แท็ก
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงเกษตร
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำเจ้าพระยา และรับทราบและให้ความเห็นชอบความเห็น ผลการพิจารณา และผลการดำเนินการตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมกันพิจารณารวม 5 ข้อ และคำชี้แจงเพิ่มเติมตามประเด็นอภิปราย และเห็นควรมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไปตามความเห็นที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักประสานและเร่งรัดการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการและแผนปฏิบัติการที่กำหนดบทบาทภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้มีการติดตามประเมินผลการดำเนินการ โดยจัดทำตัวชี้วัดการแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วรายงานผลให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ
สภาที่ปรึกษาฯ ได้มอบหมายให้คณะทำงานศึกษาและอนุรักษ์แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับ "แนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำเจ้าพระยา" ร่วมกับผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ภาคประชาชนและนักวิชาการ รวมทั้งการเข้าไปศึกษาดูงานในพื้นที่ เพื่อหาข้อสรุปและเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งในคราวประชุม ครั้งที่ 10/2547 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2547 สภาที่ปรึกษาฯ ได้พิจารณาผลการศึกษาของคณะทำงานฯ แล้วมีมติให้เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะในเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1. ปัญหาด้านทรัพยากรน้ำและการบริหารจัดการในปัจจุบัน
1.1 การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองทั้งทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้
1.2 การพัฒนาโครงการแหล่งน้ำในระดับลุ่มน้ำที่ไม่กระจายอย่างเท่าเทียมกันในลุ่มน้ำต่าง ๆ ซึ่งจะสร้างผลกระทบที่รุนแรงต่อทั้งเศรษฐกิจ สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยทั่วไป
1.3 ปัญหาด้านขาดการบริหารจัดการน้ำบาดาลอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดปัญหาการทรุดตัวของดิน และปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็ม โดยเฉพาะในพื้นที่เจ้าพระยาตอนล่าง
1.4 จากการพัฒนาทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทำให้มีการพัฒนาพื้นที่ชลประทานเป็นจำนวนมากและมีการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้มีการใช้น้ำมากกว่าปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ในอ่างเก็บน้ำ
1.5 การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง การทำนาปรังครั้งที่ 2 และ 3 ในรอบปี การเพิ่มขึ้นของประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมทำให้มีความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อการลดลงของปริมาณน้ำท่า
1.6 การขยายตัวของเศรษฐกิจและสังคมทำให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การขยายตัวของชุมชนเมือง แต่ไม่มีการพัฒนาโครงการแหล่งน้ำระดับลุ่มน้ำในบางลุ่มน้ำทำให้เกิดปัญหาอุทกภัยที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น
1.7 ขาดแคลนระบบบำบัดน้ำเสีย และขาดแหล่งเก็บกักน้ำในระดับลุ่มน้ำ และปริมาณน้ำที่เก็บกักในอ่างเก็บน้ำมีไม่เพียงพอต่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำ
1.8 ขาดหน่วยงานกลางในการวางแผนและประสานงานทำให้การดำเนินงานระหว่างหน่วยงาน ต่าง ๆ ไม่ประสานสอดคล้องกันในการเป็นเจ้าภาพแบบบูรณาการ
1.9 ปัญหาด้านกฎหมาย มีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวกับน้ำซึ่งมีความซับซ้อน ขาดความชัดเจน และมีความล้าหลัง ทำให้เกิดปัญหาในด้านปฏิบัติทั้งเรื่องน้ำและแหล่งน้ำ
1.10 การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นอำนาจของรัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนไม่มีส่วนร่วม เท่าที่ควร ทำให้เกิดความไม่สอดคล้องสัมพันธ์กัน
2. แนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
