คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนและยุทธศาสตร์การส่งออกสินค้าเกษตรไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 26-29 เมษายน 2548 พร้อมด้วย นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายประจวบ ไชยสาส์น และนายประวิช รัตนเพียร ผู้แทนการค้าไทย และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลังได้มีการประชุมหารือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไทย และการขยายความร่วมมือทางวิชาการ และการค้าระหว่างไทย — จีน นอกจากนี้ยังได้กำหนดยุทธศาสตร์การส่งออกสินค้าเกษตรไทยไปสู่สาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อดำเนินการอย่างต่อเนื่องในระยะต่อไปอีกด้วย สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ผลการเจรจาและขยายความร่วมมือต่าง ๆ
1.1 การประชุมกับนายหลี่ ฉาง เจียง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงควบคุมคุณภาพและกักกันโรค รายละเอียดสรุปได้ดังนี้
1) การปฏิบัติตามพิธีสารผลไม้ส่งออกที่ได้ลงนามไปแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยและกระทรวงควบคุมคุณภาพและกักกันโรคของจีนได้มีการลงนามในพิธีสารส่งออกผลไม้ไทยไปจีน 5 ชนิด ได้แก่ มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน มะม่วง และผลไม้จีนมาไทย 5 ชนิด ได้แก่ ส้ม แอปเปิ้ล แพร์ องุ่น พุทรา โดยจะมีผลบังคับใช้ 30 เมษายนนี้ พิธีสารนี้ได้ขยายจำนวนสวนส่งออกจากเดิมเพียงไม่กี่สวน แต่จะต้องจัดระบบการจดทะเบียนสวนเพื่อให้สามารถตรวจสอบปัญหาและจำกัดความเสียหายได้ และทั้งสองฝ่ายจะต้องเข้มงวดด้านคุณภาพมาตรฐานสินค้าที่ส่งออกระหว่างกัน อย่างไรก็ตามเพื่อให้มีระยะเวลาการปรับตัวจึงเห็นพ้องต้องกันว่าควรมีการยืดหยุ่นเฉพาะในเรื่องการจดทะเบียนสวนออกไปจนถึง 30 กันยายน 2548
2) การจัดทำพิธีสารผลไม้เพิ่มเติม ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้จัดทำพิธีสารผลไม้เพิ่มเติมอีกฝ่ายละ 16 ชนิด เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกทางการค้า และกำกับดูแลให้ผลไม้ที่มีการค้าระห่างกันให้มีมาตรฐานทั้งการปลอดจากสารตกค้างและศัตรูพืช โดยคาดว่าจะสามารถลงนามได้ภายในเดือนตุลาคม 2548
3) การจัดทำพิธีสารผัก ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะจัดทำพิธีสารผักเพื่อกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าส่งออกที่เหมาะสมโดยจะมีการแจ้งชื่อผักโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ในระหว่างที่ดำเนินการจัดทำพิธีสารอยู่ให้สินค้าที่มีการค้ากันอยู่แล้วปฏิบัติตามแนวทางเดิมไปก่อน
4) ใบรับรองสินค้าเกษตรและอาหารไทยมาจีน ฝ่ายไทยได้ยื่นแบบฟอร์มใบรับรองสินค้าอาหารไทยฉบับใหม่ซึ่งได้มีการปรับรูปแบบให้เหมือนกันทั้ง 3 หน่วยงาน คือ กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง เพื่อมอบให้ฝ่ายจีนนำไปแจ้งด่านต่าง ๆ ทั่วประเทศจีน ซึ่งการปรับแบบฟอร์มนี้จะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ ผู้ส่งออกไทยและป้องกันการปลอมแปลง ทั้งนี้จะเริ่มใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป โดยในระหว่างนี้จีนจะยอมรับทั้งใบรับรองเก่าและใหม่ของไทย
5) การเปิดตลาดไก่ต้มสุก ฝ่ายไทยได้ยื่นพิธีสารการส่งออกไก่สุกไทยไปจีน ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันในการเร่งกระบวนการพิจารณาจัดทำพิธีสารไก่ต้มสุกโดยเร็วซึ่งเป็นการเปิดตลาดไก่ต้มสุกของไทยอีกตลาดหนึ่ง
