คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงาน ป.ป.ส. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ศตส. เสนอรายงานผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำเดือนสิงหาคม (ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2547) ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
1. การประชุมศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) มีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ผู้อำนวยการ ศตส. เป็นประธานการประชุม สาระสำคัญของการประชุมสรุปได้ดังนี้
ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานของ ศตส. ตามลำดับ ดังนี้
1. ด้านการป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดศตส. มท.
1.1 การสำรวจเพื่อจำแนกสถานะของหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งเอาชนะปัญหายาเสพติด ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2547 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
- ขณะนี้มีชุมชนประเภท ก. (เข้มแข็งมีระบบเฝ้าระวังอย่างยั่งยืน) และประเภท ข (เข้มแข็งและมีระบบเฝ้าระวัง) รวมกัน 70,481 หมู่บ้าน/ชุมชนคิดเป็นร้อยละ 85.45
-ชุมชนประเภท ค (เข้มแข็ง) และ ง (ต้องเสริมความเข้มแข็งเป็นกรณีพิเศษ)รวมกัน 11,999 หมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 14.55 ในวันที่ 31 สิงหาคม 2547 ศตส.จ. จะต้องดำเนินการจำแนกสถานะหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งให้แล้วเสร็จ
1.2 การประชุมสัมมนาเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านการป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยา เสพติด (Potential Demand) ในปีงบประมาณ 2548 ให้เป็นเอกภาพและมุ่งผลสัมฤทธิ์ ตามแนวยุทธศาสตร์การดำเนินงานของรัฐบาลวันที่ 1-2 กันยายน 2547 ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นเจ้าหน้าที่จากศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดจังหวัดทุกจังหวัด รวมประมาณ 400 คน
1.3 ปฏิบัติการพลังแผ่นดินขจัดสิ้นยาเสพติดเทิดไท้ถวายองค์ราชินี โดยดำเนินการ re x-ray ผู้เสพ-ผู้ติด ให้ออกมาแสดงตนเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
1.4 การจัดแข่งขันตระกร้อเพื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสมีพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา ตามดำริของ พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรีระหว่างวันที่ 7-8 สิงหาคม 2547 ณ ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร
2. การดำเนินงานด้านควบคุมตัวยา
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม - 8 สิงหาคม 2547 ด้านการปราบปรามผู้ผลิต ผู้ค้ายาเสพติด รวมจับกุมทุกข้อหา จำนวน 5,570 ราย 6,042 คน รวมของกลางยาบ้า จำนวน 5,919,610 เม็ด ศตส. กองทัพไทย ระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม - 8 สิงหาคม 2547 งานสกัดกั้นปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดน รวมของกลาง ยาบ้า จำนวน 1,645,325 เม็ด เฮโรอีน จำนวน 23.6413 กิโลกรัม กัญชาแห้ง จำนวน 2,421.5294 กิโลกรัม กัญชาแท่ง จำนวน 1,242.4317 กิโลกรัม
กองทัพบก หน่วยของกองทัพบก ระดับกองพลหรือเทียบเท่าขึ้นไป จำนวน 88 หน่วย ได้จัดชุดปฏิบัติการข่าวของหน่วยเพื่อติดตามตรวจสอบและหาข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดในหน่วยทหาร
3. การดำเนินงานด้านการดูแลผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
- จำนวนผู้เสพติด/ผู้ติดยาเสพติด ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2546-31 กรกฎาคม 2547
- ระบบสมัครใจ 12,649 คน ร้อยละ 60.41 %
- ระบบบังคับบำบัด 5,288 คน ร้อยละ 25.25 %
- ระบบต้องโทษ 3,002 คน ร้อยละ 14.34 %
รวมทุกระบบ 20,939 คน
- การดำเนินงานเชิงคุณภาพ แยกตามยุทธศาสตร์ ดังนี้
1) ปรับเปลี่ยนเจตคติและการปฏิบัติของสังคมต่อผู้เสพ/ผู้ติดโดยการจัดประชุม พัฒนาเครือข่ายเยาวชนและครอบครัว
2) บูรณการแผนการบำบัด ฟื้นฟู และดูแลในพื้นที่ โดยปฏิบัติการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพในการติดตามผลด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติด
3) พัฒนาศักยภาพและคุณภาพบำบัดฟื้นฟูและดูแลให้มีมาตรฐานโดยนิเทศติดตามการดำเนินงานของวัดศูนย์สงเคราะห์และฟื้นฟูฯ จังหวัดกาญจนบุรี
