คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) เสนอ ดังนี้
1. คณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติ
งบประมาณก่อสร้างหอเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยของ 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน จำนวน 62 แห่ง
เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 38,655,000 บาท โดยแยกเป็น
1.1 มอบหมายให้จังหวัดภูเก็ตเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างหอเตือนภัยเองตามแบบแปลนของจังหวัด
จำนวน 4 แห่ง รวมเป็นเงินทั้งหมด 2,200,000 บาท
1.2 มอบหมายให้กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างหอเตือนภัยตามแบบแปลน
ของกรมโยธาธิการและผังเมืองจำนวน 58 แห่ง (ยกเว้นในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต) ภายในวงเงิน 36,455,000 บาท
2. จังหวัดดังกล่าวได้รายงานความคืบหน้าในการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัย ซึ่งรับสัญญาณจาก
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (จังหวัดนนทบุรี) โดยตรง ทั้งที่ใช้งบประมาณจากกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบ
สาธารณภัยฯ และงบประมาณของจังหวัด (เฉพาะจังหวัดภูเก็ต) รวมทั้งแผนการซ้อมอพยพหนีภัยสึนามิ สรุปดังนี้
จังหวัด หอเตือนภัย สร้างแล้วเสร็จ สถานที่ซ้อมแผนอพยพ
ทั้งหมด (จุด) (ในวันที่ 16 ธ.ค. 2548 เวลา 13.30 น.)
(จุด)
ภูเก็ต 18 9 จำนวน 2 จุด คือ ณ หาดกมลา อ.ถลาง และหาดป่าตอง อ.กระทู้
พังงา 16 8 จำนวน 1 จุด คือ ณ บ้านบางเนียง ต. คึกคัก อ.ตะกั่วป่า
กระบี่ 12 7 จำนวน 1 จุด คือ ณ บ้านเกาะพีพี ม. 7 ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่
ตรัง 11 2 จำนวน 1 จุด คือ ณ หาดยาว บ้านเจ้าไหม ม. 6 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง
ระนอง 5 3 จำนวน 1 จุด คือ ณ โรงเรียนบ้านบางเบน ม.4 ต.ม่วงกลาง กิ่ง อ.สุขสำราญ
สตูล 14 4 จำนวน 1 จุด คือ ณ สวนสาธารณะหาดราไว ม.4 ต.ขอนคลาน อ.ทุ่งหว้า
รวม 76 33
สำหรับการก่อสร้างหอเตือนภัยที่เหลืออีก 43 จุด ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนพื้นที่เกาะที่อยู่ห่างไกล
จะต้องรอการขนส่งเสาเหล็กของหอเตือนภัยไปในพื้นที่ดังกล่าวในช่วงที่คลื่นลมในทะเลสงบ โดยคาดว่าจะ
สามารถดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 ธันวาคม 2548--จบ--
1. คณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติ
งบประมาณก่อสร้างหอเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยของ 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน จำนวน 62 แห่ง
เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 38,655,000 บาท โดยแยกเป็น
1.1 มอบหมายให้จังหวัดภูเก็ตเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างหอเตือนภัยเองตามแบบแปลนของจังหวัด
จำนวน 4 แห่ง รวมเป็นเงินทั้งหมด 2,200,000 บาท
1.2 มอบหมายให้กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างหอเตือนภัยตามแบบแปลน
ของกรมโยธาธิการและผังเมืองจำนวน 58 แห่ง (ยกเว้นในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต) ภายในวงเงิน 36,455,000 บาท
2. จังหวัดดังกล่าวได้รายงานความคืบหน้าในการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัย ซึ่งรับสัญญาณจาก
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (จังหวัดนนทบุรี) โดยตรง ทั้งที่ใช้งบประมาณจากกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบ
สาธารณภัยฯ และงบประมาณของจังหวัด (เฉพาะจังหวัดภูเก็ต) รวมทั้งแผนการซ้อมอพยพหนีภัยสึนามิ สรุปดังนี้
จังหวัด หอเตือนภัย สร้างแล้วเสร็จ สถานที่ซ้อมแผนอพยพ
ทั้งหมด (จุด) (ในวันที่ 16 ธ.ค. 2548 เวลา 13.30 น.)
(จุด)
ภูเก็ต 18 9 จำนวน 2 จุด คือ ณ หาดกมลา อ.ถลาง และหาดป่าตอง อ.กระทู้
พังงา 16 8 จำนวน 1 จุด คือ ณ บ้านบางเนียง ต. คึกคัก อ.ตะกั่วป่า
กระบี่ 12 7 จำนวน 1 จุด คือ ณ บ้านเกาะพีพี ม. 7 ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่
ตรัง 11 2 จำนวน 1 จุด คือ ณ หาดยาว บ้านเจ้าไหม ม. 6 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง
ระนอง 5 3 จำนวน 1 จุด คือ ณ โรงเรียนบ้านบางเบน ม.4 ต.ม่วงกลาง กิ่ง อ.สุขสำราญ
สตูล 14 4 จำนวน 1 จุด คือ ณ สวนสาธารณะหาดราไว ม.4 ต.ขอนคลาน อ.ทุ่งหว้า
รวม 76 33
สำหรับการก่อสร้างหอเตือนภัยที่เหลืออีก 43 จุด ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนพื้นที่เกาะที่อยู่ห่างไกล
จะต้องรอการขนส่งเสาเหล็กของหอเตือนภัยไปในพื้นที่ดังกล่าวในช่วงที่คลื่นลมในทะเลสงบ โดยคาดว่าจะ
สามารถดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 ธันวาคม 2548--จบ--