6) การเปิดตลาดเนื้อจระเข้ไทย ฝ่ายไทยได้เริ่มเจรจาเปิดตลาดเนื้อจระเข้เพื่อบริโภคโดยจัดส่งข้อมูลที่จำเป็นในการจัดทำวิเคราะห์ความเสี่ยงแล้วและฝ่ายจีนได้เตรียมจัดส่งเจ้าหน้าที่เทคนิคมาตรวจโรงชำแหละเนื้อจระเข้ในไทยแล้ว
7) ใบรับรองประกอบการนำเข้า สำหรับเรื่องร่างระเบียบของไทยที่กำหนดเงื่อนไขให้สินค้าอาหารนำเข้ามาไทย 16 กลุ่มต้องมีใบรับรองประกอบการนำเข้าในลักษณะใบวิเคราะห์ผลการตรวจสอบ (test report) ซึ่งฝ่ายจีนเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องหลักสากลและอำนวยความสะดวกทางการค้านั้น ฝ่ายไทยรับจะไปแก้ไขเงื่อนไขการออกใบรับรองประกอบการนำเข้าสินค้าให้เป็นไปตามหลักสากลในเรื่องการยอมรับหลักความเท่าเทียมกันด้วย และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่ายไปหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องพิจารณาว่าสินค้ารายการใดของจีนที่ต้องมีใบรับรองประกอบการนำเข้า ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าไม่จำเป็นต้องแนบใบวิเคราะห์ผลตรวจสอบ
1.2 การประชุมกับนายเฉินจู รองประธานสภาวิทยาศาสตร์
ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะมีความร่วมมือในการวิจัยด้านก๊าซชีวภาพ หรือดำเนินการนำร่องในลักษณะโรงงานต้นแบบเกี่ยวกับการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงาน โดยร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์จีนและไทย โดยฝ่ายไทยมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักประสานกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งในและนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
1.3 การประชุมกับนายกู กิง ลิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันในการผลักดันความร่วมมือวิจัยร่วมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกในเรื่องไข้หวัดนก และพืชให้พลังงานทดแทน รวมทั้งการดำเนินการภายใต้กรอบความร่วมมือภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องยางพารา ข้าว พืชพลังงานทดแทน
1.4 การเจรจาซื้อขายผลไม้ไทยกับภาคเอกชนจีน
คณะผู้แทนไทยได้ไปร่วมพิธีเปิดงานแสดงเทศกาลผลไม้ไทยในห้างสรรพสินค้าจีน 3 แห่ง ได้แก่ Park N’ Shop Lotus และ Jusco เพื่อเป็นการแนะนำส่งเสริมผลไม้ไทยให้เป็นที่แพร่หลายในหมู่ผู้บริโภคชาวจีน ซึ่งปรากฏความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ โดยภาคเอกชนจีนได้มีการเจรจาซื้อขายลำไยสดจากไทยเพื่อจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าเหล่านี้เบื้องต้น เป็นจำนวน 50,000 ตัน
2. ยุทธศาสตร์การส่งสินค้าเกษตรไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน
เพื่อให้มีกรอบการดำเนินงานอย่างบูรณาการของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเพิ่มปริมาณและ/หรือมูลค่าสินค้าเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้ไทยในตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงกำหนดยุทธศาสตร์การส่งออกสินค้าเกษตรไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นดังนี้
2.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การแก้ไขปัญหาหนี้สินที่ได้มีการลงนามลดภาษีภายใต้เขตการค้าเสรีแล้ว กำหนดเป้าหมายขยายการส่งออกในปี 2548 นี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และในปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 50
1) แก้ไขปัญหาโลจิสติกส์ โดยกระทรวงคมนาคมจะพิจารณาหาช่องทางในการขนส่งสินค้าเข้าจีนเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันซึ่งไทยมีช่องทางในการขนส่งเข้าจีนได้น้อยทาง
