คณะรัฐมนตรีรับทราบรูปแบบรายงานการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 และเห็นชอบรายงานของรัฐวิสาหกิจที่ได้ดำเนินการแปลงสภาพไปแล้ว คือ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่งประเทศไทย ตามที่กระทรวง การคลังเสนอและให้ส่งรายงานดังกล่าวไปเพื่อสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาทราบต่อไป
รูปแบบการรายงานตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ประกอบด้วย
1. ส่วนที่ 1 เนื้อหาการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทจำกัด/มหาชน
2. ส่วนที่ 2 สาระสำคัญของรายงาน
2.1 กรณีรัฐวิสาหกิจยังคงมีอำนาจสิทธิประโยชน์ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายจัดตั้ง
2.2 กรณีจำกัดหรืองดอำนาจสิทธิประโยชน์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายจัดตั้ง
2.3 กรณีกำหนดให้อำนาจของรัฐวิสาหกิจแก่คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้น ที่ กนท. แต่งตั้ง (ชื่อคณะกรรมการฯ) องค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ ภาระ ค่าตอบแทนฯ โดยให้ระบุเหตุผล เงื่อนเวลา เงื่อนไขการปฏิบัติไว้ด้วย
3. ส่วนที่ 3 ประกอบด้วย
3.1 มติคณะรัฐมนตรีที่ให้ยุบเลิกรัฐวิสาหกิจ
3.2 เงื่อนเวลายุบเลิก
3.3 การจดทะเบียน 1) ชื่อบริษัท 2) วันที่จดทะเบียน 3) ทุนจดทะเบียน
รายงานของรัฐวิสาหกิจที่ได้ดำเนินการแปลงสภาพไปแล้วรวม 4 แห่ง คือ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (กทท.) องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และการสื่อสารแห่ง-ประเทศไทย (กสท.) มีรายละเอียดดังนี้
รายงานการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ
1. การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.)
ส่วนที่ 1 เนื้อหาการแปลงสภาพของ ปตท.ให้เปลี่ยนทุนของ ปตท. เป็นหุ้น และจัดตั้งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้ภาครัฐคงสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกำกับดูแลในด้านนโยบายบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ส่วนที่ 2 สาระสำคัญ
การประกอบธุรกิจปิโตรเลียม ให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีอำนาจได้รับยกเว้น มีสิทธิพิเศษ หรือได้รับความคุ้มครอง ตามที่กฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือกฎหมายอื่นได้บัญญัติไว้ให้แก่ ปตท. และกำหนดให้ทรัพย์สินของบริษัทเฉพาะที่ได้รับมาจากการเวนคืน หรือทรัพย์สินของบริษัทในระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ เป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และให้ลูกจ้างของบริษัทเฉพาะที่รัฐมนตรีแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสร้างและบำรุงรักษาคลังปิโตรเลียมและระบบท่อฯ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากการแปรรูป ปตท. โดยขายหุ้นให้กับประชาชนทำให้รัฐลดความเป็นเจ้าของ ปตท. ลง จึงควรมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม เพื่อให้ทรัพย์สินของ ปตท. ที่ได้มาโดยอำนาจรัฐ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องยังคงจะต้องมีอำนาจตามกฎหมายอยู่ เพื่อสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง
ส่วนที่ 3
มติคณะรัฐมนตรีให้ยุบเลิก : มติคณะรัฐมนตรี (25 กันยายน 2544) เงื่อนเวลายุบเลิก : พระราชกำหนดกำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544 กำหนดให้ยุบเลิก ปตท.โดยยกเลิกพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 พระราชกำหนดการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2523 และพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2537 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป
จดทะเบียนชื่อบริษัท : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) วันที่จดทะเบียน : 1 ตุลาคม 2544 ทุนจดทะเบียน : สองหมื่นล้านบาท
2. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.)
ส่วนที่ 1 เนื้อหาการแปลงสภาพขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.)
