คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมจังหวัดจันทบุรีอย่างบูรณาการตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
1. มาตรการแก้ไขตามแผนระยะเร่งด่วน ประกอบด้วยงานขุดลอกลำน้ำเดิม พร้อมทั้งก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ รวม 8 โครงการ ซึ่งขณะนี้จังหวัดจันทบุรีได้ดำเนินการไปแล้ว 2 โครงการ คือ งานขุดลอกแม่น้ำจันทบุรีช่วงตัวเมืองไปจรดปากแม่น้ำยาวประมาณ 8 กิโลเมตร และขุดลอกคลองข่าจากจุดบรรจบแม่น้ำจันทบุรีทางตอนเหนือตัวเมืองไปจรดสะพานหนองรียาวประมาณ 9 กิโลเมตร ส่วนโครงการที่เหลืออยู่ระหว่างการดำเนินการของจังหวัด
2. มาตรการแก้ไขตามแผนระยะต่อไป ประกอบด้วยงานขุดขยายคลองข่าช่วงอ้อมเมือง เพื่อให้สามารถผันน้ำได้มากขึ้น พร้อมก่อสร้างอาคารประกอบและเปิดขยายช่องสะพานบนถนนสายขวางการไหลของน้ำอีก 7 แห่ง โดยเฉพาะถนนตรีรัตน์และทางหลวงหมายเลข 3150 และขยายคลองข่าช่วงสุดท้ายลงสู่ทะเลพร้อมอาคารประกอบเพิ่มเติม
3. การดำเนินการงานขุดขยายคลองข่า ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จทั้งสายคลองยาวประมาณ 12.1กิโลเมตร พร้อมทั้งอาคารประกอบประเภทประตูระบายน้ำและสะพานข้ามคลอง แต่การดำเนินการขุดขยายคลองนั้นต้องมีการเวนคืนที่ดิน ทำให้ราคาค่าก่อสร้างค่อนข้างสูง จึงต้องปรับรูปแบบของคลองระบายด้วยการลดการก่อสร้างถนนทางฝั่งซ้ายของคลองให้คงเหลือเฉพาะเขตคลองเพื่อการซ่อมบำรุงเท่านั้น ซึ่งสามารถลดเขตคลองได้ไม่ต่ำกว่า 20 เมตรและพิจารณาก่อสร้างเฉพาะช่วงป้องกันพื้นที่ชุมชนซึ่งจะช่วยลดค่าก่อสร้างได้ไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งลดปัญหาทางสังคมได้ด้วย โดยมอบหมายให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ดำเนินการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร(Check Dam) เพื่อชะลอน้ำ และให้กรมโยธาธิการและผังเมืองพิจารณามาตรการด้านผังเมืองควบคู่กันไปด้วย โดยทางหน่วยงานที่รับผิดชอบจะได้นำไปประกอบการพิจารณาในการออกแบบรายละเอียดเสนอต่อไป และมอบหมายให้ผู้เกี่ยวข้องนำมาตรการต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นประสานในรายละเอียด รวมทั้งปรับลดแบบให้ราคาโครงการเป็นไปด้วยความประหยัด เพื่อจะได้นำเสนอของบประมาณสนับสนุนในการก่อสร้างต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. มาตรการแก้ไขตามแผนระยะเร่งด่วน ประกอบด้วยงานขุดลอกลำน้ำเดิม พร้อมทั้งก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ รวม 8 โครงการ ซึ่งขณะนี้จังหวัดจันทบุรีได้ดำเนินการไปแล้ว 2 โครงการ คือ งานขุดลอกแม่น้ำจันทบุรีช่วงตัวเมืองไปจรดปากแม่น้ำยาวประมาณ 8 กิโลเมตร และขุดลอกคลองข่าจากจุดบรรจบแม่น้ำจันทบุรีทางตอนเหนือตัวเมืองไปจรดสะพานหนองรียาวประมาณ 9 กิโลเมตร ส่วนโครงการที่เหลืออยู่ระหว่างการดำเนินการของจังหวัด
2. มาตรการแก้ไขตามแผนระยะต่อไป ประกอบด้วยงานขุดขยายคลองข่าช่วงอ้อมเมือง เพื่อให้สามารถผันน้ำได้มากขึ้น พร้อมก่อสร้างอาคารประกอบและเปิดขยายช่องสะพานบนถนนสายขวางการไหลของน้ำอีก 7 แห่ง โดยเฉพาะถนนตรีรัตน์และทางหลวงหมายเลข 3150 และขยายคลองข่าช่วงสุดท้ายลงสู่ทะเลพร้อมอาคารประกอบเพิ่มเติม
3. การดำเนินการงานขุดขยายคลองข่า ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จทั้งสายคลองยาวประมาณ 12.1กิโลเมตร พร้อมทั้งอาคารประกอบประเภทประตูระบายน้ำและสะพานข้ามคลอง แต่การดำเนินการขุดขยายคลองนั้นต้องมีการเวนคืนที่ดิน ทำให้ราคาค่าก่อสร้างค่อนข้างสูง จึงต้องปรับรูปแบบของคลองระบายด้วยการลดการก่อสร้างถนนทางฝั่งซ้ายของคลองให้คงเหลือเฉพาะเขตคลองเพื่อการซ่อมบำรุงเท่านั้น ซึ่งสามารถลดเขตคลองได้ไม่ต่ำกว่า 20 เมตรและพิจารณาก่อสร้างเฉพาะช่วงป้องกันพื้นที่ชุมชนซึ่งจะช่วยลดค่าก่อสร้างได้ไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งลดปัญหาทางสังคมได้ด้วย โดยมอบหมายให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ดำเนินการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร(Check Dam) เพื่อชะลอน้ำ และให้กรมโยธาธิการและผังเมืองพิจารณามาตรการด้านผังเมืองควบคู่กันไปด้วย โดยทางหน่วยงานที่รับผิดชอบจะได้นำไปประกอบการพิจารณาในการออกแบบรายละเอียดเสนอต่อไป และมอบหมายให้ผู้เกี่ยวข้องนำมาตรการต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นประสานในรายละเอียด รวมทั้งปรับลดแบบให้ราคาโครงการเป็นไปด้วยความประหยัด เพื่อจะได้นำเสนอของบประมาณสนับสนุนในการก่อสร้างต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-