คณะรัฐมนตรีรับทราบ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ประธานคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก สรุปรายงานสถานการณ์และความก้าวหน้าในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ความเป็นมาและสถานการณ์ปัจจุบัน
ได้เริ่มเกิดปรากฏอุบัติการณ์ไข้หวัดนกขึ้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2547 ที่หมู่ 7 ตำบลหน้าโคก อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่าเกิดจากเชื้อโรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรง H5 N1 (Highly Pathogenic Avian Influenza) นับจนถึงปัจจุบัน (25 กรกฎาคม 2547) ได้ดำเนินการทำลายสัตว์ปีกในพื้นที่สงสัยเกิดโรค รวมทั้งสิ้น 107 จุด ในพื้นที่ 31 จังหวัด ซึ่งได้ควบคุมโรค และได้ทำลายสัตว์ปีกในพื้นที่สงสัยแล้วทั้งหมดทุกจุด ทั้งนี้แยกผลของการตรวจโรคได้คือ
พบเชื้อไข้หวัดนก 47 จุด ในพื้นที่ 18 จังหวัด
ไม่พบเชื้อไข้หวัดนก 5 จุด ในพื้นที่ 4 จังหวัด
รอผลการตรวจ 55 จุด ในพื้นที่ 20 จังหวัด
ทั้งนี้พบว่าจุดที่ได้ทำลายสัตว์ปีกที่สงสัยเกิดโรคไปแล้วนั้นเป็นจุดที่มีสัตว์ปีกจำนวนน้อยกว่า 50 ตัว เป็นจำนวน 53 จุด คิดเป็น 49.5% ของจำนวนจุดที่ทำลายทั้งหมดและได้ทำลายสัตว์ปีกที่สงสัยไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 204,566 ตัว
2. มาตรการและการดำเนินงาน
2.1 หลักการสำคัญ คือ การสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ในการควบคุมและกำจัดโรคไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด โดยทำลายสัตว์ปีก ณ จุดสงสัยทันที ควบคุมการเคลื่อนย้ายและกักกันสัตว์ปีก พร้อมทั้งการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด ทั้งในคนและสัตว์ปีก โดยเน้นให้เกิดความปลอดภัยในคนเป็นสำคัญ
2.2 มาตรการดำเนินการ
1) ในกรณีที่พบสัตว์ปีก มีอาการที่สงสัยว่าเป็นโรค และมีการตายกะทันหันมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 1 วัน จะใช้มาตรการทำลายทันที โดยไม่ต้องรอยืนยันผลจากห้องปฏิบัติการ พร้อมทั้งให้ปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่รายงานให้สาธารณสุขจังหวัดทราบ เพื่อเข้าไปเฝ้าระวังโรคในคน
2) ทำการเฝ้าระวัง พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างจากอุจจาระสัตว์ปีก (cloacal Swab)ในพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตร โดยรอบจุดที่ได้ทำลายสัตว์ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3) ควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกทั้งประเทศ โดยสัตว์ปีกที่จะได้รับอนุญาตให้เคลื่อนย้ายได้จะต้องมีผลตรวจไม่เป็นโรค แต่สำหรับกรณีในพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตร ของจุดเกิดโรค จะห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกออกนอกพื้นที่เป็นเวลา 21 วัน
4) ให้ปศุสัตว์จังหวัดและปศุสัตว์อำเภอติดตามเฝ้าระวังโรคเชิงรุก โดยวางระบบการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกด้วยอาการทางคลินิก (Clinical Surveillance) ในพื้นที่ ทั้งระบบการรายงานโรค การตรวจสอบ และการดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดโดยทันที
2.3 ประเมินสถานการณ์
กรณีสัตว์ปีก จากการตรวจพบโรคไข้หวัดนก พบว่าเป็นจุดหย่อมเล็ก ๆ ซึ่งกระจายตัวในพื้นที่จังหวัดและอำเภอที่มีการระบาดเมื่อต้นปีเป็นส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามจากประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังโรคที่เพิ่มขึ้น การควบคุมโรคโดยการทำลายสัตว์ปีก ตั้งแต่เมื่อเริ่มมีปรากฏอาการที่สงสัยรวมทั้งการควบคุมพื้นที่ ทั้งในเรื่องการควบคุมการเคลื่อนย้ายและการเฝ้าระวังโรค ทำให้โรคไม่แพร่กระจายออกจากจุดที่พบโรค
