คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยรายงานการสำรวจข้อมูลสำมะโนประชากรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กับหลักฐานทางทะเบียนราษฎร เพื่อตรวจสอบให้ได้ข้อเท็จจริงของราษฎรที่อยู่ในพื้นที่อยู่อาศัยประจำหรือออกจากพื้นที่ไปแล้ว สรุปได้ดังนี้
1. ข้อมูลประชากร
1.1 ประชากรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดยะลา ปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส ซึ่งมี 33 อำเภอ มีประชากรทั้งสิ้น จำนวน 1,424,728 คน มีครัวเรือน จำนวน 329,255 ครัวเรือน
(1) จังหวัดปัตตานี มีจำนวนประชากรมากที่สุด 529,726 คน
(2) จังหวัดยะลา มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด 416,628 คน
1.2 เพศ ประชากรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเพศชาย 693,532 คน คิดเป็นร้อยละ 48.68 และเป็นเพศหญิง 731,196 คน คิดเป็นร้อยละ 51.32 โดยทั้ง 3 จังหวัด มีสัดส่วนเพศชายและเพศหญิงใกล้เคียงกัน
1.3 อายุ
(1) มีช่วงอายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 476,337 คน คิดเป็นร้อยละ 33.43
(2) มีช่วงอายุระหว่าง 18 -45 ปี จำนวน 647,170 คน คิดเป็นร้อยละ 45.43
(3) มีช่วงอายุ 46 ปีขึ้นไป จำนวน 301,221 คน คิดเป็นร้อยละ 21.14
1.4 การนับถือศาสนา
(1) นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุด จำนวน 1,213,387 คน คิดเป็นร้อยละ 85.16
(2) นับถือศาสนาพุทธ จำนวน 207,033 คน คิดเป็นร้อยละ 14.53
(3) จังหวัดนราธิวาสมีอัตราส่วนประชากรนับถือศาสนาพุทธมากที่สุด จำนวน 424,401 คน คิดเป็นร้อยละ 88.72
(4) จังหวัดยะลา มีอัตราส่วนประชากรที่นับถือศาสนาพุทธมากที่สุด จำนวน 73,704 คน คิดเป็นร้อยละ 17.69
1.5 ถิ่นที่อยู่ ประชากรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีถิ่นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ จำนวน 1,268,678 คน คิดเป็นร้อยละ 89.05 และอยู่อาศัยไม่ประจำ จำนวน 156,050 คน คิดเป็นร้อยละ 10.95
(1) เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง 3 จังหวัดแล้วปรากฏว่า จังหวัดนราธิวาสมีประชากรมีถิ่นที่อยู่อาศัยไม่ประจำมากที่สุด จำนวน 54,740 คน คิดเป็นร้อยละ 3.85 รองลงมาคือจังหวัดปัตตานี มีประชากรมีถิ่นที่อยู่อาศัยไม่ประจำ จำนวน 54,043 คน คิดเป็นร้อยละ 3.80 และจังหวัดยะลามีประชากรที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยไม่ประจำน้อยที่สุด จำนวน 47,267 คน คิดเป็นร้อยละ 3.32
(2) จังหวัดยะลามีวัตถุประสงค์จากไปเพื่อการศึกษามากที่สุด จำนวน 13,740 คน รองลงมาคือจากไปเพื่อทำงาน จำนวน 13,021 คน และจากไปเพื่อเผยแพร่ศาสนา จำนวน 381 คน
(3) จังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์จากไปเพื่อการทำงานมากที่สุด จำนวน 33,057 คน รองลงมาคือจากไปเพื่อศึกษา จำนวน 20,301 คน และจากไปเพื่อเผยแพร่ศาสนา จำนวน 328 คน
(4) จังหวัดนราธิวาส มีวัตถุประสงค์จากไปเพื่อการทำงานมากที่สุด จำนวน 37,693 คน รองลงมาคือจากไปเพื่อศึกษา จำนวน 22,873 คน และจากไปเพื่อเผยแพร่ศาสนา จำนวน 155 คน
2. การศึกษา
2.1 ประชากรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความรู้ต่ำกว่า ป. 6 มากที่สุด จำนวน 489,796 คน คิดเป็นร้อยละ 44.85 มีประชากรสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปเพียง 39,097 คน คิดเป็นร้อยละ 3.58
2.2 จังหวัดยะลา ประชากรมีความรู้ต่ำกว่า ป.6 จำนวน 133,616 คน คิดเป็นร้อยละ 32.07 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป จำนวน 14,199 คน คิดเป็นร้อยละ 3.41
