คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการเรื่อง การเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอสำหรับสาระสำคัญของการเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน มีดังนี้
1. กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน
1.1 คณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ระหว่างไทย-ลาว,ไทย-พม่า และไทย-กัมพูชา
1.2 ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS)
1.3 โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (Great Mekong Sub-regional Economic Cooperation : GMS-EC)
1.4 กรอบความร่วมมือเพื่อพัฒนาอาเวียน-ลุ่มน้ำโขง ASEAN- Mekong Basin Development Cooperation AMBDC
1.5 กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจบังกลาเทศ-อินเดีย-พม่า-ศรีลังกา-ไทย (เนปาล-ภูฐาน) BIMST-EC
1.6 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย Indonesia-Malaysia -Thailand growth Traiangle : IMT-GT
1.7 ความร่วมมืออื่นๆ อาทิ ความร่วมมือสามเหลี่ยมมรกต (Emerald Triangle) ความร่วมมือไทย-พม่า-อินเดีย India-Myanmar-Thailand trilateral Transport linkage) ความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา Mekong Ganga Cooperation MGC
2. การจัดตั้งศูนย์ให้บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว
เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน กำหนดจัดให้มีโครงการนำร้อง คือ กัมพูชา (อรัญประเทศ-ปอยเปต) ลาว (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) พม่า (แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก แม่สอด-เมียวดี)
3. การพัฒนาระบบตลาดและธุรกิจภาคเอกชนของประเทศเพื่อนบ้าน ให้การสนับสนุนประเทศเพื่อนบ้าน เข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ (Trade Fair) การฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญการส่งออก (Smart Exporter) การจัดตั้งสภาธุรกิจแห่งยุทธศาสตร์ความร่วมมือเศรษฐกิจ การตั้งเขตการผลิตเพื่อการส่งออก (Export Processing Zone: EPZ)
4. การจัดตั้งตลาดกลางการค้าส่งออกและส่งออกในพม่า ลาวและกัมพูชา เพื่อสนับสนุนการที่ผู้ประกอบการของไทยจะสั่งซื้อวัตถุดิบครั้งละเป็นจำนวนมากจากประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นแหล่งกระจายสินค้าส่งออกของไทย ขณะนี้ได้จัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษารูปแบบและการบริหารตลาดในกัมพูชาแล้ว ส่วนตลาดฯ ในลาวและพม่าอยู่ระหว่างการของบประมาณกลางปี 2547
5. การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้กรอบอาเซียน (ASEAN Integration System of Preferences: AISP) ได้แก่ ลาว (187 รายการ) พม่า (460 รายการ) กัมพูชา (309 รายการ) เวียดนาม (34 รายการ)
6. ความคืบหน้า ปริมาณการค้าและการลงทุนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เช่น
6.1 สปป.ลาว การค้าชายแดน (มิถุนายน 2547) มีตัวเลขการส่งออกเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 30.77 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.10
6.2 สหภาพพม่า มีความตกลงทำ Contract farming ทั้งนี้การค้าชายแดนมีตัวเลขการส่งออกเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 53.79 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.97
6.3 กัมพูชา มีการเจรจาทำ Contract farming โดยไทยจะเข้าไปลงทุนทำการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ในกัมพูชา และใช้การนำการค้าแบบหักบัญชี (Account trade) เพื่อเป็นเครื่องมือขยายมูลค่าการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ การค้าชายแดนมีตัวเลขการส่งออกเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 14.20 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 227.91
6.4 มาเลเซีย/อินโดนีเซีย จัดตั้ง Halal Industrial Hub ที่ Bukit Kayu Hitum (ตรงข้ามด่านศุลกากร จ.สงขลา) โดยจะส่งเสริมและสนับสนุนโครงการนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลของประเทศไทยที่จะจัดตั้งที่ จ.ปัตตานีด้วย) เห็นชอบให้จัดตังคณะทำงาน (Implementing Team) ด้านการค้าระบบหักบัญชี (Account Trade) และให้ประเทศไทยเป็นผู้นำ ทั้งนี้ มาเลเซียและไทยพิจารณาร่วมกันในการจัดตั้งหน่วยบริการและตรวจสอบ ณ จุดเดียว (One-Stop Service and Single Inspection) ณ ด่านชายแดน เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างกัน
