คณะรัฐมนตรีรับทราบยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ดำเนินการ ดังนี้
1) กรมการขนส่งทางบกได้พิจารณารวมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและกฎหมายว่าด้วย
รถยนต์เข้าเป็นฉบับเดียวกัน และได้มีการปรับปรุงโครงสร้างอัตราภาษีโดยสนับสนุนส่งเสริมให้รถที่ใช้พลังงาน ทดแทนอย่างอื่นที่มิใช่น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวได้บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากฎหมายของกรมการ ขนส่งทาง
บกแล้ว คาดว่าจะมีการนำเสนอรัฐสภาพิจารณาต่อไป
2) การดำเนินงานที่ผ่านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536-ปัจจุบัน ได้มีการนำรถที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงมาจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ประเภทรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน (รถแท๊กซี่) มีประมาณ 4,500 คัน และจดทะเบียนเป็นรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกประมาณ 300 คัน
3) กรมการขนส่งทางบกได้ดำเนินการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยได้เสนอแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 เพื่อกำหนดอัตราภาษีประจำปีสำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า หรือพลังงานประเภทอื่นที่มิใช่เครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน ในอัตราที่ต่ำกว่ารถที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน
4) กรมการขนส่งทางบกได้ดำเนินโครงการลดการสูญเสียพลังงานจากการเดินรถบรรทุกเที่ยวเปล่า โดยจัด Web Site และ Call Center เพื่อเป็นศูนย์กลางในการตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลความต้องการว่าจ้างและรับจ้างขนส่งสินค้าทั่วประเทศ
2. กรมทางหลวง (ทล.) ดำเนินมาตรการในการประหยัดพลังงาน ดังนี้
1) มาตรการในการประหยัดพลังงานในงานไฟฟ้าแสงสว่างในทางหลวง (ยกเว้น 3 จังหวัด ชายแดน ภาคใต้) เช่น ทางหลวงที่เป็นทางตรงต่อเนื่องให้เปิดดวงเว้น 2 ดวง
2) มาตรการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงในงานบำรุงทาง เช่น ลดปริมาณการใช้เครื่องจักรให้น้อยลงและเพิ่มงานจ้างเหมาบำรุงให้มากขึ้น
3) มาตรการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง เช่น ใช้โทรศัพท์หรือ E-mail ในการติดต่อสื่อสารแทนการเดินทาง และใช้รถหลวงในงานราชการเท่าที่จำเป็น
4) มาตรการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในอาคารสำนักงาน เช่น เปิดเครื่องปรับอากาศเท่าที่จำเป็นอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ปิดเครื่องปรับอากาศก่อนออกจากห้องอย่างน้อย 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง ปิดไฟทุกดวงช่วงเวลาพักเที่ยงและหลังเลิกงาน
3. กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (ขน.) ได้ดำเนินงานก่อสร้างสถานีขนส่งสินค้าทางลำน้ำเพื่อการประหยัดพลังงาน
4. สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินการตามประเด็นการหารือร่วมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เรื่อง การประหยัดพลังงานด้านการขนส่งและจราจร เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2547 และตามยุทธศาสตร์ลดการใช้พลังงาน การพัฒนาระบบการขนส่งและจราจรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
5. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (บกท.) ได้ดำเนินการตามมาตรการหรือแผนงานเพื่อการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร และการวางแผนตารางบินเพื่อแก้ปัญหาพลังงานและการใช้น้ำมันเครื่องบิน
6. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ดำเนินการ ดังนี้
1) กทพ.ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในเรื่องของการอนุรักษ์พลังงานของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
2) กทพ.ดำเนินการอนุรักษ์พลังงานอาคาร กทพ. จตุจักร ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535
3) นโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานที่ กทพ. สมควรดำเนินการต่อไป คือ กทพ. ควรนำมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่ที่ปรึกษาเสนออีก 3 มาตรการ มาดำเนินการโดยใช้งบประมาณของ กทพ. ได้แก่ มาตรการปรับปรุงฉนวนหลังคา มาตรการการใช้สวิทซ์กระตุกที่โคมไฟฟ้า มาตรการใช้อุปกรณ์ลดแรงดันสำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์
4) กทพ. มีแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงานไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิงและสาธารณูปโภคให้พนักงานทุกระดับถือปฏิบัติอย่างเคร่ดครัด ตั้งแต่ปี 2544 และมอบหมายผู้รับผิดชอบประจำสังกัด/อาคารต่าง ๆ เป็นผู้ควบคุมดูแลการใช้พลังงานและสาธารณูปโภคให้เป็นไปตามมาตรการ รวมทั้งให้ สตส. มีหน้าที่ตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวอีกทางหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ดำเนินการ ดังนี้
