คณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่อง Roadmap การต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดระยะที่ 4 (พ.ศ. 2548) ตามที่ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ /สำนักงาน ป.ป.ส. เสนอ ดังนี้
1. เป้าหมาย มุ่งที่จะเอาชนะปัญหายาเสพติดให้ได้อย่างยั่งยืนและมีระบบเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดที่มีประสิทธิภาพ
2. แนวความคิด
1) มุ่งทำลายเงื่อนไขฝ่ายตรงข้ามให้หมดไป และเสริมสร้างความเข้มแข็งของฝ่ายเรา
2) มุ่งพัฒนาระบบเฝ้าระวังและสร้างความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหา
3. ยุทธศาสตร์การต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่
3.1 ยุทธศาสตร์การควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด (Supply) เน้นการดำเนินการเชิงรุกในพื้นที่นอกประเทศ เพื่อลดปริมาณการผลิตและยุติการผลิตยาเสพติดในประเทศเพื่อนบ้าน สกัดกั้นการนำเข้ายาเสพติดในพื้นที่ชายแดนและเส้นทางคมนาคมสำคัญภายในประเทศสืบสวนจับกุมดำเนินคดีกับผู้ค้ายาเสพติดและเครือข่ายโดยเด็ดขาด ควบคู่ไปกับการปราบปรามผู้มีอิทธิพล เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ดำเนินการด้านมาตรการยึดทรัพย์สินและภาษีอากร และระบบเฝ้าระวังการค้ายาเสพติดชนิดใหม่
3.2 ยุทธศาสตร์การป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด (Potential Demand) เน้นไปที่การรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดในทุกกลุ่มประชากร การสร้างภูมิต้านทานยาเสพติด โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน นักเรียน นักศึกษา การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการเอาชนะยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน สถานศึกษา และสถานประกอบการ การจัดระบบเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดอย่างมีประสิทธิภาพ
3.3 ยุทธศาสตร์การแก้ไขผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand) เน้นการลดจำนวนผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด และให้ความช่วยเหลือดูแล พัฒนาผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูให้มีอาชีพ/รายได้ ให้ได้รับการยอมรับและดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข ใช้มาตรการพิเศษในการบำบัดฟื้นฟูดูแลผู้ติดยาเสพติดหนักหรือเรื้อรัง ให้ได้รับการฟื้นฟูดูแลระยะยาว และมีระบบเฝ้าระวังการเสพ/ติด ยาเสพติด
3.4 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ เน้นการพัฒนา ศตส. ทุกระดับให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การบูรณาการแผนงาน โครงการ และงบประมาณในพื้นที่ การตรวจติดตามผลและการพัฒนาระบบเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด
4. มาตรการสำคัญ ประกอบด้วย
4.1 ยุทธศาสตร์การควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด
- การยุติแหล่งผลิตนอกประเทศ
- การสกัดกั้นการนำเข้ายาเสพติด
- การทำลายเครือข่ายการค้า/นักค้าสำคัญ/ผู้มีอิทธิพล/เจ้าหน้าที่ของรัฐ
- การควบคุมการแพร่ระบาด
- การควบคุมไม่ให้มียาเสพติดชนิดใหม่แพร่ระบาด
4.2 ยุทธศาสตร์การป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด
- การสร้างภูมิต้านทานยาเสพติด
- การสร้างชุมชนเข้มแข็งและพลังแผ่นดิน
- การส่งเสริมสถานศึกษาให้เอาชนะปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน
- การส่งเสริมให้สถานประกอบการเอาชนะปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน
4.3 ยุทธศาสตร์การแก้ไขผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
- การค้นหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด จัดทำทะเบียนและจำแนกประเภท
- การบำบัดฟื้นฟูผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
- การบำบัดฟื้นฟูและควบคุมผู้ติดยาเสพติดหนักหรือเรื้อรัง (Hard Core)
- การให้ความช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ให้มีอาชีพ/รายได้
- การรณรงค์ปรับเปลี่ยนเจตคติให้สังคมยอมรับ และให้โอกาสผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
4.4 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ
- การดำรงความเข้มแข็งในการปฏิบัติงานของ ศตส. ทุกระดับ
- การบูรณาการแผนงาน/งบประมาณ การดำเนินการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด
- การอำนวยการ เร่งรัด กำกับ ติดตามและประเมินผล
5. การปฏิบัติ ให้ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดทุกระดับ กระทรวง กรม ส่วนราชการ ภาคเอกชน / ภาคประชาชน ทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง แปลง Roadmap การต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดระยะที่ 4 ไปสู่การปฏิบัติในรายละเอียด ในรูปของแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม หรืออื่น ๆ ตามอำนาจหน้าที่ หรือที่กำหนดไว้ตาม Roadmap
