คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรายงานสรุปขั้นตอนการดำเนินงานจัดตั้งศูนย์เตือนภัยระดับภูมิภาคของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) ในช่วงเดือนมกราคม 2548 — พฤศจิกายน 2549 ดังนี้
1. หลังจากนายกรัฐมนตรีได้ประกาศ (เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2548) ให้ ADPC เป็นผู้จัดตั้งศูนย์เตือนภัยประจำภูมิภาค และประกาศว่ารัฐบาลไทยพร้อมจัดตั้ง Voluntary Trust Fund เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เตือนภัยระดับภูมิภาค โดยบริจาค seed money 10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเป็นเงินเริ่มต้นกองทุน ADPC ได้จัดตั้งคณะผู้ทำงานประกอบด้วยชุด Climate Risk Management นำโดย Mr. A.R. Subbiah อดีตรองปลัดกระทรวงเกษตรของอินเดีย ร่วมกับอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ และ รศ.ดร. เป็นหนึ่งวานิชชัย แห่ง AIT ร่วมกันวางแผนดำเนินการ
2. วันที่ 21-26 กุมภาพันธ์ 2548 ในการประชุม First Experts Consultation Meeting ณ ADPC ผู้เชี่ยวชาญด้านปฏิบัติการและการวิจัยได้ร่วมจัดทำการออกแบบระบบเตือนภัยเบื้องต้น
3. วันที่ 1-9 มีนาคม 2548 คณะผู้แทน ADPC ซึ่งเข้าร่วมการประชุม IOC International Coordination Meeting for the Development of a Tsunami Warning and Mitigation System for the Indian Ocean ณ กรุงปารีส ได้เสนอแบบระบบเตือนภัยสำหรับภูมิภาคเอเชียโดยผู้แทนจีน พม่า เดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์ และอังกฤษ ได้แสดงความเห็นชอบที่ ADPC จะทำหน้าที่เป็นศูนย์เตือนภัยระดับภูมิภาคสำหรับประเทศพม่า เวียดนาม กัมพูชา ลาว และไทย
4. วันที่ 28-29 มีนาคม 2548 ผู้แทนของทุกประเทศ (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม ไทย จีน และฟิลิปปินส์) ที่เข้าร่วมประชุม End-to-End Multi-hazard Early Warning System in Southeast Asia: Assessment of Needs เห็นชอบที่จะให้ ADPC เป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดทำศูนย์เตือนภัยระดับภูมิภาค โดยการสนับสนุนและเป็นพันธมิตร (Partnership) ร่วมกับรัฐบาล และผู้เชี่ยวชาญจากไทยจีนและฟิลิปปินส์
5. วันที่ 20-21 เมษายน 2548 ที่ประชุม The 2nd Experts Consultation Meeting for the Establishment of a Regional End — to-End Multi-hazard Early Warning System in Southeast Asia เห็นชอบกับ System Design ที่ ADPC ปรับปรุงใหม่ ให้ครอบคลุมเฉพาะ 5 ประเทศ และได้จัดทำแผนงานแล้วเสร็จ
6. ปัจจุบัน ADPC ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจาก UNDP, USAID และรัฐบาลอิตาลี รวมเป็นเงิน 1.75 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะได้รับจาก DANIDA ภายในเดือนตุลาคม 2548 จำนวน 1.5-1.8 ล้านเหรียญสหรัฐ และจาก SIDA อีกประมาณ 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในเดือนกันยายน 2548 ADPC จะทำเอกสารเสนอโครงการไปยังนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อังกฤษ และประเทศอื่น ๆ เพื่อนำเงินสมทบกองทุน Voluntary Trust Fund
7. ในเดือนตุลาคม 2548 ADPC จะเริ่มติดตั้งสถานีตรวจวัดระดับน้ำทะเลใหม่ 1 สถานีที่เกาะเมียง หมู่เกาะสิมิลัน และยกระดับสถานีตรวจวัดระดับน้ำทะเลที่ เกาะตะเภาน้อย จำนวน 1 สถานี รวมทั้งติดตั้งเพิ่มเติมอีก 5 สถานีบริเวณชายฝั่งของพม่า (2 สถานี) ฟิลิปปินส์ (1 สถานี) และเวียดนาม (2 สถานี)
8. ในเดือนธันวาคม 2548 — เมษายน 2549 ติดตั้งสถานีตรวจวัดระดับน้ำทะเลบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง และสถานีวัดแผ่นดินไหว จำนวน 20 และ 15 สถานี ตามลำดับ ในประเทศพม่า กัมพูชา เวียดนาม และฟิลิปปินส์ (คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2549)
