คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) เสนอ แล้วส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษีกาตรวจพิจารณาก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ทันการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยหน้าต่อไป
สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติได้จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานราชการทั้ง 10 หน่วยงาน เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2546 รวมทั้งได้นำข้อเสนอของแพทยสภาพิจารณาร่วมด้วย ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่วมกันในประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1. คำจำกัดความคำว่า "สุขภาพ" ที่หมายความว่าสุขภาวะที่สมบูรณ์และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นองค์รวมอย่างสมดุล ทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข แพทยสภา และประชาคมด้านพุทธศาสนาจำหนวนหนึ่ง เสนอว่าไม่ควรใช้คำว่า "ทางจิตวิญญาณ" นั้น ที่ประชุมได้พิจารณาร่วมกันแล้ว มีมติเห็นชอบให้ใช้คำอื่นแทน โดยมอบให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาหาคำอื่นที่เหมาะสมใช้แทน 2. สัดส่วนของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่มีองค์ประกอบด้วยบุคคล 3 ฝ่าย ได้แก่ (1) ฝ่ายการเมือง/ข้าราชการ (2) ฝ่ายวิชาการ/วิชาชีพ และ (3) ฝ่ายประชาชน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเสนอว่าน่าจะปรับให้มีความสมดุลกัน นั้น ที่ประชุมได้พิจารณาร่วมกันแล้ว มีมติให้ปรับองค์ประกอบของทั้ง 3 ฝ่ายให้เท่ากันแต่ไม่ควรเกิน 39 คน เพื่อไม่ให้เป็นองค์คณะที่ใหญ่เกินไป3. ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินกิจการของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่ประกอบด้วยเงินที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิม สำนักงบประมาณเสนอให้ตัดออกนั้น ที่ประชุมพิจารณาร่วมกันแล้วมีมติให้ตัดออก4. แนวนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ4.1 ที่ว่าด้วยการบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพที่ระบุว่า "การบริการสาธารณสุขให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ และไม่เป็นไปเพื่อแสวงหากำไรเชิงธุรกิจ" ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเสนอให้ตัด "และไม่เป็นเพื่อแสวงหากำไรเชิงธุรกิจ" ออก และแพทยสภาเสนอให้เติมว่า "ที่ไม่สมเหตุสมผล" ที่ประชุมพิจารณาร่วมกันและมอบให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดทำคำนิยามที่ชัดเจนต่อไป4.2 ที่ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคที่ระบุว่า "เสนอให้รัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของงบประมาณด้านสุขภาพเพื่อสนับสนุนแก่องค์กรผู้บริโภคภาคประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคกันเองได้อย่างเข้มแข็งควบคู่ไปกับการดำเนินงานของภาครัฐ" และที่ว่าด้วยองค์ความรู้และข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ว่า "เสนอให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของ งบประมาณด้านสุขภาพสำหรับการลงทุนวิจัยด้านสุขภาพ เพื่อให้มีองค์ความรู้เพียงพอต่อการพัฒนาสุขภาพและระบบสุขภาพอย่างต่อเนื่อง" ซึ่งสำนักงบประมาณและกระทรวงสาธารณสุขเสนอว่าไม่ควรกำหนดข้อความที่มีลักษณะเป็นการกำหนดให้รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณในจำนวนที่ตายตัวนั้น ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติให้ตัด ข้อความที่กำหนดสัดส่วนงบประมาณออกและมอบให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปพิจารณาปรับปรุงถ้อยคำให้เหมาะสมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติได้จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานราชการทั้ง 10 หน่วยงาน เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2546 รวมทั้งได้นำข้อเสนอของแพทยสภาพิจารณาร่วมด้วย ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่วมกันในประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1. คำจำกัดความคำว่า "สุขภาพ" ที่หมายความว่าสุขภาวะที่สมบูรณ์และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นองค์รวมอย่างสมดุล ทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข แพทยสภา และประชาคมด้านพุทธศาสนาจำหนวนหนึ่ง เสนอว่าไม่ควรใช้คำว่า "ทางจิตวิญญาณ" นั้น ที่ประชุมได้พิจารณาร่วมกันแล้ว มีมติเห็นชอบให้ใช้คำอื่นแทน โดยมอบให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาหาคำอื่นที่เหมาะสมใช้แทน 2. สัดส่วนของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่มีองค์ประกอบด้วยบุคคล 3 ฝ่าย ได้แก่ (1) ฝ่ายการเมือง/ข้าราชการ (2) ฝ่ายวิชาการ/วิชาชีพ และ (3) ฝ่ายประชาชน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเสนอว่าน่าจะปรับให้มีความสมดุลกัน นั้น ที่ประชุมได้พิจารณาร่วมกันแล้ว มีมติให้ปรับองค์ประกอบของทั้ง 3 ฝ่ายให้เท่ากันแต่ไม่ควรเกิน 39 คน เพื่อไม่ให้เป็นองค์คณะที่ใหญ่เกินไป3. ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินกิจการของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่ประกอบด้วยเงินที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิม สำนักงบประมาณเสนอให้ตัดออกนั้น ที่ประชุมพิจารณาร่วมกันแล้วมีมติให้ตัดออก4. แนวนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ4.1 ที่ว่าด้วยการบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพที่ระบุว่า "การบริการสาธารณสุขให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ และไม่เป็นไปเพื่อแสวงหากำไรเชิงธุรกิจ" ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเสนอให้ตัด "และไม่เป็นเพื่อแสวงหากำไรเชิงธุรกิจ" ออก และแพทยสภาเสนอให้เติมว่า "ที่ไม่สมเหตุสมผล" ที่ประชุมพิจารณาร่วมกันและมอบให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดทำคำนิยามที่ชัดเจนต่อไป4.2 ที่ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคที่ระบุว่า "เสนอให้รัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของงบประมาณด้านสุขภาพเพื่อสนับสนุนแก่องค์กรผู้บริโภคภาคประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคกันเองได้อย่างเข้มแข็งควบคู่ไปกับการดำเนินงานของภาครัฐ" และที่ว่าด้วยองค์ความรู้และข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ว่า "เสนอให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของ งบประมาณด้านสุขภาพสำหรับการลงทุนวิจัยด้านสุขภาพ เพื่อให้มีองค์ความรู้เพียงพอต่อการพัฒนาสุขภาพและระบบสุขภาพอย่างต่อเนื่อง" ซึ่งสำนักงบประมาณและกระทรวงสาธารณสุขเสนอว่าไม่ควรกำหนดข้อความที่มีลักษณะเป็นการกำหนดให้รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณในจำนวนที่ตายตัวนั้น ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติให้ตัด ข้อความที่กำหนดสัดส่วนงบประมาณออกและมอบให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปพิจารณาปรับปรุงถ้อยคำให้เหมาะสมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-