คณะรัฐมนตรีพิจารณาการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินเดือนฯ หลักเกณฑ์การกำหนดเบี้ยประชุมฯ และการพัฒนาการดำเนินงานและการประเมินผลองค์การมหาชนตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้อำนวยการองค์การมหาชน และการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานกรรมการ กรรมการ ที่ปรึกษา และอนุกรรมการขององค์การมหาชนที่สำนักงาน ก.พร. เสนอ โดยให้แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
1.1 ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ เห็นควรจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ 1 เนื่องจากเป็นองค์กรเพื่อพัฒนาและดำเนินการตามนโยบายสำคัญของรัฐเฉพาะด้าน
1.2 เบี้ยประชุมของอนุกรรมการให้ได้รับเป็นรายเดือน
1.3 กรณีองค์การมหาชนที่ผู้อำนวยการได้รับอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นสูงกว่า หลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ ให้รัฐมนตรีที่กำกับดูแลรับไปดำเนินการเจรจาจัดทำข้อตกลงกับผู้อำนวยการที่ยังอยู่ในอายุสัญญาจ้าง โดยอาจนำส่วนต่างของเงินเดือนที่ได้รับเดิมกับเงินเดือนตามอัตราใหม่ไปจ่ายเป็นเงินตอบแทนในลักษณะอื่น เช่น เงินรางวัล เป็นต้น
1.4 การกำหนดอัตราต่าตอบแทนพื้นฐานในส่วนของเงินเดือนประจำในระยะเริ่มแรกไม่ควรกำหนดไว้ให้ใกล้เคียงกับขั้นสูงสุด เพื่อให้สามารถปรับอัตราค่าตอบแทนดังกล่าวได้ตามผลงานเป็นระยะ ๆ ตลอดอายุสัญญา
2. ให้นำหลักเกณฑ์ตามข้อ 1. ไปใช้กับหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ซึ่งมีภารกิจในการให้บริการสาธารณะเช่นเดียวกับองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
3. เห็นชอบการพัฒนาการดำเนินงานและการประเมินผลองค์การมหาชนตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
4. เห็นควรกำหนดกรอบวงเงินรวมสำรับค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสำหรับองค์การมหาชน เช่น เงินเดือน ค่าตอบแทน เบี้ยประชุม เห็นต้น ไว้ไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินอุดหนุนประจำปี หากองค์การมหาชนใดไม่สามารถดำเนินการให้อยู่ในกรอบวงเงินดังกล่าวได้ ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณายกเว้นเป็นราย ๆ ไป
5. ในการสรรหาผู้อำนวยการขององค์การมหาชน เห็นควรให้รัฐมนตรีที่กำกับดูแล และคณะกรรมการ องค์การมหาชนกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด ผลผลิต ตลอดจนกรอบวงเงินค่าตอบแทน แล้วแจ้งให้ ก.พ.ร. ทราบก่อนประกาศรับสมัครผู้อำนวยการ ทั้งนี้ เพื่อความโปร่งใส และเพื่อประโยชน์ในการติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติ-งานต่อไปด้วย
6. ให้รัฐมนตรีที่กำกับดูแลองค์การมหาชน และ ก.พ.ร. ตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานขององค์การมหาชนต่าง ๆ หากองค์การมหาชนใดไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการดำเนินงาน หรือไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง หรือมีความซ้ำซ้อนกัน ให้พิจารณายุบเลิก หรือปรับปรุงแก้ไขต่อไป ทั้งนี้ ให้ ก.พ.ร. รับไปพิจารณาด้วยว่า เพื่อให้เกิดความประหยัดและมีประสิทธิภาพ ในกระทรวงหนึ่ง ๆ อาจกำหนดให้มีองค์การมหาชนเดียว แต่ภายใต้องค์กรนั้นอาจมีหน่วยที่มีภารกิจเฉพาะด้านหลาย ๆ หน่วยได้
ข้อเสนอการพัฒนาการดำเนินงานและการประเมินผลองค์การมหาชน มีดังนี้
