คณะรัฐมนตรีพิจารณาการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการภายใต้ค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 58,000 ล้านบาท ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบการขยายระยะเวลาดำเนินการและกันเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ 58,000 ล้านบาท เพื่อไปเบิกจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 10 โครงการภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 4,246.20 ล้านบาท ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ หน่วยงาน วงเงิน เบิกจ่าย ขอกันเงิน
1. โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการ สศช. 1,000.00 435.13 564.87
แข่งขันโดยร่วมกับภาคเอกชน
2. โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT สนง.ส่งเสริมอุตสาห 98.31 - 98.31
แห่งชาติ กรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ
3. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา กระทรวงรัพยากร 25.20 10.44 14.76
ธรรมชาติฯ
4. โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ การเคหะแห่งชาติ และ 451.00 424.32 26.68
น้อยและคนจนในเมือง สถาบันพัฒนาองค์กร
ชุมชน
5. โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายใต้ กทพ. 3,041.00 721.61 2,319.39
ตอน S1
6. โครงการก่อสร้างช่องจราจรหลักเพิ่มเติม กรมทางหลวง 750.00 229.05 520.95
บนทางหลวงพิเศษ หมายเลข 7
7. โครงการปรับปรุงสุขอนามัยท่าเทียบเรือ กรมประมง 185.48 93.75 91.73
และสะพานปลา
8. โครงการเคหะสงเคราะห์ข้าราชการตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 836.09 538.00 298.09
โครงการที่ 3
9. โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม 1,003.58 730.92 272.66
ในระบบบังคับรักษา
10. โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในศูนย์ กระทรวงมหาดไทย 87.18 48.42 38.76
ศิลปาชีพบางไทร
รวม 7,477.84 3,231.64 4,246.20
2. ให้หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจดำเนินการและเบิกจ่าย ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว หากมีเงินเหลือจ่ายจากการดำเนินโครงการหรือหมดความจำเป็น ขอให้นำเงินส่งคืนกรมบัญชีกลางต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกลั่นกรอง โครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2546 เห็นชอบการขยายระยะเวลาดำเนินการและกันเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงประมาณ พ.ศ. 2545 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ 58,000 ล้านบาท สำหรับโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ 2546 และโครงการภายใต้แผนงานเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยร่วมกับภาคเอกชนเพื่อไปเบิกจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จำนวน 23 โครงการ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ นั้น
จากการติดตามผลการดำเนินโครงการภายใต้ค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ขยายระยะเวลาดำเนินการและกันเงินงบประมาณเพื่อไปเบิกจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จำนวน 23 โครงการ ปรากฏว่าโครงการส่วนใหญ่ดำเนินการแล้วเสร็จตามเป้าหมาย แต่ยังมีบางโครงการที่มีลักษณะเป็นการศึกษายุทธศาสตร์ การพัฒนาองค์ความรู้ของหน่วยงาน งานที่สนับสนุนยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และงานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ตามนโยบาย รัฐบาล ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ คาดว่าจะไม่สามารถดำเนินการและเบิกจ่ายได้ทันในปีงบประมาณ 2547 ผลการดำเนินงานและเบิกจ่าย
1. จากข้อมูลกรมบัญชีกลาง ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2547 มีโครงการภายใต้ค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 57,995.85 ล้านบาท ได้รับอนุมัติเงินจากสำนักงบประมาณแล้ว 56,692.50 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายเงินแล้ว 47,505.49 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 83.80 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงบประมาณ
