แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงการคลัง
คณะรัฐมนตรี
ภาษีที่ดิน
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี (การปรับปรุงระบบภาษีที่ดิน) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และมอบให้กระทรวงการคลังไปหารือร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย (กรมที่ดิน) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และมูลนิธิสถาบันที่ดินเกี่ยวกับความเหมาะสมที่จะยุติการจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้าตามขนาดการถือครอง แล้วเสนอคณะรัฐมนตรี
กระทรวงการคลังได้รายงานผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีที่มอบให้กระทรวงการคลังศึกษาความเหมาะสมในการปรับปรุงระบบและวิธีการจัดเก็บภาษีที่ดิน จากเดิมที่จัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ มาเป็นการจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้าตามขนาดการถือครอง และให้กระทรวงการคลังพิจารณาให้ครอบคลุมไปถึงความจำเป็นเหมาะสมของการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีมรดกด้วย สรุปได้ดังนี้
1. การเสนอร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ขณะนี้อยู่ในระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2547 แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับและเตรียมความพร้อมในการนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดความพร้อมในการนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้แทนภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่
2. การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้าตามขนาดการถือครองตามข้อเสนอของมูลนิธิสถาบันที่ดิน
กระทรวงการคลังพิจารณาผลการศึกษาดังกล่าวแล้ว มีความเห็นดังนี้
1) การจัดเก็บมีลักษณะรวมศูนย์ กล่าวคือ รัฐบาลกลางเป็นผู้กำหนดอัตราภาษี ซึ่งอาจทำให้ไม่ตรงกับความต้องการใช้ประโยชน์ที่ดินในแต่ละพื้นที่
2) การยอมให้นำเนื้อที่ดินที่มีมูลค่าราคาประเมินสูงสุดในแต่ละประเภทมาใช้หักลดหย่อนจำนวนที่ดินที่ต้องเสียภาษีทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเมืองได้รับรายได้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
3) การกำหนดอัตราภาษีที่สูงเกินควร คือ อัตราตั้งแต่ร้อยละ 1 จนถึงสูงสุดร้อยละ 2 ลดหลั่นกันตามขนาดการถือครองที่ดินนั้น อาจจะทำให้ไม่เกิดแรงจูงใจในการนำที่ดินมาใช้ประโยชน์
4) วิธีการคำนวณภาษีมีความสลับซับซ้อนและขาดกลไกในการตรวจสอบ ยิ่งกรณีที่ระบบข้อมูลที่ดินและการใช้ประโยชน์ยังไม่ดีพอ จะมีความยากแก่การตรวจสอบเป็นอย่างมาก
ดังนั้น จึงเห็นว่า การจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้าตามขนาดการถือครองตามข้อเสนอของมูลนิธิสถาบันที่ดินไม่มีความจำเป็น สมควรยุติแผนงานย่อยนี้แต่ควรเร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นภาษีท้องถิ่น (Local Tax) ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว เนื่องจากสามารถช่วยให้เกิดการกระจายถือครองที่ดินได้ในระดับหนึ่ง และกระตุ้นให้ใช้ที่ดินที่เกิดประโยชน์มากขึ้น โดยเพิ่มบทลงโทษกรณีทิ้งที่ดินว่างเปล่าเกิน 5 ปี เพิ่มขึ้นอีกเพื่อลดการกักตุนที่ดินเพื่อเก็งกำไร
3. ภาษีมรดก กระทรวงการคลังจะทำการศึกษาในรายละเอียดเกี่ยวกับหลักในการจัดเก็บ วิธีการจัดเก็บและอัตราภาษีที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามบทบาทหน้าที่ของระบบภาษีทรัพย์สินที่ดีต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงการคลังได้รายงานผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีที่มอบให้กระทรวงการคลังศึกษาความเหมาะสมในการปรับปรุงระบบและวิธีการจัดเก็บภาษีที่ดิน จากเดิมที่จัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ มาเป็นการจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้าตามขนาดการถือครอง และให้กระทรวงการคลังพิจารณาให้ครอบคลุมไปถึงความจำเป็นเหมาะสมของการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีมรดกด้วย สรุปได้ดังนี้
1. การเสนอร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ขณะนี้อยู่ในระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2547 แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับและเตรียมความพร้อมในการนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดความพร้อมในการนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้แทนภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่
2. การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้าตามขนาดการถือครองตามข้อเสนอของมูลนิธิสถาบันที่ดิน
กระทรวงการคลังพิจารณาผลการศึกษาดังกล่าวแล้ว มีความเห็นดังนี้
1) การจัดเก็บมีลักษณะรวมศูนย์ กล่าวคือ รัฐบาลกลางเป็นผู้กำหนดอัตราภาษี ซึ่งอาจทำให้ไม่ตรงกับความต้องการใช้ประโยชน์ที่ดินในแต่ละพื้นที่
2) การยอมให้นำเนื้อที่ดินที่มีมูลค่าราคาประเมินสูงสุดในแต่ละประเภทมาใช้หักลดหย่อนจำนวนที่ดินที่ต้องเสียภาษีทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเมืองได้รับรายได้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
3) การกำหนดอัตราภาษีที่สูงเกินควร คือ อัตราตั้งแต่ร้อยละ 1 จนถึงสูงสุดร้อยละ 2 ลดหลั่นกันตามขนาดการถือครองที่ดินนั้น อาจจะทำให้ไม่เกิดแรงจูงใจในการนำที่ดินมาใช้ประโยชน์
4) วิธีการคำนวณภาษีมีความสลับซับซ้อนและขาดกลไกในการตรวจสอบ ยิ่งกรณีที่ระบบข้อมูลที่ดินและการใช้ประโยชน์ยังไม่ดีพอ จะมีความยากแก่การตรวจสอบเป็นอย่างมาก
ดังนั้น จึงเห็นว่า การจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้าตามขนาดการถือครองตามข้อเสนอของมูลนิธิสถาบันที่ดินไม่มีความจำเป็น สมควรยุติแผนงานย่อยนี้แต่ควรเร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นภาษีท้องถิ่น (Local Tax) ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว เนื่องจากสามารถช่วยให้เกิดการกระจายถือครองที่ดินได้ในระดับหนึ่ง และกระตุ้นให้ใช้ที่ดินที่เกิดประโยชน์มากขึ้น โดยเพิ่มบทลงโทษกรณีทิ้งที่ดินว่างเปล่าเกิน 5 ปี เพิ่มขึ้นอีกเพื่อลดการกักตุนที่ดินเพื่อเก็งกำไร
3. ภาษีมรดก กระทรวงการคลังจะทำการศึกษาในรายละเอียดเกี่ยวกับหลักในการจัดเก็บ วิธีการจัดเก็บและอัตราภาษีที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามบทบาทหน้าที่ของระบบภาษีทรัพย์สินที่ดีต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-