คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยเบื้องต้นอนุมัติงบประมาณ 60 ล้านบาท มอบหมายให้กระทรวงการคลังและ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เชิญเอกชนเข้าร่วมด้วยโดยสร้างแรงจูงใจให้สนับสนุนเงินทุน กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 ไปดำเนินการดังนี้
1. ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาแผนงานและกิจกรรมของโครงการร่วมกันทั้งระบบ กำหนดรูปแบบการบริหารจัดการให้ชัดเจนเพื่อให้การดำเนินกิจกรรมเกิดความเชื่อมโยงเป็นไปในทิศทางเดียวกันและไม่เกิดความซ้ำซ้อน
2. สนับสนุนวงเงินงบประมาณ 5 ล้านบาท ในปี 2547 ซึ่งเหลือระยะเวลาดำเนินการเพียง 2 เดือน
3. ให้กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดตัวชี้วัดความสัมฤทธิ์ผลของแผนงานและโครงการไว้ให้ชัดเจน และติดตามประเมินผลเสนอคณะรัฐมนตรีทุก 6 เดือน
โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์มีสาระสำคัญดังนี้
1. วัตถุประสงค์ ยกระดับบุคลากร พัฒนาศักยภาพเทคโนโลยี และสร้างความเชื่อมโยงการผลิตให้อุตสาหกรรมแม่พิมพ์เป็นสินค้าที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันไปสู่ระดับสากล สามารถลดการนำเข้าได้ในระยะยาว รวมทั้งเพื่อบูรณาการในการพัฒนาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
2. เป้าหมายการดำเนินงาน ในระยะเวลา 6 ปี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
2.1 ปี 2547 (ระยะเร่งด่วน 1 ปี) โดยพัฒนาบุคลากร จำนวน 720 คน ด้วยความร่วมมือของเครือข่ายจาก 35 หน่วยงาน
2.2 ปี 2548 - 2552 (ดำเนินการต่อเนื่อง 5 ปี) โดยพัฒนาบุคลากรระดับ T1 - T7 จำนวน 6,980 คน พัฒนาสถานศึกษา 20 แห่ง พัฒนาหน่วยงานที่มีศักยภาพให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง 5 แห่ง พัฒนาและส่งเสริมการลงทุนให้อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ 250 ราย และสร้างผู้ประกอบการใหม่ 100 ราย
3. กลุ่มเป้าหมาย จะทำการคัดเลือกผู้ประกอบการ 5 กลุ่มเป้าหมาย คือ
3.1 นักเรียน นิสิต และนักศึกษา (บุคลากรใหม่ที่เข้าสู่อุตสาหกรรมแม่พิมพ์)
3.2 คนงาน ช่างฝีมือ วิศวกร (บุคลากรเดิมในภาคอุตสาหกรรม)
3.3 ครู อาจารย์ ในสถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ
3.4 สถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านแม่พิมพ์
3.5 มหาวิทยาลัย สถาบันอิสระ สถาบันวิจัยที่มีหน่วยงานเฉพาะทางด้านแม่พิมพ์
4. การบริหารจัดการโครงการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ร่วมกับหน่วยงานปฏิบัติ 35 องค์กร ประกอบด้วย สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับแม่พิมพ์ เช่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ สมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย สถาบันการศึกษา สถาบันอิสระและสถาบันวิจัย เป็นต้น จะเป็นหน่วยงานสนับสนุนโครงการ
5. ผลกระทบของโครงการ
5.1 ลดการนำเข้าแม่พิมพ์จากต่างประเทศได้ 7,000 ล้านบาทต่อปี (ในปี2552)
5.2 เพิ่มการส่งออกแม่พิมพ์เป็น 9,000 ล้านบาทต่อปี (ในปี 2552)
5.3 มูลค่าเพิ่มจากการพัฒนาบุคลากรจำนวน 2,772 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาแผนงานและกิจกรรมของโครงการร่วมกันทั้งระบบ กำหนดรูปแบบการบริหารจัดการให้ชัดเจนเพื่อให้การดำเนินกิจกรรมเกิดความเชื่อมโยงเป็นไปในทิศทางเดียวกันและไม่เกิดความซ้ำซ้อน
2. สนับสนุนวงเงินงบประมาณ 5 ล้านบาท ในปี 2547 ซึ่งเหลือระยะเวลาดำเนินการเพียง 2 เดือน
3. ให้กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดตัวชี้วัดความสัมฤทธิ์ผลของแผนงานและโครงการไว้ให้ชัดเจน และติดตามประเมินผลเสนอคณะรัฐมนตรีทุก 6 เดือน
โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์มีสาระสำคัญดังนี้
1. วัตถุประสงค์ ยกระดับบุคลากร พัฒนาศักยภาพเทคโนโลยี และสร้างความเชื่อมโยงการผลิตให้อุตสาหกรรมแม่พิมพ์เป็นสินค้าที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันไปสู่ระดับสากล สามารถลดการนำเข้าได้ในระยะยาว รวมทั้งเพื่อบูรณาการในการพัฒนาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
2. เป้าหมายการดำเนินงาน ในระยะเวลา 6 ปี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
2.1 ปี 2547 (ระยะเร่งด่วน 1 ปี) โดยพัฒนาบุคลากร จำนวน 720 คน ด้วยความร่วมมือของเครือข่ายจาก 35 หน่วยงาน
2.2 ปี 2548 - 2552 (ดำเนินการต่อเนื่อง 5 ปี) โดยพัฒนาบุคลากรระดับ T1 - T7 จำนวน 6,980 คน พัฒนาสถานศึกษา 20 แห่ง พัฒนาหน่วยงานที่มีศักยภาพให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง 5 แห่ง พัฒนาและส่งเสริมการลงทุนให้อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ 250 ราย และสร้างผู้ประกอบการใหม่ 100 ราย
3. กลุ่มเป้าหมาย จะทำการคัดเลือกผู้ประกอบการ 5 กลุ่มเป้าหมาย คือ
3.1 นักเรียน นิสิต และนักศึกษา (บุคลากรใหม่ที่เข้าสู่อุตสาหกรรมแม่พิมพ์)
3.2 คนงาน ช่างฝีมือ วิศวกร (บุคลากรเดิมในภาคอุตสาหกรรม)
3.3 ครู อาจารย์ ในสถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ
3.4 สถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านแม่พิมพ์
3.5 มหาวิทยาลัย สถาบันอิสระ สถาบันวิจัยที่มีหน่วยงานเฉพาะทางด้านแม่พิมพ์
4. การบริหารจัดการโครงการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ร่วมกับหน่วยงานปฏิบัติ 35 องค์กร ประกอบด้วย สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับแม่พิมพ์ เช่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ สมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย สถาบันการศึกษา สถาบันอิสระและสถาบันวิจัย เป็นต้น จะเป็นหน่วยงานสนับสนุนโครงการ
5. ผลกระทบของโครงการ
5.1 ลดการนำเข้าแม่พิมพ์จากต่างประเทศได้ 7,000 ล้านบาทต่อปี (ในปี2552)
5.2 เพิ่มการส่งออกแม่พิมพ์เป็น 9,000 ล้านบาทต่อปี (ในปี 2552)
5.3 มูลค่าเพิ่มจากการพัฒนาบุคลากรจำนวน 2,772 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-