2.1 มาตรการด้านบริหารจัดการ 1) จัดทำแผนแม่บทแบบบูรณาการ เพื่อความเป็นระบบและครอบคลุมในด้านการพัฒนา จัดหาน้ำต้นทุน การจัดสรรน้ำ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำให้มากขึ้น 2) ผลักดันให้มีการจัดหาน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้นให้เต็มศักยภาพและให้มีความเหมาะสมกับระบบนิเวศวิทยาทั้งในด้านการจัดหาแหล่งน้ำดิบและการผันน้ำเพื่อผลิตน้ำประปา 3) ควรปฏิรูปองค์กรเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตั้งแต่ระดับชาติจนถึงระดับ ท้องถิ่น เพื่อให้การพัฒนาทรัพยากรน้ำมีความต่อเนื่องและตอบสนองความต้องการใช้น้ำได้อย่างทั่วถึง 4) วางระบบในการบริหารจัดการ การใช้งาน และบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียรวมทั้งการเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย 5) สนับสนุนและให้การศึกษากับเกษตรกรในเรื่องปฏิบัติการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) รวมทั้งทุกไร่นาต้องมีการอนุรักษ์ดินและน้ำ 6) สนับสนุนให้ทุกลำน้ำมีแถบฉนวนอนุรักษ์ (Conservation Buffer) เพื่อกรอง สิ่งสกปรกทั้งหลายออกจากน้ำก่อนจะไหลลงสู่ลำน้ำสาธารณะ
2.2 มาตรการด้านการลงทุน 1) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมในพื้นที่ชุมชนโดยวิธีบำบัดที่ เหมาะสมกับพื้นที่นั้น ๆ 2) การออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียต้องเน้นให้มีต้นทุนในการดำเนินการต่ำที่สุด ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และง่ายต่อการใช้งานและการบำรุงรักษา 3) สนับสนุนให้มีการตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้ลงทุนก่อสร้างไปแล้วในประเด็นสภาพการใช้งานและจำนวนเงินลงทุนที่จะต้องลงทุนเพิ่มเติมเพื่อการใช้งานได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ 4) สนับสนุนการลงทุนของราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจและเอกชน ในการก่อสร้างและดำเนินการระบบบำบัดน้ำเสียรวม 5) เร่งรัดมาตรการการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียไปสู่ราชการหรือองค์กรที่มีหน้าที่ดำเนินการ
2.3 มาตรการด้านกฎหมาย 1) ปรับปรุงระเบียบการขอใช้ที่ดินริมแม่น้ำลำคลองแนวทางการลดปัญหาและควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งชุมชน รวมทั้งต้องดูแลเรื่องการรุกล้ำใช้ที่ดินสาธารณะ 2) กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับการกำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ของแหล่งน้ำ 3) กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำและประเภทของแหล่งน้ำ 4) ประกาศเขตควบคุมมลพิษในบริเวณที่มีปัญหามลพิษทางน้ำอยู่ในภาวะวิกฤต 5) กำหนดเขตพื้นที่อนุรักษ์แหล่งน้ำดิบเพื่อการประปา 6) ควบคุมให้มีการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ 7) ควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทอื่น ๆ ให้ได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้งที่กำหนด และคำนึงถึงความสามารถของการรองรับน้ำทิ้งของแหล่งน้ำในบริเวณต่าง ๆ 8) กระจายความรับผิดชอบการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.4 มาตรการด้านการส่งเสริม 1) ร่วมมือกับเอกชนและองค์กรต่าง ๆ รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนรับผิดชอบในการจัดการคุณภาพน้ำรวมทั้งการให้การศึกษากับเยาวชน 2) สนับสนุนการวิจัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการคุณภาพน้ำ 3) ลดภาษีการนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์ วัสดุเพื่อการบำบัดน้ำเสีย 4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำน้ำทิ้งที่มีการบำบัดแล้วมาใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ
สำหรับความเห็นผลการพิจารณาและผลการดำเนินการตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมกันพิจารณาโดยเห็นควรมอบหมายให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการรวม 5 ข้อ มีดังนี้
1. จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ เพื่อให้ครอบคลุมด้านการพัฒนาจัดหาน้ำต้นทุน การจัดสรรน้ำ การควบคุมมลพิษทางน้ำ การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ อุทกภัย และภัยแล้ง โดยจัดทำเป็นแผนระยะยาวควบคู่กับการวางแผนการใช้ที่ดิน และการขยายตัวของสังคมและเศรษฐกิจ และสร้างความเข้มแข็งให้คณะอนุกรรมการลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตลอดจนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
2. จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมในพื้นที่ชุมชนโดยเฉพาะริมน้ำ เร่งรัดให้มีการแก้ไขและปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้ลงทุนก่อสร้างไปแล้วให้ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ รวมทั้งให้มีมาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัด น้ำเสีย
3. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาเคร่งครัดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมการระบายของเสียจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
4. ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อดำเนินการในการจัดการน้ำเสียและขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ
5. ให้มีการควบคุมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไม่ให้มีการระบายน้ำทิ้งที่ไม่ได้มาตรฐานลงในแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งงดใช้ยาและสารเคมีต้องห้าม 16 ชนิด ตามที่กรมประมงได้ประกาศอย่างเคร่งครัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
สภาที่ปรึกษาฯ ได้มอบหมายให้คณะทำงานศึกษาและอนุรักษ์แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับ "แนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำเจ้าพระยา" ร่วมกับผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ภาคประชาชนและนักวิชาการ รวมทั้งการเข้าไปศึกษาดูงานในพื้นที่ เพื่อหาข้อสรุปและเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งในคราวประชุม ครั้งที่ 10/2547 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2547 สภาที่ปรึกษาฯ ได้พิจารณาผลการศึกษาของคณะทำงานฯ แล้วมีมติให้เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะในเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1. ปัญหาด้านทรัพยากรน้ำและการบริหารจัดการในปัจจุบัน
1.1 การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองทั้งทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้
1.2 การพัฒนาโครงการแหล่งน้ำในระดับลุ่มน้ำที่ไม่กระจายอย่างเท่าเทียมกันในลุ่มน้ำต่าง ๆ ซึ่งจะสร้างผลกระทบที่รุนแรงต่อทั้งเศรษฐกิจ สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยทั่วไป
1.3 ปัญหาด้านขาดการบริหารจัดการน้ำบาดาลอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดปัญหาการทรุดตัวของดิน และปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็ม โดยเฉพาะในพื้นที่เจ้าพระยาตอนล่าง
1.4 จากการพัฒนาทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทำให้มีการพัฒนาพื้นที่ชลประทานเป็นจำนวนมากและมีการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้มีการใช้น้ำมากกว่าปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ในอ่างเก็บน้ำ
1.5 การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง การทำนาปรังครั้งที่ 2 และ 3 ในรอบปี การเพิ่มขึ้นของประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมทำให้มีความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อการลดลงของปริมาณน้ำท่า
1.6 การขยายตัวของเศรษฐกิจและสังคมทำให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การขยายตัวของชุมชนเมือง แต่ไม่มีการพัฒนาโครงการแหล่งน้ำระดับลุ่มน้ำในบางลุ่มน้ำทำให้เกิดปัญหาอุทกภัยที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น
1.7 ขาดแคลนระบบบำบัดน้ำเสีย และขาดแหล่งเก็บกักน้ำในระดับลุ่มน้ำ และปริมาณน้ำที่เก็บกักในอ่างเก็บน้ำมีไม่เพียงพอต่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำ
1.8 ขาดหน่วยงานกลางในการวางแผนและประสานงานทำให้การดำเนินงานระหว่างหน่วยงาน ต่าง ๆ ไม่ประสานสอดคล้องกันในการเป็นเจ้าภาพแบบบูรณาการ
1.9 ปัญหาด้านกฎหมาย มีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวกับน้ำซึ่งมีความซับซ้อน ขาดความชัดเจน และมีความล้าหลัง ทำให้เกิดปัญหาในด้านปฏิบัติทั้งเรื่องน้ำและแหล่งน้ำ
1.10 การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นอำนาจของรัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนไม่มีส่วนร่วม เท่าที่ควร ทำให้เกิดความไม่สอดคล้องสัมพันธ์กัน
2. แนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
2.1 มาตรการด้านบริหารจัดการ 1) จัดทำแผนแม่บทแบบบูรณาการ เพื่อความเป็นระบบและครอบคลุมในด้านการพัฒนา จัดหาน้ำต้นทุน การจัดสรรน้ำ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำให้มากขึ้น 2) ผลักดันให้มีการจัดหาน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้นให้เต็มศักยภาพและให้มีความเหมาะสมกับระบบนิเวศวิทยาทั้งในด้านการจัดหาแหล่งน้ำดิบและการผันน้ำเพื่อผลิตน้ำประปา 3) ควรปฏิรูปองค์กรเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตั้งแต่ระดับชาติจนถึงระดับ ท้องถิ่น เพื่อให้การพัฒนาทรัพยากรน้ำมีความต่อเนื่องและตอบสนองความต้องการใช้น้ำได้อย่างทั่วถึง 4) วางระบบในการบริหารจัดการ การใช้งาน และบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียรวมทั้งการเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย 5) สนับสนุนและให้การศึกษากับเกษตรกรในเรื่องปฏิบัติการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) รวมทั้งทุกไร่นาต้องมีการอนุรักษ์ดินและน้ำ 6) สนับสนุนให้ทุกลำน้ำมีแถบฉนวนอนุรักษ์ (Conservation Buffer) เพื่อกรอง สิ่งสกปรกทั้งหลายออกจากน้ำก่อนจะไหลลงสู่ลำน้ำสาธารณะ