2. การดำเนินโครงการได้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1) การดำเนินโครงการภายใต้แผนงาน National Program และแผนงานด้านชุมชน ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ปี งบประมาณ 2545 ส่วนใหญ่จะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2546 แต่มีโครงการบางส่วนที่ดำเนินโครงการและเบิกจ่ายล่าช้า เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนแบบรายละเอียดโครงการ ปัญหาภัยธรรมชาติ บริษัทผู้รับจ้างทำงานล่าช้า และมีความล่าช้าจากการอนุมัติให้เข้าใช้พื้นที่ ซึ่งสำนักงานฯ ได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าโครงการได้ดำเนินการแล้วเสร็จแต่อยู่ระหว่างขั้นตอนการเบิกจ่าย และเป็นโครงการที่ดำเนินการแล้วบางส่วนและมีภาระผูกพันที่ต้องเบิกจ่ายกับผู้รับจ้าง แต่ถูกพับไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2546 จึงขอให้มีการทบทวนการขยายระยะเวลาเบิกจ่ายเงินโครงการที่ถูกพับไป เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการและการเบิกจ่ายเฉพาะส่วนที่ได้ก่อหนี้ผูกพันแล้วภายใน วันที่ 30 กันยายน 2546 โดยให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเบิกจ่ายให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนกันยายน 2547 ดังนั้น การดำเนินโครงการภายใต้แผนงาน National Program และแผนงานด้านชุมชนจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2547
2) สำหรับโครงการในส่วนที่ 2 คือ โครงการที่ได้อนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ 2546 และโครงการภายใต้แผนงานเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยร่วมกับภาคเอกชน ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ขยายระยะเวลาดำเนินการและกันเงินงบประมาณเพื่อไปเบิกจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จำนวน 23 โครงการ ซึ่งผลการดำเนินงานส่วนใหญ่ดำเนินการแล้วเสร็จ แต่มีหลายโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน และคาดว่าจะไม่สามารถดำเนินการและเบิกจ่ายได้ทันในปีงบประมาณ 2547
3. จากการตรวจสอบในรายละเอียดของทั้ง 23 โครงการดังกล่าวข้างต้น พบว่ามีโครงการที่คาดว่าจะไม่สามารถดำเนินการและเบิกจ่ายได้ทันในปีงบประมาณ 2547 จำนวน 10 โครงการ วงเงิน 7,477.84 ล้านบาท ส่วนใหญ่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ แต่อยู่ระหว่างขั้นตอนการเบิกจ่าย บางโครงการมีภาระผูกพันตามสัญญาที่ต้องเบิกจ่ายกับผู้รับจ้าง และบางโครงการดำเนินการใกล้แล้วเสร็จแต่ติดปัญหาในงานย่อย ทำให้การดำเนินงานทั้งโครงการยังไม่แล้วเสร็จตามเป้าหมาย
4. ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามนโยบายรัฐบาล และสนับสนุน ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงมีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จำนวน 10 โครงการออกไป จนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2548 ซึ่งต้องมีการขออนุมัติกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง โดยไม่มีการก่อหนี้ผูกพัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. เห็นชอบการขยายระยะเวลาดำเนินการและกันเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ 58,000 ล้านบาท เพื่อไปเบิกจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 10 โครงการภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 4,246.20 ล้านบาท ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ หน่วยงาน วงเงิน เบิกจ่าย ขอกันเงิน
1. โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการ สศช. 1,000.00 435.13 564.87
แข่งขันโดยร่วมกับภาคเอกชน
2. โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT สนง.ส่งเสริมอุตสาห 98.31 - 98.31
แห่งชาติ กรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ
3. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา กระทรวงรัพยากร 25.20 10.44 14.76
ธรรมชาติฯ
4. โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ การเคหะแห่งชาติ และ 451.00 424.32 26.68
น้อยและคนจนในเมือง สถาบันพัฒนาองค์กร
ชุมชน
5. โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายใต้ กทพ. 3,041.00 721.61 2,319.39
ตอน S1
6. โครงการก่อสร้างช่องจราจรหลักเพิ่มเติม กรมทางหลวง 750.00 229.05 520.95
บนทางหลวงพิเศษ หมายเลข 7
7. โครงการปรับปรุงสุขอนามัยท่าเทียบเรือ กรมประมง 185.48 93.75 91.73
และสะพานปลา
8. โครงการเคหะสงเคราะห์ข้าราชการตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 836.09 538.00 298.09
โครงการที่ 3
9. โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม 1,003.58 730.92 272.66
ในระบบบังคับรักษา
10. โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในศูนย์ กระทรวงมหาดไทย 87.18 48.42 38.76
ศิลปาชีพบางไทร
รวม 7,477.84 3,231.64 4,246.20
2. ให้หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจดำเนินการและเบิกจ่าย ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว หากมีเงินเหลือจ่ายจากการดำเนินโครงการหรือหมดความจำเป็น ขอให้นำเงินส่งคืนกรมบัญชีกลางต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกลั่นกรอง โครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2546 เห็นชอบการขยายระยะเวลาดำเนินการและกันเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงประมาณ พ.ศ. 2545 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ 58,000 ล้านบาท สำหรับโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ 2546 และโครงการภายใต้แผนงานเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยร่วมกับภาคเอกชนเพื่อไปเบิกจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จำนวน 23 โครงการ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ นั้น
