คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการเพื่อยุบเลิกเงินทุนหมุนเวียนการนิคมประชาสงเคราะห์ ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และยุบรวมเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน และเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเข้าด้วยกันเป็น 1 ทุน ทั้งนี้ มอบให้กระทรวงการคลังไปหารือร่วมกับส่วนราชการเจ้าของทุนหมุนเวียนเพื่อกำหนดวันที่จะยุบเลิก/ยุบรวม และดำเนินการจัดการเกี่ยวกับสินทรัพย์หนี้สินและสิทธิประโยชน์ของพนักงานและลูกจ้างทุนหมุนเวียนตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้
กระทรวงการคลังรายงานว่า ได้ดำเนินการพิจารณาร่วมกับสำนักงบประมาณและส่วนราชการเจ้าของทุนหมุนเวียนให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลัง รวมหรือยุบเลิกทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2543 โดยจัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือซึ่งได้มีผลการประชุมให้มีการยกเลิกจำนวน 1 ทุน และยุบรวม 2 ทุนเป็น 1 ทุน สรุปได้ดังนี้
1. ให้ยุบเลิกเงินทุนหมุนเวียนการนิคมประชาสงเคราะห์ ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เนื่องจากปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินลดลงอย่างมาก ทำให้สมาชิกนิคมสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้มากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเพื่อช่วยเหลือในด้านการประกอบอาชีพหลายโครงการ โดยเฉพาะแหล่งเงินทุนจากกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งสนับสนุนให้เงินกู้เพื่อประกอบอาชีพเช่นกัน ประกอบกับเงินทุนฯ มียอดลูกหนี้ค้างชำระที่จะต้องติดตามทวงถามเป็นจำนวนมาก การดำเนินงานเงินทุนฯ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา จึงมุ่งเน้นในเรื่องการเร่งรัดการจัดเก็บหนี้ และลดการให้กู้ยืม จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 เงินทุนฯ ได้หยุดดำเนินการให้กู้ยืม ดังนั้น เงินทุนฯ นี้จึงหมดความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการต่อไป
2. การรวมทุนหมุนเวียนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 2 ทุน เป็น 1 ทุน เนื่องจากเงินทุนทั้งสองมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนกู้ยืมเพื่อพัฒนากิจกรรมของสถาบันใน 2 ลักษณะ คือ เพื่อพัฒนาอาจารย์ของสถาบันฯและเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งวัตถุประสงค์ของเงินทุนฯ ดังกล่าวสามารถดำเนินการร่วมกันได้ ประกอบกับการบริหารงานเงินทุนอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานเดียวกัน คือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงการคลังรายงานว่า ได้ดำเนินการพิจารณาร่วมกับสำนักงบประมาณและส่วนราชการเจ้าของทุนหมุนเวียนให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลัง รวมหรือยุบเลิกทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2543 โดยจัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือซึ่งได้มีผลการประชุมให้มีการยกเลิกจำนวน 1 ทุน และยุบรวม 2 ทุนเป็น 1 ทุน สรุปได้ดังนี้
1. ให้ยุบเลิกเงินทุนหมุนเวียนการนิคมประชาสงเคราะห์ ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เนื่องจากปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินลดลงอย่างมาก ทำให้สมาชิกนิคมสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้มากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเพื่อช่วยเหลือในด้านการประกอบอาชีพหลายโครงการ โดยเฉพาะแหล่งเงินทุนจากกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งสนับสนุนให้เงินกู้เพื่อประกอบอาชีพเช่นกัน ประกอบกับเงินทุนฯ มียอดลูกหนี้ค้างชำระที่จะต้องติดตามทวงถามเป็นจำนวนมาก การดำเนินงานเงินทุนฯ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา จึงมุ่งเน้นในเรื่องการเร่งรัดการจัดเก็บหนี้ และลดการให้กู้ยืม จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 เงินทุนฯ ได้หยุดดำเนินการให้กู้ยืม ดังนั้น เงินทุนฯ นี้จึงหมดความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการต่อไป
2. การรวมทุนหมุนเวียนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 2 ทุน เป็น 1 ทุน เนื่องจากเงินทุนทั้งสองมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนกู้ยืมเพื่อพัฒนากิจกรรมของสถาบันใน 2 ลักษณะ คือ เพื่อพัฒนาอาจารย์ของสถาบันฯและเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งวัตถุประสงค์ของเงินทุนฯ ดังกล่าวสามารถดำเนินการร่วมกันได้ ประกอบกับการบริหารงานเงินทุนอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานเดียวกัน คือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-