คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอ "แนวโน้มการลงทุนปี 2547" สรุปได้ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนเริ่มบังเกิดผล
ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อยุทธศาสตร์การแข่งขันของเศรษฐกิจไทยภายใต้สถานการณ์ใหม่ของเศรษฐกิจโลก เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้นำเสนอและได้รับความเห็นชอบในกรอบยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่ โดยมุ่งปรับเปลี่ยนทิศทางการส่งเสริมการลงทุนใหม่ที่มุ่งเน้นคุณค่าการลงทุนโดยการให้สิทธิและประโยชน์ในลักษณะเป็นการเฉพาะ (Customized Incentive Package) ตามคุณค่าของโครงการลงทุนที่จะเอื้อประโยชน์แก่เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แทนการให้สิทธิและประโยชน์เป็นการทั่วไป การมุ่งส่งเสริมการลงทุนในลักษณะ Cluster แทนการส่งเสริมการลงทุนเป็นโครงการ ๆ ไป และการริเริ่มนำแนวคิดของการส่งเสริมการลงทุนแนวใหม่มาส่งเสริมให้เกิดมีการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะ เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ (Skill, Technology and Innovation) โดยการรณรงค์ส่งเสริมการลงทุนในลักษณะเชิงรุก และการสร้างเครือข่ายการส่งเสริมการลงทุนในภูมิภาคเป้าหมายทั่วโลก
ผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุน เป็นดังนี้
1. สำนักงาน ฯ ได้ตั้งเป้าหมายตามคำรับรองการปฏิบัติราชการสำหรับปีงบประมาณ 2547 ดังนี้
1.1 มูลค่าคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน 270,000 ล้านบาท แต่สำนักงานฯ ได้รับจะพยายามทำตามเป้าหมายที่ 290,000 ล้านบาท
1.2 จำนวนโครงการ SMEs ที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน 100 โครงการ
1.3 จำนวนโครงการที่มุ่งส่งเสริมคุณค่า STI (Skill, Technology and Innovation) ที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน 80 โครงการ
2. การปฏิบัติงานในช่วงเกือบ 10 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค. 2546-21 ก.ค. 2547) มีผลสัมฤทธิ์เกินเป้าหมายทุกด้านดังนี้
2.1 มูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 394,000 ล้านบาท เทียบกับเป้าหมาย 290,000 ล้านบาท
2.2 จำนวนโครงการ SMEs ที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน 158 โครงการ เทียบกับเป้าหมาย 100 โครงการ
2.3 จำนวนโครงการ STI ที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน 102 โครงการ เทียบกับเป้าหมาย 80 โครงการ
3. การดำเนินภารกิจเพื่อสร้างเครือข่ายการส่งเสริมการลงทุนในภูมิภาคเป้าหมาย จนถึงปัจจุบันได้มีการลงนาม MOU กับหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน หอการค้าและธนาคารรวม 17 ประเทศ จำนวน 28 หน่วยงาน ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น จีน ยุโรป สิงคโปร์ อเมริกา และอินเดีย เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานพันธมิตรทั้งหลายจะช่วยทั้งด้านเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์และแนะนำนักลงทุนกลุ่มเป้าหมาย
4. การชักจูงการลงทุนเชิงรุกจากต่างประเทศ ได้มีการจัดคณะเพื่อพบปะนักธุรกิจกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งการสัมมนาเพื่อเผยแพร่นโยบายการลงทุน ซึ่งกำหนดเป้าหมายไว้ 40 ครั้ง ในกลุ่มประเทศเป้าหมาย ได้แก่ เอเชีย ยุโรป อเมริกา ได้ดำเนินการไปแล้ว 30 ครั้ง
2. ภาวะเศรษฐกิจปี 2547 เติบโตต่อเนื่อง มีการลงทุนภาคเอกชนเป็นแรงหนุน
เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปัจจัยหลักที่เป็นตัวขับเคลื่อนการขยายตัวด้านเศรษฐกิจคือการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวถึงร้อยละ 17.7 ในขณะที่การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 6.3 การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 และ 11.0 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกและการนำเข้านั้นเป็นปัจจัยที่ชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากการส่งออกมีอัตราการเพิ่มที่ลดลง คือ ไตรมาสแรกของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2546 ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 13.7
เศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตในอัตราชะลอตัวในครึ่งหลังของปี เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความเสี่ยงต่อการก่อการร้าย อัตราดอกเบี้ยในยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น สำหรับปัจจัยที่จะเป็นตัวกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป คือ การลงทุนภาคเอกชนซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวที่ดี
3. ภาวะการลงทุนขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง
ในช่วงปี 2546 และ 6 เดือนแรกของปี 2547 การลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวในอัตราสูง ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการลงทุนที่ขอรับการส่งเสริมในปี 2546 ประมาณ 315,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 25 สำหรับในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 มูลค่าการลงทุนที่ขอรับการส่งเสริมสูงถึง 280,000 ล้านบาท เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปี 2546 ประมาณ ร้อยละ 87
อุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวสูงในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมพื้นฐาน เช่น ปิโตรเคมี (PTA) และการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน กิจการสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน
นโยบายส่งเสริมการลงทุนได้ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุน และสนับสนุนการพัฒนา Cluster อุตสาหกรรมมากขึ้น รวมทั้งคำนึงถึงคุณค่าของโครงการที่มีต่อเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของประเทศและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งในช่วงปี 2546 ต่อเนื่องถึงปี 2547 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ปรับนโยบายที่สำคัญ โดยจากการปรับนโยบายส่งเสริมได้เห็นผลที่ชัดเจนในนโยบายสำคัญๆ เช่น การส่งเสริม SMEs ไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 มีจำนวนถึง 98 โครงการมูลค่าลงทุนรวมกว่า 7,300 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในกิจการเลี้ยงสัตว์ กิจการผลิตน้ำมันจากพืชและสัตว์ และกิจการคัดคุณภาพข้าว เป็นต้น
ส่วนในด้านอุตสาหกรรมการผลิตทั่วไปที่มีการลงทุนด้าน STI (Skill, Technology and Innovation) เพิ่มขึ้น โดยมีจำนวน 71 โครงการในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 เช่น อุตสาหกรรมเส้นใยประดิษฐ์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
นอกจากนี้ในด้านการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม แม้สำนักงานจะมิใช่หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง แต่ได้ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมกับโครงการที่ขอรับการส่งเสริม ในกรณีที่เป็นกิจการที่ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามประกาศของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ก็จะบังคับเป็นเงื่อนไขจะต้องจัดทำรายงานภายในระยะเวลาที่กำหนด
4. แนวโน้มการลงทุนมีอนาคตที่แจ่มใส
การลงทุนในประเทศในอนาคตมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นผลจากปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่
4.1 อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม (ข้อมูล ณ เดือนเมษายน) อยู่ในระดับที่สูง
4.2 ประเทศไทยมีบรรยากาศการลงทุนที่ดีในสายตาของนักลงทุนต่างประเทศ กล่าวคือ
1) ในช่วงต้นปี 2547 UNCTAD และ Corporate Location Magazine ของประเทศอังกฤษ ได้ร่วมกันจัดทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนชั้นนำของทุกภูมิภาคทั่วโลก จำนวน 87 ราย โดยการสำรวจความคิดเห็นดังกล่าว ได้จัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นประกาศที่มีความน่าลงทุนเป็นลำดับที่ 4 ของโลกหรือลำดับที่ 3 ของเอเชีย แสดงให้เห็นว่าบรรยากาศการลงทุนของไทยมีระดับที่ดีขึ้นมาก และมีศักยภาพที่ไทยจะสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนให้อยู่ในลำดับ 3 ของเอเชีย สอดคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่มุ่งจะยกระดับการดึงดูดการลงทุนของไทยจากลำดับที่ 11 มาเป็น 5 ลำดับแรกของเอเชียภายในปี 2549
