คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ สรุปผลการสัมมนา "รัฐบาลสื่อสารสู่สื่อท้องถิ่น" ครั้งที่ 6 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะของสื่อมวลชนท้องถิ่นไปดำเนินการต่อไป
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยสำนักโฆษกได้จัดสัมมนา "รัฐบาลสื่อสารสู่สื่อท้องถิ่น" ครั้งที่ 6 เมื่อวันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน ๒๕๔๗ โดยความร่วมมือกับกรมประชาสัมพันธ์ และโฆษกกระทรวงทุกกระทรวง ที่โรงแรมทวาราวดี อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี การสัมมนาครอบคลุมพื้นที่ในเขตตรวจราชการที่ 8 ประกอบด้วย จังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว
การสัมมนาครั้งนี้ มีรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ซึ่งกำกับติดตามการปฏิบัติราชการเขตตรวจราชการที่ 8 เป็นประธานการสัมมนา และตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนท้องถิ่น ซึ่งกรมประชาสัมพันธ์ โดยสำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 ได้ถ่ายทอดสดการสัมมนาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ให้ประชาชนในเขตพื้นที่ได้รับชมและรับฟังการสัมมนาในครั้งนี้ด้วย สรุปประเด็นการสัมมนาการสัมมนาภาคเช้า
การสัมมนาในภาคเช้าประกอบด้วยกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนท้องถิ่นกับคณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและโฆษกกระทรวง ต่อจากนั้นเป็นการสัมมนาเรื่องแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนท้องถิ่นกับหน่วยงานประชาสัมพันธ์ภาครัฐ เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงานร่วมกัน ซึ่งสื่อมวลชนท้องถิ่นได้เสนอความคิดเห็นและปัญหาต่าง ๆ ในการทำงานดังนี้
สื่อมวลชนจังหวัดสมุทรปราการ
- ต้องการให้ อบต. และหน่วยงานต่าง ๆ ส่งข้อมูลข่าวสารให้แก่ประชาสัมพันธ์จังหวัด เพื่อเป็นศูนย์ข่าวที่สื่อมวลชนจะสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ ไปเผยแพร่แก่ประชาชนได้ต่อไป
- ขอให้แต่ละหน่วยงานในระดับจังหวัดมีตัวแทนในการให้ข้อมูลข่าวสารแก่สื่อมวลชน
สื่อมวลชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
- ไม่มีสถานีวิทยุประจำจังหวัด
- ขอให้จัดโครงการผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดพบสื่อมวลชนเป็นประจำ เพื่อให้สื่อมวลชนได้มีโอกาสซักถามประเด็นปัญหาต่าง ๆ
- เว็บไซต์ของจังหวัดข้อมูลไม่ทันสมัย ควรมีการพัฒนาข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์ เพื่อให้สื่อมวลชนเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้
สื่อมวลชนจังหวัดนครนายก
- หอกระจายข่าวเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากสำหรับประชาชนในท้องถิ่น แต่เมื่อเกิดการชำรุดเสียหาย ไม่มีงบประมาณในการซ่อมแซม และหากสามารถดัดแปลงหอกระจายข่าวเป็นเสียงตามสายจะได้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น
- สื่อมวลชนไม่ได้รับความร่วมมือในด้านข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐบางส่วน
สื่อมวลชนจังหวัดปราจีนบุรี
- สื่อมวลชนท้องถิ่นส่วนใหญ่จะถูกกีดกันจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการถ่ายภาพหรือทำข่าวเวลาที่นายกรัฐมนตรีเดินทางมาในจังหวัด
- การประสานขอข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานรัฐค่อนข้างยาก และสื่อมวลชนถูกมองแง่ลบ
- หน่วยงานราชการควรมีทะเบียนผู้สื่อข่าวที่จะเข้าไปติดต่อขอข้อมูลเป็นประจำ เพื่อความสบายใจในการให้ข่าว และสะดวกในการตรวจสอบว่าเป็นผู้สื่อข่าวจริงหรือไม่