2) แก้ไขปัญหาที่ด่านนำเข้าโดยครอบคลุมทั้งด้านปัญหาทางด้านมาตรฐานและสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเร่งรัดการเจรจาแก้ไขปัญหากับกระทรวงควบคุมคุณภาพและกักกันโรคอย่างต่อเนื่อง สำหรับปัญหาด้านพิธีการศุลกากรนั้น กรมศุลกากรไทยจะได้ร่วมกับกรมศุลกากรจีนในการดำเนินการอำนวยความสะดวก
ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกรมศุลกากรจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปประจำเป็นการชั่วคราวเพื่อติดตามและประสานการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ของจีน
3) สำหรับการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติที่แตกต่างของด่านต่าง ๆ ในระดับท้องถิ่นนั้น ฝ่ายไทยได้มีการแจ้งหน่วยงานรับผิดชอบส่วนกลางของจีนให้เน้นการแจ้งไปยังด่านต่าง ๆ ทั่วประเทศเพื่อให้ปฏิบัติสอดคล้องกับที่ส่วนกลางได้ตกลงกัน เช่น กรณีการเวียนแบบฟอร์มใหม่ เป็นต้น
4) การขยายการเปิดตลาดใหม่ เนื่องจากปัจจุบันผลไม้ไทยจะส่งเข้าจีนเฉพาะด่านทางใต้จึงจะเน้นการขยายการเข้าสู่ด่านทางเหนือเพื่อเปิดตลาดในมณฑลทางเหนือซึ่งยังมีการบริโภคผลไม้ไทยน้อยมาก
2.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 ขยายปริมาณการขายในตลาดจีน โดยวางตำแหน่งผลไม้ไทยเป็นผลไม้คุณภาพสูง มีมาตรฐาน เน้นตลาดระดับบนที่มีราคาสูง
เป้าหมายดำเนินการจะเน้นการแนะนำผลไม้ไทยเข้าสู่ตลาดใน 7 เมืองใหญ่ของจีน ได้แก่ ปักกิ่ง กวางโจว ต้าเหลียน ฉิ่งเตา เฉินตู ฉงชิ่ง และเซี่ยงไฮ้ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการต่างประเทศในการจัดเทศกาลผลไม้ไทยและแนะนำเครื่องหมายตัว Q รับรองคุณภาพในห้างสรรพสินค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการแนะนำผลไม้ไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางแพร่หลาย โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 30 ปี ความสัมพันธ์ไทย — จีน
หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามผลการประชุมหารือและยุทธศาสตร์ดังกล่าว ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานประสานงานหลัก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. ผลการเจรจาและขยายความร่วมมือต่าง ๆ
1.1 การประชุมกับนายหลี่ ฉาง เจียง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงควบคุมคุณภาพและกักกันโรค รายละเอียดสรุปได้ดังนี้
1) การปฏิบัติตามพิธีสารผลไม้ส่งออกที่ได้ลงนามไปแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยและกระทรวงควบคุมคุณภาพและกักกันโรคของจีนได้มีการลงนามในพิธีสารส่งออกผลไม้ไทยไปจีน 5 ชนิด ได้แก่ มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน มะม่วง และผลไม้จีนมาไทย 5 ชนิด ได้แก่ ส้ม แอปเปิ้ล แพร์ องุ่น พุทรา โดยจะมีผลบังคับใช้ 30 เมษายนนี้ พิธีสารนี้ได้ขยายจำนวนสวนส่งออกจากเดิมเพียงไม่กี่สวน แต่จะต้องจัดระบบการจดทะเบียนสวนเพื่อให้สามารถตรวจสอบปัญหาและจำกัดความเสียหายได้ และทั้งสองฝ่ายจะต้องเข้มงวดด้านคุณภาพมาตรฐานสินค้าที่ส่งออกระหว่างกัน อย่างไรก็ตามเพื่อให้มีระยะเวลาการปรับตัวจึงเห็นพ้องต้องกันว่าควรมีการยืดหยุ่นเฉพาะในเรื่องการจดทะเบียนสวนออกไปจนถึง 30 กันยายน 2548
2) การจัดทำพิธีสารผลไม้เพิ่มเติม ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้จัดทำพิธีสารผลไม้เพิ่มเติมอีกฝ่ายละ 16 ชนิด เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกทางการค้า และกำกับดูแลให้ผลไม้ที่มีการค้าระห่างกันให้มีมาตรฐานทั้งการปลอดจากสารตกค้างและศัตรูพืช โดยคาดว่าจะสามารถลงนามได้ภายในเดือนตุลาคม 2548