2.3 จังหวัดปัตตานี ประชากรมีความรู้ต่ำกว่า ป.6 จำนวน 158,988 คน คิดเป็นร้อยละ 30.01 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป จำนวน 11,798 คน คิดเป็นร้อยละ 2.232.4 จังหวัดนราธิวาส ประชากรมีความรู้ต่ำกว่า ป.6 จำนวน 197,192 คน คิดเป็นร้อยละ 41.22 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป จำนวน 13,100 คน คิดเป็นร้อยละ 2.74
3. การประกอบอาชีพ
3.1 ประชากรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการประกอบอาชีพ จำนวน 952,743 คน คิดเป็น ร้อยละ 66.88 อยู่ระหว่างกำลังศึกษา จำนวน 322,650 คน คิดเป็นร้อยละ 23.66 และว่างงาน จำนวน 88,528 คน คิดเป็นร้อยละ 6.48
3.2 ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด จำนวน 460,608 คน คิดเป็นร้อยละ 33.77 รองลงมาประกอบอาชีพรับจ้าง จำนวน 287,290 คน คิดเป็นร้อยละ 21.06
4. ยานพาหนะ
4.1 ประชากรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มียานพาหนะในการครอบครองรวมทั้งสิ้น285,702 คัน โดยเป็นรถมอเตอร์ไซด์มากที่สุด จำนวน 243,499 คัน คิดเป็นร้อยละ 85.2 รองลงมาเป็นรถปิกอัพ จำนวน 29,860 คัน คิดเป็นร้อยละ 10.45
5. อาวุธปืน ประชากรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีอาวุธปืนในการครอบครองรวมทั้งสิ้น 18,096 กระบอก โดยมีอาวุธปืนสั้นมากที่สุด จำนวน 10,247 กระบอก คิดเป็นร้อยละ 56.63
(1) จังหวัดปัตตานีมีอาวุธปืนมากที่สุดทั้งสองประเภท โดยมีปืนสั้น จำนวน 4,498 กระบอก ปืนยาว 5,342 กระบอก
(2) จังหวัดยะลามีปืนสั้นน้อยที่สุด จำนวน 1,797 กระบอก และจังหวัดนราธิวาสมีปืนยาวน้อยที่สุด จำนวน 1,217 กระบอก
6. ภาษาพูด ใช้ภาษามลายูท้องถิ่น (ยาวี) มากที่สุด จำนวน 204,922 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 62.21 รองลงมาใช้ภาษาไทยผสมมลายูท้องถิ่น จำนวน 66,938 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 20.36 และใช้ภาษาไทยเพียง 57,395 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 17.43
7. ความต้องการขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล
7.1 จากการสำรวจความต้องการ จำนวน 2,041,200 รายการ ประชากรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความต้องการตามลำดับที่น่าสนใจดังนี้
(1) จัดหาอาชีพ จำนวน 370,593 รายการ คิดเป็นร้อยละ 18.5
(2) ส่งเสริมการศึกษา จำนวน 325,528 รายการ คิดเป็นร้อยละ 15.95
(3) ช่วยเหลือด้านเงินทุนและการเงิน จำนวน 234,669 รายการ คิดเป็นร้อยละ 11.50
(4) ช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาล จำนวน 215,196 รายการ คิดเป็นร้อยละ 10.54
(5) ส่งเสริมด้านกีฬา จำนวน 190,128 รายการ คิดเป็นร้อยละ 9.31
(6) ช่วยเหลือที่ดินทำกิน จำนวน 171,319 รายการ คิดเป็นร้อยละ 8.39
(7) ขอให้บรรเทาหนี้สิน จำนวน 146,271 รายการ คิดเป็นร้อยละ 7.17
(8) ให้ฝึกอาชีพ จำนวน 129,926 รายการ คิดเป็นร้อยละ 6.37
7.2 จำแนกความต้องการ 2 ลำดับแรกเป็นรายจังหวัดได้ดังนี้
(1) จังหวัดยะลา ต้องการรับความช่วยเหลือมากที่สุด คือ การศึกษา จำนวน 108,724 รายการ คิดเป็นร้อยละ 16.72 และรองลงมา คือจัดหาอาชีพ จำนวน 99,237 รายการ คิดเป็นร้อยละ 15.26
(2) จังหวัดปัตตานี ต้องการรับความช่วยเหลือมากที่สุด คือ การจัดหาอาชีพ จำนวน 97,493 รายการ คิดเป็นร้อยละ 17.71 และรองลงมา คือ ช่วยเหลือเงินทุนและการเงิน จำนวน 76,495 รายการ คิดเป็นร้อยละ 13.90
(3) จังหวัดนราธิวาส ต้องการรับความช่วยเหลือมากที่สุด คือ จัดหาอาชีพ จำนวน 173,863 รายการ คิดเป็นร้อยละ 20.68 และรองลงมา คือ การศึกษา จำนวน 132,093 รายการ คิดเป็นร้อยละ 15.72