- หนังสือเชิญจากหน่วยราชการมาถึงสื่อมวลชนล่าช้า และบางครั้งไม่ได้รับหนังสือเชิญ จึงไม่ทราบว่ามีการจัดรายการผู้ว่าฯ พบสื่อมวลชน
- ขอให้มีการอบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่ภาครัฐในเรื่อง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร เพื่อจะได้ตัดสินใจได้ว่าข้อมูลอะไรเผยแพร่ได้หรือไม่
- สื่อมวลชนเสนอข่าวที่เป็นปัญหาและได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้าน แต่ทางราชการไม่ให้ความสำคัญ ไม่นำไปแก้ไขโดยเฉพาะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
- ขอให้จังหวัดจัดสถานที่และอุปกรณ์การสื่อสารต่าง ๆ ให้ผู้สื่อข่าวที่มาทำข่าวเช่นเดียวกับที่ทำเนียบรัฐบาล
สื่อมวลชนจังหวัดสระแก้ว
- ต้องการให้หน่วยงานด้านประชาสัมพันธ์ของภาครัฐมีการเชื่อมโยงข้อมูลกัน และสามารถให้ข้อมูลข่าวสารแก่สื่อมวลชนได้อย่างรวดเร็ว
- มีปัญหาในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐ ขอเสนอให้จังหวัดจัดตั้งทีมเฉพาะกิจในการให้ข้อมูลข่าวสาร
- ไม่ได้รับความร่วมมือจากองค์กรอิสระในเรื่องข้อมูลข่าวสาร
ประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะที่สื่อมวลชนได้นำเสนอในการสัมมนา คณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะโฆษกกระทรวง จะได้นำไปพิจารณาดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการทำงานร่วมกัน ซึ่งจะทำให้การประสานงานด้านข้อมูลข่าวสารของภาครัฐกับสื่อมวลชนท้องถิ่นมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และจะส่งผลให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารมีคุณภาพที่ถูกต้องรวดเร็วต่อไป การสัมมนาภาคบ่าย
รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ประธานการสัมมนา ได้ชี้แจงนโยบายการบริหารงานของรัฐบาล และตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนท้องถิ่นร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวง คณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และโฆษกกระทรวง ในประเด็นปัญหาต่าง ๆ
การประเมินผลการจัดสัมมนา
1. การจัดสัมมนาครั้งนี้ มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้น จำนวน 400 คน แบ่งเป็น สื่อมวลชนท้องถิ่น 129 คน โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและโฆษกกระทรวง 18 คน ผู้ตรวจราชการ 13 คน ผู้ว่าราชการจังหวัดและรองผู้ว่าราชการจังหวัด 5 คน หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดในเขตพื้นที่ 97 คน สำนักโฆษก 29 คน กรมประชาสัมพันธ์ 45 คน และผู้สังเกตการณ์ 53 คน
2. จากการประเมินผลการสัมมนาโดยการตอบแบบสอบถาม สื่อมวลชนส่วนใหญ่ระบุว่าได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้มาก เพราะได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์จากรัฐบาล และสามารถนำเสนอปัญหาต่าง ๆ ของประชาชนในพื้นที่ให้รัฐบาลได้รับทราบ เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานของรัฐบาลในด้านต่าง ๆ ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านข่าวสารและความต้องการของสื่อมวลชน และยังแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลเห็นความสำคัญและเข้าใจบทบาทของสื่อมวลชนท้องถิ่นมากขึ้น
3. ข้อเสนอแนะของสื่อมวลชน