4) ให้การดูแลต่อเนื่องเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับไปเสพยาอีก โดยสำนักงาน ป.ป.ส. จัดสัมมนาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพระบบติดตามดูแลช่วยเหลือและพัฒนาผู้เสพ/ผู้ติดหลังการฟื้นฟู ติดตามประเมินผลโครงการบำบัดฟื้นฟูอย่างครบวงจรพัฒนาหลักสูตรคลินิคครอบครัวระดับจังหวัด
5) การพัฒนาระบบข้อมูลด้านการดูแลผู้เสพ/ผู้ติดให้เป็นเอกภาพ บก.ทหารสูงสุด ได้จัดโครงการ "ปรับเจตนคติและการปฏิบัติของสังคมต่อผู้เสพยาเสพติด" ภายใต้โครงการค่ายพุทธธรรมสร้างภูมิคุ้มกันเยาวชน ห้วง 15-24 กรกฎาคม 2547 จำนวน 10 รุ่น ๆ ละ 200 คน รวม 2,000 คน
กองทัพบก ได้จัดโครงการศูนย์ทะเบียนทหารติดยาเสพติด ฝกพ. ศตส.ทบ. ได้รวบรวมผลการตรวจสารเสพติดในปัสสาวะของทหารกองประจำการ จำนวน 29,824 นาย ตรวจพบสารเสพติด จำนวน 53 นาย คิดเป็นร้อยละ 0.18 ผลการตรวจมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการฝึกและการอบรมควบคู่กับการฝึกเป็นมาตรการหนึ่งในการป้องกันปัญหายาเสพติด และผลการดำเนินงานของศูนย์วิวัฒน์พลเมืองของ ทบ. จำนวน 8 ศูนย์ ได้รับผู้ที่ต้องคดียาเสพติด ซึ่งศาลตัดสินให้เข้าฝึกอบรมในลักษณะบังคับบำบัด ยอดเดิม 870 คน รับเพิ่ม 16 คน จำหน่าย 14 คน รวม 872 คน
กองทัพเรือ ได้เปิดโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองกองทัพเรือแบบบังคับบำบัด โดยรับผู้เข้ารับการบำบัดจากกรมคุมประพฤติ จำนวน 343 คน
กองทัพอากาศ ดำเนินการศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ มีผู้เข้ารับการบำบัด จำนวน 400 คน
4. รับทราบผลลการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดตาม Roadmap ระยะที่ 3 ของ ศตส. กทม. ระหว่างวันที่ ธันวาคม สิงหาคม ในด้านการแก้ไขปัญหาตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด ด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติด ด้านการแก้ไขในกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติดด้านการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ
5. รับทราบสถานการณ์ยาเสพติดประเทศไทยเดือนกรกฎาคม 2547โดยสรุปสถานการณ์ยังไม่น่าไว้วางใจ ยาบ้ารอลักลอบนำเข้าบริเวณชายแดนเพื่อจำหน่ายให้ลูกค้า สำหรับเฮโรอีน จะนำออกไปสู่ตลาดโลก โดยใช้ไทยซึ่งเป็น 1 ใน 4 ประเทศเป็น ทางผ่าน สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาด จำนวนผู้เข้ารับการบำบัดรักษา รายใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2547 เป็นต้นมา
ที่ประชุมเห็นชอบ Roadmap การต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด ระยะที่ 4 ปี 2548 โดยมีสาระสำคัญ
เป้าหมาย มุ่งที่จะเอาชนะปัญหายาเสพติดให้ได้อย่างยั่งยืนและมีระบบเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยยุทธศาสตร์หลัก 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด (Supply) ยุทธศาสตร์การแก้ไขผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand) ยุทธศาสตร์การป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด (Potential Demand) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ประชุมเห็นชอบ "ปฏิบัติการพลังแผ่นดิน. . . ร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 2 (4 ตุลาคม - 3 ธันวาคม 2547)"
ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางการบูรณาการแผนและงบประมาณในปี พ.ศ. 2548
ที่ประชุมเห็นชอบมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการปราบปรามการลักลอบค้ายาเสพติดและการก่ออาชญากรรมของชาวต่างชาติในไทย
ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางการประสานคดียาเสพติดรายสำคัญ กำหนดกรอบแนวทางปฏิบัติในการประสานคดียาเสพติดรายสำคัญ ระหว่างพนักงานสืบสวน พนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการ เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้จะได้จัดทำเป็นคำสั่ง ศตส. ต่อไป
2. ผลการดำเนินงานด้านอื่น ๆ
การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบ ซึ่งไม่สอดคล้องหรือเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป อันเป็นอุปสรรคต่อการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดโดยรวม
1. การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายและระเบียบที่ใช้บังคับในปัจจุบัน
1.1 ร่างพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. . . . .