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. ข้อมูลประชากร
1.1 ประชากรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดยะลา ปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส ซึ่งมี 33 อำเภอ มีประชากรทั้งสิ้น จำนวน 1,424,728 คน มีครัวเรือน จำนวน 329,255 ครัวเรือน
(1) จังหวัดปัตตานี มีจำนวนประชากรมากที่สุด 529,726 คน
(2) จังหวัดยะลา มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด 416,628 คน
1.2 เพศ ประชากรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเพศชาย 693,532 คน คิดเป็นร้อยละ 48.68 และเป็นเพศหญิง 731,196 คน คิดเป็นร้อยละ 51.32 โดยทั้ง 3 จังหวัด มีสัดส่วนเพศชายและเพศหญิงใกล้เคียงกัน
1.3 อายุ
(1) มีช่วงอายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 476,337 คน คิดเป็นร้อยละ 33.43
(2) มีช่วงอายุระหว่าง 18 -45 ปี จำนวน 647,170 คน คิดเป็นร้อยละ 45.43
(3) มีช่วงอายุ 46 ปีขึ้นไป จำนวน 301,221 คน คิดเป็นร้อยละ 21.14
1.4 การนับถือศาสนา
(1) นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุด จำนวน 1,213,387 คน คิดเป็นร้อยละ 85.16
(2) นับถือศาสนาพุทธ จำนวน 207,033 คน คิดเป็นร้อยละ 14.53
(3) จังหวัดนราธิวาสมีอัตราส่วนประชากรนับถือศาสนาพุทธมากที่สุด จำนวน 424,401 คน คิดเป็นร้อยละ 88.72
(4) จังหวัดยะลา มีอัตราส่วนประชากรที่นับถือศาสนาพุทธมากที่สุด จำนวน 73,704 คน คิดเป็นร้อยละ 17.69
1.5 ถิ่นที่อยู่ ประชากรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีถิ่นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ จำนวน 1,268,678 คน คิดเป็นร้อยละ 89.05 และอยู่อาศัยไม่ประจำ จำนวน 156,050 คน คิดเป็นร้อยละ 10.95
(1) เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง 3 จังหวัดแล้วปรากฏว่า จังหวัดนราธิวาสมีประชากรมีถิ่นที่อยู่อาศัยไม่ประจำมากที่สุด จำนวน 54,740 คน คิดเป็นร้อยละ 3.85 รองลงมาคือจังหวัดปัตตานี มีประชากรมีถิ่นที่อยู่อาศัยไม่ประจำ จำนวน 54,043 คน คิดเป็นร้อยละ 3.80 และจังหวัดยะลามีประชากรที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยไม่ประจำน้อยที่สุด จำนวน 47,267 คน คิดเป็นร้อยละ 3.32
(2) จังหวัดยะลามีวัตถุประสงค์จากไปเพื่อการศึกษามากที่สุด จำนวน 13,740 คน รองลงมาคือจากไปเพื่อทำงาน จำนวน 13,021 คน และจากไปเพื่อเผยแพร่ศาสนา จำนวน 381 คน
(3) จังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์จากไปเพื่อการทำงานมากที่สุด จำนวน 33,057 คน รองลงมาคือจากไปเพื่อศึกษา จำนวน 20,301 คน และจากไปเพื่อเผยแพร่ศาสนา จำนวน 328 คน
(4) จังหวัดนราธิวาส มีวัตถุประสงค์จากไปเพื่อการทำงานมากที่สุด จำนวน 37,693 คน รองลงมาคือจากไปเพื่อศึกษา จำนวน 22,873 คน และจากไปเพื่อเผยแพร่ศาสนา จำนวน 155 คน
2. การศึกษา
2.1 ประชากรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความรู้ต่ำกว่า ป. 6 มากที่สุด จำนวน 489,796 คน คิดเป็นร้อยละ 44.85 มีประชากรสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปเพียง 39,097 คน คิดเป็นร้อยละ 3.58
2.2 จังหวัดยะลา ประชากรมีความรู้ต่ำกว่า ป.6 จำนวน 133,616 คน คิดเป็นร้อยละ 32.07 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป จำนวน 14,199 คน คิดเป็นร้อยละ 3.41