สื่อมวลชนเสนอให้มีการจัดสัมมนาในลักษณะนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับหน่วยงานของรัฐ และขอให้จัดหมุนเวียนตามจังหวัดในเขตตรวจราชการ รวมทั้งเพิ่มเวลาในช่วงการนำเสนอปัญหาในพื้นที่ให้มากขึ้นด้วย ทั้งนี้สิ่งที่สื่อมวลชนส่วนใหญ่เสนอแนะตรงกันคือ ต้องการให้รัฐบาลนำข้อเสนอแนะหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่ได้นำเสนอในการสัมมนาไปดำเนินการให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยสำนักโฆษกได้จัดสัมมนา "รัฐบาลสื่อสารสู่สื่อท้องถิ่น" ครั้งที่ 6 เมื่อวันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน ๒๕๔๗ โดยความร่วมมือกับกรมประชาสัมพันธ์ และโฆษกกระทรวงทุกกระทรวง ที่โรงแรมทวาราวดี อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี การสัมมนาครอบคลุมพื้นที่ในเขตตรวจราชการที่ 8 ประกอบด้วย จังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว
การสัมมนาครั้งนี้ มีรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ซึ่งกำกับติดตามการปฏิบัติราชการเขตตรวจราชการที่ 8 เป็นประธานการสัมมนา และตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนท้องถิ่น ซึ่งกรมประชาสัมพันธ์ โดยสำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 ได้ถ่ายทอดสดการสัมมนาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ให้ประชาชนในเขตพื้นที่ได้รับชมและรับฟังการสัมมนาในครั้งนี้ด้วย สรุปประเด็นการสัมมนาการสัมมนาภาคเช้า
การสัมมนาในภาคเช้าประกอบด้วยกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนท้องถิ่นกับคณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและโฆษกกระทรวง ต่อจากนั้นเป็นการสัมมนาเรื่องแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนท้องถิ่นกับหน่วยงานประชาสัมพันธ์ภาครัฐ เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงานร่วมกัน ซึ่งสื่อมวลชนท้องถิ่นได้เสนอความคิดเห็นและปัญหาต่าง ๆ ในการทำงานดังนี้
สื่อมวลชนจังหวัดสมุทรปราการ
- ต้องการให้ อบต. และหน่วยงานต่าง ๆ ส่งข้อมูลข่าวสารให้แก่ประชาสัมพันธ์จังหวัด เพื่อเป็นศูนย์ข่าวที่สื่อมวลชนจะสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ ไปเผยแพร่แก่ประชาชนได้ต่อไป
- ขอให้แต่ละหน่วยงานในระดับจังหวัดมีตัวแทนในการให้ข้อมูลข่าวสารแก่สื่อมวลชน
สื่อมวลชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
- ไม่มีสถานีวิทยุประจำจังหวัด
- ขอให้จัดโครงการผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดพบสื่อมวลชนเป็นประจำ เพื่อให้สื่อมวลชนได้มีโอกาสซักถามประเด็นปัญหาต่าง ๆ
- เว็บไซต์ของจังหวัดข้อมูลไม่ทันสมัย ควรมีการพัฒนาข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์ เพื่อให้สื่อมวลชนเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้
สื่อมวลชนจังหวัดนครนายก
- หอกระจายข่าวเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากสำหรับประชาชนในท้องถิ่น แต่เมื่อเกิดการชำรุดเสียหาย ไม่มีงบประมาณในการซ่อมแซม และหากสามารถดัดแปลงหอกระจายข่าวเป็นเสียงตามสายจะได้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น
- สื่อมวลชนไม่ได้รับความร่วมมือในด้านข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐบางส่วน
สื่อมวลชนจังหวัดปราจีนบุรี
- สื่อมวลชนท้องถิ่นส่วนใหญ่จะถูกกีดกันจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการถ่ายภาพหรือทำข่าวเวลาที่นายกรัฐมนตรีเดินทางมาในจังหวัด
- การประสานขอข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานรัฐค่อนข้างยาก และสื่อมวลชนถูกมองแง่ลบ
- หน่วยงานราชการควรมีทะเบียนผู้สื่อข่าวที่จะเข้าไปติดต่อขอข้อมูลเป็นประจำ เพื่อความสบายใจในการให้ข่าว และสะดวกในการตรวจสอบว่าเป็นผู้สื่อข่าวจริงหรือไม่
- หนังสือเชิญจากหน่วยราชการมาถึงสื่อมวลชนล่าช้า และบางครั้งไม่ได้รับหนังสือเชิญ จึงไม่ทราบว่ามีการจัดรายการผู้ว่าฯ พบสื่อมวลชน