1) กรมการขนส่งทางบกได้พิจารณารวมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและกฎหมายว่าด้วย
รถยนต์เข้าเป็นฉบับเดียวกัน และได้มีการปรับปรุงโครงสร้างอัตราภาษีโดยสนับสนุนส่งเสริมให้รถที่ใช้พลังงาน ทดแทนอย่างอื่นที่มิใช่น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวได้บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากฎหมายของกรมการ ขนส่งทาง
บกแล้ว คาดว่าจะมีการนำเสนอรัฐสภาพิจารณาต่อไป
2) การดำเนินงานที่ผ่านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536-ปัจจุบัน ได้มีการนำรถที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงมาจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ประเภทรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน (รถแท๊กซี่) มีประมาณ 4,500 คัน และจดทะเบียนเป็นรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกประมาณ 300 คัน
3) กรมการขนส่งทางบกได้ดำเนินการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยได้เสนอแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 เพื่อกำหนดอัตราภาษีประจำปีสำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า หรือพลังงานประเภทอื่นที่มิใช่เครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน ในอัตราที่ต่ำกว่ารถที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน
4) กรมการขนส่งทางบกได้ดำเนินโครงการลดการสูญเสียพลังงานจากการเดินรถบรรทุกเที่ยวเปล่า โดยจัด Web Site และ Call Center เพื่อเป็นศูนย์กลางในการตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลความต้องการว่าจ้างและรับจ้างขนส่งสินค้าทั่วประเทศ
2. กรมทางหลวง (ทล.) ดำเนินมาตรการในการประหยัดพลังงาน ดังนี้
1) มาตรการในการประหยัดพลังงานในงานไฟฟ้าแสงสว่างในทางหลวง (ยกเว้น 3 จังหวัด ชายแดน ภาคใต้) เช่น ทางหลวงที่เป็นทางตรงต่อเนื่องให้เปิดดวงเว้น 2 ดวง
2) มาตรการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงในงานบำรุงทาง เช่น ลดปริมาณการใช้เครื่องจักรให้น้อยลงและเพิ่มงานจ้างเหมาบำรุงให้มากขึ้น
3) มาตรการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง เช่น ใช้โทรศัพท์หรือ E-mail ในการติดต่อสื่อสารแทนการเดินทาง และใช้รถหลวงในงานราชการเท่าที่จำเป็น
4) มาตรการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในอาคารสำนักงาน เช่น เปิดเครื่องปรับอากาศเท่าที่จำเป็นอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ปิดเครื่องปรับอากาศก่อนออกจากห้องอย่างน้อย 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง ปิดไฟทุกดวงช่วงเวลาพักเที่ยงและหลังเลิกงาน
3. กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (ขน.) ได้ดำเนินงานก่อสร้างสถานีขนส่งสินค้าทางลำน้ำเพื่อการประหยัดพลังงาน
4. สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินการตามประเด็นการหารือร่วมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เรื่อง การประหยัดพลังงานด้านการขนส่งและจราจร เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2547 และตามยุทธศาสตร์ลดการใช้พลังงาน การพัฒนาระบบการขนส่งและจราจรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
5. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (บกท.) ได้ดำเนินการตามมาตรการหรือแผนงานเพื่อการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร และการวางแผนตารางบินเพื่อแก้ปัญหาพลังงานและการใช้น้ำมันเครื่องบิน
6. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ดำเนินการ ดังนี้
1) กทพ.ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในเรื่องของการอนุรักษ์พลังงานของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
2) กทพ.ดำเนินการอนุรักษ์พลังงานอาคาร กทพ. จตุจักร ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535
3) นโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานที่ กทพ. สมควรดำเนินการต่อไป คือ กทพ. ควรนำมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่ที่ปรึกษาเสนออีก 3 มาตรการ มาดำเนินการโดยใช้งบประมาณของ กทพ. ได้แก่ มาตรการปรับปรุงฉนวนหลังคา มาตรการการใช้สวิทซ์กระตุกที่โคมไฟฟ้า มาตรการใช้อุปกรณ์ลดแรงดันสำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์
4) กทพ. มีแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงานไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิงและสาธารณูปโภคให้พนักงานทุกระดับถือปฏิบัติอย่างเคร่ดครัด ตั้งแต่ปี 2544 และมอบหมายผู้รับผิดชอบประจำสังกัด/อาคารต่าง ๆ เป็นผู้ควบคุมดูแลการใช้พลังงานและสาธารณูปโภคให้เป็นไปตามมาตรการ รวมทั้งให้ สตส. มีหน้าที่ตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวอีกทางหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--