คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย (คร้งที่ 6) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
กระทรวงมหาดไทย โดยศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนกระทรวงมหาดไทย (ศตจ.มท.) ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการในเดือนที่ 3 ได้มีผลคืบหน้าโดยลำดับ คณะเจรจาหนี้ประมาณ 6,017 ชุด ได้กำหนดนัดและเชิญลูกหนี้/เจ้าหนี้ ตามตารางนัดหมาย โดยใช้สถานที่ทางราชการ ที่ทำการของรัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น วัด ศาลาประชาคม ฯลฯ เป็นสถานที่ในการเจรจา บางส่วนสามารถดำเนินการได้สำเร็จและยุติ แต่ในทางปฏิบัติยังมีข้อมูลและความเข้าใจที่แตกต่าง ทำให้ต้องมีการนัดหมายหลายครั้ง หลายส่วนขอถอนการจดทะเบียน ลักษณะของชุมชนเมืองและชนบทก็มีส่วนทำให้ผลการเจรจา ยาก-ง่าย ต่างกัน ลูกหนี้และเจ้าหนี้บางส่วนไม่สามารถติดต่อได้ ฯลฯ
1. ณ วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม 2547 ศตจ.มท. ได้รับรายงานผลการดำเนินงาน จาก ศตจ.จังหวัด 75 จังหวัด ว่า ได้เชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้เข้าสู่กระบวนการเจรจาประนอมหนี้แล้ว ร้อยละ 84.40 ของเป้าหมาย จำนวน 1,422,966 ราย มูลหนี้ 93,620,087,611 บาท ในจำนวนนี้
1.1 ได้ข้อยุติ (ร้อยละ 91.97 ของที่มาเจรจา) จำนวน 1,308,667 รายมูลหนี้ 84,449,373,984 บาท
1.2 ยังไม่ได้ข้อยุติ (ร้อยละ 8.03 ของที่มาเจรจา) จำนวน 114,299 ราย มูลหนี้ 9,170,713,627 บาท ซึ่งยังคงดำเนินการเจรจาต่อไปในรอบที่สอง และสาม
2. การยุติในการเจรจานั้น ศตจ.จังหวัด/อำเภอ ได้ดำเนินการตามแนวทางของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินคนยากจนของกระทรวงการคลัง โดยในเบื้องต้นได้รับรายงานจาก ศตจ.จังหวัด ว่า มีลูกหนี้ประสงค์เข้าสู่ระบบธนาคาร ร้อยละ 17.81 ของข้อยุติ ลูกหนี้สามารถตกลงกับเจ้าหนี้ (แต่ไม่ประสงค์เข้าระบบธนาคาร) ร้อยละ 32.22 ของข้อยุติ ลูกหนี้ขอถอนเรื่องคืนเนื่องจากเข้าใจว่ารัฐจะเป็นผู้ใช้หนี้แทนให้ และลูกหนี้/เจ้าหนี้ได้ตกลงชำระหนี้กันเสร็จสิ้นก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเจรจาประนอมหนี้ ร้อยละ 37.68 ลูกหนี้/เจ้าหนี้ ไม่มาเจรจา หรือคณะเจรจาหนี้ไม่สามารถติดต่อกับลูกหนี้/เจ้าหนี้ ซึ่งได้พยายามเชิญมากกว่า 2 ครั้ง ร้อยละ 10.88 และกรณีอื่น ๆ ร้อยละ 1.41
3. ศตจ.กทม.ได้รายงานผลการเจรจาหนี้สินนอกระบบ ให้ทราบว่า ได้เชิญมาเจรจา 38,737 ราย (ร้อยละ 53.19 ของเป้าหมาย) มูลหนี้ 5,009,919,080 บาท การเจรจาได้ข้อยุติ 33,720 ราย (ร้อยละ 87.05 ที่มาเจรจา) มูลหนี้ 4,354,104,393 บาท
4. สรุปความคืบหน้าการเจรจาประนอมหนี้สินนอกระบบ ของ ศตจ.จังหวัด ดังนี้
การดำเนินการ (ร้อยละ) จังหวัด (จำนวน)
90-100 20
80-89 23
70-79 17
60-69 10
50-59 5
