คณะรัฐมนตรีรับทราบความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษา ฯ ดังนี้
1. เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษใน แม่น้ำท่าจีน และรับทราบและให้ความเห็นชอบในความเห็นผลการพิจารณา และผลการดำเนินการตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณาข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาฯ เรื่องแนวทางแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำท่าจีน รวม 5 ข้อ และมอบหมายให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ โดยให้รายงานผลการดำเนิน-การรวมทั้งปัญหาและอุปสรรค (หากมี) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประสบปัญหาและอุปสรรคจนไม่สามารถดำเนินการรต่อไปได้ไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย
2. มอบให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4.2 (ฝ่ายการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ที่มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักในการสร้างความพร้อมด้านบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียให้เกิดประสิทธิภาพและอย่างยั่งยืนเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหารือเพื่อกำหนดแผนปฏิบัติการวางมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างมีเงื่อนไขเวลาและสามารถเชื่อมโยงกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมของจังหวัดและท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องและปฏิบัติตามแนวทางเดียวกันกับความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาไปพิจารณาดำเนินการและนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายใน 3 เดือน
3. มอบให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งเวียนซักซ้อมความเข้าใจขั้นตอนการดำเนินการมาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 ตามมติคณะรัฐมนตรี 5 สิงหาคม 2546 และมติคณะรัฐมนตรี 18 พฤษภาคม 2547 เรื่อง แนวทางการจัดทำความเห็น ผลการพิจารณา และผลการดำเนินการในเรื่องสภาที่ปรึกษาฯ ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี ให้กระทรวง กรม หน่วยงานอื่นของรัฐถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด ตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4.2 (ฝ่ายการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
4. มอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4.2 (ฝ่ายการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ที่มอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับเป็นเจ้าของเรื่องไปประสานกับสภาที่ปรึกษาฯ เพื่อพิจารณาว่า การจัดทำความเห็นผลการพิจารณา และผลการดำเนินการในเรื่องที่สภาที่ปรึกษาฯ ได้ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะที่ส่วนราชการได้จัดทำและนำเสนอคณะรัฐมนตรี และได้แจ้งสภาที่ปรึกษาฯไปแล้วนั้น มีความเหมาะสม สมบูรณ์ในรูปแบบ เนื้อหาสาระหรือไม่ เพียงใดหรือควรจะเพิ่มเติมอย่างใด หรือไม่ ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงขั้นตอน รูปแบบการจัดทำความเห็นผลการพิจารณา และผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2546 ประกอบด้วย หากเห็นว่า มีความจำเป็นจะต้องปรับปรุงรูปแบบ เนื้อหาสาระในการจัดทำความเห็นผลการพิจารณา และผลการดำเนินการอย่างไร ก็ให้เสนอคณะรัฐมนตรีไปดำเนินการต่อไป
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เสนอเรื่องความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ เรื่อง แนวทางการแก้ปัญหามลพิษในแม่น้ำท่าจีน มาเพื่อดำเนินการ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้ว มีคำสั่งมอบให้ ทส.เป็นเจ้า-ของเรื่องรับไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำความเห็นผลการพิจารณาและผลการดำเนินการเพื่อเสนอคณะรัฐมตรีต่อไป
ทส. ได้ดำเนินการตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีแล้ว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เห็นด้วยกับประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำท่าจีน ตามข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และมีความเห็นเพิ่มเติมที่เห็นควรมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1. ให้ความสำคัญของการแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำท่าจีนเป็นภาพรวมในระบบลุ่มน้ำทั้ง 4 จังหวัด (ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร) และสอดคล้องกับแผนการพัฒนายุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด
2. ปรับแผนปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูคุณภาพน้ำในลุ่มน้ำท่าจีนของคณะอนุกรรมการประสานจัด-การลุ่มน้ำท่าจีนให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันและการปฏิรูประบบราชการ
3. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา เคร่งครัดในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อควบคุมการ-ระบายของเสียจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ให้เป็นตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
