คณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้
การระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศไทยครั้งแรกในช่วงเดือนมกราคม ถึง พฤษภาคม 2547 มีผู้เข้าข่าย 610 ราย และเป็นผู้ป่วยยืนยันว่าเป็นโรค 12 ราย เสียชีวิต 8 ราย การระบาดครั้งที่ 2 ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2547 ถึง 8 สิงหาคม 2547 สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ หรือปอดบวม ที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก รวม 30 ราย จาก 15 จังหวัด ผลการเฝ้าระวังเบื้องต้นไม่พบว่าผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดนก และผู้ป่วยเข้าข่ายสงสัยไข้หวัดนก
ความก้าวหน้าการดำเนินงานการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนกในคน
กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งรัดการดำเนินงานทุกวิถีทางที่จะป้องกันโรคไข้หวัดนกในคน ซึ่งถูกจัดให้เป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่มีความสำคัญโรคหนึ่ง และจากการที่กระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มเร่งรัดการเตรียมความพร้อมรับโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2546 เมื่อเริ่มพบการระบาดในสัตว์ปีก จึงสามารถนำมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคซาร์สมาปรับใช้กับโรคไข้หวัดนกได้ทันที รวมทั้งได้เพิ่มมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคซาร์สมาปรับใช้กับโรคไข้หวัดนกได้ทันที รวมทั้งได้เพิ่มมาตรการที่จำเป็นอื่น ๆ สรุปได้ดังนี้
1. การเฝ้าระวังและป้องกันโรค โดยการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้โรคไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดใหญ่จากสัตว์ เป็นโรคติดต่อ การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรค แจ้งเตือนสถานการณ์และพื้นที่ระบาด ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์เชิงรุก การสอบสวนและเฝ้าระวังการป่วยด้วยโรคปอดบวม อย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง การแยกรักษาผู้ป่วยอย่างถูกต้องโดยเร็วที่สุด การสนับสนุนวัคซีนไข้หวัดใหญ่แก่กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด พัฒนาศักยภาพและระบบการเฝ้าระวังไข้หวัดนก ทางห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมควบคุมโรครวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข
2. ความปลอดภัยด้านอาหาร ได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับการบริโภค ไก่และไข่ รวมทั้งการรณรงค์การล้างตลาดสดทั่วประเทศ การบริโภคอาหารปรุงสุก การล้างมือ และการป้องกันตนเองจากการสัมผัสโรค
3. ความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้ประสานความร่วมมือทั้งด้านวิชาการ การศึกษาวิจัย และพัฒนาและการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายทั้งภายในประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ องค์การอนามัยโลก และศูนย์ความร่วมมือไทย - สหรัฐ
4. การควบคุมการใช้วัคซีนในสัตว์ ได้มีการแต่งตั้งกรรมการพิจารณาผลกระทบทางสาธารณสุขจากการใช้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนกในไก่ นอกจากนี้ได้มีการประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การนำเข้า ขาย และใช้วัคซีนไข้หวัดนก มีความผิดกฎหมาย ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม 2547
5. การวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ ได้มีการจัดตั้งการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกทางห้องปฏิบัติการและศูนย์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ WHO National Influenza Center สามารถรายงานผลได้ภายใน 24 ชั่วโมง รวมทั้งการจัดตั้งระบบการประสานงานการตรวจชันสูตร และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้เรื่องการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
การระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศไทยครั้งแรกในช่วงเดือนมกราคม ถึง พฤษภาคม 2547 มีผู้เข้าข่าย 610 ราย และเป็นผู้ป่วยยืนยันว่าเป็นโรค 12 ราย เสียชีวิต 8 ราย การระบาดครั้งที่ 2 ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2547 ถึง 8 สิงหาคม 2547 สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ หรือปอดบวม ที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก รวม 30 ราย จาก 15 จังหวัด ผลการเฝ้าระวังเบื้องต้นไม่พบว่าผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดนก และผู้ป่วยเข้าข่ายสงสัยไข้หวัดนก
ความก้าวหน้าการดำเนินงานการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนกในคน
กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งรัดการดำเนินงานทุกวิถีทางที่จะป้องกันโรคไข้หวัดนกในคน ซึ่งถูกจัดให้เป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่มีความสำคัญโรคหนึ่ง และจากการที่กระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มเร่งรัดการเตรียมความพร้อมรับโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2546 เมื่อเริ่มพบการระบาดในสัตว์ปีก จึงสามารถนำมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคซาร์สมาปรับใช้กับโรคไข้หวัดนกได้ทันที รวมทั้งได้เพิ่มมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคซาร์สมาปรับใช้กับโรคไข้หวัดนกได้ทันที รวมทั้งได้เพิ่มมาตรการที่จำเป็นอื่น ๆ สรุปได้ดังนี้
1. การเฝ้าระวังและป้องกันโรค โดยการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้โรคไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดใหญ่จากสัตว์ เป็นโรคติดต่อ การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรค แจ้งเตือนสถานการณ์และพื้นที่ระบาด ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์เชิงรุก การสอบสวนและเฝ้าระวังการป่วยด้วยโรคปอดบวม อย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง การแยกรักษาผู้ป่วยอย่างถูกต้องโดยเร็วที่สุด การสนับสนุนวัคซีนไข้หวัดใหญ่แก่กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด พัฒนาศักยภาพและระบบการเฝ้าระวังไข้หวัดนก ทางห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมควบคุมโรครวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข
2. ความปลอดภัยด้านอาหาร ได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับการบริโภค ไก่และไข่ รวมทั้งการรณรงค์การล้างตลาดสดทั่วประเทศ การบริโภคอาหารปรุงสุก การล้างมือ และการป้องกันตนเองจากการสัมผัสโรค
3. ความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้ประสานความร่วมมือทั้งด้านวิชาการ การศึกษาวิจัย และพัฒนาและการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายทั้งภายในประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ องค์การอนามัยโลก และศูนย์ความร่วมมือไทย - สหรัฐ
4. การควบคุมการใช้วัคซีนในสัตว์ ได้มีการแต่งตั้งกรรมการพิจารณาผลกระทบทางสาธารณสุขจากการใช้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนกในไก่ นอกจากนี้ได้มีการประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การนำเข้า ขาย และใช้วัคซีนไข้หวัดนก มีความผิดกฎหมาย ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม 2547
5. การวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ ได้มีการจัดตั้งการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกทางห้องปฏิบัติการและศูนย์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ WHO National Influenza Center สามารถรายงานผลได้ภายใน 24 ชั่วโมง รวมทั้งการจัดตั้งระบบการประสานงานการตรวจชันสูตร และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้เรื่องการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-