1. หลักการ ให้องค์การมหาชนทุกแห่งจัดทำแผนยุทธศาสตร์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีและลงนามในคำรับรองการปฏิบัติงาน โดยให้ ก.พ.ร. และสำนักงาน ก.พ.ร. เป็นผู้ประเมินผลงานขององค์การมหาชนตามคำรับรองการปฏิบัติงานและรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรี
2. แนวทาง องค์การมหาชนทุกแห่ง
1) นำหลักการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ไปประยุกต์ใช้
2) จัดทำแผนยุทธศาสตร์เสนอคณะรัฐมนตรี และลงนามตามคำรับรองผลการดำเนินงานระหว่างรัฐมนตรีกับประธานคณะกรรมการและระหว่างประธานคณะกรรมการกับผู้อำนวยการ
3) ประเมินผลการปฏิบัติงานเมื่อครบ 1 ปี ภายหลังลงนาม
4) ให้ความสำคัญกับการประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มค่าขององค์การมหาชน
5) ให้ความสำคัญกับการประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มค่าขององค์การมหาชน
6) มีการนำมาตรการเชิงลบมาใช้
7) ประกาศให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับข้อตกลงผลการดำเนินงานผลการประเมินตามข้อตกลง และสิ่งจูงใจที่ได้รับ
8) ดำเนินการตามมาตรการอย่างต่อเนื่องทุกปี3. กลุ่มเป้าหมาย
ระยะที่ 1 องค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชนฯ
ระยะที่ 2 องค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติเฉพาะซึ่งมีภารกิจให้บริการสาธารณะ4. กรอบการประเมิน อยู่ภายใต้ตัวชี้วัด 4 มิติ
1) มิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ
2) มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ
3) มิติด้านคุณภาพให้บริการ
4) มิติด้านการพัฒนาองค์กร5. สิ่งจูงใจที่ให้แก่องค์การมหาชน ขึ้นกับผลสำเร็จของการดำเนินกิจการตามเป้าหมายมาตรการเชิงบวก เช่น ส่วนแบ่งจากการลดค่าใช้จ่ายการเพิ่มเงินอุดหนุนทั่วไปรายปี เป็นต้น มาตรการเชิงลบ เช่น ยกเลิกสัญญาของผู้อำนวยการก่อนหมดสัญญาจ้าง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. เห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้อำนวยการองค์การมหาชน และการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานกรรมการ กรรมการ ที่ปรึกษา และอนุกรรมการขององค์การมหาชนที่สำนักงาน ก.พร. เสนอ โดยให้แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
1.1 ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ เห็นควรจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ 1 เนื่องจากเป็นองค์กรเพื่อพัฒนาและดำเนินการตามนโยบายสำคัญของรัฐเฉพาะด้าน
1.2 เบี้ยประชุมของอนุกรรมการให้ได้รับเป็นรายเดือน
1.3 กรณีองค์การมหาชนที่ผู้อำนวยการได้รับอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นสูงกว่า หลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ ให้รัฐมนตรีที่กำกับดูแลรับไปดำเนินการเจรจาจัดทำข้อตกลงกับผู้อำนวยการที่ยังอยู่ในอายุสัญญาจ้าง โดยอาจนำส่วนต่างของเงินเดือนที่ได้รับเดิมกับเงินเดือนตามอัตราใหม่ไปจ่ายเป็นเงินตอบแทนในลักษณะอื่น เช่น เงินรางวัล เป็นต้น
1.4 การกำหนดอัตราต่าตอบแทนพื้นฐานในส่วนของเงินเดือนประจำในระยะเริ่มแรกไม่ควรกำหนดไว้ให้ใกล้เคียงกับขั้นสูงสุด เพื่อให้สามารถปรับอัตราค่าตอบแทนดังกล่าวได้ตามผลงานเป็นระยะ ๆ ตลอดอายุสัญญา
2. ให้นำหลักเกณฑ์ตามข้อ 1. ไปใช้กับหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ซึ่งมีภารกิจในการให้บริการสาธารณะเช่นเดียวกับองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
3. เห็นชอบการพัฒนาการดำเนินงานและการประเมินผลองค์การมหาชนตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
