คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. .... ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ แล้วให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาโดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 8 (ฝ่ายกฎหมายฯ) (รองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม ประธานกรรมการ)
ประเด็นอภิปรายมีดังนี้
ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากบุคลากรของภาครัฐแล้วยังมีประชาชน บุคลากรขององค์กรอิสระต่าง ๆ ตลอดจนชาวต่างชาติด้วย ดังนั้น จึงต้องพิจารณาให้ครอบคลุมกรณีต่าง ๆ ที่สมควรจะขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ด้วย
1. ร่างข้อ 9 (1) เหตุแห่งการเรียกคืนกรณี "ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก" ควรเขียนให้ชัดเจนว่า หมายถึงต้องได้รับโทษจำคุกจริง มิใช่เป็นการรอลงอาญา
2. ร่างข้อ 9 (2) เหตุแห่งการเรียกคืนกรณี "ถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ เพราะถูกลงโทษทางวินัย" ควรเขียนให้ชัดเจนว่าการถูกลงโทษทางวินัย ต้องเป็นคำสั่งถึงที่สุดหรือเด็ดขาดแล้ว และเห็นควรให้เพิ่มเติมกรณีถูกถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่งที่เกิดจากการกระทำความผิดหรือข้อบกพร่องของตนเองด้วย
3. ร่างข้อ 9 (4) เหตุแห่งการเรียกคืนกรณี "ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลายเพราะกระทำหนี้สินโดยทุจริต" เห็นว่า เป็นการยากในการตรวจสอบว่ากระทำหนี้สินโดยทุจริตอย่างไร ประกอบกับเห็นว่าไม่ จำเป็นต้องกำหนดหลักเกณฑ์ในข้อนี้ไว้ เพราะสามารถเรียกคืนได้ตามข้อ 9 (1) อยู่แล้ว
4. ควรกำหนดให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในกรณีอื่น ๆ เช่น การนำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปใช้ในกรณีไม่สมควร หรือกรณีที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมหรือกระทำความผิดอย่างชัดแจ้งแล้วหลบหนี จึงไม่สามารถนำตัวมาลงโทษได้ และกรณีอื่น ๆ ดังนั้น ควรกำหนดให้คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฯลฯ สามารถเสนอขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนได้ในกรณีที่เห็นสมควรด้วย
5. นอกจากนี้ควรพิจารณาเพิ่มเติมว่า บทอาศัยอำนาจ ควรอ้างรัฐธรรมนูญ เรื่องพระราชอำนาจ พระมหากษัตริย์ การเรียกคืนควรใช้บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองแทนการฟ้องคดี และควรกำหนดให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2484 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจของคณะผู้สำเร็จราชการ แต่มิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือไม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
ประเด็นอภิปรายมีดังนี้
ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากบุคลากรของภาครัฐแล้วยังมีประชาชน บุคลากรขององค์กรอิสระต่าง ๆ ตลอดจนชาวต่างชาติด้วย ดังนั้น จึงต้องพิจารณาให้ครอบคลุมกรณีต่าง ๆ ที่สมควรจะขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ด้วย
1. ร่างข้อ 9 (1) เหตุแห่งการเรียกคืนกรณี "ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก" ควรเขียนให้ชัดเจนว่า หมายถึงต้องได้รับโทษจำคุกจริง มิใช่เป็นการรอลงอาญา
2. ร่างข้อ 9 (2) เหตุแห่งการเรียกคืนกรณี "ถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ เพราะถูกลงโทษทางวินัย" ควรเขียนให้ชัดเจนว่าการถูกลงโทษทางวินัย ต้องเป็นคำสั่งถึงที่สุดหรือเด็ดขาดแล้ว และเห็นควรให้เพิ่มเติมกรณีถูกถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่งที่เกิดจากการกระทำความผิดหรือข้อบกพร่องของตนเองด้วย
3. ร่างข้อ 9 (4) เหตุแห่งการเรียกคืนกรณี "ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลายเพราะกระทำหนี้สินโดยทุจริต" เห็นว่า เป็นการยากในการตรวจสอบว่ากระทำหนี้สินโดยทุจริตอย่างไร ประกอบกับเห็นว่าไม่ จำเป็นต้องกำหนดหลักเกณฑ์ในข้อนี้ไว้ เพราะสามารถเรียกคืนได้ตามข้อ 9 (1) อยู่แล้ว
4. ควรกำหนดให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในกรณีอื่น ๆ เช่น การนำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปใช้ในกรณีไม่สมควร หรือกรณีที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมหรือกระทำความผิดอย่างชัดแจ้งแล้วหลบหนี จึงไม่สามารถนำตัวมาลงโทษได้ และกรณีอื่น ๆ ดังนั้น ควรกำหนดให้คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฯลฯ สามารถเสนอขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนได้ในกรณีที่เห็นสมควรด้วย
5. นอกจากนี้ควรพิจารณาเพิ่มเติมว่า บทอาศัยอำนาจ ควรอ้างรัฐธรรมนูญ เรื่องพระราชอำนาจ พระมหากษัตริย์ การเรียกคืนควรใช้บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองแทนการฟ้องคดี และควรกำหนดให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2484 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจของคณะผู้สำเร็จราชการ แต่มิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือไม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-