4. ให้เขตพื้นที่การศึกษาต่าง ๆ ในลุ่มน้ำท่าจีนเข้ามามีส่วนในการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สร้างจิตสำนึกและให้การศึกษากับเยาวชนและภาคประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษา
5. ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ดำเนินการจัดการน้ำเสียและขยะมูลฝอย โดยให้ความสำคัญกับชุมชนที่อยู่ริมน้ำ
ผลการดำเนินการ
1. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้กำหนดให้ลุ่มน้ำท่าจีนเป็นหนึ่งพื้นที่ยุทธศาสตร์เพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ โดยได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อป้องกันและลดมลพิษจากแหล่งกำเนิด จัดทำแผนฟื้นฟูและปรับปรุงระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนทั่วประเทศ สนับสนุนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำท่าจีน จัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ระดับภาคท่าสามารถเชื่อมโยงกับนโยบายยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมของจังหวัดและท้องถิ่น จัดตั้งคณะอนุกรรมการลุ่มน้ำท่าจีนเพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีน
2. กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบและควบคุมโรงงานเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามพระ-ราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ตรวจสอบและจัดทำฐานข้อมูลน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีน โดยให้ โรงงานได้รับการตรวจทุก 3 เดือน ส่งเสริมการพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม และการใช้เทคโนโลยีสะอาด กำหนดให้โรงงานบางประเภทบางขนาด ต้องมีผู้ควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษ พัฒนาระบบตรวจติดตาม มลพิษทางน้ำภายในและโครงการติดตั้งระบบการควบคุมมลพิษทางน้ำระยะไกล
3. กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดให้มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับมลพิษ และละเลิกการปฏิบัติ ซึ่งก่อให้เกิด มลพิษไว้ในหลักสูตรทุกระดับ เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึก การมีส่วนร่วมและเลิกการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดมลพิษ
4. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกรโดย ได้สนับสนุนงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนร้อยละ 50 ของราคากลางแบบมาตรฐานระบบบำบัดน้ำเสีย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษใน แม่น้ำท่าจีน และรับทราบและให้ความเห็นชอบในความเห็นผลการพิจารณา และผลการดำเนินการตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณาข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาฯ เรื่องแนวทางแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำท่าจีน รวม 5 ข้อ และมอบหมายให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ โดยให้รายงานผลการดำเนิน-การรวมทั้งปัญหาและอุปสรรค (หากมี) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประสบปัญหาและอุปสรรคจนไม่สามารถดำเนินการรต่อไปได้ไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย
2. มอบให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4.2 (ฝ่ายการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ที่มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักในการสร้างความพร้อมด้านบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียให้เกิดประสิทธิภาพและอย่างยั่งยืนเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหารือเพื่อกำหนดแผนปฏิบัติการวางมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างมีเงื่อนไขเวลาและสามารถเชื่อมโยงกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมของจังหวัดและท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องและปฏิบัติตามแนวทางเดียวกันกับความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาไปพิจารณาดำเนินการและนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายใน 3 เดือน
3. มอบให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งเวียนซักซ้อมความเข้าใจขั้นตอนการดำเนินการมาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 ตามมติคณะรัฐมนตรี 5 สิงหาคม 2546 และมติคณะรัฐมนตรี 18 พฤษภาคม 2547 เรื่อง แนวทางการจัดทำความเห็น ผลการพิจารณา และผลการดำเนินการในเรื่องสภาที่ปรึกษาฯ ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี ให้กระทรวง กรม หน่วยงานอื่นของรัฐถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด ตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4.2 (ฝ่ายการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
4. มอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4.2 (ฝ่ายการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ที่มอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับเป็นเจ้าของเรื่องไปประสานกับสภาที่ปรึกษาฯ เพื่อพิจารณาว่า การจัดทำความเห็นผลการพิจารณา และผลการดำเนินการในเรื่องที่สภาที่ปรึกษาฯ ได้ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะที่ส่วนราชการได้จัดทำและนำเสนอคณะรัฐมนตรี และได้แจ้งสภาที่ปรึกษาฯไปแล้วนั้น มีความเหมาะสม สมบูรณ์ในรูปแบบ เนื้อหาสาระหรือไม่ เพียงใดหรือควรจะเพิ่มเติมอย่างใด หรือไม่ ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงขั้นตอน รูปแบบการจัดทำความเห็นผลการพิจารณา และผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2546 ประกอบด้วย หากเห็นว่า มีความจำเป็นจะต้องปรับปรุงรูปแบบ เนื้อหาสาระในการจัดทำความเห็นผลการพิจารณา และผลการดำเนินการอย่างไร ก็ให้เสนอคณะรัฐมนตรีไปดำเนินการต่อไป
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เสนอเรื่องความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ เรื่อง แนวทางการแก้ปัญหามลพิษในแม่น้ำท่าจีน มาเพื่อดำเนินการ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้ว มีคำสั่งมอบให้ ทส.เป็นเจ้า-ของเรื่องรับไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำความเห็นผลการพิจารณาและผลการดำเนินการเพื่อเสนอคณะรัฐมตรีต่อไป
ทส. ได้ดำเนินการตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีแล้ว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เห็นด้วยกับประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำท่าจีน ตามข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และมีความเห็นเพิ่มเติมที่เห็นควรมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1. ให้ความสำคัญของการแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำท่าจีนเป็นภาพรวมในระบบลุ่มน้ำทั้ง 4 จังหวัด (ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร) และสอดคล้องกับแผนการพัฒนายุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด
2. ปรับแผนปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูคุณภาพน้ำในลุ่มน้ำท่าจีนของคณะอนุกรรมการประสานจัด-การลุ่มน้ำท่าจีนให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันและการปฏิรูประบบราชการ
3. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา เคร่งครัดในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อควบคุมการ-ระบายของเสียจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ให้เป็นตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
4. ให้เขตพื้นที่การศึกษาต่าง ๆ ในลุ่มน้ำท่าจีนเข้ามามีส่วนในการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สร้างจิตสำนึกและให้การศึกษากับเยาวชนและภาคประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษา
5. ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ดำเนินการจัดการน้ำเสียและขยะมูลฝอย โดยให้ความสำคัญกับชุมชนที่อยู่ริมน้ำ
ผลการดำเนินการ
1. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้กำหนดให้ลุ่มน้ำท่าจีนเป็นหนึ่งพื้นที่ยุทธศาสตร์เพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ โดยได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อป้องกันและลดมลพิษจากแหล่งกำเนิด จัดทำแผนฟื้นฟูและปรับปรุงระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนทั่วประเทศ สนับสนุนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำท่าจีน จัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ระดับภาคท่าสามารถเชื่อมโยงกับนโยบายยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมของจังหวัดและท้องถิ่น จัดตั้งคณะอนุกรรมการลุ่มน้ำท่าจีนเพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีน
2. กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบและควบคุมโรงงานเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามพระ-ราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ตรวจสอบและจัดทำฐานข้อมูลน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีน โดยให้ โรงงานได้รับการตรวจทุก 3 เดือน ส่งเสริมการพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม และการใช้เทคโนโลยีสะอาด กำหนดให้โรงงานบางประเภทบางขนาด ต้องมีผู้ควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษ พัฒนาระบบตรวจติดตาม มลพิษทางน้ำภายในและโครงการติดตั้งระบบการควบคุมมลพิษทางน้ำระยะไกล
3. กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดให้มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับมลพิษ และละเลิกการปฏิบัติ ซึ่งก่อให้เกิด มลพิษไว้ในหลักสูตรทุกระดับ เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึก การมีส่วนร่วมและเลิกการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดมลพิษ
4. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกรโดย ได้สนับสนุนงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนร้อยละ 50 ของราคากลางแบบมาตรฐานระบบบำบัดน้ำเสีย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-