3) การจัดทำพิธีสารผัก ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะจัดทำพิธีสารผักเพื่อกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าส่งออกที่เหมาะสมโดยจะมีการแจ้งชื่อผักโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ในระหว่างที่ดำเนินการจัดทำพิธีสารอยู่ให้สินค้าที่มีการค้ากันอยู่แล้วปฏิบัติตามแนวทางเดิมไปก่อน
4) ใบรับรองสินค้าเกษตรและอาหารไทยมาจีน ฝ่ายไทยได้ยื่นแบบฟอร์มใบรับรองสินค้าอาหารไทยฉบับใหม่ซึ่งได้มีการปรับรูปแบบให้เหมือนกันทั้ง 3 หน่วยงาน คือ กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง เพื่อมอบให้ฝ่ายจีนนำไปแจ้งด่านต่าง ๆ ทั่วประเทศจีน ซึ่งการปรับแบบฟอร์มนี้จะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ ผู้ส่งออกไทยและป้องกันการปลอมแปลง ทั้งนี้จะเริ่มใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป โดยในระหว่างนี้จีนจะยอมรับทั้งใบรับรองเก่าและใหม่ของไทย
5) การเปิดตลาดไก่ต้มสุก ฝ่ายไทยได้ยื่นพิธีสารการส่งออกไก่สุกไทยไปจีน ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันในการเร่งกระบวนการพิจารณาจัดทำพิธีสารไก่ต้มสุกโดยเร็วซึ่งเป็นการเปิดตลาดไก่ต้มสุกของไทยอีกตลาดหนึ่ง
6) การเปิดตลาดเนื้อจระเข้ไทย ฝ่ายไทยได้เริ่มเจรจาเปิดตลาดเนื้อจระเข้เพื่อบริโภคโดยจัดส่งข้อมูลที่จำเป็นในการจัดทำวิเคราะห์ความเสี่ยงแล้วและฝ่ายจีนได้เตรียมจัดส่งเจ้าหน้าที่เทคนิคมาตรวจโรงชำแหละเนื้อจระเข้ในไทยแล้ว
7) ใบรับรองประกอบการนำเข้า สำหรับเรื่องร่างระเบียบของไทยที่กำหนดเงื่อนไขให้สินค้าอาหารนำเข้ามาไทย 16 กลุ่มต้องมีใบรับรองประกอบการนำเข้าในลักษณะใบวิเคราะห์ผลการตรวจสอบ (test report) ซึ่งฝ่ายจีนเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องหลักสากลและอำนวยความสะดวกทางการค้านั้น ฝ่ายไทยรับจะไปแก้ไขเงื่อนไขการออกใบรับรองประกอบการนำเข้าสินค้าให้เป็นไปตามหลักสากลในเรื่องการยอมรับหลักความเท่าเทียมกันด้วย และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่ายไปหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องพิจารณาว่าสินค้ารายการใดของจีนที่ต้องมีใบรับรองประกอบการนำเข้า ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าไม่จำเป็นต้องแนบใบวิเคราะห์ผลตรวจสอบ
1.2 การประชุมกับนายเฉินจู รองประธานสภาวิทยาศาสตร์
ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะมีความร่วมมือในการวิจัยด้านก๊าซชีวภาพ หรือดำเนินการนำร่องในลักษณะโรงงานต้นแบบเกี่ยวกับการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงาน โดยร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์จีนและไทย โดยฝ่ายไทยมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักประสานกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งในและนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
1.3 การประชุมกับนายกู กิง ลิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันในการผลักดันความร่วมมือวิจัยร่วมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกในเรื่องไข้หวัดนก และพืชให้พลังงานทดแทน รวมทั้งการดำเนินการภายใต้กรอบความร่วมมือภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องยางพารา ข้าว พืชพลังงานทดแทน
1.4 การเจรจาซื้อขายผลไม้ไทยกับภาคเอกชนจีน
