คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย (ครั้งที่ 8) ดังนี้
กระทรวงมหาดไทย โดยศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนกระทรวงมหาดไทย (ศตจ.มท.) ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (นอกระบบ) ซึ่งมีผลการเจรจาคืบหน้ามาโดยลำดับ มีทีมเจรจาหนี้ทั่วประเทศ 6,036 ชุด โดย ศตจ.มท. ได้ให้ ศตจ. จังหวัด/อำเภอ ดำเนินการตามแนวทางของกระทรวงการคลัง (อนุกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินคนยากจนของ ศตจ.) ทีมเจรจาสามารถปรับเปลี่ยนแนวทางได้อย่างเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ โดยใช้หลักเมตตาธรรม สันติธรรม มีทัศนคติที่ดีต่อลูกหนี้และเจ้าหนี้ มีการประนีประนอมภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด
1. ณ วันอังคารที่ 31 สิงหาคม 2547 ศตจ.มท. ได้รับรายงานผลการดำเนินงานจาก ศตจ. จังหวัด 75 จังหวัด ว่า ได้เชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้เข้าสู่กระบวนการเจรจาประนอมหนี้ครบถ้วนตามเป้าหมาย (ที่มาจดทะเบียน) จำนวน 1,685,090 ราย มูลหนี้ 123,888,228,693 บาท ในจำนวนนี้
1.1 ได้ข้อยุติ (97.68% ของที่มาเจรจา) จำนวน 1,645,953 ราย มูลหนี้ 119,720,663,063 บาท
1.2 ในชั้นนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ (2.32% ของที่มาเจรจา) จำนวน 39,137 ราย มูลหนี้ 4,167,565,631 บาท ซึ่งยังคงมีการดำเนินการต่อไป
2. ณ วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน 2547 ศตจ.กทม. ได้รายงานผลการเจรจาหนี้สินนอกระบบให้ทราบว่า ได้เชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้เข้าสู่กระบวนการเจรจา 72,830 ราย มูลหนี้ 8,920,008,022 บาท ครบถ้วนตามเป้าหมายแล้วเช่นกัน
3. แม้ว่ามีกระบวนการเข้าสู่การเจรจาหนี้เสร็จตามเป้าหมายในระดับหนึ่งแล้ว เพื่อป้องกันมิให้ลูกหนี้ที่ผ่านกระบวนการเจรจาหนี้ หวนกลับไปเป็นหนี้นอกระบบอีก และจะต้องมีการดำเนินการในก้าวต่อไปเพื่อนำไปสู่การสร้างความยั่งยืน ศตจ.มท. จะได้แจ้งแนวทางให้ ศตจ. จังหวัดดำเนินการเพิ่มเติมต่อไปดังนี้
3.1 ด้านบริหารฐานข้อมูล
ศตจ.มท. ได้เร่งรัดให้ ศตจ.จังหวัด กำชับ ศตจ.อำเภอ ในการบันทึกข้อมูลตามแบบฟอร์ม ผลการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้นอกระบบ (แบบ น.2) ลงในระบบคอมพิวเตอร์ของกระทรวงการคลังให้ครบถ้วนถูกต้องโดยเร็ว
3.2 ด้านการเจรจาหนี้
1) ให้ ศตจ.จังหวัด อำเภอ ติดตามกลุ่มลูกหนี้ที่ประสงค์จะเข้าสู่ระบบธนาคาร ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย โดยให้ ศตจ. จังหวัด/อำเภอ ติดตามการให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และรายงานผลให้ทราบเป็นระยะ
2) กรณีลูกหนี้และเจ้าหนี้สามารถตกลงกันได้ แต่ไม่ประสงค์เข้าสู่ระบบธนาคาร ให้ ศตจ.อำเภอตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกครั้ง โดยให้บันทึกไว้เป็นหลักฐานตามที่อนุกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินคนยากจนกำหนดเช่นกัน
3) กรณีที่ทีมเจรจาไม่สามารถติดต่อลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้ในช่วงที่ผ่านมา แม้ได้แจ้งติดต่อมากกว่า 2 ครั้งแล้วนั้น ให้ใช้ความพยายามดำเนินการติดต่อเพิ่มเติมอีก หากลูกหนี้ที่ทีมเจรจาติดต่อได้และมีความประสงค์จะเข้ากระบวนการเจรจาหนี้ ก็ให้ดำเนินการเจรจาที่อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสถานที่ที่เหมาะสม โดยยึดแนวทางการเจรจาแก้ไขหนี้นอกระบบที่ผ่านมาเป็นแนวทางในการดำเนินการ