- ขอให้มีการอบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่ภาครัฐในเรื่อง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร เพื่อจะได้ตัดสินใจได้ว่าข้อมูลอะไรเผยแพร่ได้หรือไม่
- สื่อมวลชนเสนอข่าวที่เป็นปัญหาและได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้าน แต่ทางราชการไม่ให้ความสำคัญ ไม่นำไปแก้ไขโดยเฉพาะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
- ขอให้จังหวัดจัดสถานที่และอุปกรณ์การสื่อสารต่าง ๆ ให้ผู้สื่อข่าวที่มาทำข่าวเช่นเดียวกับที่ทำเนียบรัฐบาล
สื่อมวลชนจังหวัดสระแก้ว
- ต้องการให้หน่วยงานด้านประชาสัมพันธ์ของภาครัฐมีการเชื่อมโยงข้อมูลกัน และสามารถให้ข้อมูลข่าวสารแก่สื่อมวลชนได้อย่างรวดเร็ว
- มีปัญหาในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐ ขอเสนอให้จังหวัดจัดตั้งทีมเฉพาะกิจในการให้ข้อมูลข่าวสาร
- ไม่ได้รับความร่วมมือจากองค์กรอิสระในเรื่องข้อมูลข่าวสาร
ประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะที่สื่อมวลชนได้นำเสนอในการสัมมนา คณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะโฆษกกระทรวง จะได้นำไปพิจารณาดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการทำงานร่วมกัน ซึ่งจะทำให้การประสานงานด้านข้อมูลข่าวสารของภาครัฐกับสื่อมวลชนท้องถิ่นมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และจะส่งผลให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารมีคุณภาพที่ถูกต้องรวดเร็วต่อไป การสัมมนาภาคบ่าย
รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ประธานการสัมมนา ได้ชี้แจงนโยบายการบริหารงานของรัฐบาล และตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนท้องถิ่นร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวง คณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และโฆษกกระทรวง ในประเด็นปัญหาต่าง ๆ
การประเมินผลการจัดสัมมนา
1. การจัดสัมมนาครั้งนี้ มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้น จำนวน 400 คน แบ่งเป็น สื่อมวลชนท้องถิ่น 129 คน โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและโฆษกกระทรวง 18 คน ผู้ตรวจราชการ 13 คน ผู้ว่าราชการจังหวัดและรองผู้ว่าราชการจังหวัด 5 คน หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดในเขตพื้นที่ 97 คน สำนักโฆษก 29 คน กรมประชาสัมพันธ์ 45 คน และผู้สังเกตการณ์ 53 คน
2. จากการประเมินผลการสัมมนาโดยการตอบแบบสอบถาม สื่อมวลชนส่วนใหญ่ระบุว่าได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้มาก เพราะได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์จากรัฐบาล และสามารถนำเสนอปัญหาต่าง ๆ ของประชาชนในพื้นที่ให้รัฐบาลได้รับทราบ เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานของรัฐบาลในด้านต่าง ๆ ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านข่าวสารและความต้องการของสื่อมวลชน และยังแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลเห็นความสำคัญและเข้าใจบทบาทของสื่อมวลชนท้องถิ่นมากขึ้น
3. ข้อเสนอแนะของสื่อมวลชน
สื่อมวลชนเสนอให้มีการจัดสัมมนาในลักษณะนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับหน่วยงานของรัฐ และขอให้จัดหมุนเวียนตามจังหวัดในเขตตรวจราชการ รวมทั้งเพิ่มเวลาในช่วงการนำเสนอปัญหาในพื้นที่ให้มากขึ้นด้วย ทั้งนี้สิ่งที่สื่อมวลชนส่วนใหญ่เสนอแนะตรงกันคือ ต้องการให้รัฐบาลนำข้อเสนอแนะหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่ได้นำเสนอในการสัมมนาไปดำเนินการให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-