แท็ก
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
กรมควบคุมมลพิษ
จังหวัดสระบุรี
คณะรัฐมนตรี
ตำบล
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองบริเวณตำบลหน้าพระลานอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ครั้งที่ 4 (เดือนกรกฎาคม 2547) ดังนี้
1. การตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษ กรมควบคุมมลพิษร่วมกับกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ทำการตรวจวัดค่าความทึบแสงของฝุ่นละอองจากกระบวนการผลิตในโรงโม่บดและย่อยหิน ในพื้นที่ตำบลหน้าพระลานและพื้นที่ข้างเคียง จำนวน 32 แห่ง พบว่ามีค่าเกินมาตรฐานจำนวน 3 แห่ง ซึ่งกรมควบคุมมลพิษได้แจ้งให้กรมอุตสาห-กรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
2. การฟื้นฟูเหมืองหินร้างและการตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้
2.1 กรมป่าไม้ได้ติดตามเร่งรัดการดำเนินคดีกรณีการทำเหมืองผิดกฎหมายและบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 โดยมีหนังสือถึงผู้บังคับการกองปราบปราม อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เพื่อสั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทำการสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดี รวมทั้งการติดตามผลการดำเนินคดี
2.2 กรมป่าไม้ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการฟื้นฟูสภาพป่าไม้ที่ถุกบุกรุกและศึกษาวิธีการคืนพื้นที่ป่าไม้และการออกข้อกฎหมายเพื่อกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติต่อไป
3. การติดตามตรวจสอบสถานการณ์ฝุ่นละออง ระดับเสียงและความสั่นสะเทือน
3.1 การติดตามตรวจสอบฝุ่นละอองในบรรยากาศ
1. กรมควบคุมมลพิษได้ติดตามตรวจสอบสถานการณ์ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนในบรรยากาศบริเวณโรงเรียนหน้าพระลานโดยสถานีตรวจวัดแบบอัตโนมัติพบว่า แนวโน้มค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นขนาดเล็กในบรรยากาศในพื้นที่หน้าพระลานมีค่าลดลงแต่ยังคงมีค่าเกินมาตรฐาน (เดือนมิถุนายนมีค่าเกินมาตรฐาน 16 วัน และเดือนกรกฎาคมมีค่าเกินมาตรฐาน 11 วัน) โดยค่าเฉลี่ย 24 ชั่งโมงสูงสุดเท่ากับ 201.9 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานฝุ่นขนาดเล็กเท่ากับ 120 มคก./ลบ.ม.)
2. กรมควบคุมมลพิษและสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 จังหวัดสระบุรี ดำเนินการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศในพื้นที่หน้าพระลานพื้นที่ข้างเคียงเพิ่มเติมอีก 6 จุด (บริเวณโรงเรียนเขารวก วัดถ้ำศรีวิไล วัดซับชะอม โรงเรียนบ้านคุ้งเขาเขียว วัดหน้าพระลาน และบ้านราษฎรในหมู่ที่ 5) พบว่ามีระดับฝุ่นละอองสูงเกินมาตรฐาน 2 จุด คือบริเวณวัดหน้าพระลานและบริเวณราษฎรในหมู่ที่ 5 โดยค่าฝุ่นละอองรวมเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุดเท่ากับ 336 และ 448 มคก./ลบ.ม. ส่วนระดับของฝุ่นขนาดเล็กมีค่าสูงเกินมาตรฐาน 1 จุด คือ บริเวณบ้านราษฎร ในหมู่ที่ 5 โดยค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุดเท่ากับ 124 มคก./ลบ.ม. (มาตรฐานฝุ่นละอองรวมเท่ากับ 330 และมาตรฐานฝุ่นขนาดเล็กเท่ากับ 120 มคก./ลบ.ม.)
