คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการส่งเสริมการสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของกระทรวงแรงงาน ครั้งที่ 1
กระทรวงแรงงานได้ดำเนินการโครงการ/กิจกรรม เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) โดยใช้งบประมาณปกติ ปี 2547 และงบกลาง ปี 2547-2548 ดังนี้
1. การสร้างงานสร้างอาชีพ
กระทรวงแรงงานได้ดำเนินงานตามแผนงานปกติของหน่วยงานในการสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้
1.1 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ได้ดำเนินการให้บริการประชาชนในการพัฒนาฝีมือแรงงานโดยทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ยกระดับฝีมือแรงงาน ฝึกเพื่อประกอบอาชีพอิสระ และฝึกเตรียมเข้าทำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสาขาอาชีพที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและความต้องการของตลาดแรงงาน โดยในช่วงระหว่างตุลาคม 2546-มิถุนายน 2547 ได้ให้บริการประชาชน รวมทั้งสิ้น 6,267 คน จากเป้าหมาย 6,020 คน คิดเป็นร้อยละ 104.1
1.2 ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดนราธิวาส ร่วมกับชุดทักษิณสัมพันธ์ที่ 402 กรมทหารพรานที่ 43 อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ดำเนินโครงการสุไหงปาดีร่วมใจสร้างสันติสุข จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ซ่อมรถจักรยานยนต์ และบริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องฟรีให้กับประชาชนเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2547
1.3 ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดปัตตานี ร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ซ่อมอุปกรณ์เครื่องยนต์และเครื่องยนต์การเกษตรให้แก่กลุ่ม อผป.จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2547
1.4 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 12 สงขลาสำรวจความต้องการฝึกอาชีพราษฎรที่ได้รับผลกระทบเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2547 ณ ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ไม่สงบ มีผู้ต้องการฝึกอาชีพ 81 คน ดำเนินการฝึกระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน - 4 กันยายน 2547 โดยฝึกอบรมการตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี จำนวน 66 คน และฝึกอบรมการปักจักร จำนวน 15 คน
1.5 ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสตูล ดำเนินการฝึกอาชีพโดยร่วมกับหน่วยทักษิณพัฒนาที่ 5 6 และ 7 และ กอ.รมน.จังหวัดสตูล ฝึกอาชีพให้กับประชาชน รวม 571 คน
1.6 โครงการสร้างอาชีพใหม่ให้คนตกงาน/ว่างงาน ได้จัดตั้งกลุ่มอาชีพให้กลุ่มแม่บ้านและฝึกอบรมหลัก-สูตรการทำขนม ที่บ้านฉาง ตำบลบางโกระ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี 1 กลุ่ม จำนวน 25 คน ฝึกอบรมหลักสูตรการปัก/ฉลุผ้า ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 1 รุ่น / 25 คน เมื่อวันที่ 17-30 มิ.ย. 47 และฝึกอบรมหลักสูตรการเลี้ยงหอยแมลงภู่ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 1 กลุ่ม 20 คน
2. การดำเนินงานตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
กระทรวงแรงงานมีภารกิจในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างเศรษฐกิจใหม่และยกฐานะเศรษฐกิจเดิมให้เข้มแข็งและยั่งยืน และยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาคนและสังคม เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้รับการสนับสนุนงบกลางปี 2547-2548 ดังนี้
(1) สร้างอาคารแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ในจังหวัดนราธิวาส 1 หลัง งบกลาง ปี 2547 รวม 2.48 ล้านบาท และในจังหวัดยะลา 1 หลัง งบกลาง ปี 2547 รวม 2.12 ล้านบาท (ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2) เพื่อให้ประชาชนมีสถานที่สำหรับแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ (อยู่ระหว่างขออนุมัติเบิกจ่ายกับสำนักงบประมาณ)
(2) โครงการอบรมอาชีพให้กับเยาวชนในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม/ปอเนาะ/ชุมชน ใน 3 จังหวัด รวม 220 แห่ง ๆ ละ 20 คน รวม 4,400 คน งบกลางปี 2547 รวม 44.17 ล้านบาท (ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 4) อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อขออนุมัติการเบิกจ่ายกับสำนักงบประมาณ
