คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารายงานการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในเขตจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ดังนี้
จังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่ประสบภัย 9 อำเภอ แบ่งเป็น 78 ตำบล 587 หมู่บ้าน มีราษฎรได้รับความเดือดร้อน 49,040 ครัวเรือน รวมประชากรจำนวน 163,776 คน พื้นที่เกษตรได้รับความเสียหายรวมทั้งหมด 86,952.75 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่นาจำนวน 67,427.25 ไร่ พื้นที่ไร่จำนวน 18,558.50 ไร่ พื้นที่สวนจำนวน 967 ไร่ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเป็นเงินจำนวน 18,865,017 บาท โดยทางจังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือ ดังนี้
- การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 19 เครื่อง ซ่อม/สร้าง ทำนบ/ฝาย จำนวน 67 แห่ง การขุดลอกแหล่งน้ำ จำนวน 14 แห่ง
- การแจกจ่ายน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค มีรถบรรทุกน้ำ จำนวน 36 คัน ออกให้บริการจำนวน 1,937 เที่ยว มีปริมาณน้ำแจกจ่ายทั้งหมดจำนวน 17,845,000 ลิตร
- งบประมาณที่จ่ายช่วยเหลือเกษตรกร ประกอบด้วย งบทดรองฉุกเฉิน จำนวน 555,171 บาท งบฉุกเฉินท้องถิ่น จำนวน 4,133,551 บาท และงบอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 7,112,684 บาท
พื้นที่การเกษตรที่เสียหาย (ช่วง กันยายน — ธันวาคม 2547) เกษตรจังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือแล้วเป็นเงินจำนวน 13,093,688 บาท รวมพื้นที่จำนวน 52,257.75 ไร่
สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ตั้งฐานปฏิบัติการที่กองบิน 46 พิษณุโลก โดยเริ่มปฏิบัติการทำฝนหลวงในพื้นที่เป้าหมายของจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 1 — 27 เมษายน 2548 ผลปฏิบัติการฝนตกเล็กน้อย ระหว่างวันที่ 2 — 5 เมษายน 2548 มีฝนตกปานกลางทั่วจังหวัด (เนื่องจากอิทธิพลร่องความกดอากาศต่ำ) ทำให้ราษฎรมีน้ำอุปโภค บริโภค พอประมาณ และพื้นที่การเกษตรลดความเสียหายลงบางส่วน
จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 10 อำเภอ ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 22,114 คน พื้นที่เกษตรได้รับความเสียหายรวมทั้งหมดจำนวน 319,378.50 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่นาจำนวน 235,253.50 ไร่ พื้นที่ไร่จำนวน 82,902 ไร่ พื้นที่สวนจำนวน 1,223 ไร่ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเป็นเงินจำนวน 81,576,565.50 บาท ทั้งนี้ ทางจังหวัดได้มีการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า แต่มิได้มุ่งหมายที่จะชดใช้ความเสียหายให้แก่ผู้ใด โดยช่วยเหลือเป็นเงินสด มีอัตราการช่วยเหลือเงินสด ตามอัตรามูลค่าเกณฑ์ช่วยเหลือด้านพืชที่คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์มาตรฐานการช่วยเหลือ ดังนี้
1. นาข้าวเสียหาย ช่วยเหลือไร่ละ 243 บาท
2. พืชไร่เสียหาย ช่วยเหลือไร่ละ 289 บาท
3. พืชสวนและอื่น ๆ เสียหาย ช่วยเหลือไร่ละ 369 บาท
การจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกร จ่ายผ่านสถาบันการเงิน (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) ซึ่งทางจังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรโดยใช้งบประมาณ ประกอบด้วย งบทดรองราชการ จำนวน 27,933,220.50 บาท งบกลาง จำนวน 47,822,578 บาท งบสนับสนุนจากจังหวัด จำนวน 5,820,767 บาท รวมทั้งสิ้น 81,576,565.50 บาท
จังหวัดพิจิตร พื้นที่ประสบภัย 9 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ แบ่งเป็น 71 ตำบล 575 หมู่บ้าน มีราษฎรได้รับความเดือดร้อน 36,306 ครัวเรือน รวมประชากรจำนวน 139,813 คน พื้นที่เกษตรได้รับความเสียหายรวมทั้งหมดจำนวน 176,849.75 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่นาจำนวน 150,245.25 ไร่ พื้นที่ไร่จำนวน 26,428.50 ไร่ พื้นที่สวนจำนวน 176 ไร่ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเป็นเงินจำนวน 44,212,376.25 บาท โดยทางจังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือดังนี้
- การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 2 เครื่อง ซึ่งมีขนาด 8 นิ้ว และ 12 นิ้ว สูบน้ำจากลำคลองลงพื้นที่นา ช่วยเหลือการเกษตรได้จำนวน 4,500 ไร่
- การแจกจ่ายน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค มีรถบรรทุกน้ำ จำนวน 20 คัน ออกให้บริการจำนวน 4,492 เที่ยว มีปริมาณน้ำแจกจ่ายทั้งหมดจำนวน 44,889,600 ลิตร
- งบประมาณที่จ่ายช่วยเหลือเกษตรกร ประกอบด้วย งบทดรองฉุกเฉิน จำนวน 2,658,968 บาท และงบฉุกเฉินท้องถิ่น จำนวน 48,952 บาท รวมทั้งสิ้น 2,707,920 บาท
สรุปการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรรวมทั้ง 3 จังหวัด เป็นเงินทั้งสิ้น 91,397,169.50 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--
จังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่ประสบภัย 9 อำเภอ แบ่งเป็น 78 ตำบล 587 หมู่บ้าน มีราษฎรได้รับความเดือดร้อน 49,040 ครัวเรือน รวมประชากรจำนวน 163,776 คน พื้นที่เกษตรได้รับความเสียหายรวมทั้งหมด 86,952.75 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่นาจำนวน 67,427.25 ไร่ พื้นที่ไร่จำนวน 18,558.50 ไร่ พื้นที่สวนจำนวน 967 ไร่ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเป็นเงินจำนวน 18,865,017 บาท โดยทางจังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือ ดังนี้
- การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 19 เครื่อง ซ่อม/สร้าง ทำนบ/ฝาย จำนวน 67 แห่ง การขุดลอกแหล่งน้ำ จำนวน 14 แห่ง
- การแจกจ่ายน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค มีรถบรรทุกน้ำ จำนวน 36 คัน ออกให้บริการจำนวน 1,937 เที่ยว มีปริมาณน้ำแจกจ่ายทั้งหมดจำนวน 17,845,000 ลิตร
- งบประมาณที่จ่ายช่วยเหลือเกษตรกร ประกอบด้วย งบทดรองฉุกเฉิน จำนวน 555,171 บาท งบฉุกเฉินท้องถิ่น จำนวน 4,133,551 บาท และงบอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 7,112,684 บาท
พื้นที่การเกษตรที่เสียหาย (ช่วง กันยายน — ธันวาคม 2547) เกษตรจังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือแล้วเป็นเงินจำนวน 13,093,688 บาท รวมพื้นที่จำนวน 52,257.75 ไร่
สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ตั้งฐานปฏิบัติการที่กองบิน 46 พิษณุโลก โดยเริ่มปฏิบัติการทำฝนหลวงในพื้นที่เป้าหมายของจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 1 — 27 เมษายน 2548 ผลปฏิบัติการฝนตกเล็กน้อย ระหว่างวันที่ 2 — 5 เมษายน 2548 มีฝนตกปานกลางทั่วจังหวัด (เนื่องจากอิทธิพลร่องความกดอากาศต่ำ) ทำให้ราษฎรมีน้ำอุปโภค บริโภค พอประมาณ และพื้นที่การเกษตรลดความเสียหายลงบางส่วน
จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 10 อำเภอ ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 22,114 คน พื้นที่เกษตรได้รับความเสียหายรวมทั้งหมดจำนวน 319,378.50 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่นาจำนวน 235,253.50 ไร่ พื้นที่ไร่จำนวน 82,902 ไร่ พื้นที่สวนจำนวน 1,223 ไร่ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเป็นเงินจำนวน 81,576,565.50 บาท ทั้งนี้ ทางจังหวัดได้มีการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า แต่มิได้มุ่งหมายที่จะชดใช้ความเสียหายให้แก่ผู้ใด โดยช่วยเหลือเป็นเงินสด มีอัตราการช่วยเหลือเงินสด ตามอัตรามูลค่าเกณฑ์ช่วยเหลือด้านพืชที่คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์มาตรฐานการช่วยเหลือ ดังนี้
1. นาข้าวเสียหาย ช่วยเหลือไร่ละ 243 บาท
2. พืชไร่เสียหาย ช่วยเหลือไร่ละ 289 บาท
3. พืชสวนและอื่น ๆ เสียหาย ช่วยเหลือไร่ละ 369 บาท
การจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกร จ่ายผ่านสถาบันการเงิน (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) ซึ่งทางจังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรโดยใช้งบประมาณ ประกอบด้วย งบทดรองราชการ จำนวน 27,933,220.50 บาท งบกลาง จำนวน 47,822,578 บาท งบสนับสนุนจากจังหวัด จำนวน 5,820,767 บาท รวมทั้งสิ้น 81,576,565.50 บาท
จังหวัดพิจิตร พื้นที่ประสบภัย 9 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ แบ่งเป็น 71 ตำบล 575 หมู่บ้าน มีราษฎรได้รับความเดือดร้อน 36,306 ครัวเรือน รวมประชากรจำนวน 139,813 คน พื้นที่เกษตรได้รับความเสียหายรวมทั้งหมดจำนวน 176,849.75 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่นาจำนวน 150,245.25 ไร่ พื้นที่ไร่จำนวน 26,428.50 ไร่ พื้นที่สวนจำนวน 176 ไร่ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเป็นเงินจำนวน 44,212,376.25 บาท โดยทางจังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือดังนี้
- การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 2 เครื่อง ซึ่งมีขนาด 8 นิ้ว และ 12 นิ้ว สูบน้ำจากลำคลองลงพื้นที่นา ช่วยเหลือการเกษตรได้จำนวน 4,500 ไร่
- การแจกจ่ายน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค มีรถบรรทุกน้ำ จำนวน 20 คัน ออกให้บริการจำนวน 4,492 เที่ยว มีปริมาณน้ำแจกจ่ายทั้งหมดจำนวน 44,889,600 ลิตร
- งบประมาณที่จ่ายช่วยเหลือเกษตรกร ประกอบด้วย งบทดรองฉุกเฉิน จำนวน 2,658,968 บาท และงบฉุกเฉินท้องถิ่น จำนวน 48,952 บาท รวมทั้งสิ้น 2,707,920 บาท
สรุปการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรรวมทั้ง 3 จังหวัด เป็นเงินทั้งสิ้น 91,397,169.50 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--