2.2 มาตรการด้านการลงทุน 1) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมในพื้นที่ชุมชนโดยวิธีบำบัดที่ เหมาะสมกับพื้นที่นั้น ๆ 2) การออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียต้องเน้นให้มีต้นทุนในการดำเนินการต่ำที่สุด ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และง่ายต่อการใช้งานและการบำรุงรักษา 3) สนับสนุนให้มีการตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้ลงทุนก่อสร้างไปแล้วในประเด็นสภาพการใช้งานและจำนวนเงินลงทุนที่จะต้องลงทุนเพิ่มเติมเพื่อการใช้งานได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ 4) สนับสนุนการลงทุนของราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจและเอกชน ในการก่อสร้างและดำเนินการระบบบำบัดน้ำเสียรวม 5) เร่งรัดมาตรการการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียไปสู่ราชการหรือองค์กรที่มีหน้าที่ดำเนินการ
2.3 มาตรการด้านกฎหมาย 1) ปรับปรุงระเบียบการขอใช้ที่ดินริมแม่น้ำลำคลองแนวทางการลดปัญหาและควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งชุมชน รวมทั้งต้องดูแลเรื่องการรุกล้ำใช้ที่ดินสาธารณะ 2) กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับการกำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ของแหล่งน้ำ 3) กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำและประเภทของแหล่งน้ำ 4) ประกาศเขตควบคุมมลพิษในบริเวณที่มีปัญหามลพิษทางน้ำอยู่ในภาวะวิกฤต 5) กำหนดเขตพื้นที่อนุรักษ์แหล่งน้ำดิบเพื่อการประปา 6) ควบคุมให้มีการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ 7) ควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทอื่น ๆ ให้ได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้งที่กำหนด และคำนึงถึงความสามารถของการรองรับน้ำทิ้งของแหล่งน้ำในบริเวณต่าง ๆ 8) กระจายความรับผิดชอบการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.4 มาตรการด้านการส่งเสริม 1) ร่วมมือกับเอกชนและองค์กรต่าง ๆ รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนรับผิดชอบในการจัดการคุณภาพน้ำรวมทั้งการให้การศึกษากับเยาวชน 2) สนับสนุนการวิจัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการคุณภาพน้ำ 3) ลดภาษีการนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์ วัสดุเพื่อการบำบัดน้ำเสีย 4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำน้ำทิ้งที่มีการบำบัดแล้วมาใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ
สำหรับความเห็นผลการพิจารณาและผลการดำเนินการตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมกันพิจารณาโดยเห็นควรมอบหมายให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการรวม 5 ข้อ มีดังนี้
1. จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ เพื่อให้ครอบคลุมด้านการพัฒนาจัดหาน้ำต้นทุน การจัดสรรน้ำ การควบคุมมลพิษทางน้ำ การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ อุทกภัย และภัยแล้ง โดยจัดทำเป็นแผนระยะยาวควบคู่กับการวางแผนการใช้ที่ดิน และการขยายตัวของสังคมและเศรษฐกิจ และสร้างความเข้มแข็งให้คณะอนุกรรมการลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตลอดจนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
2. จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมในพื้นที่ชุมชนโดยเฉพาะริมน้ำ เร่งรัดให้มีการแก้ไขและปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้ลงทุนก่อสร้างไปแล้วให้ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ รวมทั้งให้มีมาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัด น้ำเสีย
3. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาเคร่งครัดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมการระบายของเสียจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
4. ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อดำเนินการในการจัดการน้ำเสียและขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ
5. ให้มีการควบคุมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไม่ให้มีการระบายน้ำทิ้งที่ไม่ได้มาตรฐานลงในแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งงดใช้ยาและสารเคมีต้องห้าม 16 ชนิด ตามที่กรมประมงได้ประกาศอย่างเคร่งครัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-