คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการกู้เงินเพื่อ Refinance เงินกู้ธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชีย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการกู้เงินโดยวิธีการออกตราสารอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Note: FRN) วงเงิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ระยะเวลาไถ่ถอน 3 ปี โดยมี Barclay Capital เป็นหัวหน้าคณะผู้จัดการจัดจำหน่ายตราสาร (Lead Manager) เพื่อนำเงินที่ได้มาใช้สำหรับการทำ Refinance เงินกู้จากธนาคารโลก จำนวน 3 สัญญา และธนาคารพัฒนาเอเชีย จำนวน 3 สัญญา
2. เห็นชอบการลงนามในความตกลงว่าด้วยการจัดจำหน่ายตราสาร (Subscription Agreement) กับ Barclay Capital ในฐานะหัวหน้าคณะผู้จัดจำหน่ายตราสาร (Lead Manager) พร้อมด้วย ผู้ร่วมจัดจำหน่ายอีก 2 ราย และลงนามในความตกลงว่าด้วยการเป็นตัวแทนรับจ่ายเงิน (Fiscal Agency Agreement) กับ Deutsche Bank AG โดยมี Deutsche Bank AG เป็นตัวแทนรับจ่ายเงิน (Fiscal Agency) และนายทะเบียน (Registrar) โดยกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ออกตราสาร ในวงเงินตราสาร 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีระยะเวลาไถ่ถอน 3 ปี อัตราดอกเบี้ยกำหนดลอยตัวตามอัตราเงินให้กู้ระหว่างธนาคารในกรุงลอนดอน (London Inter Bank Offered Rate : LIBOR) ระยะ 6 เดือน (ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2547 อยู่ที่อัตราร้อยละ 1.5825 ต่อปี) บวกด้วยส่วนต่างร้อยละ 0.115 ต่อปี และกำหนดให้ชำระปีละ 2 ครั้ง
ทั้งนี้ การดำเนินการออกตราสารในครั้งนี้ ทำให้ประเทศไทยสามารถจัดหาเงินกู้โดยมีต้นทุนต่ำ และสามารถกระจายการจัดจำหน่ายได้อย่างกว้างขวาง ภายใต้เงื่อนไขเงินกู้ดังกล่าว คาดว่าจะทำให้รัฐบาลสามารถประหยัดภาระดอกเบี้ย เป็นเงินประมาณ 2,000 - 4,200 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. เห็นชอบในหลักการกู้เงินโดยวิธีการออกตราสารอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Note: FRN) วงเงิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ระยะเวลาไถ่ถอน 3 ปี โดยมี Barclay Capital เป็นหัวหน้าคณะผู้จัดการจัดจำหน่ายตราสาร (Lead Manager) เพื่อนำเงินที่ได้มาใช้สำหรับการทำ Refinance เงินกู้จากธนาคารโลก จำนวน 3 สัญญา และธนาคารพัฒนาเอเชีย จำนวน 3 สัญญา
2. เห็นชอบการลงนามในความตกลงว่าด้วยการจัดจำหน่ายตราสาร (Subscription Agreement) กับ Barclay Capital ในฐานะหัวหน้าคณะผู้จัดจำหน่ายตราสาร (Lead Manager) พร้อมด้วย ผู้ร่วมจัดจำหน่ายอีก 2 ราย และลงนามในความตกลงว่าด้วยการเป็นตัวแทนรับจ่ายเงิน (Fiscal Agency Agreement) กับ Deutsche Bank AG โดยมี Deutsche Bank AG เป็นตัวแทนรับจ่ายเงิน (Fiscal Agency) และนายทะเบียน (Registrar) โดยกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ออกตราสาร ในวงเงินตราสาร 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีระยะเวลาไถ่ถอน 3 ปี อัตราดอกเบี้ยกำหนดลอยตัวตามอัตราเงินให้กู้ระหว่างธนาคารในกรุงลอนดอน (London Inter Bank Offered Rate : LIBOR) ระยะ 6 เดือน (ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2547 อยู่ที่อัตราร้อยละ 1.5825 ต่อปี) บวกด้วยส่วนต่างร้อยละ 0.115 ต่อปี และกำหนดให้ชำระปีละ 2 ครั้ง
ทั้งนี้ การดำเนินการออกตราสารในครั้งนี้ ทำให้ประเทศไทยสามารถจัดหาเงินกู้โดยมีต้นทุนต่ำ และสามารถกระจายการจัดจำหน่ายได้อย่างกว้างขวาง ภายใต้เงื่อนไขเงินกู้ดังกล่าว คาดว่าจะทำให้รัฐบาลสามารถประหยัดภาระดอกเบี้ย เป็นเงินประมาณ 2,000 - 4,200 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-