1.2 ร่างพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด (ฉบับที่ . .) พ.ศ. . . . .
1.3 ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย (ฉบับที่ . .) พ.ศ. . . . .
1.4 ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วย ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. . . . .
1.5 ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1
2. การยกร่างกฎหมายใหม่และกระบวนการดำเนินคดีโดยวิธีพิเศษ
2.1 กฎหมายว่าด้วยความร่วมมือของผู้กระทำผิดในคดีอาญา
2.2 กฎหมายว่าด้วยการชะลอการฟ้อง
2.3 กฎหมายว่าด้วยการต่อต้านองค์การอาชญากรรม หรือ RICO (Racketeer influence and Corrupt Organization Act)
2.4 ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. . . . .
การพิจารณจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด ปีงบประมาณ 2547 รวมจำนวน 2,570 คดี เป็นเงินที่จ่ายทั้งสิ้น 95,651,021 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2547)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. การประชุมศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) มีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ผู้อำนวยการ ศตส. เป็นประธานการประชุม สาระสำคัญของการประชุมสรุปได้ดังนี้
ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานของ ศตส. ตามลำดับ ดังนี้
1. ด้านการป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดศตส. มท.
1.1 การสำรวจเพื่อจำแนกสถานะของหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งเอาชนะปัญหายาเสพติด ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2547 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
- ขณะนี้มีชุมชนประเภท ก. (เข้มแข็งมีระบบเฝ้าระวังอย่างยั่งยืน) และประเภท ข (เข้มแข็งและมีระบบเฝ้าระวัง) รวมกัน 70,481 หมู่บ้าน/ชุมชนคิดเป็นร้อยละ 85.45
-ชุมชนประเภท ค (เข้มแข็ง) และ ง (ต้องเสริมความเข้มแข็งเป็นกรณีพิเศษ)รวมกัน 11,999 หมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 14.55 ในวันที่ 31 สิงหาคม 2547 ศตส.จ. จะต้องดำเนินการจำแนกสถานะหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งให้แล้วเสร็จ
1.2 การประชุมสัมมนาเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านการป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยา เสพติด (Potential Demand) ในปีงบประมาณ 2548 ให้เป็นเอกภาพและมุ่งผลสัมฤทธิ์ ตามแนวยุทธศาสตร์การดำเนินงานของรัฐบาลวันที่ 1-2 กันยายน 2547 ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นเจ้าหน้าที่จากศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดจังหวัดทุกจังหวัด รวมประมาณ 400 คน
1.3 ปฏิบัติการพลังแผ่นดินขจัดสิ้นยาเสพติดเทิดไท้ถวายองค์ราชินี โดยดำเนินการ re x-ray ผู้เสพ-ผู้ติด ให้ออกมาแสดงตนเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
1.4 การจัดแข่งขันตระกร้อเพื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสมีพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา ตามดำริของ พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรีระหว่างวันที่ 7-8 สิงหาคม 2547 ณ ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร
2. การดำเนินงานด้านควบคุมตัวยา