กรณีในคน นับตั้งแต่ 1-25 กรกฎาคม 2547 กระทรวงสาธารณสุขได้สรุปรายงานผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่หรือปอดบวม ที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก รวม 19 ราย จาก 12 จังหวัด ปรากฏว่า ไม่พบว่าเป็นไข้หวัดนก 17 ราย และอยู่ในระหว่างการสอบสวนโรค 2 ราย (พระนครศรีอยุธยาและสระบุรี)
3. การเตรียมการที่สำคัญด้านอื่น ๆ
3.1 ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านวิชาการเพื่อกำหนดแนวทางศึกษาวิจัยโรคไข้หวัดนก ซึ่งมีนายกสัตวแพทยสภา เป็นประธานดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนก การควบคุมป้องกันและการใช้วัคซีน ตลอดจนให้มีการประชุมสัมมนาทางวิชาการแก่นักวิชาการและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนและผู้ประกอบการ
3.2 ให้เข้มงวดมาตรการการเฝ้าระวังโรคทั้งในคนและในสัตว์ โดยการประสานงานระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงมหาดไทย ให้เน้นให้เกิดความปลอดภัยด้านสุขภาพในคนและความปลอดภัยด้านอาหารเป็นสำคัญ
3.3 ความร่วมมือกับต่างประเทศในการควบคุมโรคระยะยาว กรมปศุสัตว์ได้เข้าร่วมโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับ FAO ในการจัดประชุมการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 10 ประเทศ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญในด้านการควบคุมโรคไข้หวัดนกจากประเทศที่มีการระบาด มาประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็น ในเรื่องมาตรการในการควบคุมโรคไข้หวัดนก ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-30 กรกฎาคม 2547 ณ ประเทศไทย โดยประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางด้านการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการและเครือข่ายเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3.4 ให้มีคณะทำงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเลี้ยงสัตว์ปีกในอนาคต โดยมอบหมายให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน
3.5 ให้กรมประชาสัมพันธ์ ตั้งคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนก และจัดให้มีการประเมินมุมมองของประชาชนต่อข่าวสารการเกิดโรคไข้หวัดนก เพื่อจะได้นำสู่การแก้ไขปัญหาและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน
4. ความก้าวหน้าในการจ่ายเงินชดเชยและช่วยเหลือเกษตรกร (ในกรณีที่เกิดโรค เมื่อ เดือน มกราคม-เมษายน 2547)
เพื่อให้เกิดความร่วมมือของเกษตรกรในการดำเนินงาน ได้มีการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินชดเชยและช่วยเหลือดังกล่าว ซึ่งเป็นจำนวนพันธุ์สัตว์ที่เสียหาย 60.6 ล้านตัว เกษตรกร 407,338 ราย รวมจำนวนเงินที่ชดเชยและช่วยเหลือ เป็นเงิน 5,322.4 ล้านบาท ผลการเบิกจ่ายคือ
* เงินชดเชย 1,913.8 ล้านบาท ได้โอนให้จังหวัดทั้งหมดแล้ว เบิกจ่ายให้เกษตรกรแล้ว 1,599.3 ล้านบาท
* เงินช่วยเหลือ 3,408.6 ล้านบาท
- เป็นงบกลาง 1,084.6 ล้านบาท ได้โอนให้จังหวัดทั้งหมดแล้ว เบิกจ่ายให้เกษตรกรแล้ว 244.1 ล้านบาท
- เงินยืมจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร 2,324 ล้านบาท ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรแล้ว อยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ เพื่อจะได้เบิกจ่ายให้แก่เกษตรกรต่อไป
อนึ่ง จากการที่จังหวัดได้ตรวจสอบข้อมูลและการขอรับเงินชดเชยของเกษตรกรโดยละเอียด พบว่ามีการยื่นรายชื่อซ้ำ และถูกคัดค้านในการขอรับเงินชดเชยดังกล่าว ในเบื้องต้น 26 จังหวัด เป็นจำนวนเงินประมาณ 32 ล้านบาท ที่ไม่ต้องจ่ายให้แก่เกษตรกร ทั้งนี้จะได้ดำเนินการตรวจสอบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. ความเป็นมาและสถานการณ์ปัจจุบัน