5. สำหรับ ศตจ.จังหวัด ที่ได้รับเชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้เข้าสู่กระบวนการเจรจาประนอมหนี้ครบถ้วน จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพังงา ยโสธร กาฬสินธุ์ นครศรีธรรมราช ภูเก็ตและจังหวัดพะเยา ซึ่งในส่วนที่ยังไม่ได้ข้อยุติสุดท้ายก็ยังคงดำเนินการในกรอบการปฏิบัติงานของกระทรวงการคลังต่อไป โดยให้ ศตจ.อำเภอแจ้งให้ ศตจ.จังหวัด เชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้มาเจรจาอีกครั้ง หากยังไม่ได้ข้อยุติให้ ศตจ.จังหวัดส่งเรื่องให้ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (ศอก.นส.) ดำเนินการพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็นก่อนที่จะแจ้งให้กรมสรรพากร ตำรวจ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ปปง. เป็นผู้ดำเนินการแล้วแต่กรณี
6. นอกจากนี้ ศตจ.มท. ยังได้แจ้งให้ ศตจ.จังหวัด ดำเนินการรณรงค์ให้ประชาชนและครัวเรือนลดการใช้จ่ายในงานสังคมที่ไม่จำเป็น ที่ไม่ก่อให้เกิดการผลิตและสร้างรายได้ เช่น งานบุญ งานบวช งานแต่งงานและงานศพ เป็นต้น โดยให้หน่วยงานของกรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่เป็นแกนหลักในการดำเนินงาน และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการในภาพรวม โดยแผนชุมชนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน ให้การประชาสัมพันธ์ในทุกช่องทาง และขอให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจเป็นแบบอย่างที่ดีในการลดรายจ่ายในด้านสังคม
กระทรวงมหาดไทย รายงานว่า ภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ คณะเจรจาหนี้จะสามารถเรียนเชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้เข้าสู่กระบวนการเจรจาประนอมหนี้ครบถ้วนทุกรายตามเป้าหมายที่กำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงมหาดไทย โดยศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนกระทรวงมหาดไทย (ศตจ.มท.) ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการในเดือนที่ 3 ได้มีผลคืบหน้าโดยลำดับ คณะเจรจาหนี้ประมาณ 6,017 ชุด ได้กำหนดนัดและเชิญลูกหนี้/เจ้าหนี้ ตามตารางนัดหมาย โดยใช้สถานที่ทางราชการ ที่ทำการของรัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น วัด ศาลาประชาคม ฯลฯ เป็นสถานที่ในการเจรจา บางส่วนสามารถดำเนินการได้สำเร็จและยุติ แต่ในทางปฏิบัติยังมีข้อมูลและความเข้าใจที่แตกต่าง ทำให้ต้องมีการนัดหมายหลายครั้ง หลายส่วนขอถอนการจดทะเบียน ลักษณะของชุมชนเมืองและชนบทก็มีส่วนทำให้ผลการเจรจา ยาก-ง่าย ต่างกัน ลูกหนี้และเจ้าหนี้บางส่วนไม่สามารถติดต่อได้ ฯลฯ
1. ณ วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม 2547 ศตจ.มท. ได้รับรายงานผลการดำเนินงาน จาก ศตจ.จังหวัด 75 จังหวัด ว่า ได้เชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้เข้าสู่กระบวนการเจรจาประนอมหนี้แล้ว ร้อยละ 84.40 ของเป้าหมาย จำนวน 1,422,966 ราย มูลหนี้ 93,620,087,611 บาท ในจำนวนนี้
1.1 ได้ข้อยุติ (ร้อยละ 91.97 ของที่มาเจรจา) จำนวน 1,308,667 รายมูลหนี้ 84,449,373,984 บาท
1.2 ยังไม่ได้ข้อยุติ (ร้อยละ 8.03 ของที่มาเจรจา) จำนวน 114,299 ราย มูลหนี้ 9,170,713,627 บาท ซึ่งยังคงดำเนินการเจรจาต่อไปในรอบที่สอง และสาม
