คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานสรุปความเป็นมาและผลการดำเนินงานเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างสวนสาธารณะ "เบญจกิติ" ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ - เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
- เพื่อเป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชน
2. ความเป็นมา - คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2534 เห็นชอบให้พัฒนาพื้นที่เดิมเป็น
สวนสาธารณะ
- สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชทานนามสวนสาธารณะ "เบญจกิติ"
- คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2539 ให้มีการออกแบบและพัฒนา
พื้นที่บริเวณโรงงานยาสูบเดิมเป็นสวนสาธารณะ
- ได้จัดจ้าง A.S.C. Consultant Co., Ltd. และ P.L. Design Co.,Ltd
เป็นผู้ออกแบบ
- ปี 2540 รัฐบาลได้ชะลอโครงการย้ายโรงงานยาสูบ และให้ก่อสร้างในส่วนแรกก่อน
- นายกรัฐมนตรี (พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร) เห็นชอบให้กระทรวงการคลัง
แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างฯ และมีบัญชาให้เร่งรัดดำเนินการจัดสร้าง
ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้ทันงานเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ
3. แนวความคิดในการออกแบบ
- ส่วนแรก บริเวณบึงน้ำเนื้อที่ 130 ไร่ ออกแบบเป็น สวนน้ำสมัยใหม่ "Water Front Development" เน้นการใช้ประโยชน์เพื่อเป็นสถานที่ออกกำลังกาย และการจัดกิจกรรมงานประเพณีต่าง ๆ
- ส่วนที่สอง เนื้อที่ 300 ไร่ ออกแบบเป็น สวนป่า โดยนำพันธุ์ไม้สำคัญจาก 4 ภาคพันธุ์ไม้หายาก และพันธุ์ไม้ในวรรณคดีมาปลูกในสวน เน้นความร่มรื่นและความเป็นป่าสมบูรณ์
4. ผลการดำเนินงาน
- ได้จัดทำบันทึกความร่วมมือให้กองทัพบกเป็นผู้ก่อสร้างสวนสาธารณะในส่วนแรก
- วงเงินค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 323.934 ล้านบาท โดยการสนับสนุนจากโรงงานยาสูบ 183.934 ล้านบาท กระทรวงการคลัง 140.000 ล้านบาท
- ขณะนี้งานก่อสร้างที่ดำเนินการโดยกองทัพบกเสร็จเรียบร้อยแล้ว คงเหลืองานก่อสร้างเพิ่มเติมที่คณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างฯ มีมติให้จัดสร้างเพิ่มเติมเพื่อให้สวนสาธารณะมีความสมบูรณ์และเหมาะสมยิ่งขึ้น รวม 3 รายการ คือ งานจัดสร้างประติมากรรม งานปรับระดับน้ำในบึง และงานจัดทำป้ายเพิ่มเติมคาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. วัตถุประสงค์ - เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
- เพื่อเป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชน
2. ความเป็นมา - คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2534 เห็นชอบให้พัฒนาพื้นที่เดิมเป็น
สวนสาธารณะ
- สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชทานนามสวนสาธารณะ "เบญจกิติ"
- คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2539 ให้มีการออกแบบและพัฒนา
พื้นที่บริเวณโรงงานยาสูบเดิมเป็นสวนสาธารณะ
- ได้จัดจ้าง A.S.C. Consultant Co., Ltd. และ P.L. Design Co.,Ltd
เป็นผู้ออกแบบ
- ปี 2540 รัฐบาลได้ชะลอโครงการย้ายโรงงานยาสูบ และให้ก่อสร้างในส่วนแรกก่อน
- นายกรัฐมนตรี (พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร) เห็นชอบให้กระทรวงการคลัง
แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างฯ และมีบัญชาให้เร่งรัดดำเนินการจัดสร้าง
ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้ทันงานเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ
3. แนวความคิดในการออกแบบ
- ส่วนแรก บริเวณบึงน้ำเนื้อที่ 130 ไร่ ออกแบบเป็น สวนน้ำสมัยใหม่ "Water Front Development" เน้นการใช้ประโยชน์เพื่อเป็นสถานที่ออกกำลังกาย และการจัดกิจกรรมงานประเพณีต่าง ๆ
- ส่วนที่สอง เนื้อที่ 300 ไร่ ออกแบบเป็น สวนป่า โดยนำพันธุ์ไม้สำคัญจาก 4 ภาคพันธุ์ไม้หายาก และพันธุ์ไม้ในวรรณคดีมาปลูกในสวน เน้นความร่มรื่นและความเป็นป่าสมบูรณ์
4. ผลการดำเนินงาน
- ได้จัดทำบันทึกความร่วมมือให้กองทัพบกเป็นผู้ก่อสร้างสวนสาธารณะในส่วนแรก
- วงเงินค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 323.934 ล้านบาท โดยการสนับสนุนจากโรงงานยาสูบ 183.934 ล้านบาท กระทรวงการคลัง 140.000 ล้านบาท
- ขณะนี้งานก่อสร้างที่ดำเนินการโดยกองทัพบกเสร็จเรียบร้อยแล้ว คงเหลืองานก่อสร้างเพิ่มเติมที่คณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างฯ มีมติให้จัดสร้างเพิ่มเติมเพื่อให้สวนสาธารณะมีความสมบูรณ์และเหมาะสมยิ่งขึ้น รวม 3 รายการ คือ งานจัดสร้างประติมากรรม งานปรับระดับน้ำในบึง และงานจัดทำป้ายเพิ่มเติมคาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-