แท็ก
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี
กรมบัญชีกลาง
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ รายงานผลการเบิกจ่ายเงินและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานเงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 และให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมบัญชีกลาง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
รายงานผลการเบิกจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเมื่อสิ้นไตรมาส 2 (ตุลาคม 2546 - มีนาคม 2547) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 สรุปได้ดังนี้
1. เงินอุดหนุนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภทได้รับประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จำนวนรวมทั้งสิ้น 79,138,000,700 บาท (ยังไม่รวมเงินอุดหนุนเพิ่มเติมกลางปีงบประมาณ พ.ศ. 2547) มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 37,706,045,335.18 บาท คิดเป็นร้อยละ 47.65 จำแนกตามส่วนราชการ ได้ดังนี้
1) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวนเงินที่ได้รับจัดสรร จำนวน 1,791,821,100 บาท เบิกจ่าย 701,611,100 บาท คิดเป็นร้อยละ 39.16
2) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวนเงินที่ได้รับการจัดสรรจำนวน 66,067,194,000 บาท เบิกจ่าย 33,172,508,216 บาท คิดเป็นร้อยละ 50.21
3) กรุงเทพมหานคร จำนวนเงินที่ได้รับจัดสรร จำนวน 9,982,475,900 เบิกจ่าย 3,746,309,886.51 บาท คิดเป็นร้อยละ 37.53
4) เมืองพัทยา จำนวนเงินที่ได้รับจัดสรร จำนวน 1,296,509,700 บาท เบิกจ่าย 85,616,132.67 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.60
2. ปัญหาอุปสรรค สรุปได้ดังนี้
1) การจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางไม่เป็นไปตามกำหนดระยะเวลาทำให้โครงการส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่สามารถดำเนินการเบิกจ่ายตามแผนงานการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งมิได้ระบุรายละเอียดการใช้จ่ายเงินอุดหนุนไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี เนื่องจากไม่ทราบวงเงินที่ได้รับการจัดสรรจึงต้องมีการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติมในภายหลัง
3) มีการปรับรายละเอียดการก่อสร้างเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่เปลี่ยนไป ส่งผลต้องมีการปรับแก้สัญญา และงวดงานเพื่อให้เกิดความเหมาะสม
4) สัญญาจ้างไม่มีความยืดหยุ่นให้ผู้รับเหมาสามารถสลับงวดงานในการดำเนินการก่อสร้างได้
5) การแบ่งงวดงานไม่เหมาะสมกับงวดงานการเบิกจ่าย เช่น งวดงานที่แบ่งไว้ใหญ่เกินไป
6) ผู้รับจ้างไม่ดำเนินการตามสัญญาและแผนงานที่วางไว้
7) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งประสบปัญหาภัยธรรมชาติ เช่น เทศบาลศรีอยุธยาประสบปัญหาอุทกภัย จึงจำเป็นต้องหยุดการก่อสร้างชั่วคราว
8) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งไม่สามารถวางฎีกาเบิกเงินได้แม้ว่าจะได้รับอนุมัติแล้ว เนื่องจากคลังจังหวัดยังไม่ได้รับสำเนาใบอนุมัติเงินประจำงวดจากกรมบัญชีกลาง
9) การถ่ายโอนภารกิจงานดับเพลิง และบรรเทาสาธารณภัยจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปเป็น ภารกิจของกรุงเทพมหานครยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ จึงทำให้เงินอุดหนุนเกี่ยวกับงานดับเพลิง และบรรเทาสาธารณภัยของกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ยังไม่มีการเบิกจ่าย
10) เงินอุดหนุนเฉพาะกิจเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครมีรายละเอียด และขั้นตอนการดำเนินงานมาก รวมทั้งเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานจึงทำให้ไม่สามารถดำเนินงานได้ในช่วงต้นปีงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
รายงานผลการเบิกจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเมื่อสิ้นไตรมาส 2 (ตุลาคม 2546 - มีนาคม 2547) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 สรุปได้ดังนี้
1. เงินอุดหนุนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภทได้รับประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จำนวนรวมทั้งสิ้น 79,138,000,700 บาท (ยังไม่รวมเงินอุดหนุนเพิ่มเติมกลางปีงบประมาณ พ.ศ. 2547) มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 37,706,045,335.18 บาท คิดเป็นร้อยละ 47.65 จำแนกตามส่วนราชการ ได้ดังนี้
1) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวนเงินที่ได้รับจัดสรร จำนวน 1,791,821,100 บาท เบิกจ่าย 701,611,100 บาท คิดเป็นร้อยละ 39.16
2) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวนเงินที่ได้รับการจัดสรรจำนวน 66,067,194,000 บาท เบิกจ่าย 33,172,508,216 บาท คิดเป็นร้อยละ 50.21
3) กรุงเทพมหานคร จำนวนเงินที่ได้รับจัดสรร จำนวน 9,982,475,900 เบิกจ่าย 3,746,309,886.51 บาท คิดเป็นร้อยละ 37.53
4) เมืองพัทยา จำนวนเงินที่ได้รับจัดสรร จำนวน 1,296,509,700 บาท เบิกจ่าย 85,616,132.67 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.60
2. ปัญหาอุปสรรค สรุปได้ดังนี้
1) การจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางไม่เป็นไปตามกำหนดระยะเวลาทำให้โครงการส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่สามารถดำเนินการเบิกจ่ายตามแผนงานการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งมิได้ระบุรายละเอียดการใช้จ่ายเงินอุดหนุนไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี เนื่องจากไม่ทราบวงเงินที่ได้รับการจัดสรรจึงต้องมีการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติมในภายหลัง
3) มีการปรับรายละเอียดการก่อสร้างเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่เปลี่ยนไป ส่งผลต้องมีการปรับแก้สัญญา และงวดงานเพื่อให้เกิดความเหมาะสม
4) สัญญาจ้างไม่มีความยืดหยุ่นให้ผู้รับเหมาสามารถสลับงวดงานในการดำเนินการก่อสร้างได้
5) การแบ่งงวดงานไม่เหมาะสมกับงวดงานการเบิกจ่าย เช่น งวดงานที่แบ่งไว้ใหญ่เกินไป
6) ผู้รับจ้างไม่ดำเนินการตามสัญญาและแผนงานที่วางไว้
7) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งประสบปัญหาภัยธรรมชาติ เช่น เทศบาลศรีอยุธยาประสบปัญหาอุทกภัย จึงจำเป็นต้องหยุดการก่อสร้างชั่วคราว
8) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งไม่สามารถวางฎีกาเบิกเงินได้แม้ว่าจะได้รับอนุมัติแล้ว เนื่องจากคลังจังหวัดยังไม่ได้รับสำเนาใบอนุมัติเงินประจำงวดจากกรมบัญชีกลาง
9) การถ่ายโอนภารกิจงานดับเพลิง และบรรเทาสาธารณภัยจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปเป็น ภารกิจของกรุงเทพมหานครยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ จึงทำให้เงินอุดหนุนเกี่ยวกับงานดับเพลิง และบรรเทาสาธารณภัยของกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ยังไม่มีการเบิกจ่าย
10) เงินอุดหนุนเฉพาะกิจเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครมีรายละเอียด และขั้นตอนการดำเนินงานมาก รวมทั้งเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานจึงทำให้ไม่สามารถดำเนินงานได้ในช่วงต้นปีงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-