คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการประจำตำบลและการดำเนินงานของปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
1. การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการประจำตำบล ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ขณะนี้ได้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการประจำตำบล ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 250 แห่ง เรียบร้อยแล้ว โดยได้ใช้เป็นสำนักงานและเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงานของฝ่ายปกครอง ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปฏิบัติภารกิจหน้าที่ในด้านการรักษาความมั่นคงภายใน ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย และด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยมีปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะผู้ปฏิบัติงาน และเพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการประจำตำบลฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต กรมการปกครองได้จัดหาอุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นรวมทั้ง การดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล ดังนี้
1) การจัดซื้อคอมพิวเตอร์ พร้อมอุปกรณ์ รถจักรยานยนต์ และเครื่องมือสื่อสารสำหรับศูนย์ปฏิบัติการประจำตำบลฯ ทุกแห่ง
2) เสนอร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารราชการระดับตำบล พ.ศ. .... เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้การบริหารราชการในระดับตำบล เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีผู้รับผิดชอบภารกิจด้านต่าง ๆ อย่างชัดเจน
3) ฝึกอบรม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และราษฎรในหมู่บ้าน และจัดตั้งเป็นชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) และบางส่วนของจังหวัดสงขลาและสตูล ไปแล้ว จำนวน 1,099 หมู่บ้าน ๆ ละ 30 คน ปฏิบัติงานรักษาความสงบเรียบร้อยและเป็นชุดคุ้มครองหมู่บ้านร่วมกับกำลังทหาร ตำรวจ และสมาชิกอาสารักษาดินแดน และกรมการปกครองกำลังขออนุมัติงบประมาณ เพื่อดำเนินการให้ครบทุกหมู่บ้านต่อไป
2. การดำเนินงานของปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล
กรมการปกครองได้แต่งตั้ง (ย้าย) และปรับเกลี่ยอัตรากำลังปลัดอำเภอไปปฏิบัติหน้าที่ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล จำนวน 250 อัตรา โดยได้จัดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติที่ถูกต้อง สำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ก่อนที่จะลงไปปฏิบัติหน้าที่ และได้บรรจุแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปกครอง จำนวน 250 อัตรา จากบุคคลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ประจำตำบล ซึ่งได้จัดฝึกอบรมก่อนลงไปปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล เจ้าหน้าที่ปกครอง และคณะผู้ปฏิบัติงานในระดับตำบล ได้ร่วมกันปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามวัตถุประสงค์และนโยบายของรัฐบาลที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
1) ด้านความมั่นคงภายในและการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของตำบล หมู่บ้าน
1.1) ดำเนินการสำรวจสำมะโนประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลด้านการประกอบอาชีพ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในด้านความมั่นคง และการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา
1.2) ประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และแกนนำในตำบล หมู่บ้าน รวมทั้ง ผู้ประสานพลังแผ่นดิน ร่วมกันทำประชาคม ตรวจสอบ และติดตามผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดตามนโยบายของรัฐบาล
1.3) การดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ โดยร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้เกี่ยวข้อง สำรวจตรวจสอบและระวังป้องกันการบุกรุก รวมทั้ง ร่วมกันกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์
1.4) การติดตามข่าวสารและหาข่าวที่เกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบ และข่าวความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อประเทศชาติ
2) ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและการอำนวยความเป็นธรรม
2.1) ดำเนินการร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในการคัดเลือกผู้มีความเหมาะสมเข้ารับการฝึกอบรมและจัดตั้งเป็นชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) หมู่บ้านละ 30 คน
2.2) ประสานงานร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ในการจัดเวรยามรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน และการตรวจตราการเข้าออกในหมู่บ้านของบุคคลแปลกหน้า
2.3) การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและการบริการประชาชน สามารถลดขั้นตอนการไปติดต่อราชการในระดับอำเภอ โดยเฉพาะงานทะเบียน การเพิ่มชื่อ แจ้งเกิดเกินกำหนด ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบลสามารถดำเนินการสอบสวนผู้เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ เช่น บิดา มารดา ครูอาจารย์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้เกี่ยวข้องแล้วเสร็จในตำบล โดยราษฎรไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปอำเภอ
2.4) การบริการและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน โดยการรับเรื่องจากประชาชน นำไปดำเนินการในระดับอำเภอ และนำกลับไปมอบให้ประชาชนในตำบล เช่น การรับรองการค้ำประกันเงินกู้ และงานทะเบียน เป็นต้น
3) ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน
3.1) ประสานงานร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องบูรณาการแผนงาน/โครงการของแต่ละหน่วยงานที่ดำเนินการในพื้นที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน เช่น โครงการ 1 ฟาร์ม 1 ตำบล การทำการเกษตรที่โรงเรียนปอเนาะ และโครงการปอเนาะในฝัน เป็นต้น
3.2) การแก้ไขปัญหาความยากจนตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล ได้เจรจาประนอมหนี้ โดยนัดเจ้าหนี้และลูกหนี้มาเจรจาได้ข้อยุติแล้วเป็นจำนวนมาก
3.3) การดำเนินงานตามโครงการแข่งขันฟุตบอล "ทักษิณ ลีก" โดยปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานการแข่งขันของทีมฟุตบอลในตำบล
3.4) การประสานงานและร่วมดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น โครงการเยาวชนเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้โครงการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนตาดีกา และโครงการ "พลังมวลชน - พลังแผ่นดิน" ก่อสานฐานถิ่นสันติสุข เป็นต้น
3.5) เป็นแกนหลักในการจัดกิจกรรมตำบลรู้รักสามัคคี โดยส่งเสริมบทบาทของผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น พลังมวลชน พลังแผ่นดิน ให้เข้ามาร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมกันแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองร่วมกับภาครัฐ
4) งานด้านมวลชน และการเป็นนายอำเภอของตำบล
4.1) การออกเยี่ยมเยียนและพบปะประชาชน สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมทั้งการนำเครื่องอุปโภค บริโภค ไปช่วยเหลือผู้เดือดร้อน โดยเฉพาะการไปพบปะประชาชนตามมัสยิดต่าง ๆ ในวันศุกร์ และตามวัดต่าง ๆ ในวันพระ
4.2) การออกเยี่ยมเยียนและควบคุมดูแล การปฏิบัติงานของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ในการอยู่เวรยามรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านในเวลากลางคืน
4.3) การร่วมกิจกรรมกับประชาชน และพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลที่รับผิดชอบเพื่อสร้างความเชื่อมั่น ศรัทธา เข้าถึงประชาชน และครองใจมวลชน
4.4) การประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น และครูผู้สอนในโรงเรียนตาดีกา ในตำบลที่รับผิดชอบ พร้อมกับจ่ายค่าตอบแทนประจำเดือน โดยมีเจ้าหน้าที่ปกครองและคณะผู้ปฏิบัติงานในตำบลเป็นผู้ช่วย
4.5) การรับเรื่องราวร้องทุกข์ และดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในตำบล หมู่บ้าน ในลักษณะของศูนย์ดำรงธรรมระดับตำบล
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยมีความเห็นว่า ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล และทีมงานคณะผู้ปฏิบัติงานในระดับตำบล จะเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และการดำเนินงานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะลงไปสู่ระดับตำบล หมู่บ้านในอนาคตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการประจำตำบล ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ขณะนี้ได้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการประจำตำบล ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 250 แห่ง เรียบร้อยแล้ว โดยได้ใช้เป็นสำนักงานและเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงานของฝ่ายปกครอง ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปฏิบัติภารกิจหน้าที่ในด้านการรักษาความมั่นคงภายใน ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย และด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยมีปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะผู้ปฏิบัติงาน และเพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการประจำตำบลฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต กรมการปกครองได้จัดหาอุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นรวมทั้ง การดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล ดังนี้
1) การจัดซื้อคอมพิวเตอร์ พร้อมอุปกรณ์ รถจักรยานยนต์ และเครื่องมือสื่อสารสำหรับศูนย์ปฏิบัติการประจำตำบลฯ ทุกแห่ง
2) เสนอร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารราชการระดับตำบล พ.ศ. .... เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้การบริหารราชการในระดับตำบล เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีผู้รับผิดชอบภารกิจด้านต่าง ๆ อย่างชัดเจน
3) ฝึกอบรม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และราษฎรในหมู่บ้าน และจัดตั้งเป็นชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) และบางส่วนของจังหวัดสงขลาและสตูล ไปแล้ว จำนวน 1,099 หมู่บ้าน ๆ ละ 30 คน ปฏิบัติงานรักษาความสงบเรียบร้อยและเป็นชุดคุ้มครองหมู่บ้านร่วมกับกำลังทหาร ตำรวจ และสมาชิกอาสารักษาดินแดน และกรมการปกครองกำลังขออนุมัติงบประมาณ เพื่อดำเนินการให้ครบทุกหมู่บ้านต่อไป
2. การดำเนินงานของปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล
กรมการปกครองได้แต่งตั้ง (ย้าย) และปรับเกลี่ยอัตรากำลังปลัดอำเภอไปปฏิบัติหน้าที่ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล จำนวน 250 อัตรา โดยได้จัดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติที่ถูกต้อง สำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ก่อนที่จะลงไปปฏิบัติหน้าที่ และได้บรรจุแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปกครอง จำนวน 250 อัตรา จากบุคคลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ประจำตำบล ซึ่งได้จัดฝึกอบรมก่อนลงไปปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล เจ้าหน้าที่ปกครอง และคณะผู้ปฏิบัติงานในระดับตำบล ได้ร่วมกันปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามวัตถุประสงค์และนโยบายของรัฐบาลที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