ได้เริ่มเกิดปรากฏอุบัติการณ์ไข้หวัดนกขึ้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2547 ที่หมู่ 7 ตำบลหน้าโคก อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่าเกิดจากเชื้อโรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรง H5 N1 (Highly Pathogenic Avian Influenza) นับจนถึงปัจจุบัน (25 กรกฎาคม 2547) ได้ดำเนินการทำลายสัตว์ปีกในพื้นที่สงสัยเกิดโรค รวมทั้งสิ้น 107 จุด ในพื้นที่ 31 จังหวัด ซึ่งได้ควบคุมโรค และได้ทำลายสัตว์ปีกในพื้นที่สงสัยแล้วทั้งหมดทุกจุด ทั้งนี้แยกผลของการตรวจโรคได้คือ
พบเชื้อไข้หวัดนก 47 จุด ในพื้นที่ 18 จังหวัด
ไม่พบเชื้อไข้หวัดนก 5 จุด ในพื้นที่ 4 จังหวัด
รอผลการตรวจ 55 จุด ในพื้นที่ 20 จังหวัด
ทั้งนี้พบว่าจุดที่ได้ทำลายสัตว์ปีกที่สงสัยเกิดโรคไปแล้วนั้นเป็นจุดที่มีสัตว์ปีกจำนวนน้อยกว่า 50 ตัว เป็นจำนวน 53 จุด คิดเป็น 49.5% ของจำนวนจุดที่ทำลายทั้งหมดและได้ทำลายสัตว์ปีกที่สงสัยไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 204,566 ตัว
2. มาตรการและการดำเนินงาน
2.1 หลักการสำคัญ คือ การสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ในการควบคุมและกำจัดโรคไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด โดยทำลายสัตว์ปีก ณ จุดสงสัยทันที ควบคุมการเคลื่อนย้ายและกักกันสัตว์ปีก พร้อมทั้งการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด ทั้งในคนและสัตว์ปีก โดยเน้นให้เกิดความปลอดภัยในคนเป็นสำคัญ
2.2 มาตรการดำเนินการ
1) ในกรณีที่พบสัตว์ปีก มีอาการที่สงสัยว่าเป็นโรค และมีการตายกะทันหันมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 1 วัน จะใช้มาตรการทำลายทันที โดยไม่ต้องรอยืนยันผลจากห้องปฏิบัติการ พร้อมทั้งให้ปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่รายงานให้สาธารณสุขจังหวัดทราบ เพื่อเข้าไปเฝ้าระวังโรคในคน
2) ทำการเฝ้าระวัง พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างจากอุจจาระสัตว์ปีก (cloacal Swab)ในพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตร โดยรอบจุดที่ได้ทำลายสัตว์ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3) ควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกทั้งประเทศ โดยสัตว์ปีกที่จะได้รับอนุญาตให้เคลื่อนย้ายได้จะต้องมีผลตรวจไม่เป็นโรค แต่สำหรับกรณีในพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตร ของจุดเกิดโรค จะห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกออกนอกพื้นที่เป็นเวลา 21 วัน
4) ให้ปศุสัตว์จังหวัดและปศุสัตว์อำเภอติดตามเฝ้าระวังโรคเชิงรุก โดยวางระบบการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกด้วยอาการทางคลินิก (Clinical Surveillance) ในพื้นที่ ทั้งระบบการรายงานโรค การตรวจสอบ และการดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดโดยทันที
2.3 ประเมินสถานการณ์
กรณีสัตว์ปีก จากการตรวจพบโรคไข้หวัดนก พบว่าเป็นจุดหย่อมเล็ก ๆ ซึ่งกระจายตัวในพื้นที่จังหวัดและอำเภอที่มีการระบาดเมื่อต้นปีเป็นส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามจากประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังโรคที่เพิ่มขึ้น การควบคุมโรคโดยการทำลายสัตว์ปีก ตั้งแต่เมื่อเริ่มมีปรากฏอาการที่สงสัยรวมทั้งการควบคุมพื้นที่ ทั้งในเรื่องการควบคุมการเคลื่อนย้ายและการเฝ้าระวังโรค ทำให้โรคไม่แพร่กระจายออกจากจุดที่พบโรค
