คณะรัฐมนตรีรับทราบความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง นโยบายของรัฐและการคลี่คลายความขัดแย้งเกี่ยวกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) เสนอ
สำนักงาน กนร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กนร. รายงานว่า ได้รวบรวมความเห็น ผลการพิจารณา จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสร็จแล้ว ปรากฏว่า ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษา ฯ แต่มีบางหน่วยงานมีข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปได้ดังนี้
ข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษา ฯ ความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1. ป้องกันความขัดแย้งมิให้กลายเป็นความรุนแรงด้วยความ 1. ข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นนโยบายของรัฐที่มีการ
"โปร่งใส" ของโครงการโดยเน้นกระบวนการมี แก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธีบนพื้นฐานของ
ส่วนร่วมของฝ่ายต่าง ๆ อย่างแท้จริง การสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาล ผู้ปฏิบัติงาน
ในรัฐวิสาหกิจและประชาชน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้น
มักจะมีสาเหตุสำคัญ คือ ความไม่เข้าใจในทิศทาง
วัตถุประสงค์ที่แท้จริงและเป้าหมายของการดำเนิน
โครงการอันเนื่องมาจากความไม่โปร่งใสของการ
ดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากความไม่โปร่งใสของ
การดำเนินโครงการ และการขาดการมีส่วนร่วมของ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทำให้ความเข้าใจในโครงการ
คลาดเคลื่อนและนำมาซึ่งความขัดแย้งได้ ดังนั้น
การที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการจัดทำ โครงการตั้งแต่ต้นจะทำให้เกิดความเข้าใจใน
โครงการอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นกระบวนการ
สื่อสารสองทางที่ดีที่สุดอีกด้วย ซึ่งหากละเลยต่อ
การเจรจาร่วมกันย่อมจะทำให้ความไม่เข้าใจยิ่ง
ทวีความรุนแรงมากขึ้นจนเกินขีดความสามารถที่
จะแก้ไขได้
2.จัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นด้วยการเคารพสิทธิ 2. การบริหารจัดการภาครัฐที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้
ของประชาชนและให้มีการสื่อสารสองทางระหว่าง มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) จะเป็นการปรับ
ฝ่ายต่างๆ บนพื้นฐานของความเสมอภาคปราศจาก เปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการทำงานขององค์กรภาครัฐให้
อคติและความเกลียดชัง เพื่อให้การจัดการความ เป็นระบบธรรมาภิบาลอันเป็นลักษณะที่พึงประสงค์ต่อ
ขัดแย้งมีความคืบหน้าอย่างสร้างสรรค์ สังคมไทย และประชาคมโลก ทั้งนี้ การเปิดโอกาสให้
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ
แปลงสภาพ จะทำให้ได้ข้อสรุปแนวทางการแก้ไข
ปัญหาต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน ส่งผลดีต่อประเทศ
โดยรวม หากทุกฝ่ายได้มีการร่วมมือกัน ด้วยความ
จริงใจย่อมหาข้อยุติให้กับทุกฝ่ายได้ไม่ยากอีกทั้งยังเป็น การเสริมสร้างความเสมอภาคซึ่งกันและกัน
3.จัดการความขัดแย้งที่กำลังจะกลายเป็นความรุนแรง 3. ลดความตึงเครียดในองค์กร ส่งเสริมความสัมพันธ์และ
โดยอาศัยบุคลากรที่มีทัศนคติต่อคู่ขัดแย้งอย่างฉันท์มิตร สร้างความไว้วางใจและก่อให้เกิดความสามัคคีระหว่าง
มีความเข้าใจเรื่องสันติวิธีอย่างชัดเจน และมีทักษะ บุคลากรในระดับบริหาร พนักงานในองค์กรและประชาชน
ในการเผชิญกับความขัดแย้ง ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี
ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
1. การดำเนินการเกี่ยวกับการขจัดความขัดแย้งเกี่ยวกับการแปรรูปจะสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์ จะต้องมีการศึกษาและประเมินความต้องการของทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ รัฐบาล หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และสหภาพแรงงาน โดยต้องตกลงทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินการหรือกำหนดหลักเกณฑ์ใด ๆ อย่างไรก็ตาม กรณีที่ต้องมีการประนีประนอมเพื่อบรรลุผลประโยชน์ร่วมกันของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาจทำให้การแก้ไขปัญหาไม่เป็นไปตามแนวทางที่ควรจะเป็น หรือไม่ก่อให้เกิดแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับผลประโยชน์ส่วนรวม ทั้งนี้ หากผู้เจรจาเป็นบุคคลที่ไม่มีอำนาจตัดสินใจอาจทำให้ความขัดแย้งลุกลามต่อไปได้