4. เห็นควรกำหนดกรอบวงเงินรวมสำรับค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสำหรับองค์การมหาชน เช่น เงินเดือน ค่าตอบแทน เบี้ยประชุม เห็นต้น ไว้ไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินอุดหนุนประจำปี หากองค์การมหาชนใดไม่สามารถดำเนินการให้อยู่ในกรอบวงเงินดังกล่าวได้ ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณายกเว้นเป็นราย ๆ ไป
5. ในการสรรหาผู้อำนวยการขององค์การมหาชน เห็นควรให้รัฐมนตรีที่กำกับดูแล และคณะกรรมการ องค์การมหาชนกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด ผลผลิต ตลอดจนกรอบวงเงินค่าตอบแทน แล้วแจ้งให้ ก.พ.ร. ทราบก่อนประกาศรับสมัครผู้อำนวยการ ทั้งนี้ เพื่อความโปร่งใส และเพื่อประโยชน์ในการติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติ-งานต่อไปด้วย
6. ให้รัฐมนตรีที่กำกับดูแลองค์การมหาชน และ ก.พ.ร. ตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานขององค์การมหาชนต่าง ๆ หากองค์การมหาชนใดไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการดำเนินงาน หรือไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง หรือมีความซ้ำซ้อนกัน ให้พิจารณายุบเลิก หรือปรับปรุงแก้ไขต่อไป ทั้งนี้ ให้ ก.พ.ร. รับไปพิจารณาด้วยว่า เพื่อให้เกิดความประหยัดและมีประสิทธิภาพ ในกระทรวงหนึ่ง ๆ อาจกำหนดให้มีองค์การมหาชนเดียว แต่ภายใต้องค์กรนั้นอาจมีหน่วยที่มีภารกิจเฉพาะด้านหลาย ๆ หน่วยได้
ข้อเสนอการพัฒนาการดำเนินงานและการประเมินผลองค์การมหาชน มีดังนี้
1. หลักการ ให้องค์การมหาชนทุกแห่งจัดทำแผนยุทธศาสตร์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีและลงนามในคำรับรองการปฏิบัติงาน โดยให้ ก.พ.ร. และสำนักงาน ก.พ.ร. เป็นผู้ประเมินผลงานขององค์การมหาชนตามคำรับรองการปฏิบัติงานและรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรี
2. แนวทาง องค์การมหาชนทุกแห่ง
1) นำหลักการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ไปประยุกต์ใช้
2) จัดทำแผนยุทธศาสตร์เสนอคณะรัฐมนตรี และลงนามตามคำรับรองผลการดำเนินงานระหว่างรัฐมนตรีกับประธานคณะกรรมการและระหว่างประธานคณะกรรมการกับผู้อำนวยการ
3) ประเมินผลการปฏิบัติงานเมื่อครบ 1 ปี ภายหลังลงนาม
4) ให้ความสำคัญกับการประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มค่าขององค์การมหาชน
5) ให้ความสำคัญกับการประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มค่าขององค์การมหาชน
6) มีการนำมาตรการเชิงลบมาใช้
7) ประกาศให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับข้อตกลงผลการดำเนินงานผลการประเมินตามข้อตกลง และสิ่งจูงใจที่ได้รับ
8) ดำเนินการตามมาตรการอย่างต่อเนื่องทุกปี3. กลุ่มเป้าหมาย
ระยะที่ 1 องค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชนฯ
ระยะที่ 2 องค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติเฉพาะซึ่งมีภารกิจให้บริการสาธารณะ4. กรอบการประเมิน อยู่ภายใต้ตัวชี้วัด 4 มิติ
1) มิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ
2) มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ
3) มิติด้านคุณภาพให้บริการ
4) มิติด้านการพัฒนาองค์กร5. สิ่งจูงใจที่ให้แก่องค์การมหาชน ขึ้นกับผลสำเร็จของการดำเนินกิจการตามเป้าหมายมาตรการเชิงบวก เช่น ส่วนแบ่งจากการลดค่าใช้จ่ายการเพิ่มเงินอุดหนุนทั่วไปรายปี เป็นต้น มาตรการเชิงลบ เช่น ยกเลิกสัญญาของผู้อำนวยการก่อนหมดสัญญาจ้าง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-