คณะรัฐมนตรีพิจารณาแนวทางการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบแนวทางการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้ กรณีของข้าว ประกอบด้วย 3 แนวทาง ได้แก่
(1) การเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการผลิต โดย 1) ให้กรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร เร่งผลิตเมล็ดพันธุ์ดี (ข้าวหอมมะลิ) ให้เพียงพอจำหน่ายแก่เกษตรกร จำนวน 1.5 แสนตันต่อปี 2) ให้กรมพัฒนาที่ดินเร่งจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตการเกษตร 3) ให้กรมส่งเสริมการเกษตรพัฒนาศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน 1,704 ศูนย์ที่มีอยู่ และขยายอีกจำนวน 2,046 ศูนย์ให้ครอบคลุมพื้นที่ปลูกข้าว 15 ล้านไร่ภายใน 3 ปี
(2) การลดต้นทุนการผลิต โดยให้กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตรและกรมพัฒนา- ที่ดินเร่งอบรมการทำปุ๋ยชีวภาพและสนับสนุนจุลินทรีย์ที่ใช้ทำปุ๋ย
(3) การเพิ่มผลตอบแทนในห่วงโซ่มูลค่าการผลิต โดยให้กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน สหกรณ์และองค์กรพัฒนาเอกชนพัฒนาศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนเป็นศูนย์กลางเชื่อมเกษตรกรกับผู้ประกอบการ ทั้งด้านการสร้างกลไกการตลาด การให้ข้อมูลการตลาดและการจัดหาแหล่ง เงินทุนหมุนเวียนในการผลิตข้าว รวมทั้งการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงาน
- กรณีของไหม ประกอบด้วย 2 แนวทาง ได้แก่
(1) การเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการผลิต โดย 1) ให้กรมวิชาการเกษตรเร่งวิจัยหาพันธุ์หม่อนทนแล้ง ปลอดโรครากเน่า ให้ผลผลิตสูง และวิจัยหาพันธุ์ไหมเลี้ยงง่าย ทนโรค ให้เส้นใยยาว มีเอกลักษณ์ไหมไทย 2)ให้กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมพัฒนาโรงสาวไหมชุมชนเดิม 16 แห่ง โดยเร่งติดตั้งเครื่องสาวไหม เครื่องทำไจ เครื่องตีเกลียว พร้อมให้ความรู้เทคนิคการเลี้ยงไหม การสาวไหม การฟอกย้อม และความรู้ด้านการตลาด
(2) การเพิ่มผลตอบแทนในห่วงโซ่มูลค่าการผลิต โดย 1) ให้กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมการพัฒนาชุมชน และกรมการค้าภายใน ร่วมจัดเวทีพบปะเจรจาระหว่างกลุ่มผู้เลี้ยงไหม ผู้ทอผ้า โรงงานทอผ้า และผู้ทำผลิตภัณฑ์จากไหม เพื่อวางแผนการผลิตร่วมกัน 2) ให้กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมส่งเสริม-อุตสาหกรรมเร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีการทอ การออกแบบ และการทำผลิตภัณฑ์ไหม รวมทั้งสนับสนุนการถ่ายทอดประสบการณ์การดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรหรือองค์กรที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนา Value Chain ของตนเองไปสู่กลุ่มเกษตรกรที่สนใจ พร้อมสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อใช้เป็นทุนในการดำเนินงาน
2. มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวง อุตสาหกรรมและกระทรวงมหาดไทย ให้พิจารณาจัดทำแผนงานโครงการที่สอดคล้องกับแนวทางตามข้อ 1 เพื่อขอรับการสนับสนุนจากงบกลาง ปี 2548 ในการดำเนินการ โดยให้ทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ
3. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปทำการศึกษาหา แนวทางการพัฒนาห่วงโซ่มูลค่าการผลิต (Value Chain) ของสินค้าเกษตรอื่น ๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้เกษตรกรที่ทำการผลิตพืชและสัตว์เศรษฐกิจอื่นมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้โดยให้ศึกษาในภาพรวม (Macro) ก่อน สำหรับงบประมาณค่าใช้จ่ายในการนี้ให้ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ที่ได้รับจัดสรรโดยให้พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าวในโอกาสแรก และหากงบประมาณที่ได้รับมีไม่เพียงพอที่จะดำเนินการ ก็เห็นสมควรให้ขอรับจัดสรรจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 เพิ่มเติม หรือเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามความจำเป็นและความเหมาะสมต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานสรุปแนวทางการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้