2. การยุติในการเจรจานั้น ศตจ.จังหวัด/อำเภอ ได้ดำเนินการตามแนวทางของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินคนยากจนของกระทรวงการคลัง โดยในเบื้องต้นได้รับรายงานจาก ศตจ.จังหวัด ว่า มีลูกหนี้ประสงค์เข้าสู่ระบบธนาคาร ร้อยละ 17.81 ของข้อยุติ ลูกหนี้สามารถตกลงกับเจ้าหนี้ (แต่ไม่ประสงค์เข้าระบบธนาคาร) ร้อยละ 32.22 ของข้อยุติ ลูกหนี้ขอถอนเรื่องคืนเนื่องจากเข้าใจว่ารัฐจะเป็นผู้ใช้หนี้แทนให้ และลูกหนี้/เจ้าหนี้ได้ตกลงชำระหนี้กันเสร็จสิ้นก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเจรจาประนอมหนี้ ร้อยละ 37.68 ลูกหนี้/เจ้าหนี้ ไม่มาเจรจา หรือคณะเจรจาหนี้ไม่สามารถติดต่อกับลูกหนี้/เจ้าหนี้ ซึ่งได้พยายามเชิญมากกว่า 2 ครั้ง ร้อยละ 10.88 และกรณีอื่น ๆ ร้อยละ 1.41
3. ศตจ.กทม.ได้รายงานผลการเจรจาหนี้สินนอกระบบ ให้ทราบว่า ได้เชิญมาเจรจา 38,737 ราย (ร้อยละ 53.19 ของเป้าหมาย) มูลหนี้ 5,009,919,080 บาท การเจรจาได้ข้อยุติ 33,720 ราย (ร้อยละ 87.05 ที่มาเจรจา) มูลหนี้ 4,354,104,393 บาท
4. สรุปความคืบหน้าการเจรจาประนอมหนี้สินนอกระบบ ของ ศตจ.จังหวัด ดังนี้
การดำเนินการ (ร้อยละ) จังหวัด (จำนวน)
90-100 20
80-89 23
70-79 17
60-69 10
50-59 5
5. สำหรับ ศตจ.จังหวัด ที่ได้รับเชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้เข้าสู่กระบวนการเจรจาประนอมหนี้ครบถ้วน จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพังงา ยโสธร กาฬสินธุ์ นครศรีธรรมราช ภูเก็ตและจังหวัดพะเยา ซึ่งในส่วนที่ยังไม่ได้ข้อยุติสุดท้ายก็ยังคงดำเนินการในกรอบการปฏิบัติงานของกระทรวงการคลังต่อไป โดยให้ ศตจ.อำเภอแจ้งให้ ศตจ.จังหวัด เชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้มาเจรจาอีกครั้ง หากยังไม่ได้ข้อยุติให้ ศตจ.จังหวัดส่งเรื่องให้ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (ศอก.นส.) ดำเนินการพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็นก่อนที่จะแจ้งให้กรมสรรพากร ตำรวจ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ปปง. เป็นผู้ดำเนินการแล้วแต่กรณี
6. นอกจากนี้ ศตจ.มท. ยังได้แจ้งให้ ศตจ.จังหวัด ดำเนินการรณรงค์ให้ประชาชนและครัวเรือนลดการใช้จ่ายในงานสังคมที่ไม่จำเป็น ที่ไม่ก่อให้เกิดการผลิตและสร้างรายได้ เช่น งานบุญ งานบวช งานแต่งงานและงานศพ เป็นต้น โดยให้หน่วยงานของกรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่เป็นแกนหลักในการดำเนินงาน และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการในภาพรวม โดยแผนชุมชนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน ให้การประชาสัมพันธ์ในทุกช่องทาง และขอให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจเป็นแบบอย่างที่ดีในการลดรายจ่ายในด้านสังคม
กระทรวงมหาดไทย รายงานว่า ภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ คณะเจรจาหนี้จะสามารถเรียนเชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้เข้าสู่กระบวนการเจรจาประนอมหนี้ครบถ้วนทุกรายตามเป้าหมายที่กำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-