(3) โครงการส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มเยาวชน/สตรี/วัยแรงงาน ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสเป้าหมาย 13 อำเภอ รวม 120,000 คน งบกลางปี 2548 จำนวน 20 ล้านบาท (เป็นโครงการตามความต้องการของพื้นที่)
3. การตระหนักถึงคุณค่าและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่เดินทางไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน
กระทรวงแรงงานมีโครงการ/กิจกรรมภายใต้แผนงานปกติของหน่วยงานที่เป็นการตระหนักถึงคุณค่าและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ที่เดินทางไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพ ดังนี้
(1) การอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปทำงานยังประเทศมาเลเซีย เพื่อให้มีการจัดส่งได้เร็วขึ้น โดยนายจ้างสามารถแจ้งความจำนงพร้อมหลักฐานให้จัดหางานจังหวัดเสนอรายชื่อคนหางานที่ลงทะเบียนไว้แล้ว ทำการพิจารณาคัดเลือก ซึ่งถือเสมือนการแจ้งเดินทางด้วยตนเอง รวมทั้งการฝึกอบรมด้านภาษาและวัฒนธรรมและดำเนินการทดสอบให้กับคนหางานที่จะเดินทางไปทำงานในมาเลเซีย
(2) ตรวจเยี่ยมและดูสภาพการทำงานของคนหางานในประเทศมาเลเซีย ที่เดินทางไปด้วยตนเองและที่เดินทางผ่านด่านตรวจคนหางานเบตง จังหวัดยะลา
(3) ประชาสัมพันธ์การเดินทางไปทำงานต่างประเทศให้กับคนหางานในจังหวัดนราธิวาส
4. การกำหนดมาตรการอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวทำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกรณีพิเศษ
เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานกรณีการขาดแคลนแรงงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากแรงงานที่มีอยู่เดิมมาจากภาคอื่นได้อพยพย้ายกลับภูมิลำเนาจำนวนมาก ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบการโดยเฉพาะในกิจการก่อสร้าง โดยกระทรวงแรงงานได้มีการจัดระบบแรงงานต่างด้าวปี 2547 สามารถจ้างคนต่างด้าว 3 สัญชาติ ได้ในกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 8 มิถุนายน 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงแรงงานได้ดำเนินการโครงการ/กิจกรรม เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) โดยใช้งบประมาณปกติ ปี 2547 และงบกลาง ปี 2547-2548 ดังนี้
1. การสร้างงานสร้างอาชีพ
กระทรวงแรงงานได้ดำเนินงานตามแผนงานปกติของหน่วยงานในการสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้
1.1 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ได้ดำเนินการให้บริการประชาชนในการพัฒนาฝีมือแรงงานโดยทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ยกระดับฝีมือแรงงาน ฝึกเพื่อประกอบอาชีพอิสระ และฝึกเตรียมเข้าทำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสาขาอาชีพที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและความต้องการของตลาดแรงงาน โดยในช่วงระหว่างตุลาคม 2546-มิถุนายน 2547 ได้ให้บริการประชาชน รวมทั้งสิ้น 6,267 คน จากเป้าหมาย 6,020 คน คิดเป็นร้อยละ 104.1
1.2 ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดนราธิวาส ร่วมกับชุดทักษิณสัมพันธ์ที่ 402 กรมทหารพรานที่ 43 อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ดำเนินโครงการสุไหงปาดีร่วมใจสร้างสันติสุข จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ซ่อมรถจักรยานยนต์ และบริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องฟรีให้กับประชาชนเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2547
1.3 ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดปัตตานี ร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ซ่อมอุปกรณ์เครื่องยนต์และเครื่องยนต์การเกษตรให้แก่กลุ่ม อผป.จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2547
1.4 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 12 สงขลาสำรวจความต้องการฝึกอาชีพราษฎรที่ได้รับผลกระทบเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2547 ณ ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ไม่สงบ มีผู้ต้องการฝึกอาชีพ 81 คน ดำเนินการฝึกระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน - 4 กันยายน 2547 โดยฝึกอบรมการตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี จำนวน 66 คน และฝึกอบรมการปักจักร จำนวน 15 คน
