เรื่อง การตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอคณะรัฐมนตรี
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมย์ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการตั้งคณะทำงาน เพื่อศึกษาพิจารณาและให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ โดยให้สำนักงาน ก.พ.ร. ไปกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะทำงานให้ชัดเจนและองค์ประกอบตามความเหมาะสม โดยมอบให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับข้อสังเกตเพิ่มเติมไปดำเนินการต่อไป
สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งว่า คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อ.ก.พ.ร.) เกี่ยวกับการตีความและวินิจฉัยปัญหากฎหมายในการบริหารราชการแผ่นดินได้พิจารณาดำเนินการตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองดังกล่าวแล้ว โดยสรุปได้ดังนี้
1. องค์ประกอบของคณะทำงาน ประกอบด้วยผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ.ร. กระทรวงยุติธรรม โดยมีเจ้าหน้าที่ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นเลขานุการ
2. อำนาจหน้าที่ของคณะทำงาน ให้คณะทำงานมีหน้าที่พิจารณาตรวจสอบ ให้ความเห็นในร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ก่อนที่จะมีการเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ทั้งนี้ โดยจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายในระยะเวลาที่จะต้องนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
3. ในการพิจารณาตรวจสอบให้ความเห็นชอบของคณะทำงานดังกล่าวควรจะพิจารณาในเรื่องดังนี้
3.1 ร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับนั้นสอดคล้องและเป็นไปตามหลักการของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 หรือไม่
3.2 ร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับนั้น เป็นการสร้างภาระให้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ หรือแก่คณะรัฐมนตรี โดยไม่จำเป็น หรือไม่ หรือสมควรที่จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีหรือไม่
4. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการตีความฯ ได้พิจารณามีข้อสังเกตเพิ่มเติมดังนี้
4.1 คณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศได้พิจารณาวางแนวทางในการตรวจสอบร่างกฎหมายและคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการแล้ว จึงเห็นว่า เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณารับหลักการของร่างกฏ-หมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับใดแล้ว ก็ควรจะได้ระบุในมติคณะรัฐมนตรีว่า ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจเรื่องเหล่านี้ตามแนวทางการตรวจสอบดังกล่าวด้วย
4.2 ในการที่คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการในร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับนั้น มิได้หมายความว่ารับหลักการในถ้อยคำในร่าง ฯ ทั้งหมด ฉะนั้นในการตรวจของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงไม่ถือว่าเป็นการขัดต่อการรับหลักการของคณะรัฐมนตรี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมย์ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการตั้งคณะทำงาน เพื่อศึกษาพิจารณาและให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ โดยให้สำนักงาน ก.พ.ร. ไปกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะทำงานให้ชัดเจนและองค์ประกอบตามความเหมาะสม โดยมอบให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับข้อสังเกตเพิ่มเติมไปดำเนินการต่อไป
สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งว่า คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อ.ก.พ.ร.) เกี่ยวกับการตีความและวินิจฉัยปัญหากฎหมายในการบริหารราชการแผ่นดินได้พิจารณาดำเนินการตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองดังกล่าวแล้ว โดยสรุปได้ดังนี้
1. องค์ประกอบของคณะทำงาน ประกอบด้วยผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ.ร. กระทรวงยุติธรรม โดยมีเจ้าหน้าที่ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นเลขานุการ
2. อำนาจหน้าที่ของคณะทำงาน ให้คณะทำงานมีหน้าที่พิจารณาตรวจสอบ ให้ความเห็นในร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ก่อนที่จะมีการเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ทั้งนี้ โดยจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายในระยะเวลาที่จะต้องนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
3. ในการพิจารณาตรวจสอบให้ความเห็นชอบของคณะทำงานดังกล่าวควรจะพิจารณาในเรื่องดังนี้
3.1 ร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับนั้นสอดคล้องและเป็นไปตามหลักการของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 หรือไม่
3.2 ร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับนั้น เป็นการสร้างภาระให้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ หรือแก่คณะรัฐมนตรี โดยไม่จำเป็น หรือไม่ หรือสมควรที่จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีหรือไม่
4. อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการตีความฯ ได้พิจารณามีข้อสังเกตเพิ่มเติมดังนี้
4.1 คณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศได้พิจารณาวางแนวทางในการตรวจสอบร่างกฎหมายและคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการแล้ว จึงเห็นว่า เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณารับหลักการของร่างกฏ-หมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับใดแล้ว ก็ควรจะได้ระบุในมติคณะรัฐมนตรีว่า ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจเรื่องเหล่านี้ตามแนวทางการตรวจสอบดังกล่าวด้วย
4.2 ในการที่คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการในร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับนั้น มิได้หมายความว่ารับหลักการในถ้อยคำในร่าง ฯ ทั้งหมด ฉะนั้นในการตรวจของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงไม่ถือว่าเป็นการขัดต่อการรับหลักการของคณะรัฐมนตรี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-