆ เพื่อศึกษาวิเคราะห์การปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานเอกชนในประเทศนั้น ๆ ได้
6. วิธีการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนรู้เป็นศูนย์กลาง (Leaner Centered) โดยให้ศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา (Case) ที่เป็นปัญหาซึ่งเกิดขึ้นจริงในการบริหารจัดการภาครัฐ (Problem Oriented) เพื่อสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้ จึงเป็นการเรียนรู้แบบ Applied Learning และ Action Learning
7. การประเมินผล แบ่งเป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา และการประเมินผลโครงการฯ
8. ระยะเวลาในการศึกษา กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการไว้ทั้งหมดประมาณ 24 เดือน โดยประกอบด้วยกรอบแนวทางการพัฒนา 2 ส่วน คือ ภาคการเรียนรู้ด้านวิชาการ ระยะเวลา 6 เดือน และภาคการเรียนรู้ด้านการบริการจัดการหน่วยงานภาครัฐ ระยะเวลา 18 เดือน
9. จำนวนนักบริหาร ฯ ที่เข้าร่วมโครงการ กำหนดให้มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ รุ่นละ 40 คน
10. การบริหารโครงการฯ โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่และคณะกรรมการดำเนินการโครงการฯ คณะต่าง ๆ ตลอดจนจัดจ้างสถาบันภายนอกที่มีศักยภาพความสามารถในการบริหารโครงการฝึกอบรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-
นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้เร่งรัดจัดทำหลักสูตรเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ว่าราชการจังหวัด ให้เป็นผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Leader) สามารถบริหารจัดการและสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยนวัตกรรม (Innovation) ในองค์การเพื่อพัฒนาศักยภาพไปสู่ระดับการแข่งขันในเวทีโลก
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้มีมติเห็นชอบในหลักการแนวทางการดำเนินการพัฒนานักบริหาร การเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ เพื่อเป็นผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลงและบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ตามที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเฉพาะกิจเกี่ยวกับการจัดหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารเสนอ โดยจัดทำโครงการพัฒนานักบริหารเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนานักบริหารรุ่นใหม่ให้เป็นนักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ ที่มีสมรรถนะครบครันในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Leader) โดยเป็นทั้งนักคิดที่มีวิสัยทัศน์ (Visionary Thinker) นักพัฒนาและวางแผน (Developer & Planner) และนักปฏิบัติ (Operator) อย่างสมดุล
2. กลุ่มเป้าหมาย กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าศึกษาในโครงการฯ เป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 : กลุ่มนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือปริญญาโท หรือปริญญาตรี ในสาขาวิชาชีพใด ๆ จากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศที่ได้รับการรับรอง อายุไม่เกิน 28 ปี
กลุ่มที่ 2 : กลุ่มข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทต่าง ๆ ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ปริญญาโท หรือปริญญาตรีและได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ มีประสบการณ์การทำงานในหน่วยงานภาครัฐไม่น้อยกว่า 5 ปี อายุไม่เกิน 30 ปี
กลุ่มที่ 3 : กลุ่มบุคคลภายนอกที่ทำงานภาคเอกชน หน่วยงานหรือองค์การระหว่างประเทศ สำเร็จการศึกษาไม่น้อยกว่าระดับปริญญาโท มีประสบการณ์การทำงานในหน่วยงานงานภาคเอกชน หน่วยงานหรือองค์การระหว่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีผลการปฏิบัติงานดีเยี่ยม อายุไม่เกิน 30 ปี จำนวน 40 คน สำหรับปี 2548 และปี 2549 นี้ ดำเนินการเป็นโครงการนำร่องเพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ จึงได้พิจารณาให้กลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นกลุ่มข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก และให้กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 เข้าร่วมโครงการฯ นี้ได้ในสัดส่วนที่เหมาะสม
3. เงื่อนไขการบรรจุให้ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานภาครัฐ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าศึกษาในโครงการฯ นี้เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับการบรรจุให้ดำรงตำแหน่งระดับ 4 หรือ 5 หรือ 6 หรือ 7 ในหน่วยงานภาครัฐที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ โดยปฏิบัติหน้าที่ในกลุ่มงานยุทธศาสตร์ของหน่วยงานและมีบทบาทเป็น Think Tank ของผู้บริหารระดับสูง
4. การสรรหาและคัดเลือกเข้าศึกษาในโครงการฯ มีการสรรหาและคัดเลือกอย่างเคร่งครัดและโปร่งใส ถูกต้องตามหลักวิชาการของการประเมินบุคคล เพื่อให้ได้บุคคลที่มีความพร้อมทั้งในด้านความรู้พื้นฐาน ความสามารถมีความเหมาะสมในการเป็นผู้นำด้านการบริหารจัดการในระบบราชการไทยในอนาคต
5. แนวทางการพัฒนา มีการกำหนดกรอบแนวทางการพัฒนาดังนี้
5.1 ภาคการเรียนรู้ด้านวิชาการ เป็นการปรับฐานองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ สำหรับนักบริหารยุคใหม่ที่จะต้องบริหารงานแบบบูรณาการ เพื่อเตรียมพร้อมเป็นผู้บริหารระดับสูงในองค์การภาครัฐ (CEO) ต่อไป
5.2 การเรียนรู้การบริหารจัดการหน่วยงานภาครัฐ กำหนดให้มีการเรียนรู้และปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หน่วยงานภาคเอกชน และในต่างประเทศ โดยให้ไปปฏิบัติงานร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นผู้บริหารสูงสุด (CEO : Chief Executive Officer) และบริหารงานแบบบูรณาการ รงมทั้งศึกษาวิธีการกำหนดยุทธศาสตร์องค์การและการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่แผนปฏิบัติการ ตลอดจนบริหารจัดการงานด้านต่างประเทศ ฯ สถานทูตไทยในประเทศต่าง ๆ เพื่อศึกษาวิเคราะห์การปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานเอกชนในประเทศนั้น ๆ ได้
6. วิธีการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนรู้เป็นศูนย์กลาง (Leaner Centered) โดยให้ศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา (Case) ที่เป็นปัญหาซึ่งเกิดขึ้นจริงในการบริหารจัดการภาครัฐ (Problem Oriented) เพื่อสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้ จึงเป็นการเรียนรู้แบบ Applied Learning และ Action Learning
7. การประเมินผล แบ่งเป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา และการประเมินผลโครงการฯ
8. ระยะเวลาในการศึกษา กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการไว้ทั้งหมดประมาณ 24 เดือน โดยประกอบด้วยกรอบแนวทางการพัฒนา 2 ส่วน คือ ภาคการเรียนรู้ด้านวิชาการ ระยะเวลา 6 เดือน และภาคการเรียนรู้ด้านการบริการจัดการหน่วยงานภาครัฐ ระยะเวลา 18 เดือน
9. จำนวนนักบริหาร ฯ ที่เข้าร่วมโครงการ กำหนดให้มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ รุ่นละ 40 คน
10. การบริหารโครงการฯ โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่และคณะกรรมการดำเนินการโครงการฯ คณะต่าง ๆ ตลอดจนจัดจ้างสถาบันภายนอกที่มีศักยภาพความสามารถในการบริหารโครงการฝึกอบรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-