กรณีในคน นับตั้งแต่ 1-25 กรกฎาคม 2547 กระทรวงสาธารณสุขได้สรุปรายงานผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่หรือปอดบวม ที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก รวม 19 ราย จาก 12 จังหวัด ปรากฏว่า ไม่พบว่าเป็นไข้หวัดนก 17 ราย และอยู่ในระหว่างการสอบสวนโรค 2 ราย (พระนครศรีอยุธยาและสระบุรี)
3. การเตรียมการที่สำคัญด้านอื่น ๆ
3.1 ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านวิชาการเพื่อกำหนดแนวทางศึกษาวิจัยโรคไข้หวัดนก ซึ่งมีนายกสัตวแพทยสภา เป็นประธานดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนก การควบคุมป้องกันและการใช้วัคซีน ตลอดจนให้มีการประชุมสัมมนาทางวิชาการแก่นักวิชาการและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนและผู้ประกอบการ
3.2 ให้เข้มงวดมาตรการการเฝ้าระวังโรคทั้งในคนและในสัตว์ โดยการประสานงานระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงมหาดไทย ให้เน้นให้เกิดความปลอดภัยด้านสุขภาพในคนและความปลอดภัยด้านอาหารเป็นสำคัญ
3.3 ความร่วมมือกับต่างประเทศในการควบคุมโรคระยะยาว กรมปศุสัตว์ได้เข้าร่วมโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับ FAO ในการจัดประชุมการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 10 ประเทศ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญในด้านการควบคุมโรคไข้หวัดนกจากประเทศที่มีการระบาด มาประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็น ในเรื่องมาตรการในการควบคุมโรคไข้หวัดนก ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-30 กรกฎาคม 2547 ณ ประเทศไทย โดยประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางด้านการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการและเครือข่ายเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3.4 ให้มีคณะทำงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเลี้ยงสัตว์ปีกในอนาคต โดยมอบหมายให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน
3.5 ให้กรมประชาสัมพันธ์ ตั้งคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนก และจัดให้มีการประเมินมุมมองของประชาชนต่อข่าวสารการเกิดโรคไข้หวัดนก เพื่อจะได้นำสู่การแก้ไขปัญหาและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน
4. ความก้าวหน้าในการจ่ายเงินชดเชยและช่วยเหลือเกษตรกร (ในกรณีที่เกิดโรค เมื่อ เดือน มกราคม-เมษายน 2547)
เพื่อให้เกิดความร่วมมือของเกษตรกรในการดำเนินงาน ได้มีการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินชดเชยและช่วยเหลือดังกล่าว ซึ่งเป็นจำนวนพันธุ์สัตว์ที่เสียหาย 60.6 ล้านตัว เกษตรกร 407,338 ราย รวมจำนวนเงินที่ชดเชยและช่วยเหลือ เป็นเงิน 5,322.4 ล้านบาท ผลการเบิกจ่ายคือ
* เงินชดเชย 1,913.8 ล้านบาท ได้โอนให้จังหวัดทั้งหมดแล้ว เบิกจ่ายให้เกษตรกรแล้ว 1,599.3 ล้านบาท
* เงินช่วยเหลือ 3,408.6 ล้านบาท
- เป็นงบกลาง 1,084.6 ล้านบาท ได้โอนให้จังหวัดทั้งหมดแล้ว เบิกจ่ายให้เกษตรกรแล้ว 244.1 ล้านบาท
- เงินยืมจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร 2,324 ล้านบาท ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรแล้ว อยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ เพื่อจะได้เบิกจ่ายให้แก่เกษตรกรต่อไป
อนึ่ง จากการที่จังหวัดได้ตรวจสอบข้อมูลและการขอรับเงินชดเชยของเกษตรกรโดยละเอียด พบว่ามีการยื่นรายชื่อซ้ำ และถูกคัดค้านในการขอรับเงินชดเชยดังกล่าว ในเบื้องต้น 26 จังหวัด เป็นจำนวนเงินประมาณ 32 ล้านบาท ที่ไม่ต้องจ่ายให้แก่เกษตรกร ทั้งนี้จะได้ดำเนินการตรวจสอบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-