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม - 8 สิงหาคม 2547 ด้านการปราบปรามผู้ผลิต ผู้ค้ายาเสพติด รวมจับกุมทุกข้อหา จำนวน 5,570 ราย 6,042 คน รวมของกลางยาบ้า จำนวน 5,919,610 เม็ด ศตส. กองทัพไทย ระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม - 8 สิงหาคม 2547 งานสกัดกั้นปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดน รวมของกลาง ยาบ้า จำนวน 1,645,325 เม็ด เฮโรอีน จำนวน 23.6413 กิโลกรัม กัญชาแห้ง จำนวน 2,421.5294 กิโลกรัม กัญชาแท่ง จำนวน 1,242.4317 กิโลกรัม
กองทัพบก หน่วยของกองทัพบก ระดับกองพลหรือเทียบเท่าขึ้นไป จำนวน 88 หน่วย ได้จัดชุดปฏิบัติการข่าวของหน่วยเพื่อติดตามตรวจสอบและหาข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดในหน่วยทหาร
3. การดำเนินงานด้านการดูแลผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
- จำนวนผู้เสพติด/ผู้ติดยาเสพติด ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2546-31 กรกฎาคม 2547
- ระบบสมัครใจ 12,649 คน ร้อยละ 60.41 %
- ระบบบังคับบำบัด 5,288 คน ร้อยละ 25.25 %
- ระบบต้องโทษ 3,002 คน ร้อยละ 14.34 %
รวมทุกระบบ 20,939 คน
- การดำเนินงานเชิงคุณภาพ แยกตามยุทธศาสตร์ ดังนี้
1) ปรับเปลี่ยนเจตคติและการปฏิบัติของสังคมต่อผู้เสพ/ผู้ติดโดยการจัดประชุม พัฒนาเครือข่ายเยาวชนและครอบครัว
2) บูรณการแผนการบำบัด ฟื้นฟู และดูแลในพื้นที่ โดยปฏิบัติการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพในการติดตามผลด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติด
3) พัฒนาศักยภาพและคุณภาพบำบัดฟื้นฟูและดูแลให้มีมาตรฐานโดยนิเทศติดตามการดำเนินงานของวัดศูนย์สงเคราะห์และฟื้นฟูฯ จังหวัดกาญจนบุรี
4) ให้การดูแลต่อเนื่องเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับไปเสพยาอีก โดยสำนักงาน ป.ป.ส. จัดสัมมนาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพระบบติดตามดูแลช่วยเหลือและพัฒนาผู้เสพ/ผู้ติดหลังการฟื้นฟู ติดตามประเมินผลโครงการบำบัดฟื้นฟูอย่างครบวงจรพัฒนาหลักสูตรคลินิคครอบครัวระดับจังหวัด
5) การพัฒนาระบบข้อมูลด้านการดูแลผู้เสพ/ผู้ติดให้เป็นเอกภาพ บก.ทหารสูงสุด ได้จัดโครงการ "ปรับเจตนคติและการปฏิบัติของสังคมต่อผู้เสพยาเสพติด" ภายใต้โครงการค่ายพุทธธรรมสร้างภูมิคุ้มกันเยาวชน ห้วง 15-24 กรกฎาคม 2547 จำนวน 10 รุ่น ๆ ละ 200 คน รวม 2,000 คน
กองทัพบก ได้จัดโครงการศูนย์ทะเบียนทหารติดยาเสพติด ฝกพ. ศตส.ทบ. ได้รวบรวมผลการตรวจสารเสพติดในปัสสาวะของทหารกองประจำการ จำนวน 29,824 นาย ตรวจพบสารเสพติด จำนวน 53 นาย คิดเป็นร้อยละ 0.18 ผลการตรวจมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการฝึกและการอบรมควบคู่กับการฝึกเป็นมาตรการหนึ่งในการป้องกันปัญหายาเสพติด และผลการดำเนินงานของศูนย์วิวัฒน์พลเมืองของ ทบ. จำนวน 8 ศูนย์ ได้รับผู้ที่ต้องคดียาเสพติด ซึ่งศาลตัดสินให้เข้าฝึกอบรมในลักษณะบังคับบำบัด ยอดเดิม 870 คน รับเพิ่ม 16 คน จำหน่าย 14 คน รวม 872 คน
กองทัพเรือ ได้เปิดโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองกองทัพเรือแบบบังคับบำบัด โดยรับผู้เข้ารับการบำบัดจากกรมคุมประพฤติ จำนวน 343 คน
กองทัพอากาศ ดำเนินการศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ มีผู้เข้ารับการบำบัด จำนวน 400 คน
4. รับทราบผลลการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดตาม Roadmap ระยะที่ 3 ของ ศตส. กทม. ระหว่างวันที่ ธันวาคม สิงหาคม ในด้านการแก้ไขปัญหาตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด ด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติด ด้านการแก้ไขในกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติดด้านการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ
5. รับทราบสถานการณ์ยาเสพติดประเทศไทยเดือนกรกฎาคม 2547โดยสรุปสถานการณ์ยังไม่น่าไว้วางใจ ยาบ้ารอลักลอบนำเข้าบริเวณชายแดนเพื่อจำหน่ายให้ลูกค้า สำหรับเฮโรอีน จะนำออกไปสู่ตลาดโลก โดยใช้ไทยซึ่งเป็น 1 ใน 4 ประเทศเป็น ทางผ่าน สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาด จำนวนผู้เข้ารับการบำบัดรักษา รายใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2547 เป็นต้นมา
ที่ประชุมเห็นชอบ Roadmap การต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด ระยะที่ 4 ปี 2548 โดยมีสาระสำคัญ
เป้าหมาย มุ่งที่จะเอาชนะปัญหายาเสพติดให้ได้อย่างยั่งยืนและมีระบบเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยยุทธศาสตร์หลัก 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด (Supply) ยุทธศาสตร์การแก้ไขผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand) ยุทธศาสตร์การป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด (Potential Demand) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ประชุมเห็นชอบ "ปฏิบัติการพลังแผ่นดิน. . . ร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 2 (4 ตุลาคม - 3 ธันวาคม 2547)"
ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางการบูรณาการแผนและงบประมาณในปี พ.ศ. 2548
ที่ประชุมเห็นชอบมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการปราบปรามการลักลอบค้ายาเสพติดและการก่ออาชญากรรมของชาวต่างชาติในไทย
ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางการประสานคดียาเสพติดรายสำคัญ กำหนดกรอบแนวทางปฏิบัติในการประสานคดียาเสพติดรายสำคัญ ระหว่างพนักงานสืบสวน พนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการ เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้จะได้จัดทำเป็นคำสั่ง ศตส. ต่อไป
2. ผลการดำเนินงานด้านอื่น ๆ
การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบ ซึ่งไม่สอดคล้องหรือเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป อันเป็นอุปสรรคต่อการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดโดยรวม
1. การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายและระเบียบที่ใช้บังคับในปัจจุบัน
1.1 ร่างพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. . . . .
1.2 ร่างพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด (ฉบับที่ . .) พ.ศ. . . . .
1.3 ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย (ฉบับที่ . .) พ.ศ. . . . .
1.4 ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วย ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. . . . .
1.5 ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1
2. การยกร่างกฎหมายใหม่และกระบวนการดำเนินคดีโดยวิธีพิเศษ
2.1 กฎหมายว่าด้วยความร่วมมือของผู้กระทำผิดในคดีอาญา
2.2 กฎหมายว่าด้วยการชะลอการฟ้อง
2.3 กฎหมายว่าด้วยการต่อต้านองค์การอาชญากรรม หรือ RICO (Racketeer influence and Corrupt Organization Act)
2.4 ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. . . . .
การพิจารณจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด ปีงบประมาณ 2547 รวมจำนวน 2,570 คดี เป็นเงินที่จ่ายทั้งสิ้น 95,651,021 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2547)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-