2.3 จังหวัดปัตตานี ประชากรมีความรู้ต่ำกว่า ป.6 จำนวน 158,988 คน คิดเป็นร้อยละ 30.01 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป จำนวน 11,798 คน คิดเป็นร้อยละ 2.232.4 จังหวัดนราธิวาส ประชากรมีความรู้ต่ำกว่า ป.6 จำนวน 197,192 คน คิดเป็นร้อยละ 41.22 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป จำนวน 13,100 คน คิดเป็นร้อยละ 2.74
3. การประกอบอาชีพ
3.1 ประชากรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการประกอบอาชีพ จำนวน 952,743 คน คิดเป็น ร้อยละ 66.88 อยู่ระหว่างกำลังศึกษา จำนวน 322,650 คน คิดเป็นร้อยละ 23.66 และว่างงาน จำนวน 88,528 คน คิดเป็นร้อยละ 6.48
3.2 ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด จำนวน 460,608 คน คิดเป็นร้อยละ 33.77 รองลงมาประกอบอาชีพรับจ้าง จำนวน 287,290 คน คิดเป็นร้อยละ 21.06
4. ยานพาหนะ
4.1 ประชากรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มียานพาหนะในการครอบครองรวมทั้งสิ้น285,702 คัน โดยเป็นรถมอเตอร์ไซด์มากที่สุด จำนวน 243,499 คัน คิดเป็นร้อยละ 85.2 รองลงมาเป็นรถปิกอัพ จำนวน 29,860 คัน คิดเป็นร้อยละ 10.45
5. อาวุธปืน ประชากรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีอาวุธปืนในการครอบครองรวมทั้งสิ้น 18,096 กระบอก โดยมีอาวุธปืนสั้นมากที่สุด จำนวน 10,247 กระบอก คิดเป็นร้อยละ 56.63
(1) จังหวัดปัตตานีมีอาวุธปืนมากที่สุดทั้งสองประเภท โดยมีปืนสั้น จำนวน 4,498 กระบอก ปืนยาว 5,342 กระบอก
(2) จังหวัดยะลามีปืนสั้นน้อยที่สุด จำนวน 1,797 กระบอก และจังหวัดนราธิวาสมีปืนยาวน้อยที่สุด จำนวน 1,217 กระบอก
6. ภาษาพูด ใช้ภาษามลายูท้องถิ่น (ยาวี) มากที่สุด จำนวน 204,922 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 62.21 รองลงมาใช้ภาษาไทยผสมมลายูท้องถิ่น จำนวน 66,938 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 20.36 และใช้ภาษาไทยเพียง 57,395 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 17.43
7. ความต้องการขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล
7.1 จากการสำรวจความต้องการ จำนวน 2,041,200 รายการ ประชากรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความต้องการตามลำดับที่น่าสนใจดังนี้
(1) จัดหาอาชีพ จำนวน 370,593 รายการ คิดเป็นร้อยละ 18.5
(2) ส่งเสริมการศึกษา จำนวน 325,528 รายการ คิดเป็นร้อยละ 15.95
(3) ช่วยเหลือด้านเงินทุนและการเงิน จำนวน 234,669 รายการ คิดเป็นร้อยละ 11.50
(4) ช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาล จำนวน 215,196 รายการ คิดเป็นร้อยละ 10.54
(5) ส่งเสริมด้านกีฬา จำนวน 190,128 รายการ คิดเป็นร้อยละ 9.31
(6) ช่วยเหลือที่ดินทำกิน จำนวน 171,319 รายการ คิดเป็นร้อยละ 8.39
(7) ขอให้บรรเทาหนี้สิน จำนวน 146,271 รายการ คิดเป็นร้อยละ 7.17
(8) ให้ฝึกอาชีพ จำนวน 129,926 รายการ คิดเป็นร้อยละ 6.37
7.2 จำแนกความต้องการ 2 ลำดับแรกเป็นรายจังหวัดได้ดังนี้
(1) จังหวัดยะลา ต้องการรับความช่วยเหลือมากที่สุด คือ การศึกษา จำนวน 108,724 รายการ คิดเป็นร้อยละ 16.72 และรองลงมา คือจัดหาอาชีพ จำนวน 99,237 รายการ คิดเป็นร้อยละ 15.26
(2) จังหวัดปัตตานี ต้องการรับความช่วยเหลือมากที่สุด คือ การจัดหาอาชีพ จำนวน 97,493 รายการ คิดเป็นร้อยละ 17.71 และรองลงมา คือ ช่วยเหลือเงินทุนและการเงิน จำนวน 76,495 รายการ คิดเป็นร้อยละ 13.90
(3) จังหวัดนราธิวาส ต้องการรับความช่วยเหลือมากที่สุด คือ จัดหาอาชีพ จำนวน 173,863 รายการ คิดเป็นร้อยละ 20.68 และรองลงมา คือ การศึกษา จำนวน 132,093 รายการ คิดเป็นร้อยละ 15.72
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-