จากการติดตามผลการดำเนินโครงการภายใต้ค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ขยายระยะเวลาดำเนินการและกันเงินงบประมาณเพื่อไปเบิกจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จำนวน 23 โครงการ ปรากฏว่าโครงการส่วนใหญ่ดำเนินการแล้วเสร็จตามเป้าหมาย แต่ยังมีบางโครงการที่มีลักษณะเป็นการศึกษายุทธศาสตร์ การพัฒนาองค์ความรู้ของหน่วยงาน งานที่สนับสนุนยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และงานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ตามนโยบาย รัฐบาล ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ คาดว่าจะไม่สามารถดำเนินการและเบิกจ่ายได้ทันในปีงบประมาณ 2547 ผลการดำเนินงานและเบิกจ่าย
1. จากข้อมูลกรมบัญชีกลาง ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2547 มีโครงการภายใต้ค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 57,995.85 ล้านบาท ได้รับอนุมัติเงินจากสำนักงบประมาณแล้ว 56,692.50 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายเงินแล้ว 47,505.49 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 83.80 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงบประมาณ
2. การดำเนินโครงการได้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1) การดำเนินโครงการภายใต้แผนงาน National Program และแผนงานด้านชุมชน ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ปี งบประมาณ 2545 ส่วนใหญ่จะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2546 แต่มีโครงการบางส่วนที่ดำเนินโครงการและเบิกจ่ายล่าช้า เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนแบบรายละเอียดโครงการ ปัญหาภัยธรรมชาติ บริษัทผู้รับจ้างทำงานล่าช้า และมีความล่าช้าจากการอนุมัติให้เข้าใช้พื้นที่ ซึ่งสำนักงานฯ ได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าโครงการได้ดำเนินการแล้วเสร็จแต่อยู่ระหว่างขั้นตอนการเบิกจ่าย และเป็นโครงการที่ดำเนินการแล้วบางส่วนและมีภาระผูกพันที่ต้องเบิกจ่ายกับผู้รับจ้าง แต่ถูกพับไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2546 จึงขอให้มีการทบทวนการขยายระยะเวลาเบิกจ่ายเงินโครงการที่ถูกพับไป เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการและการเบิกจ่ายเฉพาะส่วนที่ได้ก่อหนี้ผูกพันแล้วภายใน วันที่ 30 กันยายน 2546 โดยให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเบิกจ่ายให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนกันยายน 2547 ดังนั้น การดำเนินโครงการภายใต้แผนงาน National Program และแผนงานด้านชุมชนจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2547
2) สำหรับโครงการในส่วนที่ 2 คือ โครงการที่ได้อนุมัติเพิ่มเติมในปีงบประมาณ 2546 และโครงการภายใต้แผนงานเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยร่วมกับภาคเอกชน ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ขยายระยะเวลาดำเนินการและกันเงินงบประมาณเพื่อไปเบิกจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จำนวน 23 โครงการ ซึ่งผลการดำเนินงานส่วนใหญ่ดำเนินการแล้วเสร็จ แต่มีหลายโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน และคาดว่าจะไม่สามารถดำเนินการและเบิกจ่ายได้ทันในปีงบประมาณ 2547
3. จากการตรวจสอบในรายละเอียดของทั้ง 23 โครงการดังกล่าวข้างต้น พบว่ามีโครงการที่คาดว่าจะไม่สามารถดำเนินการและเบิกจ่ายได้ทันในปีงบประมาณ 2547 จำนวน 10 โครงการ วงเงิน 7,477.84 ล้านบาท ส่วนใหญ่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ แต่อยู่ระหว่างขั้นตอนการเบิกจ่าย บางโครงการมีภาระผูกพันตามสัญญาที่ต้องเบิกจ่ายกับผู้รับจ้าง และบางโครงการดำเนินการใกล้แล้วเสร็จแต่ติดปัญหาในงานย่อย ทำให้การดำเนินงานทั้งโครงการยังไม่แล้วเสร็จตามเป้าหมาย
4. ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามนโยบายรัฐบาล และสนับสนุน ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงมีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จำนวน 10 โครงการออกไป จนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2548 ซึ่งต้องมีการขออนุมัติกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง โดยไม่มีการก่อหนี้ผูกพัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-