เห็นชอบให้บริษัทจดทะเบียนเริ่มแรกจำนวน 6,000 ล้านบาท เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่องการจัดสรรสิทธิประโยชน์ให้พนักงาน ทศท. และเห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำกับดูแลในด้านนโยบายของบริษัทฯ จนกว่าพระราชบัญญัติบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติจะมีผลบังคับใช้ และอนุมัติให้เปลี่ยนทุนของ ทศท. เป็นหุ้น และจัดตั้ง บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ต่อไป
ส่วนที่ 2 สาระสำคัญ
อำนาจ สิทธิหรือประโยชน์ของบริษัท ทศท ยังคงเป็นไปตามเดิม มิได้มีการจำกัดแต่อย่างใด เพื่อให้บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ยังคงสามารถดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง
ส่วนที่ 3 มติคณะรัฐมนตรีให้ยุบเลิก : มติคณะรัฐมนตรี (23 กรกฎาคม 2545) เงื่อนไขเวลายุบเลิก : ยุบเลิกกฎหมายว่าด้วยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2545 เป็นต้นไป การจดทะเบียน ชื่อบริษัท : บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) วันที่จดทะเบียน : 31 กรกฎาคม 2545 ทุนจดทะเบียน : จำนวน 6,000 ล้านบาท (ทุนจำนวน 600 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ 10 บาทต่อหุ้น)
3. ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.)
ส่วนที่ 1 เนื้อหาการแปลงสภาพของ ทอท.
เห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำกับดูแลในด้านนโยบายของบริษัทฯ และอนุมัติ ให้เปลี่ยนทุนของ ทอท. เป็นหุ้น และจัดตั้งบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)ต่อไป
ส่วนที่ 2 สาระสำคัญ
กำหนดให้ ทอท. มีอำนาจดำเนินกิจการท่าอากาศยานในสนามบินดอนเมือง และท่าอากาศยาน ในเขตสนามบินอื่น ได้แก่ สนามบินเชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ภูเก็ต และสนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ได้รับอนุญาติประกอบกิจการท่าอากาศยานตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ และมีอำนาจในการว่าจ้างหรือมอบให้บุคคลอื่นประกอบกิจการท่าอากาศยานแทนได้ เพื่อความเป็นธรรมในการแข่งขันทางธุรกิจ และการรักษาผลประโยชน์ ของรัฐโดยส่วนรวมเป็นสำคัญ
กรณีจำกัดหรืองดอำนาจสิทธิประโยชน์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายจัดตั้ง เนื่องจากได้มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจรองรับไว้แล้ว คือ 1)ตัดเรื่องการกำหนดให้บริษัท และพนักงานมีอำนาจได้รับยกเว้น มีสิทธิพิเศษ หรือได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกับที่กฎหมายว่าด้วยการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยและกฎหมายอื่นบัญญัติไว้ให้แก่ ทอท.
2) การแปลงสภาพ ทอท. เป็นบริษัทท่าอากาศยานไทยฯ กระทรวงการคลังมีนโยบายให้ ทอท. โอนที่ดินที่ได้มาจากการเวนคืนและซื้อมา พร้อมทั้งอสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินทั้งหมดกลับคืนมาเป็นของกระทรวงการคลัง และจะนำขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ จากนั้นจะให้บริษัทฯ ใช้ประโยชน์ในลักษณะการเช่าโดยต้องเสียค่าตอบแทน ซึ่งหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยกับแนวทางดังกล่าวแล้วจึงไม่จำเป็นต้องกำหนดให้ทรัพย์สินที่บริษัทฯ ได้รับจากการเวนคืนฯ เป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดีไว้ในร่างพระราชกฤษีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2545
ส่วนที่ 3
มติคณะรัฐมนตรีให้ยุบเลิก : มติคณะรัฐมนตี (10 กันยายน 2545) เงื่อนเวลายุบเลิก : ให้กำหนดวันใช้บังคับของพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ตรงกับวันที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
จดทะเบียนชื่อบริษัท : บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) วันที่จดทะเบียน : 30 กันยายน 2545 ทุนจดทะเบียน : 5,747,000,000 บาท (ห้าพันเจ็ดร้อยสี่สิบเจ็ดล้านบาทถ้วน)
4. การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 เห็นชอบการแปลงทุนเป็นทุนเรือนหุ้นของการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) โดยจัดตั้งเป็น บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
ส่วนที่ 1 เนื้อหาการแปลงสภาพของ กสท.