3.2 การติดตามตรวจสอบระดับเสียงและความสั่นสะเทือน
1. กรมควบคุมมลพิษได้ติดตามตรวจสอบระดับเสียงและความสั่นสะเทือนของโรงโม่บดและย่อยหิน 3 แห่ง และเหมืองแร่หิน 5 แห่ง พบว่าระดับเสียงเฉลี่ย 8 และ 24 ชั่วโมง และค่าความสั่นสะเทือนจากกิจกรรมการระเบิดหิน อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
2. กรมควบคุมมลพิษได้ติดตามตรวจสอบปัญหาเสียงรบกวนในพื้นที่ตำบลหน้าพระลานในช่วงเดือนมิถุนายน 2547 ตามที่มีประชาชนร้องเรียนมาที่ Government Contact Center กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2547 กรณีโรงโม่ ฯ ดำเนินกิจกรรมกลางคืนและส่งเสียงรบกวนในยามวิกาล ผลการตรวจสอบปัญหาดังกล่าวไม่พบผู้ร้องเรียนและโรงโม่ฯ ที่ถูกร้องเรียนตามข้อมูลที่แจ้ง แต่จะดำเนินการตรวจวัดระดับเสียงในพื้นที่หน้าพระลานในเวลากลางคืนต่อไป
4. การดำเนินงานตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและมติคณะรัฐมนตรี
4.1 หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานมีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด ได้แก่ 1) ดำเนินการล้างและกวาดถนนอย่างต่อเนื่องทุกวัน 2) กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสระบุรีดำนินการเข้มงวดตรวจจับยานพาหนะที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก และ พ.ร.บ.ขนส่งทางบก โดยกรมควบคุมมลพิษให้การสนับสนุนแก่ตำรวจจราจรตำบลหน้าพระลานในการยืมเครื่องมือตรวจวัดควันดำและเครื่องวัดระดับเสียงจำนวนอย่างละ 1 ชุด พร้อมทั้งอบรมวิธีการตรวจวัดเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 จังหวัดสระบุรีและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการจัดทำแผนรองรับการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง จัดทำแผนควบคุมการใช้วัตถุระเบิดในพื้นที่จังหวัดสระบุรี และสุ่มตรวจสอบการใช้วัตถุระเบิดของผู้รับอนุญาตให้ใช้วัตถุระเบิด รวมทั้งได้รายงานผลการตรวจสอบให้หน่วยเหนือทราบทุกเดือน
4.3 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 6/2547 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2547 มีมติเห็นชอบในหลักการของแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษตำบลหน้าพระลาน และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในเขตควบคุมมลพิษตำบลหน้าพระลาน ซึ่งจัดทำโดยกรมควบคุมมลพิษ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดสระบุรี โดยแผนปฏิบัติการเพื่อขจัดมลพิษฯ ( พ.ศ.2548-2552) ประกอบด้วย 6 แผนงาน (แผนงานฟื้นฟูและบำบัด แผนการด้านกฎหมาย แผนงานป้องกันและเฝ้าระวัง แผนงานสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม แผนงานศึกษาวิจัย และแผนงานตรวจและประเมินผล) ส่วนมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในเขตควบคุมมลพิษตำบลหน้าพระลาน ประกอบด้วย 2 มาตรการ (มาตรการฟื้นฟู และมาตรการป้องกัน) ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะเสนอรายละเอียดตามแผนปฏิบัติการฯ พร้อมวงเงินงบประมาณให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
5. การประเมินผลการปฏิบัติงานและแผนการดำเนินการในระยะต่อไป
จากการประเมินสถานการณ์ฝุ่นละอองในพื้นที่หน้าพระลานหลังจากที่หน่วยงานต่างๆ ได้ดำเนินการควบคุมและแก้ไขปัญหาอย่างเคร่งครัดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่ การตรวจสอบฝุ่นละอองจากโรงโม่บดและย่อยหิน การตรวจสอบแปลงประทานบัตรเหมืองหินทั้งที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย การตรวจสอบตรวจจับรถบรรทุกปิดคลุมผ้าใบ และการทำความสะอาดถนนสาธารณะอย่างต่อเนื่อง พบว่าค่าฝุ่นละอองในบรรยากาศบริเวณโรงเรียนหน้าพระลานยังสูงเกินมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมมีจำนวนวันที่มีค่าฝุ่นละอองสูงเกินมาตรฐานเกือบร้อยละ 50 ของจำนวนวันที่ทำการตรวจวัด ทั้งนี้ปัญหาฝุ่นละอองในพื้นที่หน้าพระลานอาจจะมีสาเหตุจากแหล่งกำเนิดอื่นในพื้นที่หน้าพระลานหรือกิจกรรมการทำเหมืองหินหรือโรงงานอุตสาหกรรมอื่นที่อยู่ในพื้นที่ข้างคียงร่วมด้วย จึงได้กำหนดแผนงานเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในระยะต่อไปดังนี้