9. ภายในเดือนพฤศจิกายน 2549 ADPC กำหนดวางระบบเตือนภัยและปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริง โดยจัดตั้งศูนย์รับข้อมูลและประมวลผลขึ้น (ในพื้นที่ของ AIT) เพื่อส่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเตือนภัยให้แก่ พม่า กัมพูชา เวียดนาม และไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. หลังจากนายกรัฐมนตรีได้ประกาศ (เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2548) ให้ ADPC เป็นผู้จัดตั้งศูนย์เตือนภัยประจำภูมิภาค และประกาศว่ารัฐบาลไทยพร้อมจัดตั้ง Voluntary Trust Fund เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เตือนภัยระดับภูมิภาค โดยบริจาค seed money 10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเป็นเงินเริ่มต้นกองทุน ADPC ได้จัดตั้งคณะผู้ทำงานประกอบด้วยชุด Climate Risk Management นำโดย Mr. A.R. Subbiah อดีตรองปลัดกระทรวงเกษตรของอินเดีย ร่วมกับอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ และ รศ.ดร. เป็นหนึ่งวานิชชัย แห่ง AIT ร่วมกันวางแผนดำเนินการ
2. วันที่ 21-26 กุมภาพันธ์ 2548 ในการประชุม First Experts Consultation Meeting ณ ADPC ผู้เชี่ยวชาญด้านปฏิบัติการและการวิจัยได้ร่วมจัดทำการออกแบบระบบเตือนภัยเบื้องต้น
3. วันที่ 1-9 มีนาคม 2548 คณะผู้แทน ADPC ซึ่งเข้าร่วมการประชุม IOC International Coordination Meeting for the Development of a Tsunami Warning and Mitigation System for the Indian Ocean ณ กรุงปารีส ได้เสนอแบบระบบเตือนภัยสำหรับภูมิภาคเอเชียโดยผู้แทนจีน พม่า เดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์ และอังกฤษ ได้แสดงความเห็นชอบที่ ADPC จะทำหน้าที่เป็นศูนย์เตือนภัยระดับภูมิภาคสำหรับประเทศพม่า เวียดนาม กัมพูชา ลาว และไทย
4. วันที่ 28-29 มีนาคม 2548 ผู้แทนของทุกประเทศ (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม ไทย จีน และฟิลิปปินส์) ที่เข้าร่วมประชุม End-to-End Multi-hazard Early Warning System in Southeast Asia: Assessment of Needs เห็นชอบที่จะให้ ADPC เป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดทำศูนย์เตือนภัยระดับภูมิภาค โดยการสนับสนุนและเป็นพันธมิตร (Partnership) ร่วมกับรัฐบาล และผู้เชี่ยวชาญจากไทยจีนและฟิลิปปินส์
5. วันที่ 20-21 เมษายน 2548 ที่ประชุม The 2nd Experts Consultation Meeting for the Establishment of a Regional End — to-End Multi-hazard Early Warning System in Southeast Asia เห็นชอบกับ System Design ที่ ADPC ปรับปรุงใหม่ ให้ครอบคลุมเฉพาะ 5 ประเทศ และได้จัดทำแผนงานแล้วเสร็จ
6. ปัจจุบัน ADPC ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจาก UNDP, USAID และรัฐบาลอิตาลี รวมเป็นเงิน 1.75 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะได้รับจาก DANIDA ภายในเดือนตุลาคม 2548 จำนวน 1.5-1.8 ล้านเหรียญสหรัฐ และจาก SIDA อีกประมาณ 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในเดือนกันยายน 2548 ADPC จะทำเอกสารเสนอโครงการไปยังนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อังกฤษ และประเทศอื่น ๆ เพื่อนำเงินสมทบกองทุน Voluntary Trust Fund
7. ในเดือนตุลาคม 2548 ADPC จะเริ่มติดตั้งสถานีตรวจวัดระดับน้ำทะเลใหม่ 1 สถานีที่เกาะเมียง หมู่เกาะสิมิลัน และยกระดับสถานีตรวจวัดระดับน้ำทะเลที่ เกาะตะเภาน้อย จำนวน 1 สถานี รวมทั้งติดตั้งเพิ่มเติมอีก 5 สถานีบริเวณชายฝั่งของพม่า (2 สถานี) ฟิลิปปินส์ (1 สถานี) และเวียดนาม (2 สถานี)
8. ในเดือนธันวาคม 2548 — เมษายน 2549 ติดตั้งสถานีตรวจวัดระดับน้ำทะเลบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง และสถานีวัดแผ่นดินไหว จำนวน 20 และ 15 สถานี ตามลำดับ ในประเทศพม่า กัมพูชา เวียดนาม และฟิลิปปินส์ (คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2549)
9. ภายในเดือนพฤศจิกายน 2549 ADPC กำหนดวางระบบเตือนภัยและปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริง โดยจัดตั้งศูนย์รับข้อมูลและประมวลผลขึ้น (ในพื้นที่ของ AIT) เพื่อส่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเตือนภัยให้แก่ พม่า กัมพูชา เวียดนาม และไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548--จบ--