คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. . . . . และให้สำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีการับร่างพระราชบัญญัติสถาบันอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. . . . . ไปพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยให้มีสถาบันอนุญาโตตุลาการ ซึ่งเป็นหน่วยงานในภาครัฐเพียงสถาบันเดียว ทั้งนี้ ให้พัฒนาจากหน่วยงานที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันของสำนัก-งานศาลยุติธรรมให้มีความเป็นอิสระ มีความน่าเชื่อถือทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ สำหรับในระยะเริ่มแรกอาจกำนดให้มีบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับการถ่ายโอนอำนาจหน้าที่และบุคลากรจากหน่วยงานเดิมไปสู่หน่วยงานใหม่
ร่างพระราชบัญญัติสถาบันอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. . . . . มีสาระสำคัญ เพื่อส่งเสริมให้การระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการเป็นทางเลือกหนึ่งให้คู่พิพาทใช้ในการระงับข้อพิพาททางแพ่งและพาณิชย์แทนการระงับข้อพิพาทในศาลอันจะเป็นการลดปริมาณคดีที่จะขึ้นมาสู่ศาล สมควรให้มีองค์กรที่มีความอิสระ คล่องตัวสูงในการบริหารจัดการ มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการทำหน้าที่ในการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนากระบวน-การประนอม ข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการ รวมทั้งดำเนินกิจการเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
ร่างพระราชบัญญัติสถาบันอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. . . . . มีสาระสำคัญ เพื่อส่งเสริมให้การระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการเป็นทางเลือกหนึ่งให้คู่พิพาทใช้ในการระงับข้อพิพาททางแพ่งและพาณิชย์แทนการระงับข้อพิพาทในศาลอันจะเป็นการลดปริมาณคดีที่จะขึ้นมาสู่ศาล สมควรให้มีองค์กรที่มีความอิสระ คล่องตัวสูงในการบริหารจัดการ มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการทำหน้าที่ในการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนากระบวน-การประนอม ข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการ รวมทั้งดำเนินกิจการเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-