ให้เปลี่ยนทุนของ กสท. เป็นหุ้น และจัดตั้งบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด และให้บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียน จำนวน 750 ล้านบาท และให้บริษัทนำกำไรสะสมบางส่วนหรือทั้งหมดมาจัดสรรเป็นทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วเพิ่มเติม (Recapitalization) ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของกระทรวงการคลัง และบริษัทฯ โดยให้บริษัทฯ จ่ายเงินปันผลในรูปของหุ้นสามัญ ให้กับกระทรวงการคลังทั้งหมด และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำกับดูแลในด้านนโยบายของบริษัทฯ
ส่วนที่ 2 สาระสำคัญ
กรณี บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : ไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เนื่องจากคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่า กรณีของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ไม่มีการจำกัดอำนาจ สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดฯ โดยให้ยังคงมีอำนาจสิทธิและประโยชน์ เช่นเดียวกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย
กรณี บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (มหาชน) : เพื่อให้การควบคุมและการรักษาประโยชน์ของรัฐในระยะแรก บริษัท ไปรษณีย์ จำกัด จำเป็นต้องได้รับอำนาจ สิทธิและประโยชน์บางกรณีเช่นเดียวกับ กสท. ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยไปรษณีย์ กฎหมายว่าด้วยการสื่อสารแห่งประเทศไทยและกฎหมายอื่น และจำกัดอำนาจในบางกรณีเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ส่วนที่ 3
กรณี บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : มติคณะรัฐมนตรี (8 กรกฎาคม 2546) ให้แปลงสภาพการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จึงต้องกำหนดให้กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ คือ พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 เป็นอันยกเลิกและยุบรัฐวิสาหกิจไปพร้อมกับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทที่แปลงสภาพมาจากรัฐวิสาหกิจนั้นด้วย
กรณี บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด : มติคณะรัฐมนตรี(8 กรกฎาคม 2546) ให้การสื่อสาร แห่งประเทศไทยแปลงทุนเป็นหุ้นและจัดตั้งบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด จึงทำให้การสื่อสารแห่งประเทศไทย ถูกยุบเลิกไปโดยสภาพ ณ วันที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จัดตั้งขึ้น
เงื่อนเวลายุบเลิก กรณี บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : ให้พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 เป็นอันยกเลิกตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2546 ซึ่งเป็นวันจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทที่แปลง-สภาพมาจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย
กรณี บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด : พ.ศ. 2519 : พระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการสื่อสารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2546
การจดทะเบียน กรณี บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ชื่อบริษัท : บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) วันที่จดทะเบียน : 14 สิงหาคม 2546 ทุนจดทะเบียน : จำนวน 10,000,000,000 บาท (หุ้นจำนวน 1,000,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 10 บาทต่อหุ้น)
กรณี บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด : พ.ศ. 2519 ชื่อบริษัท : บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด วันที่จดทะเบียน : 14 สิงหาคม 2546 ทุนจดทะเบียน : จำนวน 750 ล้านบาท หุ้นจำนวน 75 ล้านหุ้น (มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ 10 บาทต่อหุ้น)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
รูปแบบการรายงานตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ประกอบด้วย
1. ส่วนที่ 1 เนื้อหาการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทจำกัด/มหาชน
2. ส่วนที่ 2 สาระสำคัญของรายงาน
2.1 กรณีรัฐวิสาหกิจยังคงมีอำนาจสิทธิประโยชน์ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายจัดตั้ง
2.2 กรณีจำกัดหรืองดอำนาจสิทธิประโยชน์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายจัดตั้ง
2.3 กรณีกำหนดให้อำนาจของรัฐวิสาหกิจแก่คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้น ที่ กนท. แต่งตั้ง (ชื่อคณะกรรมการฯ) องค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ ภาระ ค่าตอบแทนฯ โดยให้ระบุเหตุผล เงื่อนเวลา เงื่อนไขการปฏิบัติไว้ด้วย
3. ส่วนที่ 3 ประกอบด้วย
3.1 มติคณะรัฐมนตรีที่ให้ยุบเลิกรัฐวิสาหกิจ
3.2 เงื่อนเวลายุบเลิก
3.3 การจดทะเบียน 1) ชื่อบริษัท 2) วันที่จดทะเบียน 3) ทุนจดทะเบียน
รายงานของรัฐวิสาหกิจที่ได้ดำเนินการแปลงสภาพไปแล้วรวม 4 แห่ง คือ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (กทท.) องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และการสื่อสารแห่ง-ประเทศไทย (กสท.) มีรายละเอียดดังนี้
รายงานการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ
1. การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.)
