คณะรัฐมนตรีเห็นชอบกรอบงบประมาณประจำปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจ ที่มีวงเงินดำเนินการ 348,000 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายจำนวน 303,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ฐานะดุลภาครัฐวิสาหกิจโดยรวมขาดดุลร้อยละ 1.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กรอบงบประมาณประจำปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงได้กำหนดแนวทางในการจัดทำกรอบงบประมาณประจำปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจ โดยมีปัจจัยที่สำคัญ ดังนี้
1. ข้อสมมติฐาน
1) แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจ ในปี 2548 คาดว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศจะมีการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 7-8 มีระดับอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 2.6 และมีอัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์ สรอ. เท่ากับ 38 บาท บาท/ยูโร เท่ากับ 47.50 และบาท/เยน เท่ากับ 36.19 ในช่วงปี 2549-2551 เศรษฐกิจยังมีแนวโน้มการขยายตัวใกล้เคียงกับปี 2548
2) แนวนโยบายเศรษฐกิจมหภาค
- ด้านรัฐบาล มุ่งเน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจควบคู่กับการสนับสนุนภาคเอกชนในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ ในปี 2548 จึงกำหนด (1) การดำเนินนโยบายงบประมาณให้เป็นงบประมาณแบบสมดุล เพื่อให้สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ลดลงอย่างรวดเร็ว (2) สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และ (3) การดำเนินนโยบายด้านการคลังจะดำเนินการในลักษณะเป็นกลไกรักษาเสถียรภาพแบบอัตโนมัติ
- ด้านรัฐวิสาหกิจ (1) การลงทุนของรัฐวิสาหกิจจะเป็นการลงทุนเพื่อรองรับความต้องการในอนาคตและสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน (2) การนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ของรัฐวิสาหกิจควรดูแลไม่ให้เพิ่มสูงเกินความจำเป็น (3) การก่อหนี้ต่างประเทศ ยังคงกำหนดเพดานเงินกู้ไว้ปีละ 1,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. (รวมทั้งหนี้ของภาครัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ) จึงควรดูแลให้มีการลดการก่อหนี้ต่างประเทศและใช้เงินกู้ในประเทศทดแทน และ (4) การก่อหนี้ในประเทศ ให้ระมัดระวังไม่ให้มีการก่อหนี้เกินความจำเป็น
3) ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2548 มีเป้าหมายยุทธศาสตร์ระดับชาติเพื่อสร้างความเข้มแข้งทางเศรษฐกิจ ขจัดความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและเสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลางประกอบด้วยยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ดังนี้ (1) ยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ (2) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคม การแก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิต (4) ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติ การต่างประเทศและการอำนวยความยุติธรรม และ (5) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการประเทศ
4) ผลการประเมินการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจในปี 2547 ในภาพรวมมีผลการดำเนินงานอยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ (1) ด้านผลประกอบการ คาดว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ 94,359 ล้านบาท เพิ่มจากเป้าหมายร้อยละ 36 (2) การจัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุน จำนวน 180,310 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 และ (3) การเบิกจ่ายลงทุน ที่มีประสิทธิภาพการเบิกจ่ายร้อยละ 82 หรือ 198,901 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 90 แต่อยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาที่เบิกจ่ายได้เพียงร้อยละ 75
5) ประมาณการ ปี 2548 ในภาพรวมประมาณว่าจะมีผลการดำเนินงานเป็น ดังนี้ (1) ผลประกอบการคาดว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ 98,000 ล้านบาท และ (2) การจัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุนคาดว่าจะมี จำนวน 220,000 ล้านบาท
2. กรอบวงเงินงบประมาณ
การกำหนดวงเงินงบประมาณประจำปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พิจารณา โดยคำนึงถึงข้อสมมติฐานและแนวนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ประกอบกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และประมาณการแนวโน้มในปี 2548 แล้ว จึงเห็นสมควรกำหนดกรอบการดำเนินการในภาพรวมของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 348,000 ล้านบาท และกรอบเบิกจ่ายจำนวน 303,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.01 ของ GDP หรือร้อยละ 87 ของกรอบดำเนินการ ซึ่งจะทำให้รัฐวิสาหกิจมีฐานะดุลโดยรวมขาดดุลร้อยละ 1.2 ของ GDP ทั้งนี้ กรอบการลงทุนดังกล่าวคาดว่าจะมีการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์จากต่างประเทศประมาณ 67,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของกรอบเบิกจ่าย
3. แหล่งเงินลงทุน ได้กำหนดให้สอดคล้องกับนโยบายมหภาค ทั้งในด้านเงินกู้ต่างประเทศและในประเทศ โดยใช้แหล่งเงิน ดังนี้
