คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย (ครั้งที่ 7) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอดังนี้
กระทรวงมหาดไทย โดยศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนกระทรวงมหาดไทย (ศตจ.มท.) ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบอย่างต่อเนื่อง ประสานการปฏิบัติงานกับกระทรวงการคลัง โดยศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนอย่างใกล้ชิด วางกรอบการปฏิบัติงานให้กับ ศตจ.จังหวัด เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานให้กับทีมเจรจา ซึ่งเป็นผลให้การเจรจาประนอมหนี้ระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม
1. ณ วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2547 ศตจ.มท. ได้รับรายงานผลการดำเนินงานจาก ศตจ.จังหวัด 75 จังหวัดว่า ได้เชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้เข้าสู่กระบวนการเจรจาประนอมหนี้แล้ว ร้อยละ 98.36 ของเป้าหมาย (ที่มาจดทะเบียน) จำนวน 1,657,895 ราย มูลหนี้ 113,345,112,950 บาท ในจำนวนนี้
1.1 ได้ข้อยุติ (ร้อยละ 97.24 ของที่มาเจรจา) จำนวน 1,612,112 ราย มูลหนี้ 108,301,979,661 บาท
1.2 ยังไม่ได้ข้อยุติ (ร้อยละ 2.76 ของที่มาเจรจา) จำนวน 45,783 ราย มูลหนี้ 5,043,133,289 บาท
2. ศตจ.กทม. ได้รายงานผลการเจรจาหนี้สินนอกระบบ ให้ทราบว่า ได้เชิญมาเจรจา 61,903 ราย (ร้อยละ 85.00 ของเป้าหมาย) มูลหนี้ 7,266,375 บาท การเจรจาได้ข้อยุติ 55,886 ราย (ร้อยละ 90.28 ที่มาเจรจา) มูลหนี้ 6,748,963,061 บาท
3. สำหรับ ศตจ.จังหวัด ที่ได้เชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้เข้าสู่กระบวนการเจรจาประนอมหนี้ครบถ้วน จำนวน 38 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพังงา ยโสธร กาฬสินธ์ นครศรีธรรมราช ภูเก็ต พะเยา ขอนแก่น สงขลา ร้อยเอ็ด ตรัง สตูล ระนอง พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา ราชบุรี เพชรบูรณ์ ลำปาง นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สิงห์บุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว นครพนม บุรีรัมย์ เลย ศรีสะเกษ สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู ตาก น่าน พิษณุโลก แพร่ อุตรดิตถ์ และจังหวัดชุมพร สำหรับจังหวัดที่เหลือ จะดำเนินการแล้วเสร็จครบถ้วนภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 2547 ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
4. กรณีพื้นที่ที่อยู่ในเขตเมืองบางแห่งที่มีลูกหนี้ เจ้าหนี้ และมูลหนี้จำนวนมาก อาจประสบปัญหาการ ข่มขู่ การทำร้ายร่างกายจนบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิต ศตจ.มท.ได้ตระหนักและกำชับให้ ศตจ.จังหวัด/อำเภอ เร่งรัดการสืบสวน สอบสวน จับกุมผู้กระทำผิด และรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขยายผลการดำเนินคดีให้ถึงที่สุด โดยใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าควบคุมและดำเนินการในกระบวนการของสรรพากร และปปง. เนื่องจากพฤติการณ์ดังกล่าวเข้าข่ายเป็น ผู้มีอิทธิผล หากตรวจสอบพบว่ามีความสลับซับซ้อนของปัญหาและผูกโยงต่อเนื่องกับผู้มีอิทธิพลนอกพื้นที่หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ของจังหวัด ส่วนกลางจะพิจารณาจัดทีมเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาเป็นกรณีพิเศษต่อไป
5. เนื่องจากรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนลำดับแรกในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนทั้งระบบ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาด้านอื่น ๆ เพราะแต่ละปัญหามีความเชื่อมโยงถึงกัน ศตจ.มท. จึงจะได้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาค ประชาชน ในด้านผลผลิต และผลลัพธ์ การบริหารจัดการ ตลอดจนความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหา รวมทั้งปัญหาอุปสรรคการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการและแนวทาง/มาตรการแก้ไขปัญหาให้เกิดประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงมหาดไทย โดยศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนกระทรวงมหาดไทย (ศตจ.