1) ด้านความมั่นคงภายในและการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของตำบล หมู่บ้าน
1.1) ดำเนินการสำรวจสำมะโนประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลด้านการประกอบอาชีพ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในด้านความมั่นคง และการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา
1.2) ประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และแกนนำในตำบล หมู่บ้าน รวมทั้ง ผู้ประสานพลังแผ่นดิน ร่วมกันทำประชาคม ตรวจสอบ และติดตามผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดตามนโยบายของรัฐบาล
1.3) การดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ โดยร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้เกี่ยวข้อง สำรวจตรวจสอบและระวังป้องกันการบุกรุก รวมทั้ง ร่วมกันกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์
1.4) การติดตามข่าวสารและหาข่าวที่เกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบ และข่าวความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อประเทศชาติ
2) ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและการอำนวยความเป็นธรรม
2.1) ดำเนินการร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในการคัดเลือกผู้มีความเหมาะสมเข้ารับการฝึกอบรมและจัดตั้งเป็นชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) หมู่บ้านละ 30 คน
2.2) ประสานงานร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ในการจัดเวรยามรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน และการตรวจตราการเข้าออกในหมู่บ้านของบุคคลแปลกหน้า
2.3) การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและการบริการประชาชน สามารถลดขั้นตอนการไปติดต่อราชการในระดับอำเภอ โดยเฉพาะงานทะเบียน การเพิ่มชื่อ แจ้งเกิดเกินกำหนด ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบลสามารถดำเนินการสอบสวนผู้เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ เช่น บิดา มารดา ครูอาจารย์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้เกี่ยวข้องแล้วเสร็จในตำบล โดยราษฎรไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปอำเภอ
2.4) การบริการและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน โดยการรับเรื่องจากประชาชน นำไปดำเนินการในระดับอำเภอ และนำกลับไปมอบให้ประชาชนในตำบล เช่น การรับรองการค้ำประกันเงินกู้ และงานทะเบียน เป็นต้น
3) ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน
3.1) ประสานงานร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องบูรณาการแผนงาน/โครงการของแต่ละหน่วยงานที่ดำเนินการในพื้นที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน เช่น โครงการ 1 ฟาร์ม 1 ตำบล การทำการเกษตรที่โรงเรียนปอเนาะ และโครงการปอเนาะในฝัน เป็นต้น
3.2) การแก้ไขปัญหาความยากจนตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล ได้เจรจาประนอมหนี้ โดยนัดเจ้าหนี้และลูกหนี้มาเจรจาได้ข้อยุติแล้วเป็นจำนวนมาก
3.3) การดำเนินงานตามโครงการแข่งขันฟุตบอล "ทักษิณ ลีก" โดยปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานการแข่งขันของทีมฟุตบอลในตำบล
3.4) การประสานงานและร่วมดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น โครงการเยาวชนเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้โครงการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนตาดีกา และโครงการ "พลังมวลชน - พลังแผ่นดิน" ก่อสานฐานถิ่นสันติสุข เป็นต้น
3.5) เป็นแกนหลักในการจัดกิจกรรมตำบลรู้รักสามัคคี โดยส่งเสริมบทบาทของผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น พลังมวลชน พลังแผ่นดิน ให้เข้ามาร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมกันแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองร่วมกับภาครัฐ
4) งานด้านมวลชน และการเป็นนายอำเภอของตำบล
4.1) การออกเยี่ยมเยียนและพบปะประชาชน สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมทั้งการนำเครื่องอุปโภค บริโภค ไปช่วยเหลือผู้เดือดร้อน โดยเฉพาะการไปพบปะประชาชนตามมัสยิดต่าง ๆ ในวันศุกร์ และตามวัดต่าง ๆ ในวันพระ
4.2) การออกเยี่ยมเยียนและควบคุมดูแล การปฏิบัติงานของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ในการอยู่เวรยามรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านในเวลากลางคืน
4.3) การร่วมกิจกรรมกับประชาชน และพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลที่รับผิดชอบเพื่อสร้างความเชื่อมั่น ศรัทธา เข้าถึงประชาชน และครองใจมวลชน
4.4) การประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น และครูผู้สอนในโรงเรียนตาดีกา ในตำบลที่รับผิดชอบ พร้อมกับจ่ายค่าตอบแทนประจำเดือน โดยมีเจ้าหน้าที่ปกครองและคณะผู้ปฏิบัติงานในตำบลเป็นผู้ช่วย
4.5) การรับเรื่องราวร้องทุกข์ และดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในตำบล หมู่บ้าน ในลักษณะของศูนย์ดำรงธรรมระดับตำบล
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยมีความเห็นว่า ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล และทีมงานคณะผู้ปฏิบัติงานในระดับตำบล จะเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และการดำเนินงานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะลงไปสู่ระดับตำบล หมู่บ้านในอนาคตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-