5.1 กรมควบคุมมลพิษ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 จังหวัดสระบุรี ดำเนินการตรวจสอบการระบายฝุ่นละอองจากโรงโม่บดและย่อยหินในพื้นที่หน้าพระลานและพื้นที่ข้างเคียง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2547
5.2 กรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม จะดำเนินการตรวจสอบการระบายฝุ่นละอองจากปล่องระบายอากาศเสียของโรงงานอื่นๆ ในพื้นที่หน้าพระลาน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2547
5.3 ตำรวจจราจรตำบลหน้าพระลาน และสำนักงานเทศบาลตำบลหน้าพระลานจะดำเนินการเข้มงวดตรวจสอบจับยานพาหนะที่ไม่ปิดคลุมวัสดุ และไม่ล้างล้อรถบรรทุกอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการล้างและทำความสะอาดถนนเพิ่มมากขึ้น
5.4 ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดสระบุรี ได้แก่ สำนักงานจังหวัดสระบุรี อำเภอเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานเทศบาลตำบลหน้าพระลาน และองค์การบริหารส่วนตำบลหน้าพระลาน ออกตรจเยี่ยมโรงโม่บดและย่อยหินในอำเภอเฉลิมพระเกียรติและอำเภอพระพุทธบาทในเวลากลางคืน พร้อมทั้งขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้ควบคุมฝุ่นละอองตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด และหากมีกรณีร้องเรียนจากประชาชนหน่วยงานที่มีหน้าที่ตามกฏหมายจะดำเนินการสั่งระงับประกอบกิจการตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. การตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษ กรมควบคุมมลพิษร่วมกับกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ทำการตรวจวัดค่าความทึบแสงของฝุ่นละอองจากกระบวนการผลิตในโรงโม่บดและย่อยหิน ในพื้นที่ตำบลหน้าพระลานและพื้นที่ข้างเคียง จำนวน 32 แห่ง พบว่ามีค่าเกินมาตรฐานจำนวน 3 แห่ง ซึ่งกรมควบคุมมลพิษได้แจ้งให้กรมอุตสาห-กรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
2. การฟื้นฟูเหมืองหินร้างและการตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้
2.1 กรมป่าไม้ได้ติดตามเร่งรัดการดำเนินคดีกรณีการทำเหมืองผิดกฎหมายและบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 โดยมีหนังสือถึงผู้บังคับการกองปราบปราม อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เพื่อสั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทำการสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดี รวมทั้งการติดตามผลการดำเนินคดี
2.2 กรมป่าไม้ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการฟื้นฟูสภาพป่าไม้ที่ถุกบุกรุกและศึกษาวิธีการคืนพื้นที่ป่าไม้และการออกข้อกฎหมายเพื่อกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติต่อไป
3. การติดตามตรวจสอบสถานการณ์ฝุ่นละออง ระดับเสียงและความสั่นสะเทือน
3.1 การติดตามตรวจสอบฝุ่นละอองในบรรยากาศ
1. กรมควบคุมมลพิษได้ติดตามตรวจสอบสถานการณ์ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนในบรรยากาศบริเวณโรงเรียนหน้าพระลานโดยสถานีตรวจวัดแบบอัตโนมัติพบว่า แนวโน้มค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นขนาดเล็กในบรรยากาศในพื้นที่หน้าพระลานมีค่าลดลงแต่ยังคงมีค่าเกินมาตรฐาน (เดือนมิถุนายนมีค่าเกินมาตรฐาน 16 วัน และเดือนกรกฎาคมมีค่าเกินมาตรฐาน 11 วัน) โดยค่าเฉลี่ย 24 ชั่งโมงสูงสุดเท่ากับ 201.9 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานฝุ่นขนาดเล็กเท่ากับ 120 มคก./ลบ.ม.)
2. กรมควบคุมมลพิษและสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 จังหวัดสระบุรี ดำเนินการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศในพื้นที่หน้าพระลานพื้นที่ข้างเคียงเพิ่มเติมอีก 6 จุด (บริเวณโรงเรียนเขารวก วัดถ้ำศรีวิไล วัดซับชะอม โรงเรียนบ้านคุ้งเขาเขียว วัดหน้าพระลาน และบ้านราษฎรในหมู่ที่ 5) พบว่ามีระดับฝุ่นละอองสูงเกินมาตรฐาน 2 จุด คือบริเวณวัดหน้าพระลานและบริเวณราษฎรในหมู่ที่ 5 โดยค่าฝุ่นละอองรวมเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุดเท่ากับ 336 และ 448 มคก./ลบ.ม. ส่วนระดับของฝุ่นขนาดเล็กมีค่าสูงเกินมาตรฐาน 1 จุด คือ บริเวณบ้านราษฎร ในหมู่ที่ 5 โดยค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุดเท่ากับ 124 มคก./ลบ.ม. (มาตรฐานฝุ่นละอองรวมเท่ากับ 330 และมาตรฐานฝุ่นขนาดเล็กเท่ากับ 120 มคก./ลบ.ม.)
3.2 การติดตามตรวจสอบระดับเสียงและความสั่นสะเทือน
1. กรมควบคุมมลพิษได้ติดตามตรวจสอบระดับเสียงและความสั่นสะเทือนของโรงโม่บดและย่อยหิน 3 แห่ง และเหมืองแร่หิน 5 แห่ง พบว่าระดับเสียงเฉลี่ย 8 และ 24 ชั่วโมง และค่าความสั่นสะเทือนจากกิจกรรมการระเบิดหิน อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
2. กรมควบคุมมลพิษได้ติดตามตรวจสอบปัญหาเสียงรบกวนในพื้นที่ตำบลหน้าพระลานในช่วงเดือนมิถุนายน 2547 ตามที่มีประชาชนร้องเรียนมาที่ Government Contact Center กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2547 กรณีโรงโม่ ฯ ดำเนินกิจกรรมกลางคืนและส่งเสียงรบกวนในยามวิกาล ผลการตรวจสอบปัญหาดังกล่าวไม่พบผู้ร้องเรียนและโรงโม่ฯ ที่ถูกร้องเรียนตามข้อมูลที่แจ้ง แต่จะดำเนินการตรวจวัดระดับเสียงในพื้นที่หน้าพระลานในเวลากลางคืนต่อไป
4. การดำเนินงานตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและมติคณะรัฐมนตรี
4.1 หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานมีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด ได้แก่ 1) ดำเนินการล้างและกวาดถนนอย่างต่อเนื่องทุกวัน 2) กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสระบุรีดำนินการเข้มงวดตรวจจับยานพาหนะที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก และ พ.ร.บ.ขนส่งทางบก โดยกรมควบคุมมลพิษให้การสนับสนุนแก่ตำรวจจราจรตำบลหน้าพระลานในการยืมเครื่องมือตรวจวัดควันดำและเครื่องวัดระดับเสียงจำนวนอย่างละ 1 ชุด พร้อมทั้งอบรมวิธีการตรวจวัดเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 จังหวัดสระบุรีและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการจัดทำแผนรองรับการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง จัดทำแผนควบคุมการใช้วัตถุระเบิดในพื้นที่จังหวัดสระบุรี และสุ่มตรวจสอบการใช้วัตถุระเบิดของผู้รับอนุญาตให้ใช้วัตถุระเบิด รวมทั้งได้รายงานผลการตรวจสอบให้หน่วยเหนือทราบทุกเดือน