2) รายงาน Annual Gallup Business Survey โดยหอการค้าอเมริกาในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งทำการสำรวจความคิดเห็นของสมาชิกหอการค้าในแต่ละประเทศรวมทั้งไทยในปี 2547 นี้ ระบุว่านักธุรกิจอเมริกันในไทยส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจไทยจะยังคงขยายตัวได้ดี และเห็นว่าประเทศไทยมีบรรยากาศการลงทุนที่ดีโดยเฉพาะในเรื่องความปลอดภัย ประมาณร้อยละ 76 ของสมาชิกมีแผนที่จะขยายธุรกิจในไทย ในขณะที่นักธุรกิจอเมริกามีแผนจะลดการลงทุนในประเทศจีน และเวียดนาม อย่างไรก็ตามนักธุรกิจอเมริกันส่วนใหญ่เห็นว่าเรื่องคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่สำคัญของทุกประเทศในอาเซียนและเป็นปัจจัยที่สำคัญซึ่งกระทบต่อการตัดสินใจขยายธุรกิจในอนาคต
3) Foreign Investor Confidence Survey โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งทำการสำรวจความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติในไทยทุกปี สำหรับผลการสำรวจล่าสุดในปี 2546 พบว่านักลงทุนต่างชาติเห็นว่าประเทศไทยมีบรรยากาศการลงทุนที่ดี และส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 75 ของนักลงทุนที่ตอบแบบสอบถามหรือประมาณ 900 ราย) มีแผนขยายการลงทุนในไทยระหว่างปี 2547-2549
4.3 ภาวะเศรษฐกิจของประเทศผู้ลงทุนหลัก และประเทศคู่ค้าของไทยดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการขยายการลงทุนนอกประเทศมากขึ้น และโอกาสที่ผู้ผลิตไทยจะลงทุนขยายการผลิตเพื่อส่งออกมีสูงขึ้น เช่น เศรษฐกิจญี่ปุ่น เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา เริ่มฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง เศรษฐกิจกลุ่มประเทศ EU จะขยายตัว เศรษฐกิจจีน ไตรมาสแรกปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 9.7
5. แนวทางการส่งเสริมในระยะต่อไป สำนักงานฯ จะปรับยุทธศาสตร์มาตรการและวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความต้องการของนักลงทุน รวมทั้งกลั่นกรองเพื่อให้เกิดการลงทุนที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตามก็ยังอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของ พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุนฉบับปัจจุบัน ซึ่งใช้บังคับมาเป็นเวลากว่า 27 ปี ดังนั้นในระยะอันใกล้ สำนักงานฯ จะนำเสนอให้แก้ไขกฎหมายส่งเสริมการลงทุน เพื่อให้มีเครื่องมือใหม่ ๆ ในการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนตามเป้าหมาย และเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการประกอบธุรกิจในประเทศให้มากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนเริ่มบังเกิดผล
ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อยุทธศาสตร์การแข่งขันของเศรษฐกิจไทยภายใต้สถานการณ์ใหม่ของเศรษฐกิจโลก เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้นำเสนอและได้รับความเห็นชอบในกรอบยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่ โดยมุ่งปรับเปลี่ยนทิศทางการส่งเสริมการลงทุนใหม่ที่มุ่งเน้นคุณค่าการลงทุนโดยการให้สิทธิและประโยชน์ในลักษณะเป็นการเฉพาะ (Customized Incentive Package) ตามคุณค่าของโครงการลงทุนที่จะเอื้อประโยชน์แก่เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แทนการให้สิทธิและประโยชน์เป็นการทั่วไป การมุ่งส่งเสริมการลงทุนในลักษณะ Cluster แทนการส่งเสริมการลงทุนเป็นโครงการ ๆ ไป และการริเริ่มนำแนวคิดของการส่งเสริมการลงทุนแนวใหม่มาส่งเสริมให้เกิดมีการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะ เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ (Skill, Technology and Innovation) โดยการรณรงค์ส่งเสริมการลงทุนในลักษณะเชิงรุก และการสร้างเครือข่ายการส่งเสริมการลงทุนในภูมิภาคเป้าหมายทั่วโลก
ผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุน เป็นดังนี้
1. สำนักงาน ฯ ได้ตั้งเป้าหมายตามคำรับรองการปฏิบัติราชการสำหรับปีงบประมาณ 2547 ดังนี้
1.1 มูลค่าคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน 270,000 ล้านบาท แต่สำนักงานฯ ได้รับจะพยายามทำตามเป้าหมายที่ 290,000 ล้านบาท
1.2 จำนวนโครงการ SMEs ที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน 100 โครงการ
1.3 จำนวนโครงการที่มุ่งส่งเสริมคุณค่า STI (Skill, Technology and Innovation) ที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน 80 โครงการ
2. การปฏิบัติงานในช่วงเกือบ 10 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค. 2546-21 ก.ค. 2547) มีผลสัมฤทธิ์เกินเป้าหมายทุกด้านดังนี้
2.1 มูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 394,000 ล้านบาท เทียบกับเป้าหมาย 290,000 ล้านบาท