6. ระยะเวลา Roadmap การต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดระยะที่ 4 มีระยะเวลาในการปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. เป้าหมาย มุ่งที่จะเอาชนะปัญหายาเสพติดให้ได้อย่างยั่งยืนและมีระบบเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดที่มีประสิทธิภาพ
2. แนวความคิด
1) มุ่งทำลายเงื่อนไขฝ่ายตรงข้ามให้หมดไป และเสริมสร้างความเข้มแข็งของฝ่ายเรา
2) มุ่งพัฒนาระบบเฝ้าระวังและสร้างความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหา
3. ยุทธศาสตร์การต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่
3.1 ยุทธศาสตร์การควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด (Supply) เน้นการดำเนินการเชิงรุกในพื้นที่นอกประเทศ เพื่อลดปริมาณการผลิตและยุติการผลิตยาเสพติดในประเทศเพื่อนบ้าน สกัดกั้นการนำเข้ายาเสพติดในพื้นที่ชายแดนและเส้นทางคมนาคมสำคัญภายในประเทศสืบสวนจับกุมดำเนินคดีกับผู้ค้ายาเสพติดและเครือข่ายโดยเด็ดขาด ควบคู่ไปกับการปราบปรามผู้มีอิทธิพล เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ดำเนินการด้านมาตรการยึดทรัพย์สินและภาษีอากร และระบบเฝ้าระวังการค้ายาเสพติดชนิดใหม่
3.2 ยุทธศาสตร์การป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด (Potential Demand) เน้นไปที่การรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดในทุกกลุ่มประชากร การสร้างภูมิต้านทานยาเสพติด โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน นักเรียน นักศึกษา การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการเอาชนะยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน สถานศึกษา และสถานประกอบการ การจัดระบบเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดอย่างมีประสิทธิภาพ
3.3 ยุทธศาสตร์การแก้ไขผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand) เน้นการลดจำนวนผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด และให้ความช่วยเหลือดูแล พัฒนาผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูให้มีอาชีพ/รายได้ ให้ได้รับการยอมรับและดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข ใช้มาตรการพิเศษในการบำบัดฟื้นฟูดูแลผู้ติดยาเสพติดหนักหรือเรื้อรัง ให้ได้รับการฟื้นฟูดูแลระยะยาว และมีระบบเฝ้าระวังการเสพ/ติด ยาเสพติด
3.4 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ เน้นการพัฒนา ศตส. ทุกระดับให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การบูรณาการแผนงาน โครงการ และงบประมาณในพื้นที่ การตรวจติดตามผลและการพัฒนาระบบเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด
4. มาตรการสำคัญ ประกอบด้วย
4.1 ยุทธศาสตร์การควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด
- การยุติแหล่งผลิตนอกประเทศ
- การสกัดกั้นการนำเข้ายาเสพติด
- การทำลายเครือข่ายการค้า/นักค้าสำคัญ/ผู้มีอิทธิพล/เจ้าหน้าที่ของรัฐ
- การควบคุมการแพร่ระบาด
- การควบคุมไม่ให้มียาเสพติดชนิดใหม่แพร่ระบาด
4.2 ยุทธศาสตร์การป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด
- การสร้างภูมิต้านทานยาเสพติด
- การสร้างชุมชนเข้มแข็งและพลังแผ่นดิน
- การส่งเสริมสถานศึกษาให้เอาชนะปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน
- การส่งเสริมให้สถานประกอบการเอาชนะปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน
4.3 ยุทธศาสตร์การแก้ไขผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
- การค้นหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด จัดทำทะเบียนและจำแนกประเภท
- การบำบัดฟื้นฟูผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
- การบำบัดฟื้นฟูและควบคุมผู้ติดยาเสพติดหนักหรือเรื้อรัง (Hard Core)
- การให้ความช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ให้มีอาชีพ/รายได้
- การรณรงค์ปรับเปลี่ยนเจตคติให้สังคมยอมรับ และให้โอกาสผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
4.4 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ
- การดำรงความเข้มแข็งในการปฏิบัติงานของ ศตส. ทุกระดับ
- การบูรณาการแผนงาน/งบประมาณ การดำเนินการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด
- การอำนวยการ เร่งรัด กำกับ ติดตามและประเมินผล
5. การปฏิบัติ ให้ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดทุกระดับ กระทรวง กรม ส่วนราชการ ภาคเอกชน / ภาคประชาชน ทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง แปลง Roadmap การต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดระยะที่ 4 ไปสู่การปฏิบัติในรายละเอียด ในรูปของแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม หรืออื่น ๆ ตามอำนาจหน้าที่ หรือที่กำหนดไว้ตาม Roadmap
6. ระยะเวลา Roadmap การต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดระยะที่ 4 มีระยะเวลาในการปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-