4) ให้ติดตาม สอดส่อง ดูแล คุ้มครองลูกหนี้ ที่หากเกิดมีการข่มขู่ คุกคามจากเจ้าหนี้ที่มีอิทธิพลเป็นที่ปรากฏ
5) ศตจ. จังหวัด อาจพิจารณาขอความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่ช่วยเหลือในด้านการประเมินผลการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบตามสมควร
3.3 ด้านการลดรายจ่าย
เน้นย้ำให้ ศตจ.จังหวัด รณรงค์ให้ประชาชนและครอบครัว ลดการใช้จ่ายในงานสังคมที่ไม่จำเป็น อันนำไปสู่การกู้หนี้ยืมสิน ให้ลดรายจ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดการผลิตหรือรายได้ รวมทั้งการเลิกเล่นการพนัน และการพัวพันอบายมุขทุกประเภท ซึ่งหน่วยงานของกรมการพัฒนาชุมชนเป็นแกนหลัก ได้เริ่มดำเนินการกระตุ้นชุมชนจัดโครงการรณรงค์ในการลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยในพื้นที่แล้ว
3.4 ด้านการส่งเสริมอาชีพและหางานทำ
การแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบเป็นกระบวนการแรกที่ต้องเชื่อมโยงและส่งผ่านข้อมูลของผู้จดทะเบียนไปยังส่วนราชการที่เกี่ยวข้องภายใต้ ศตจ. จังหวัด เพื่อเสริมสร้างอาชีพ หางานเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ รวมทั้งการพัฒนาความรู้ ฝึกฝนอาชีพ ทักษะในด้านต่าง ๆ ตามที่จำเป็นโดยอาศัยสถาบันการศึกษาวิทยาลัยการอาชีพ ฯลฯ ในพื้นที่ จึงให้ส่งข้อมูลไปยังอนุกรรมการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำใน ศตจ. จังหวัดได้รับไปแก้ไขปัญหาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงมหาดไทย โดยศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนกระทรวงมหาดไทย (ศตจ.มท.) ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (นอกระบบ) ซึ่งมีผลการเจรจาคืบหน้ามาโดยลำดับ มีทีมเจรจาหนี้ทั่วประเทศ 6,036 ชุด โดย ศตจ.มท. ได้ให้ ศตจ. จังหวัด/อำเภอ ดำเนินการตามแนวทางของกระทรวงการคลัง (อนุกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินคนยากจนของ ศตจ.) ทีมเจรจาสามารถปรับเปลี่ยนแนวทางได้อย่างเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ โดยใช้หลักเมตตาธรรม สันติธรรม มีทัศนคติที่ดีต่อลูกหนี้และเจ้าหนี้ มีการประนีประนอมภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด
1. ณ วันอังคารที่ 31 สิงหาคม 2547 ศตจ.มท. ได้รับรายงานผลการดำเนินงานจาก ศตจ. จังหวัด 75 จังหวัด ว่า ได้เชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้เข้าสู่กระบวนการเจรจาประนอมหนี้ครบถ้วนตามเป้าหมาย (ที่มาจดทะเบียน) จำนวน 1,685,090 ราย มูลหนี้ 123,888,228,693 บาท ในจำนวนนี้
1.1 ได้ข้อยุติ (97.68% ของที่มาเจรจา) จำนวน 1,645,953 ราย มูลหนี้ 119,720,663,063 บาท
1.2 ในชั้นนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ (2.32% ของที่มาเจรจา) จำนวน 39,137 ราย มูลหนี้ 4,167,565,631 บาท ซึ่งยังคงมีการดำเนินการต่อไป
2. ณ วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน 2547 ศตจ.กทม. ได้รายงานผลการเจรจาหนี้สินนอกระบบให้ทราบว่า ได้เชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้เข้าสู่กระบวนการเจรจา 72,830 ราย มูลหนี้ 8,920,008,022 บาท ครบถ้วนตามเป้าหมายแล้วเช่นกัน