2. ความขัดแย้งจะพัฒนามาจากการที่แต่ละฝ่ายไม่ได้รับทราบข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน จึงนำไปสู่ความรู้สึกที่ไม่โปร่งใส ดังนั้น การให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลได้เท่าเทียมกัน โดยชี้ให้เห็นถึงผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ ด้วยกระบวนการของการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายหลาย ๆ วิธี และดำเนินการอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลาต่อเนื่องจนทุกฝ่ายเข้าใจในสถานการณ์ จะทำให้กระบวนการดังกล่าวนำไปสู่การยอมรับอย่างแท้จริง
3. ความขัดแย้งในนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากความเร่งรีบของการดำเนินการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรชี้แจงความคืบหน้าในนโยบายการแปรรูปรวมทั้งแนวทางที่ชัดเจนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ทราบด้วย
4. ควรมีการกำหนดแนวทางและกระบวนการต่าง ๆ ของการแปรรูปที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
5. ข้อเสนอแนะดังกล่าวจะไม่บังเกิดผล ถ้าระบบการบริหารองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายบ่อยครั้ง ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการดำเนินการ อีกทั้งในหลายหน่วยงานยังขาดบุคลากรที่มีทักษะในการเผชิญกับความขัดแย้ง จึงเห็นควรให้มีการจัดอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะในด้านนี้
6. การนำแนวนโยบายการคลี่คลายความขัดแย้งด้วยสันติวิธีมาใช้ในกรณีความขัดแย้งเกี่ยวกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ นั้น อาจจะต้องปรับปรุงกลยุทธ์ให้เหมาะสมในรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง เพราะรัฐวิสาหกิจบางแห่งมีผลประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ดังนั้น การคลี่คลายความขัดแย้งจึงจำเป็นที่จะต้องนำสิทธิแห่งผลประโยชน์มาร่วมพิจารณาด้วย
7. ในบางรัฐวิสาหกิจมีทรัพยากรน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของพนักงานที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด และความขัดแย้งในบางกรณีนั้น เป็นเรื่องของทัศนคติและจิตใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ยากไม่สามารถบังคับกันได้ และต้องใช้เวลานานมากในการเปลี่ยนแปลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
สำนักงาน กนร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กนร. รายงานว่า ได้รวบรวมความเห็น ผลการพิจารณา จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสร็จแล้ว ปรากฏว่า ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษา ฯ แต่มีบางหน่วยงานมีข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปได้ดังนี้
ข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษา ฯ ความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1. ป้องกันความขัดแย้งมิให้กลายเป็นความรุนแรงด้วยความ 1. ข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นนโยบายของรัฐที่มีการ
"โปร่งใส" ของโครงการโดยเน้นกระบวนการมี แก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธีบนพื้นฐานของ
ส่วนร่วมของฝ่ายต่าง ๆ อย่างแท้จริง การสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาล ผู้ปฏิบัติงาน
ในรัฐวิสาหกิจและประชาชน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้น
มักจะมีสาเหตุสำคัญ คือ ความไม่เข้าใจในทิศทาง
วัตถุประสงค์ที่แท้จริงและเป้าหมายของการดำเนิน
โครงการอันเนื่องมาจากความไม่โปร่งใสของการ
ดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากความไม่โปร่งใสของ
การดำเนินโครงการ และการขาดการมีส่วนร่วมของ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทำให้ความเข้าใจในโครงการ
คลาดเคลื่อนและนำมาซึ่งความขัดแย้งได้ ดังนั้น
การที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการจัดทำ โครงการตั้งแต่ต้นจะทำให้เกิดความเข้าใจใน
โครงการอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นกระบวนการ
สื่อสารสองทางที่ดีที่สุดอีกด้วย ซึ่งหากละเลยต่อ
การเจรจาร่วมกันย่อมจะทำให้ความไม่เข้าใจยิ่ง
ทวีความรุนแรงมากขึ้นจนเกินขีดความสามารถที่
จะแก้ไขได้
2.จัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นด้วยการเคารพสิทธิ 2. การบริหารจัดการภาครัฐที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้
ของประชาชนและให้มีการสื่อสารสองทางระหว่าง มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) จะเป็นการปรับ