1. เหตุผลความจำเป็น รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาความยากจนให้หมดไปภายใน 6 ปี หรือภายในปี 2552 ซึ่งในภาพรวมรัฐบาลได้มีนโยบายและมาตรการแก้ปัญหาครอบคลุมเกือบทุกด้าน ได้แก่ (1) การสร้างโอกาสในการเข้าถึงทุน อาทิ กองทุนหมู่บ้าน ธนาคารประชาชน (2) การสนับสนุนความรู้และปัจจัยการผลิตทางการเกษตร อาทิ ที่ดินทำกิน แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์และเทคโนโลยีการผลิต (3) การช่วยเหลือด้านสังคมเพื่อให้เข้าถึงบริการของรัฐ อาทิ โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค การให้ทุนการศึกษา การให้เรียนฟรี 12 ปี และ (4) การส่งเสริมอาชีพรอง อาทิ โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งนโยบายเหล่านี้ส่งผลให้คนยากจนบางส่วนมีฐานะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม เกษตรกรซึ่งเป็นคนยากจนส่วนใหญ่ของประเทศโดยเฉพาะเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีปัญหาในด้านรายได้หรือผลตอบแทนจากการประกอบอาชีพทางการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลัก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไขเพื่อให้ปัญหาความยากจนของเกษตรกรเหล่านี้หมดไปอย่างถาวร
2. ปัญหาและแนวทางการดำเนินงานเพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ องค์ประกอบที่ส่งผลให้ผลตอบแทนจากการทำการเกษตรของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่ำนั้น ส่วนใหญ่เนื่องมาจาก 3 องค์ประกอบหลัก คือ (1) ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ (2) คุณภาพของผลผลิตไม่ตรงกับความต้องการของตลาด (3) ผลกำไรจากการลงทุนและส่วนแบ่งที่เกษตรกรได้รับเมื่อเปรียบเทียบในห่วงโซ่มูลค่าการผลิต (Value Chain) ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัญหาและปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
2.1 กรณีของข้าวมีเป้าหมาย เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอย่างน้อยอีกประมาณ 2 หมื่นบาทต่อปีจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวจาก 350 กิโลกรัมต่อไร่เป็น 400 กิโลกรัมต่อไร่ ลดต้นทุนการผลิต 370 บาทต่อไร่ จากการทำเกษตรอินทรีย์ ลดความชื้นของข้าวที่ขายให้อยู่ที่ระดับ 14 เปอร์เซ็นต์ และต้องขายตรงให้กับโรงสี
2.2 กรณีของไหมมีเป้าหมาย เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอย่างน้อยอีกประมาณ 13,800 บาท ต่อปีจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจาก 20 เป็น 25 กิโลกรัมต่อกล่อง และทำการเลี้ยงปีละ 6 รุ่น ปรับจากสาวไหมด้วยมือเป็นเครื่องสาวแบบง่าย ทำขนาดไจไหมให้ได้มาตรฐานและมีการตีเกลียวเส้นไหมจำหน่าย ซึ่งหากทอผ้าเองจะมีรายได้สูงขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. เห็นชอบแนวทางการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้ กรณีของข้าว ประกอบด้วย 3 แนวทาง ได้แก่
(1) การเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการผลิต โดย 1) ให้กรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร เร่งผลิตเมล็ดพันธุ์ดี (ข้าวหอมมะลิ) ให้เพียงพอจำหน่ายแก่เกษตรกร จำนวน 1.5 แสนตันต่อปี 2) ให้กรมพัฒนาที่ดินเร่งจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตการเกษตร 3) ให้กรมส่งเสริมการเกษตรพัฒนาศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน 1,704 ศูนย์ที่มีอยู่ และขยายอีกจำนวน 2,046 ศูนย์ให้ครอบคลุมพื้นที่ปลูกข้าว 15 ล้านไร่ภายใน 3 ปี
(2) การลดต้นทุนการผลิต โดยให้กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตรและกรมพัฒนา- ที่ดินเร่งอบรมการทำปุ๋ยชีวภาพและสนับสนุนจุลินทรีย์ที่ใช้ทำปุ๋ย
(3) การเพิ่มผลตอบแทนในห่วงโซ่มูลค่าการผลิต โดยให้กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน สหกรณ์และองค์กรพัฒนาเอกชนพัฒนาศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนเป็นศูนย์กลางเชื่อมเกษตรกรกับผู้ประกอบการ ทั้งด้านการสร้างกลไกการตลาด การให้ข้อมูลการตลาดและการจัดหาแหล่ง เงินทุนหมุนเวียนในการผลิตข้าว รวมทั้งการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงาน
- กรณีของไหม ประกอบด้วย 2 แนวทาง ได้แก่
(1) การเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการผลิต โดย 1) ให้กรมวิชาการเกษตรเร่งวิจัยหาพันธุ์หม่อนทนแล้ง ปลอดโรครากเน่า ให้ผลผลิตสูง และวิจัยหาพันธุ์ไหมเลี้ยงง่าย ทนโรค ให้เส้นใยยาว มีเอกลักษณ์ไหมไทย 2)ให้กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมพัฒนาโรงสาวไหมชุมชนเดิม 16 แห่ง โดยเร่งติดตั้งเครื่องสาวไหม เครื่องทำไจ เครื่องตีเกลียว พร้อมให้ความรู้เทคนิคการเลี้ยงไหม การสาวไหม การฟอกย้อม และความรู้ด้านการตลาด