3. แม้ว่ามีกระบวนการเข้าสู่การเจรจาหนี้เสร็จตามเป้าหมายในระดับหนึ่งแล้ว เพื่อป้องกันมิให้ลูกหนี้ที่ผ่านกระบวนการเจรจาหนี้ หวนกลับไปเป็นหนี้นอกระบบอีก และจะต้องมีการดำเนินการในก้าวต่อไปเพื่อนำไปสู่การสร้างความยั่งยืน ศตจ.มท. จะได้แจ้งแนวทางให้ ศตจ. จังหวัดดำเนินการเพิ่มเติมต่อไปดังนี้
3.1 ด้านบริหารฐานข้อมูล
ศตจ.มท. ได้เร่งรัดให้ ศตจ.จังหวัด กำชับ ศตจ.อำเภอ ในการบันทึกข้อมูลตามแบบฟอร์ม ผลการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้นอกระบบ (แบบ น.2) ลงในระบบคอมพิวเตอร์ของกระทรวงการคลังให้ครบถ้วนถูกต้องโดยเร็ว
3.2 ด้านการเจรจาหนี้
1) ให้ ศตจ.จังหวัด อำเภอ ติดตามกลุ่มลูกหนี้ที่ประสงค์จะเข้าสู่ระบบธนาคาร ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย โดยให้ ศตจ. จังหวัด/อำเภอ ติดตามการให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และรายงานผลให้ทราบเป็นระยะ
2) กรณีลูกหนี้และเจ้าหนี้สามารถตกลงกันได้ แต่ไม่ประสงค์เข้าสู่ระบบธนาคาร ให้ ศตจ.อำเภอตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกครั้ง โดยให้บันทึกไว้เป็นหลักฐานตามที่อนุกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินคนยากจนกำหนดเช่นกัน
3) กรณีที่ทีมเจรจาไม่สามารถติดต่อลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้ในช่วงที่ผ่านมา แม้ได้แจ้งติดต่อมากกว่า 2 ครั้งแล้วนั้น ให้ใช้ความพยายามดำเนินการติดต่อเพิ่มเติมอีก หากลูกหนี้ที่ทีมเจรจาติดต่อได้และมีความประสงค์จะเข้ากระบวนการเจรจาหนี้ ก็ให้ดำเนินการเจรจาที่อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสถานที่ที่เหมาะสม โดยยึดแนวทางการเจรจาแก้ไขหนี้นอกระบบที่ผ่านมาเป็นแนวทางในการดำเนินการ
4) ให้ติดตาม สอดส่อง ดูแล คุ้มครองลูกหนี้ ที่หากเกิดมีการข่มขู่ คุกคามจากเจ้าหนี้ที่มีอิทธิพลเป็นที่ปรากฏ
5) ศตจ. จังหวัด อาจพิจารณาขอความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่ช่วยเหลือในด้านการประเมินผลการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบตามสมควร
3.3 ด้านการลดรายจ่าย
เน้นย้ำให้ ศตจ.จังหวัด รณรงค์ให้ประชาชนและครอบครัว ลดการใช้จ่ายในงานสังคมที่ไม่จำเป็น อันนำไปสู่การกู้หนี้ยืมสิน ให้ลดรายจ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดการผลิตหรือรายได้ รวมทั้งการเลิกเล่นการพนัน และการพัวพันอบายมุขทุกประเภท ซึ่งหน่วยงานของกรมการพัฒนาชุมชนเป็นแกนหลัก ได้เริ่มดำเนินการกระตุ้นชุมชนจัดโครงการรณรงค์ในการลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยในพื้นที่แล้ว
3.4 ด้านการส่งเสริมอาชีพและหางานทำ
การแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบเป็นกระบวนการแรกที่ต้องเชื่อมโยงและส่งผ่านข้อมูลของผู้จดทะเบียนไปยังส่วนราชการที่เกี่ยวข้องภายใต้ ศตจ. จังหวัด เพื่อเสริมสร้างอาชีพ หางานเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ รวมทั้งการพัฒนาความรู้ ฝึกฝนอาชีพ ทักษะในด้านต่าง ๆ ตามที่จำเป็นโดยอาศัยสถาบันการศึกษาวิทยาลัยการอาชีพ ฯลฯ ในพื้นที่ จึงให้ส่งข้อมูลไปยังอนุกรรมการส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำใน ศตจ. จังหวัดได้รับไปแก้ไขปัญหาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-