4.3 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 6/2547 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2547 มีมติเห็นชอบในหลักการของแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษตำบลหน้าพระลาน และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในเขตควบคุมมลพิษตำบลหน้าพระลาน ซึ่งจัดทำโดยกรมควบคุมมลพิษ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดสระบุรี โดยแผนปฏิบัติการเพื่อขจัดมลพิษฯ ( พ.ศ.2548-2552) ประกอบด้วย 6 แผนงาน (แผนงานฟื้นฟูและบำบัด แผนการด้านกฎหมาย แผนงานป้องกันและเฝ้าระวัง แผนงานสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม แผนงานศึกษาวิจัย และแผนงานตรวจและประเมินผล) ส่วนมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในเขตควบคุมมลพิษตำบลหน้าพระลาน ประกอบด้วย 2 มาตรการ (มาตรการฟื้นฟู และมาตรการป้องกัน) ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะเสนอรายละเอียดตามแผนปฏิบัติการฯ พร้อมวงเงินงบประมาณให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
5. การประเมินผลการปฏิบัติงานและแผนการดำเนินการในระยะต่อไป
จากการประเมินสถานการณ์ฝุ่นละอองในพื้นที่หน้าพระลานหลังจากที่หน่วยงานต่างๆ ได้ดำเนินการควบคุมและแก้ไขปัญหาอย่างเคร่งครัดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่ การตรวจสอบฝุ่นละอองจากโรงโม่บดและย่อยหิน การตรวจสอบแปลงประทานบัตรเหมืองหินทั้งที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย การตรวจสอบตรวจจับรถบรรทุกปิดคลุมผ้าใบ และการทำความสะอาดถนนสาธารณะอย่างต่อเนื่อง พบว่าค่าฝุ่นละอองในบรรยากาศบริเวณโรงเรียนหน้าพระลานยังสูงเกินมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมมีจำนวนวันที่มีค่าฝุ่นละอองสูงเกินมาตรฐานเกือบร้อยละ 50 ของจำนวนวันที่ทำการตรวจวัด ทั้งนี้ปัญหาฝุ่นละอองในพื้นที่หน้าพระลานอาจจะมีสาเหตุจากแหล่งกำเนิดอื่นในพื้นที่หน้าพระลานหรือกิจกรรมการทำเหมืองหินหรือโรงงานอุตสาหกรรมอื่นที่อยู่ในพื้นที่ข้างคียงร่วมด้วย จึงได้กำหนดแผนงานเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในระยะต่อไปดังนี้
5.1 กรมควบคุมมลพิษ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 จังหวัดสระบุรี ดำเนินการตรวจสอบการระบายฝุ่นละอองจากโรงโม่บดและย่อยหินในพื้นที่หน้าพระลานและพื้นที่ข้างเคียง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2547
5.2 กรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม จะดำเนินการตรวจสอบการระบายฝุ่นละอองจากปล่องระบายอากาศเสียของโรงงานอื่นๆ ในพื้นที่หน้าพระลาน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2547
5.3 ตำรวจจราจรตำบลหน้าพระลาน และสำนักงานเทศบาลตำบลหน้าพระลานจะดำเนินการเข้มงวดตรวจสอบจับยานพาหนะที่ไม่ปิดคลุมวัสดุ และไม่ล้างล้อรถบรรทุกอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการล้างและทำความสะอาดถนนเพิ่มมากขึ้น
5.4 ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดสระบุรี ได้แก่ สำนักงานจังหวัดสระบุรี อำเภอเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานเทศบาลตำบลหน้าพระลาน และองค์การบริหารส่วนตำบลหน้าพระลาน ออกตรจเยี่ยมโรงโม่บดและย่อยหินในอำเภอเฉลิมพระเกียรติและอำเภอพระพุทธบาทในเวลากลางคืน พร้อมทั้งขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้ควบคุมฝุ่นละอองตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด และหากมีกรณีร้องเรียนจากประชาชนหน่วยงานที่มีหน้าที่ตามกฏหมายจะดำเนินการสั่งระงับประกอบกิจการตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-