(2) การเพิ่มผลตอบแทนในห่วงโซ่มูลค่าการผลิต โดย 1) ให้กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมการพัฒนาชุมชน และกรมการค้าภายใน ร่วมจัดเวทีพบปะเจรจาระหว่างกลุ่มผู้เลี้ยงไหม ผู้ทอผ้า โรงงานทอผ้า และผู้ทำผลิตภัณฑ์จากไหม เพื่อวางแผนการผลิตร่วมกัน 2) ให้กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมส่งเสริม-อุตสาหกรรมเร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีการทอ การออกแบบ และการทำผลิตภัณฑ์ไหม รวมทั้งสนับสนุนการถ่ายทอดประสบการณ์การดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรหรือองค์กรที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนา Value Chain ของตนเองไปสู่กลุ่มเกษตรกรที่สนใจ พร้อมสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อใช้เป็นทุนในการดำเนินงาน
2. มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวง อุตสาหกรรมและกระทรวงมหาดไทย ให้พิจารณาจัดทำแผนงานโครงการที่สอดคล้องกับแนวทางตามข้อ 1 เพื่อขอรับการสนับสนุนจากงบกลาง ปี 2548 ในการดำเนินการ โดยให้ทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ
3. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปทำการศึกษาหา แนวทางการพัฒนาห่วงโซ่มูลค่าการผลิต (Value Chain) ของสินค้าเกษตรอื่น ๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้เกษตรกรที่ทำการผลิตพืชและสัตว์เศรษฐกิจอื่นมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้โดยให้ศึกษาในภาพรวม (Macro) ก่อน สำหรับงบประมาณค่าใช้จ่ายในการนี้ให้ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ที่ได้รับจัดสรรโดยให้พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าวในโอกาสแรก และหากงบประมาณที่ได้รับมีไม่เพียงพอที่จะดำเนินการ ก็เห็นสมควรให้ขอรับจัดสรรจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 เพิ่มเติม หรือเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามความจำเป็นและความเหมาะสมต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานสรุปแนวทางการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้
1. เหตุผลความจำเป็น รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาความยากจนให้หมดไปภายใน 6 ปี หรือภายในปี 2552 ซึ่งในภาพรวมรัฐบาลได้มีนโยบายและมาตรการแก้ปัญหาครอบคลุมเกือบทุกด้าน ได้แก่ (1) การสร้างโอกาสในการเข้าถึงทุน อาทิ กองทุนหมู่บ้าน ธนาคารประชาชน (2) การสนับสนุนความรู้และปัจจัยการผลิตทางการเกษตร อาทิ ที่ดินทำกิน แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์และเทคโนโลยีการผลิต (3) การช่วยเหลือด้านสังคมเพื่อให้เข้าถึงบริการของรัฐ อาทิ โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค การให้ทุนการศึกษา การให้เรียนฟรี 12 ปี และ (4) การส่งเสริมอาชีพรอง อาทิ โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งนโยบายเหล่านี้ส่งผลให้คนยากจนบางส่วนมีฐานะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม เกษตรกรซึ่งเป็นคนยากจนส่วนใหญ่ของประเทศโดยเฉพาะเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีปัญหาในด้านรายได้หรือผลตอบแทนจากการประกอบอาชีพทางการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลัก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไขเพื่อให้ปัญหาความยากจนของเกษตรกรเหล่านี้หมดไปอย่างถาวร
2. ปัญหาและแนวทางการดำเนินงานเพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ องค์ประกอบที่ส่งผลให้ผลตอบแทนจากการทำการเกษตรของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่ำนั้น ส่วนใหญ่เนื่องมาจาก 3 องค์ประกอบหลัก คือ (1) ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ (2) คุณภาพของผลผลิตไม่ตรงกับความต้องการของตลาด (3) ผลกำไรจากการลงทุนและส่วนแบ่งที่เกษตรกรได้รับเมื่อเปรียบเทียบในห่วงโซ่มูลค่าการผลิต (Value Chain) ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัญหาและปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
2.1 กรณีของข้าวมีเป้าหมาย เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอย่างน้อยอีกประมาณ 2 หมื่นบาทต่อปีจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวจาก 350 กิโลกรัมต่อไร่เป็น 400 กิโลกรัมต่อไร่ ลดต้นทุนการผลิต 370 บาทต่อไร่ จากการทำเกษตรอินทรีย์ ลดความชื้นของข้าวที่ขายให้อยู่ที่ระดับ 14 เปอร์เซ็นต์ และต้องขายตรงให้กับโรงสี
2.2 กรณีของไหมมีเป้าหมาย เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอย่างน้อยอีกประมาณ 13,800 บาท ต่อปีจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจาก 20 เป็น 25 กิโลกรัมต่อกล่อง และทำการเลี้ยงปีละ 6 รุ่น ปรับจากสาวไหมด้วยมือเป็นเครื่องสาวแบบง่าย ทำขนาดไจไหมให้ได้มาตรฐานและมีการตีเกลียวเส้นไหมจำหน่าย ซึ่งหากทอผ้าเองจะมีรายได้สูงขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-