2.2 จำนวนโครงการ SMEs ที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน 158 โครงการ เทียบกับเป้าหมาย 100 โครงการ
2.3 จำนวนโครงการ STI ที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน 102 โครงการ เทียบกับเป้าหมาย 80 โครงการ
3. การดำเนินภารกิจเพื่อสร้างเครือข่ายการส่งเสริมการลงทุนในภูมิภาคเป้าหมาย จนถึงปัจจุบันได้มีการลงนาม MOU กับหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน หอการค้าและธนาคารรวม 17 ประเทศ จำนวน 28 หน่วยงาน ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น จีน ยุโรป สิงคโปร์ อเมริกา และอินเดีย เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานพันธมิตรทั้งหลายจะช่วยทั้งด้านเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์และแนะนำนักลงทุนกลุ่มเป้าหมาย
4. การชักจูงการลงทุนเชิงรุกจากต่างประเทศ ได้มีการจัดคณะเพื่อพบปะนักธุรกิจกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งการสัมมนาเพื่อเผยแพร่นโยบายการลงทุน ซึ่งกำหนดเป้าหมายไว้ 40 ครั้ง ในกลุ่มประเทศเป้าหมาย ได้แก่ เอเชีย ยุโรป อเมริกา ได้ดำเนินการไปแล้ว 30 ครั้ง
2. ภาวะเศรษฐกิจปี 2547 เติบโตต่อเนื่อง มีการลงทุนภาคเอกชนเป็นแรงหนุน
เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปัจจัยหลักที่เป็นตัวขับเคลื่อนการขยายตัวด้านเศรษฐกิจคือการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวถึงร้อยละ 17.7 ในขณะที่การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 6.3 การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 และ 11.0 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกและการนำเข้านั้นเป็นปัจจัยที่ชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากการส่งออกมีอัตราการเพิ่มที่ลดลง คือ ไตรมาสแรกของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2546 ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 13.7
เศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตในอัตราชะลอตัวในครึ่งหลังของปี เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความเสี่ยงต่อการก่อการร้าย อัตราดอกเบี้ยในยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น สำหรับปัจจัยที่จะเป็นตัวกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป คือ การลงทุนภาคเอกชนซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวที่ดี
3. ภาวะการลงทุนขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง
ในช่วงปี 2546 และ 6 เดือนแรกของปี 2547 การลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวในอัตราสูง ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการลงทุนที่ขอรับการส่งเสริมในปี 2546 ประมาณ 315,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 25 สำหรับในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 มูลค่าการลงทุนที่ขอรับการส่งเสริมสูงถึง 280,000 ล้านบาท เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปี 2546 ประมาณ ร้อยละ 87
อุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวสูงในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมพื้นฐาน เช่น ปิโตรเคมี (PTA) และการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน กิจการสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน
นโยบายส่งเสริมการลงทุนได้ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุน และสนับสนุนการพัฒนา Cluster อุตสาหกรรมมากขึ้น รวมทั้งคำนึงถึงคุณค่าของโครงการที่มีต่อเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของประเทศและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งในช่วงปี 2546 ต่อเนื่องถึงปี 2547 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ปรับนโยบายที่สำคัญ โดยจากการปรับนโยบายส่งเสริมได้เห็นผลที่ชัดเจนในนโยบายสำคัญๆ เช่น การส่งเสริม SMEs ไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 มีจำนวนถึง 98 โครงการมูลค่าลงทุนรวมกว่า 7,300 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในกิจการเลี้ยงสัตว์ กิจการผลิตน้ำมันจากพืชและสัตว์ และกิจการคัดคุณภาพข้าว เป็นต้น
ส่วนในด้านอุตสาหกรรมการผลิตทั่วไปที่มีการลงทุนด้าน STI (Skill, Technology and Innovation) เพิ่มขึ้น โดยมีจำนวน 71 โครงการในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 เช่น อุตสาหกรรมเส้นใยประดิษฐ์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