ส่วนที่ 1 เนื้อหาการแปลงสภาพของ ปตท.ให้เปลี่ยนทุนของ ปตท. เป็นหุ้น และจัดตั้งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้ภาครัฐคงสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกำกับดูแลในด้านนโยบายบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ส่วนที่ 2 สาระสำคัญ
การประกอบธุรกิจปิโตรเลียม ให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีอำนาจได้รับยกเว้น มีสิทธิพิเศษ หรือได้รับความคุ้มครอง ตามที่กฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือกฎหมายอื่นได้บัญญัติไว้ให้แก่ ปตท. และกำหนดให้ทรัพย์สินของบริษัทเฉพาะที่ได้รับมาจากการเวนคืน หรือทรัพย์สินของบริษัทในระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ เป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และให้ลูกจ้างของบริษัทเฉพาะที่รัฐมนตรีแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสร้างและบำรุงรักษาคลังปิโตรเลียมและระบบท่อฯ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากการแปรรูป ปตท. โดยขายหุ้นให้กับประชาชนทำให้รัฐลดความเป็นเจ้าของ ปตท. ลง จึงควรมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม เพื่อให้ทรัพย์สินของ ปตท. ที่ได้มาโดยอำนาจรัฐ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องยังคงจะต้องมีอำนาจตามกฎหมายอยู่ เพื่อสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง
ส่วนที่ 3
มติคณะรัฐมนตรีให้ยุบเลิก : มติคณะรัฐมนตรี (25 กันยายน 2544) เงื่อนเวลายุบเลิก : พระราชกำหนดกำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544 กำหนดให้ยุบเลิก ปตท.โดยยกเลิกพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 พระราชกำหนดการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2523 และพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2537 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป
จดทะเบียนชื่อบริษัท : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) วันที่จดทะเบียน : 1 ตุลาคม 2544 ทุนจดทะเบียน : สองหมื่นล้านบาท
2. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.)
ส่วนที่ 1 เนื้อหาการแปลงสภาพขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.)
เห็นชอบให้บริษัทจดทะเบียนเริ่มแรกจำนวน 6,000 ล้านบาท เห็นชอบผลการพิจารณาเรื่องการจัดสรรสิทธิประโยชน์ให้พนักงาน ทศท. และเห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำกับดูแลในด้านนโยบายของบริษัทฯ จนกว่าพระราชบัญญัติบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติจะมีผลบังคับใช้ และอนุมัติให้เปลี่ยนทุนของ ทศท. เป็นหุ้น และจัดตั้ง บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ต่อไป
ส่วนที่ 2 สาระสำคัญ
อำนาจ สิทธิหรือประโยชน์ของบริษัท ทศท ยังคงเป็นไปตามเดิม มิได้มีการจำกัดแต่อย่างใด เพื่อให้บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ยังคงสามารถดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง
ส่วนที่ 3 มติคณะรัฐมนตรีให้ยุบเลิก : มติคณะรัฐมนตรี (23 กรกฎาคม 2545) เงื่อนไขเวลายุบเลิก : ยุบเลิกกฎหมายว่าด้วยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2545 เป็นต้นไป การจดทะเบียน ชื่อบริษัท : บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) วันที่จดทะเบียน : 31 กรกฎาคม 2545 ทุนจดทะเบียน : จำนวน 6,000 ล้านบาท (ทุนจำนวน 600 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ 10 บาทต่อหุ้น)
3. ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.)
ส่วนที่ 1 เนื้อหาการแปลงสภาพของ ทอท.
เห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำกับดูแลในด้านนโยบายของบริษัทฯ และอนุมัติ ให้เปลี่ยนทุนของ ทอท. เป็นหุ้น และจัดตั้งบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)ต่อไป
ส่วนที่ 2 สาระสำคัญ
กำหนดให้ ทอท. มีอำนาจดำเนินกิจการท่าอากาศยานในสนามบินดอนเมือง และท่าอากาศยาน ในเขตสนามบินอื่น ได้แก่ สนามบินเชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ ภูเก็ต และสนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ได้รับอนุญาติประกอบกิจการท่าอากาศยานตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ และมีอำนาจในการว่าจ้างหรือมอบให้บุคคลอื่นประกอบกิจการท่าอากาศยานแทนได้ เพื่อความเป็นธรรมในการแข่งขันทางธุรกิจ และการรักษาผลประโยชน์ ของรัฐโดยส่วนรวมเป็นสำคัญ
กรณีจำกัดหรืองดอำนาจสิทธิประโยชน์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายจัดตั้ง เนื่องจากได้มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจรองรับไว้แล้ว คือ 1)ตัดเรื่องการกำหนดให้บริษัท และพนักงานมีอำนาจได้รับยกเว้น มีสิทธิพิเศษ หรือได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกับที่กฎหมายว่าด้วยการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยและกฎหมายอื่นบัญญัติไว้ให้แก่ ทอท.