แหล่งเงิน ล้านบาท ร้อยละ
เงินรายได้ 123,500 40.8
เงินงบประมาณแผ่นดิน 67,700 22.3
เงินกู้ในประเทศ 67,400 22.2
เงินกู้ต่างประเทศ 44,400 14.7
รวม 303,000 100.0
4. เป้าหมายการลงทุนที่สำคัญในปี 2548 จะมุ่งเน้นการลงทุนที่สนับสนุนการพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคม การแก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิต ดังนี้
1) ยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการขนส่งทางอากาศของประเทศ โดยพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้แล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ภายในปี 2548 และจัดหาเครื่องบินเพิ่มขึ้น จำนวน 4 ลำ สำหรับใช้ในการให้บริการ และอีก 3 ลำใช้ในการฝึกอบรมรวมทั้ง แก้ไขปัญหาการจราจรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยก่อสร้างทางยกระดับเพิ่มขึ้น จำนวน 4.7 กม. และมีจำนวนรถโดยสารให้บริการในเส้นทางภูมิภาคเพิ่มขึ้น 145 คัน
2) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ โดยจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จำนวน 381 เมกะวัตต์ และพัฒนาโครงข่ายสายส่งเพิ่มขึ้น 58.22 วงจร-กม. รวมทั้งมีระบบจำหน่ายเพิ่มขึ้น 690.50 วงจร-กม. ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยในเขตภูมิภาคจะมีสายส่งเพิ่มขึ้น 735 วงจร-กม. และระบบจำหน่ายเพิ่มขึ้น 27,998 วงจร-กม. รวมทั้ง เพิ่มประสิทธิภาพด้านการสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศ โดยจะมีเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานเพิ่มขึ้น 496,640 เลขหมาย ซึ่งจะทำให้อัตราส่วนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานต่อประชากร เพิ่มขึ้นจาก 13.47 เลขหมาย/100 คน เป็น 14.05 เลขหมาย/100 คน และมีโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมเชื่อมโยงประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาสมุทรอินเดีย ตะวันออกกลาง และยุโรปตะวันออก 1 เส้นทาง (ความจุ 80 Gbps)
3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคม การแก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิต พัฒนาที่อยู่อาศัยและน้ำประปาเพื่อการอุปโภค/บริโภคให้แก่ประชาชน เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐาน และยกระดับคุณภาพชีวิต โดยพัฒนาที่อยู่อาศัยใหม่เพิ่มขึ้น จำนวน 152,626 หน่วย และเพิ่มกำลังการผลิตน้ำประปาในเขต กทม. จำนวน 800,000 ลบ.ม. ต่อวัน และกำลังผลิตในเขตภูมิภาคประมาณ 0.22 ล้าน ลบ.ม ต่อวัน รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพโครงข่ายระบบประปาให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการเพิ่มมากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. กรอบงบประมาณประจำปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงได้กำหนดแนวทางในการจัดทำกรอบงบประมาณประจำปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจ โดยมีปัจจัยที่สำคัญ ดังนี้
1. ข้อสมมติฐาน
1) แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจ ในปี 2548 คาดว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศจะมีการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 7-8 มีระดับอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 2.6 และมีอัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์ สรอ. เท่ากับ 38 บาท บาท/ยูโร เท่ากับ 47.50 และบาท/เยน เท่ากับ 36.19 ในช่วงปี 2549-2551 เศรษฐกิจยังมีแนวโน้มการขยายตัวใกล้เคียงกับปี 2548
2) แนวนโยบายเศรษฐกิจมหภาค
- ด้านรัฐบาล มุ่งเน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจควบคู่กับการสนับสนุนภาคเอกชนในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ ในปี 2548 จึงกำหนด (1) การดำเนินนโยบายงบประมาณให้เป็นงบประมาณแบบสมดุล เพื่อให้สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ลดลงอย่างรวดเร็ว (2) สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และ (3) การดำเนินนโยบายด้านการคลังจะดำเนินการในลักษณะเป็นกลไกรักษาเสถียรภาพแบบอัตโนมัติ
- ด้านรัฐวิสาหกิจ (1) การลงทุนของรัฐวิสาหกิจจะเป็นการลงทุนเพื่อรองรับความต้องการในอนาคตและสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน (2) การนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ของรัฐวิสาหกิจควรดูแลไม่ให้เพิ่มสูงเกินความจำเป็น (3) การก่อหนี้ต่างประเทศ ยังคงกำหนดเพดานเงินกู้ไว้ปีละ 1,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. (รวมทั้งหนี้ของภาครัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ) จึงควรดูแลให้มีการลดการก่อหนี้ต่างประเทศและใช้เงินกู้ในประเทศทดแทน และ (4) การก่อหนี้ในประเทศ ให้ระมัดระวังไม่ให้มีการก่อหนี้เกินความจำเป็น
3) ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2548 มีเป้าหมายยุทธศาสตร์ระดับชาติเพื่อสร้างความเข้มแข้งทางเศรษฐกิจ ขจัดความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและเสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลางประกอบด้วยยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ดังนี้ (1) ยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ (2) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคม การแก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิต (4) ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติ การต่างประเทศและการอำนวยความยุติธรรม และ (5) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการประเทศ
4) ผลการประเมินการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจในปี 2547 ในภาพรวมมีผลการดำเนินงานอยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ (1) ด้านผลประกอบการ คาดว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ 94,359 ล้านบาท เพิ่มจากเป้าหมายร้อยละ 36 (2) การจัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุน จำนวน 180,310 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 และ (3) การเบิกจ่ายลงทุน ที่มีประสิทธิภาพการเบิกจ่ายร้อยละ 82 หรือ 198,901 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 90 แต่อยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาที่เบิกจ่ายได้เพียงร้อยละ 75
5) ประมาณการ ปี 2548 ในภาพรวมประมาณว่าจะมีผลการดำเนินงานเป็น ดังนี้ (1) ผลประกอบการคาดว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ 98,000 ล้านบาท และ (2) การจัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุนคาดว่าจะมี จำนวน 220,000 ล้านบาท
2. กรอบวงเงินงบประมาณ
การกำหนดวงเงินงบประมาณประจำปี 2548 ของรัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พิจารณา โดยคำนึงถึงข้อสมมติฐานและแนวนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ประกอบกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และประมาณการแนวโน้มในปี 2548 แล้ว จึงเห็นสมควรกำหนดกรอบการดำเนินการในภาพรวมของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 348,000 ล้านบาท และกรอบเบิกจ่ายจำนวน 303,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.01 ของ GDP หรือร้อยละ 87 ของกรอบดำเนินการ ซึ่งจะทำให้รัฐวิสาหกิจมีฐานะดุลโดยรวมขาดดุลร้อยละ 1.2 ของ GDP ทั้งนี้ กรอบการลงทุนดังกล่าวคาดว่าจะมีการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์จากต่างประเทศประมาณ 67,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของกรอบเบิกจ่าย
3. แหล่งเงินลงทุน ได้กำหนดให้สอดคล้องกับนโยบายมหภาค ทั้งในด้านเงินกู้ต่างประเทศและในประเทศ โดยใช้แหล่งเงิน ดังนี้
แหล่งเงิน ล้านบาท ร้อยละ
เงินรายได้ 123,500 40.8
เงินงบประมาณแผ่นดิน 67,700 22.3
เงินกู้ในประเทศ 67,400 22.2
เงินกู้ต่างประเทศ 44,400 14.7
รวม 303,000 100.0
4. เป้าหมายการลงทุนที่สำคัญในปี 2548 จะมุ่งเน้นการลงทุนที่สนับสนุนการพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคม การแก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิต ดังนี้
1) ยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการขนส่งทางอากาศของประเทศ โดยพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้แล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ภายในปี 2548 และจัดหาเครื่องบินเพิ่มขึ้น จำนวน 4 ลำ สำหรับใช้ในการให้บริการ และอีก 3 ลำใช้ในการฝึกอบรมรวมทั้ง แก้ไขปัญหาการจราจรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยก่อสร้างทางยกระดับเพิ่มขึ้น จำนวน 4.7 กม. และมีจำนวนรถโดยสารให้บริการในเส้นทางภูมิภาคเพิ่มขึ้น 145 คัน
2) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ โดยจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จำนวน 381 เมกะวัตต์ และพัฒนาโครงข่ายสายส่งเพิ่มขึ้น 58.22 วงจร-กม. รวมทั้งมีระบบจำหน่ายเพิ่มขึ้น 690.50 วงจร-กม. ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยในเขตภูมิภาคจะมีสายส่งเพิ่มขึ้น 735 วงจร-กม. และระบบจำหน่ายเพิ่มขึ้น 27,998 วงจร-กม. รวมทั้ง เพิ่มประสิทธิภาพด้านการสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศ โดยจะมีเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานเพิ่มขึ้น 496,640 เลขหมาย ซึ่งจะทำให้อัตราส่วนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานต่อประชากร เพิ่มขึ้นจาก 13.47 เลขหมาย/100 คน เป็น 14.05 เลขหมาย/100 คน และมีโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมเชื่อมโยงประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาสมุทรอินเดีย ตะวันออกกลาง และยุโรปตะวันออก 1 เส้นทาง (ความจุ 80 Gbps)
3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคม การแก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิต พัฒนาที่อยู่อาศัยและน้ำประปาเพื่อการอุปโภค/บริโภคให้แก่ประชาชน เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐาน และยกระดับคุณภาพชีวิต โดยพัฒนาที่อยู่อาศัยใหม่เพิ่มขึ้น จำนวน 152,626 หน่วย และเพิ่มกำลังการผลิตน้ำประปาในเขต กทม. จำนวน 800,000 ลบ.ม. ต่อวัน และกำลังผลิตในเขตภูมิภาคประมาณ 0.22 ล้าน ลบ.ม ต่อวัน รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพโครงข่ายระบบประปาให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการเพิ่มมากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-