ทั้งนี้ โดยให้คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านข้างต้น ตลอดจนกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงพาณิชย์ เร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน
1.1 คณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ระหว่างไทย-ลาว,ไทย-พม่า และไทย-กัมพูชา
1.2 ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS)
1.3 โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (Great Mekong Sub-regional Economic Cooperation : GMS-EC)
1.4 กรอบความร่วมมือเพื่อพัฒนาอาเวียน-ลุ่มน้ำโขง ASEAN- Mekong Basin Development Cooperation AMBDC
1.5 กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจบังกลาเทศ-อินเดีย-พม่า-ศรีลังกา-ไทย (เนปาล-ภูฐาน) BIMST-EC
1.6 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย Indonesia-Malaysia -Thailand growth Traiangle : IMT-GT
1.7 ความร่วมมืออื่นๆ อาทิ ความร่วมมือสามเหลี่ยมมรกต (Emerald Triangle) ความร่วมมือไทย-พม่า-อินเดีย India-Myanmar-Thailand trilateral Transport linkage) ความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา Mekong Ganga Cooperation MGC
2. การจัดตั้งศูนย์ให้บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว
เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน กำหนดจัดให้มีโครงการนำร้อง คือ กัมพูชา (อรัญประเทศ-ปอยเปต) ลาว (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) พม่า (แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก แม่สอด-เมียวดี)
3. การพัฒนาระบบตลาดและธุรกิจภาคเอกชนของประเทศเพื่อนบ้าน ให้การสนับสนุนประเทศเพื่อนบ้าน เข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ (Trade Fair) การฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญการส่งออก (Smart Exporter) การจัดตั้งสภาธุรกิจแห่งยุทธศาสตร์ความร่วมมือเศรษฐกิจ การตั้งเขตการผลิตเพื่อการส่งออก (Export Processing Zone: EPZ)
4. การจัดตั้งตลาดกลางการค้าส่งออกและส่งออกในพม่า ลาวและกัมพูชา เพื่อสนับสนุนการที่ผู้ประกอบการของไทยจะสั่งซื้อวัตถุดิบครั้งละเป็นจำนวนมากจากประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นแหล่งกระจายสินค้าส่งออกของไทย ขณะนี้ได้จัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษารูปแบบและการบริหารตลาดในกัมพูชาแล้ว ส่วนตลาดฯ ในลาวและพม่าอยู่ระหว่างการของบประมาณกลางปี 2547
5. การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้กรอบอาเซียน (ASEAN Integration System of Preferences: AISP) ได้แก่ ลาว (187 รายการ) พม่า (460 รายการ) กัมพูชา (309 รายการ) เวียดนาม (34 รายการ)
6. ความคืบหน้า ปริมาณการค้าและการลงทุนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เช่น
6.1 สปป.ลาว การค้าชายแดน (มิถุนายน 2547) มีตัวเลขการส่งออกเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 30.77 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.10
6.2 สหภาพพม่า มีความตกลงทำ Contract farming ทั้งนี้การค้าชายแดนมีตัวเลขการส่งออกเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 53.79 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.97
6.3 กัมพูชา มีการเจรจาทำ Contract farming โดยไทยจะเข้าไปลงทุนทำการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ในกัมพูชา และใช้การนำการค้าแบบหักบัญชี (Account trade) เพื่อเป็นเครื่องมือขยายมูลค่าการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ การค้าชายแดนมีตัวเลขการส่งออกเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 14.20 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 227.91
6.4 มาเลเซีย/อินโดนีเซีย จัดตั้ง Halal Industrial Hub ที่ Bukit Kayu Hitum (ตรงข้ามด่านศุลกากร จ.สงขลา) โดยจะส่งเสริมและสนับสนุนโครงการนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลของประเทศไทยที่จะจัดตั้งที่ จ.ปัตตานีด้วย) เห็นชอบให้จัดตังคณะทำงาน (Implementing Team) ด้านการค้าระบบหักบัญชี (Account Trade) และให้ประเทศไทยเป็นผู้นำ ทั้งนี้ มาเลเซียและไทยพิจารณาร่วมกันในการจัดตั้งหน่วยบริการและตรวจสอบ ณ จุดเดียว (One-Stop Service and Single Inspection) ณ ด่านชายแดน เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างกัน
ทั้งนี้ โดยให้คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านข้างต้น ตลอดจนกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงพาณิชย์ เร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-