นอกจากนี้ในด้านการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม แม้สำนักงานจะมิใช่หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง แต่ได้ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมกับโครงการที่ขอรับการส่งเสริม ในกรณีที่เป็นกิจการที่ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามประกาศของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ก็จะบังคับเป็นเงื่อนไขจะต้องจัดทำรายงานภายในระยะเวลาที่กำหนด
4. แนวโน้มการลงทุนมีอนาคตที่แจ่มใส
การลงทุนในประเทศในอนาคตมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นผลจากปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่
4.1 อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม (ข้อมูล ณ เดือนเมษายน) อยู่ในระดับที่สูง
4.2 ประเทศไทยมีบรรยากาศการลงทุนที่ดีในสายตาของนักลงทุนต่างประเทศ กล่าวคือ
1) ในช่วงต้นปี 2547 UNCTAD และ Corporate Location Magazine ของประเทศอังกฤษ ได้ร่วมกันจัดทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนชั้นนำของทุกภูมิภาคทั่วโลก จำนวน 87 ราย โดยการสำรวจความคิดเห็นดังกล่าว ได้จัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นประกาศที่มีความน่าลงทุนเป็นลำดับที่ 4 ของโลกหรือลำดับที่ 3 ของเอเชีย แสดงให้เห็นว่าบรรยากาศการลงทุนของไทยมีระดับที่ดีขึ้นมาก และมีศักยภาพที่ไทยจะสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนให้อยู่ในลำดับ 3 ของเอเชีย สอดคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่มุ่งจะยกระดับการดึงดูดการลงทุนของไทยจากลำดับที่ 11 มาเป็น 5 ลำดับแรกของเอเชียภายในปี 2549
2) รายงาน Annual Gallup Business Survey โดยหอการค้าอเมริกาในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งทำการสำรวจความคิดเห็นของสมาชิกหอการค้าในแต่ละประเทศรวมทั้งไทยในปี 2547 นี้ ระบุว่านักธุรกิจอเมริกันในไทยส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจไทยจะยังคงขยายตัวได้ดี และเห็นว่าประเทศไทยมีบรรยากาศการลงทุนที่ดีโดยเฉพาะในเรื่องความปลอดภัย ประมาณร้อยละ 76 ของสมาชิกมีแผนที่จะขยายธุรกิจในไทย ในขณะที่นักธุรกิจอเมริกามีแผนจะลดการลงทุนในประเทศจีน และเวียดนาม อย่างไรก็ตามนักธุรกิจอเมริกันส่วนใหญ่เห็นว่าเรื่องคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่สำคัญของทุกประเทศในอาเซียนและเป็นปัจจัยที่สำคัญซึ่งกระทบต่อการตัดสินใจขยายธุรกิจในอนาคต
3) Foreign Investor Confidence Survey โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งทำการสำรวจความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติในไทยทุกปี สำหรับผลการสำรวจล่าสุดในปี 2546 พบว่านักลงทุนต่างชาติเห็นว่าประเทศไทยมีบรรยากาศการลงทุนที่ดี และส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 75 ของนักลงทุนที่ตอบแบบสอบถามหรือประมาณ 900 ราย) มีแผนขยายการลงทุนในไทยระหว่างปี 2547-2549
4.3 ภาวะเศรษฐกิจของประเทศผู้ลงทุนหลัก และประเทศคู่ค้าของไทยดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการขยายการลงทุนนอกประเทศมากขึ้น และโอกาสที่ผู้ผลิตไทยจะลงทุนขยายการผลิตเพื่อส่งออกมีสูงขึ้น เช่น เศรษฐกิจญี่ปุ่น เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา เริ่มฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง เศรษฐกิจกลุ่มประเทศ EU จะขยายตัว เศรษฐกิจจีน ไตรมาสแรกปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 9.7
5. แนวทางการส่งเสริมในระยะต่อไป สำนักงานฯ จะปรับยุทธศาสตร์มาตรการและวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความต้องการของนักลงทุน รวมทั้งกลั่นกรองเพื่อให้เกิดการลงทุนที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตามก็ยังอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของ พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุนฉบับปัจจุบัน ซึ่งใช้บังคับมาเป็นเวลากว่า 27 ปี ดังนั้นในระยะอันใกล้ สำนักงานฯ จะนำเสนอให้แก้ไขกฎหมายส่งเสริมการลงทุน เพื่อให้มีเครื่องมือใหม่ ๆ ในการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนตามเป้าหมาย และเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการประกอบธุรกิจในประเทศให้มากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-