1.5 ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสตูล ดำเนินการฝึกอาชีพโดยร่วมกับหน่วยทักษิณพัฒนาที่ 5 6 และ 7 และ กอ.รมน.จังหวัดสตูล ฝึกอาชีพให้กับประชาชน รวม 571 คน
1.6 โครงการสร้างอาชีพใหม่ให้คนตกงาน/ว่างงาน ได้จัดตั้งกลุ่มอาชีพให้กลุ่มแม่บ้านและฝึกอบรมหลัก-สูตรการทำขนม ที่บ้านฉาง ตำบลบางโกระ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี 1 กลุ่ม จำนวน 25 คน ฝึกอบรมหลักสูตรการปัก/ฉลุผ้า ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 1 รุ่น / 25 คน เมื่อวันที่ 17-30 มิ.ย. 47 และฝึกอบรมหลักสูตรการเลี้ยงหอยแมลงภู่ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 1 กลุ่ม 20 คน
2. การดำเนินงานตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
กระทรวงแรงงานมีภารกิจในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างเศรษฐกิจใหม่และยกฐานะเศรษฐกิจเดิมให้เข้มแข็งและยั่งยืน และยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาคนและสังคม เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้รับการสนับสนุนงบกลางปี 2547-2548 ดังนี้
(1) สร้างอาคารแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ในจังหวัดนราธิวาส 1 หลัง งบกลาง ปี 2547 รวม 2.48 ล้านบาท และในจังหวัดยะลา 1 หลัง งบกลาง ปี 2547 รวม 2.12 ล้านบาท (ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2) เพื่อให้ประชาชนมีสถานที่สำหรับแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ (อยู่ระหว่างขออนุมัติเบิกจ่ายกับสำนักงบประมาณ)
(2) โครงการอบรมอาชีพให้กับเยาวชนในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม/ปอเนาะ/ชุมชน ใน 3 จังหวัด รวม 220 แห่ง ๆ ละ 20 คน รวม 4,400 คน งบกลางปี 2547 รวม 44.17 ล้านบาท (ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 4) อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อขออนุมัติการเบิกจ่ายกับสำนักงบประมาณ
(3) โครงการส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มเยาวชน/สตรี/วัยแรงงาน ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสเป้าหมาย 13 อำเภอ รวม 120,000 คน งบกลางปี 2548 จำนวน 20 ล้านบาท (เป็นโครงการตามความต้องการของพื้นที่)
3. การตระหนักถึงคุณค่าและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่เดินทางไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน
กระทรวงแรงงานมีโครงการ/กิจกรรมภายใต้แผนงานปกติของหน่วยงานที่เป็นการตระหนักถึงคุณค่าและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ที่เดินทางไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพ ดังนี้
(1) การอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปทำงานยังประเทศมาเลเซีย เพื่อให้มีการจัดส่งได้เร็วขึ้น โดยนายจ้างสามารถแจ้งความจำนงพร้อมหลักฐานให้จัดหางานจังหวัดเสนอรายชื่อคนหางานที่ลงทะเบียนไว้แล้ว ทำการพิจารณาคัดเลือก ซึ่งถือเสมือนการแจ้งเดินทางด้วยตนเอง รวมทั้งการฝึกอบรมด้านภาษาและวัฒนธรรมและดำเนินการทดสอบให้กับคนหางานที่จะเดินทางไปทำงานในมาเลเซีย
(2) ตรวจเยี่ยมและดูสภาพการทำงานของคนหางานในประเทศมาเลเซีย ที่เดินทางไปด้วยตนเองและที่เดินทางผ่านด่านตรวจคนหางานเบตง จังหวัดยะลา
(3) ประชาสัมพันธ์การเดินทางไปทำงานต่างประเทศให้กับคนหางานในจังหวัดนราธิวาส
4. การกำหนดมาตรการอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวทำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกรณีพิเศษ
เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานกรณีการขาดแคลนแรงงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากแรงงานที่มีอยู่เดิมมาจากภาคอื่นได้อพยพย้ายกลับภูมิลำเนาจำนวนมาก ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบการโดยเฉพาะในกิจการก่อสร้าง โดยกระทรวงแรงงานได้มีการจัดระบบแรงงานต่างด้าวปี 2547 สามารถจ้างคนต่างด้าว 3 สัญชาติ ได้ในกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 8 มิถุนายน 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-