แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงสาธารณสุข
สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรี
พระราชกำหนด
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 (ฉบับที่ . .) พ.ศ. . . . . ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
1. ปรับแก้ตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ เป็นอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และเพิ่มองค์ ประกอบของคณะกรรมการป้องกันการใช้สารระเหย คือ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย อัยการสูงสุด อธิบดีกรม - พินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน อธิบดีกรมสุขภาพจิต เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และปลัดกรุงเทพมหานคร
2. ปรับปรุงโทษปรับให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน
3. ปรับปรุงโทษ และให้ผู้ที่ใช้สารระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจที่สมัครใจเข้ารับการ บำบัดรักษา และได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ได้พ้นจากความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
4. ให้ผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา 17 ต้องเข้าสู่กระบวนการบังคับบำบัดตามพระรชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545
กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า สมควรปรับปรุงพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 ให้ เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน โดยเพิ่มบทกำหนดโทษให้สูงขึ้นสำหรับผู้ที่จูงใจ ชักนำ ยุยง ส่งเสริมหรือใช้อุบายหลอกลวง ให้ผู้ซึ่งมีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปี ใช้สาระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจและปรับปรุงสัดส่วนของอัตราโทษจำคุกต่อโทษ ปรับให้เหมาะสมขึ้น รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ที่ใช้สารระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจ ได้มีโอกาสสมัครใจเข้ารับ การบำบัดรักษาจนสามารถกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างปกติสุข โดยไม่ต้องรอให้ความผิดปรากฏจนศาลมีคำสั่งให้ไปรับการบำบัดรักษา นอกจากนี้ สมควรปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการป้องกันการใช้สารระเหย ให้ถูกต้องเป็นปัจจุบันและเพิ่มองค์ประกอบของคณะกรรมการให้หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้การปฏิบัติงานของคณะกรรมการดังกล่าวมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนปรับปรุงวิธีการกำหนดแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย โดยให้รัฐมนตรีเป็นผู้ออกประกาศกำหนดเพื่อความคล่องตัวในการดำเนินการ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
1. ปรับแก้ตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ เป็นอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และเพิ่มองค์ ประกอบของคณะกรรมการป้องกันการใช้สารระเหย คือ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย อัยการสูงสุด อธิบดีกรม - พินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน อธิบดีกรมสุขภาพจิต เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และปลัดกรุงเทพมหานคร
2. ปรับปรุงโทษปรับให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน
3. ปรับปรุงโทษ และให้ผู้ที่ใช้สารระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจที่สมัครใจเข้ารับการ บำบัดรักษา และได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ได้พ้นจากความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
4. ให้ผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา 17 ต้องเข้าสู่กระบวนการบังคับบำบัดตามพระรชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545
กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า สมควรปรับปรุงพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 ให้ เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน โดยเพิ่มบทกำหนดโทษให้สูงขึ้นสำหรับผู้ที่จูงใจ ชักนำ ยุยง ส่งเสริมหรือใช้อุบายหลอกลวง ให้ผู้ซึ่งมีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปี ใช้สาระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจและปรับปรุงสัดส่วนของอัตราโทษจำคุกต่อโทษ ปรับให้เหมาะสมขึ้น รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ที่ใช้สารระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจ ได้มีโอกาสสมัครใจเข้ารับ การบำบัดรักษาจนสามารถกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างปกติสุข โดยไม่ต้องรอให้ความผิดปรากฏจนศาลมีคำสั่งให้ไปรับการบำบัดรักษา นอกจากนี้ สมควรปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการป้องกันการใช้สารระเหย ให้ถูกต้องเป็นปัจจุบันและเพิ่มองค์ประกอบของคณะกรรมการให้หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้การปฏิบัติงานของคณะกรรมการดังกล่าวมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนปรับปรุงวิธีการกำหนดแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย โดยให้รัฐมนตรีเป็นผู้ออกประกาศกำหนดเพื่อความคล่องตัวในการดำเนินการ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-