คณะผู้แทนไทยได้ไปร่วมพิธีเปิดงานแสดงเทศกาลผลไม้ไทยในห้างสรรพสินค้าจีน 3 แห่ง ได้แก่ Park N’ Shop Lotus และ Jusco เพื่อเป็นการแนะนำส่งเสริมผลไม้ไทยให้เป็นที่แพร่หลายในหมู่ผู้บริโภคชาวจีน ซึ่งปรากฏความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ โดยภาคเอกชนจีนได้มีการเจรจาซื้อขายลำไยสดจากไทยเพื่อจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าเหล่านี้เบื้องต้น เป็นจำนวน 50,000 ตัน
2. ยุทธศาสตร์การส่งสินค้าเกษตรไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน
เพื่อให้มีกรอบการดำเนินงานอย่างบูรณาการของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเพิ่มปริมาณและ/หรือมูลค่าสินค้าเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้ไทยในตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงกำหนดยุทธศาสตร์การส่งออกสินค้าเกษตรไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นดังนี้
2.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การแก้ไขปัญหาหนี้สินที่ได้มีการลงนามลดภาษีภายใต้เขตการค้าเสรีแล้ว กำหนดเป้าหมายขยายการส่งออกในปี 2548 นี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และในปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 50
1) แก้ไขปัญหาโลจิสติกส์ โดยกระทรวงคมนาคมจะพิจารณาหาช่องทางในการขนส่งสินค้าเข้าจีนเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันซึ่งไทยมีช่องทางในการขนส่งเข้าจีนได้น้อยทาง
2) แก้ไขปัญหาที่ด่านนำเข้าโดยครอบคลุมทั้งด้านปัญหาทางด้านมาตรฐานและสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเร่งรัดการเจรจาแก้ไขปัญหากับกระทรวงควบคุมคุณภาพและกักกันโรคอย่างต่อเนื่อง สำหรับปัญหาด้านพิธีการศุลกากรนั้น กรมศุลกากรไทยจะได้ร่วมกับกรมศุลกากรจีนในการดำเนินการอำนวยความสะดวก
ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกรมศุลกากรจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปประจำเป็นการชั่วคราวเพื่อติดตามและประสานการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ของจีน
3) สำหรับการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติที่แตกต่างของด่านต่าง ๆ ในระดับท้องถิ่นนั้น ฝ่ายไทยได้มีการแจ้งหน่วยงานรับผิดชอบส่วนกลางของจีนให้เน้นการแจ้งไปยังด่านต่าง ๆ ทั่วประเทศเพื่อให้ปฏิบัติสอดคล้องกับที่ส่วนกลางได้ตกลงกัน เช่น กรณีการเวียนแบบฟอร์มใหม่ เป็นต้น
4) การขยายการเปิดตลาดใหม่ เนื่องจากปัจจุบันผลไม้ไทยจะส่งเข้าจีนเฉพาะด่านทางใต้จึงจะเน้นการขยายการเข้าสู่ด่านทางเหนือเพื่อเปิดตลาดในมณฑลทางเหนือซึ่งยังมีการบริโภคผลไม้ไทยน้อยมาก
2.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 ขยายปริมาณการขายในตลาดจีน โดยวางตำแหน่งผลไม้ไทยเป็นผลไม้คุณภาพสูง มีมาตรฐาน เน้นตลาดระดับบนที่มีราคาสูง
เป้าหมายดำเนินการจะเน้นการแนะนำผลไม้ไทยเข้าสู่ตลาดใน 7 เมืองใหญ่ของจีน ได้แก่ ปักกิ่ง กวางโจว ต้าเหลียน ฉิ่งเตา เฉินตู ฉงชิ่ง และเซี่ยงไฮ้ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการต่างประเทศในการจัดเทศกาลผลไม้ไทยและแนะนำเครื่องหมายตัว Q รับรองคุณภาพในห้างสรรพสินค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการแนะนำผลไม้ไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางแพร่หลาย โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 30 ปี ความสัมพันธ์ไทย — จีน
หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามผลการประชุมหารือและยุทธศาสตร์ดังกล่าว ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานประสานงานหลัก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--