มท.) ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบอย่างต่อเนื่อง ประสานการปฏิบัติงานกับกระทรวงการคลัง โดยศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนอย่างใกล้ชิด วางกรอบการปฏิบัติงานให้กับ ศตจ.จังหวัด เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานให้กับทีมเจรจา ซึ่งเป็นผลให้การเจรจาประนอมหนี้ระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม
1. ณ วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2547 ศตจ.มท. ได้รับรายงานผลการดำเนินงานจาก ศตจ.จังหวัด 75 จังหวัดว่า ได้เชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้เข้าสู่กระบวนการเจรจาประนอมหนี้แล้ว ร้อยละ 98.36 ของเป้าหมาย (ที่มาจดทะเบียน) จำนวน 1,657,895 ราย มูลหนี้ 113,345,112,950 บาท ในจำนวนนี้
1.1 ได้ข้อยุติ (ร้อยละ 97.24 ของที่มาเจรจา) จำนวน 1,612,112 ราย มูลหนี้ 108,301,979,661 บาท
1.2 ยังไม่ได้ข้อยุติ (ร้อยละ 2.76 ของที่มาเจรจา) จำนวน 45,783 ราย มูลหนี้ 5,043,133,289 บาท
2. ศตจ.กทม. ได้รายงานผลการเจรจาหนี้สินนอกระบบ ให้ทราบว่า ได้เชิญมาเจรจา 61,903 ราย (ร้อยละ 85.00 ของเป้าหมาย) มูลหนี้ 7,266,375 บาท การเจรจาได้ข้อยุติ 55,886 ราย (ร้อยละ 90.28 ที่มาเจรจา) มูลหนี้ 6,748,963,061 บาท
3. สำหรับ ศตจ.จังหวัด ที่ได้เชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้เข้าสู่กระบวนการเจรจาประนอมหนี้ครบถ้วน จำนวน 38 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพังงา ยโสธร กาฬสินธ์ นครศรีธรรมราช ภูเก็ต พะเยา ขอนแก่น สงขลา ร้อยเอ็ด ตรัง สตูล ระนอง พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา ราชบุรี เพชรบูรณ์ ลำปาง นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สิงห์บุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว นครพนม บุรีรัมย์ เลย ศรีสะเกษ สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู ตาก น่าน พิษณุโลก แพร่ อุตรดิตถ์ และจังหวัดชุมพร สำหรับจังหวัดที่เหลือ จะดำเนินการแล้วเสร็จครบถ้วนภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 2547 ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
4. กรณีพื้นที่ที่อยู่ในเขตเมืองบางแห่งที่มีลูกหนี้ เจ้าหนี้ และมูลหนี้จำนวนมาก อาจประสบปัญหาการ ข่มขู่ การทำร้ายร่างกายจนบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิต ศตจ.มท.ได้ตระหนักและกำชับให้ ศตจ.จังหวัด/อำเภอ เร่งรัดการสืบสวน สอบสวน จับกุมผู้กระทำผิด และรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขยายผลการดำเนินคดีให้ถึงที่สุด โดยใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าควบคุมและดำเนินการในกระบวนการของสรรพากร และปปง. เนื่องจากพฤติการณ์ดังกล่าวเข้าข่ายเป็น ผู้มีอิทธิผล หากตรวจสอบพบว่ามีความสลับซับซ้อนของปัญหาและผูกโยงต่อเนื่องกับผู้มีอิทธิพลนอกพื้นที่หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ของจังหวัด ส่วนกลางจะพิจารณาจัดทีมเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาเป็นกรณีพิเศษต่อไป
5. เนื่องจากรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนลำดับแรกในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนทั้งระบบ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาด้านอื่น ๆ เพราะแต่ละปัญหามีความเชื่อมโยงถึงกัน ศตจ.มท. จึงจะได้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาค ประชาชน ในด้านผลผลิต และผลลัพธ์ การบริหารจัดการ ตลอดจนความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหา รวมทั้งปัญหาอุปสรรคการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการและแนวทาง/มาตรการแก้ไขปัญหาให้เกิดประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 สิงหาคม 2547--จบ--
-กภ-