2) การแปลงสภาพ ทอท. เป็นบริษัทท่าอากาศยานไทยฯ กระทรวงการคลังมีนโยบายให้ ทอท. โอนที่ดินที่ได้มาจากการเวนคืนและซื้อมา พร้อมทั้งอสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินทั้งหมดกลับคืนมาเป็นของกระทรวงการคลัง และจะนำขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ จากนั้นจะให้บริษัทฯ ใช้ประโยชน์ในลักษณะการเช่าโดยต้องเสียค่าตอบแทน ซึ่งหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยกับแนวทางดังกล่าวแล้วจึงไม่จำเป็นต้องกำหนดให้ทรัพย์สินที่บริษัทฯ ได้รับจากการเวนคืนฯ เป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดีไว้ในร่างพระราชกฤษีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2545
ส่วนที่ 3
มติคณะรัฐมนตรีให้ยุบเลิก : มติคณะรัฐมนตี (10 กันยายน 2545) เงื่อนเวลายุบเลิก : ให้กำหนดวันใช้บังคับของพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ตรงกับวันที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
จดทะเบียนชื่อบริษัท : บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) วันที่จดทะเบียน : 30 กันยายน 2545 ทุนจดทะเบียน : 5,747,000,000 บาท (ห้าพันเจ็ดร้อยสี่สิบเจ็ดล้านบาทถ้วน)
4. การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 เห็นชอบการแปลงทุนเป็นทุนเรือนหุ้นของการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) โดยจัดตั้งเป็น บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
ส่วนที่ 1 เนื้อหาการแปลงสภาพของ กสท.
ให้เปลี่ยนทุนของ กสท. เป็นหุ้น และจัดตั้งบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด และให้บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียน จำนวน 750 ล้านบาท และให้บริษัทนำกำไรสะสมบางส่วนหรือทั้งหมดมาจัดสรรเป็นทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วเพิ่มเติม (Recapitalization) ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของกระทรวงการคลัง และบริษัทฯ โดยให้บริษัทฯ จ่ายเงินปันผลในรูปของหุ้นสามัญ ให้กับกระทรวงการคลังทั้งหมด และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำกับดูแลในด้านนโยบายของบริษัทฯ
ส่วนที่ 2 สาระสำคัญ
กรณี บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : ไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เนื่องจากคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่า กรณีของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ไม่มีการจำกัดอำนาจ สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดฯ โดยให้ยังคงมีอำนาจสิทธิและประโยชน์ เช่นเดียวกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย
กรณี บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (มหาชน) : เพื่อให้การควบคุมและการรักษาประโยชน์ของรัฐในระยะแรก บริษัท ไปรษณีย์ จำกัด จำเป็นต้องได้รับอำนาจ สิทธิและประโยชน์บางกรณีเช่นเดียวกับ กสท. ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยไปรษณีย์ กฎหมายว่าด้วยการสื่อสารแห่งประเทศไทยและกฎหมายอื่น และจำกัดอำนาจในบางกรณีเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ส่วนที่ 3
กรณี บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : มติคณะรัฐมนตรี (8 กรกฎาคม 2546) ให้แปลงสภาพการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จึงต้องกำหนดให้กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ คือ พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 เป็นอันยกเลิกและยุบรัฐวิสาหกิจไปพร้อมกับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทที่แปลงสภาพมาจากรัฐวิสาหกิจนั้นด้วย
กรณี บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด : มติคณะรัฐมนตรี(8 กรกฎาคม 2546) ให้การสื่อสาร แห่งประเทศไทยแปลงทุนเป็นหุ้นและจัดตั้งบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด จึงทำให้การสื่อสารแห่งประเทศไทย ถูกยุบเลิกไปโดยสภาพ ณ วันที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จัดตั้งขึ้น
เงื่อนเวลายุบเลิก กรณี บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) : ให้พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 เป็นอันยกเลิกตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2546 ซึ่งเป็นวันจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทที่แปลง-สภาพมาจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย
กรณี บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด : พ.ศ. 2519 : พระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการสื่อสารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2546
การจดทะเบียน กรณี บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ชื่อบริษัท : บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) วันที่จดทะเบียน : 14 สิงหาคม 2546 ทุนจดทะเบียน : จำนวน 10,000,000,000 บาท (หุ้นจำนวน 1,000,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 10 บาทต่อหุ้น)
กรณี บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด : พ.ศ. 2519 ชื่อบริษัท : บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด วันที่จดทะเบียน : 14 สิงหาคม 2546 ทุนจดทะเบียน : จำนวน 750 ล้านบาท หุ้นจำนวน 75 ล้านหุ้น (มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ 10 บาทต่อหุ้น)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-