ฝ่ายต่างๆ บนพื้นฐานของความเสมอภาคปราศจาก เปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการทำงานขององค์กรภาครัฐให้
อคติและความเกลียดชัง เพื่อให้การจัดการความ เป็นระบบธรรมาภิบาลอันเป็นลักษณะที่พึงประสงค์ต่อ
ขัดแย้งมีความคืบหน้าอย่างสร้างสรรค์ สังคมไทย และประชาคมโลก ทั้งนี้ การเปิดโอกาสให้
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ
แปลงสภาพ จะทำให้ได้ข้อสรุปแนวทางการแก้ไข
ปัญหาต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน ส่งผลดีต่อประเทศ
โดยรวม หากทุกฝ่ายได้มีการร่วมมือกัน ด้วยความ
จริงใจย่อมหาข้อยุติให้กับทุกฝ่ายได้ไม่ยากอีกทั้งยังเป็น การเสริมสร้างความเสมอภาคซึ่งกันและกัน
3.จัดการความขัดแย้งที่กำลังจะกลายเป็นความรุนแรง 3. ลดความตึงเครียดในองค์กร ส่งเสริมความสัมพันธ์และ
โดยอาศัยบุคลากรที่มีทัศนคติต่อคู่ขัดแย้งอย่างฉันท์มิตร สร้างความไว้วางใจและก่อให้เกิดความสามัคคีระหว่าง
มีความเข้าใจเรื่องสันติวิธีอย่างชัดเจน และมีทักษะ บุคลากรในระดับบริหาร พนักงานในองค์กรและประชาชน
ในการเผชิญกับความขัดแย้ง ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี
ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
1. การดำเนินการเกี่ยวกับการขจัดความขัดแย้งเกี่ยวกับการแปรรูปจะสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์ จะต้องมีการศึกษาและประเมินความต้องการของทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ รัฐบาล หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และสหภาพแรงงาน โดยต้องตกลงทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินการหรือกำหนดหลักเกณฑ์ใด ๆ อย่างไรก็ตาม กรณีที่ต้องมีการประนีประนอมเพื่อบรรลุผลประโยชน์ร่วมกันของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาจทำให้การแก้ไขปัญหาไม่เป็นไปตามแนวทางที่ควรจะเป็น หรือไม่ก่อให้เกิดแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับผลประโยชน์ส่วนรวม ทั้งนี้ หากผู้เจรจาเป็นบุคคลที่ไม่มีอำนาจตัดสินใจอาจทำให้ความขัดแย้งลุกลามต่อไปได้
2. ความขัดแย้งจะพัฒนามาจากการที่แต่ละฝ่ายไม่ได้รับทราบข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน จึงนำไปสู่ความรู้สึกที่ไม่โปร่งใส ดังนั้น การให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลได้เท่าเทียมกัน โดยชี้ให้เห็นถึงผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ ด้วยกระบวนการของการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายหลาย ๆ วิธี และดำเนินการอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลาต่อเนื่องจนทุกฝ่ายเข้าใจในสถานการณ์ จะทำให้กระบวนการดังกล่าวนำไปสู่การยอมรับอย่างแท้จริง
3. ความขัดแย้งในนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากความเร่งรีบของการดำเนินการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรชี้แจงความคืบหน้าในนโยบายการแปรรูปรวมทั้งแนวทางที่ชัดเจนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ทราบด้วย
4. ควรมีการกำหนดแนวทางและกระบวนการต่าง ๆ ของการแปรรูปที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
5. ข้อเสนอแนะดังกล่าวจะไม่บังเกิดผล ถ้าระบบการบริหารองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายบ่อยครั้ง ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการดำเนินการ อีกทั้งในหลายหน่วยงานยังขาดบุคลากรที่มีทักษะในการเผชิญกับความขัดแย้ง จึงเห็นควรให้มีการจัดอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะในด้านนี้
6. การนำแนวนโยบายการคลี่คลายความขัดแย้งด้วยสันติวิธีมาใช้ในกรณีความขัดแย้งเกี่ยวกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ นั้น อาจจะต้องปรับปรุงกลยุทธ์ให้เหมาะสมในรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง เพราะรัฐวิสาหกิจบางแห่งมีผลประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ดังนั้น การคลี่คลายความขัดแย้งจึงจำเป็นที่จะต้องนำสิทธิแห่งผลประโยชน์มาร่วมพิจารณาด้วย
7. ในบางรัฐวิสาหกิจมีทรัพยากรน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของพนักงานที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด และความขัดแย้งในบางกรณีนั้น เป็นเรื่องของทัศนคติและจิตใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ยากไม่สามารถบังคับกันได้ และต้องใช้เวลานานมากในการเปลี่ยนแปลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-