คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรายงานแนวทางการแก้ไขปัญหาวิทยุชุมชน โดยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) ร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์ได้ประสานงานและสั่งการให้มีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาวิทยุชุมชน ดังต่อไปนี้
1. ยืนยันในหลักการการสนับสนุนให้ชุมชนมีกลไกในการสื่อสารภายในชุมชน ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และเป็นการเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชน ตลอดจนการสร้างโอกาสให้กับประชาชน
2. ยืนยันแนวทางการดำเนินการวิทยุชุมชน ภายใต้โครงการจุดปฏิบัติการเตรียมความพร้อมวิทยุชุมชน โดยมีหลักเกณฑ์กำลังส่งไม่เกิน 30 วัตต์ เสาอากาศสูงไม่เกิน 30 เมตรจากระดับพื้นดิน และรัศมีการออกอากาศไม่เกิน 15 กิโลเมตร (กรอบกติกา 30-30-15)
3. ยืนยันการอนุญาตให้โฆษณาได้ไม่เกินชั่วโมงละ 6 นาที เพื่อที่จะเป็นการหารายได้สนับสนุนการดำเนินการของวิทยุชุมชนให้เลี้ยงตนเองได้ แต่การดำเนินการดังกล่าวจะต้องไม่เป็นการขายโฆษณาเพื่อแสวงหากำไรเชิงพาณิชย์ แต่ให้อยู่ในกรอบของการเผยแพร่ภาพลักษณ์ของสินค้าในท้องถิ่นหรือชุมชนเท่านั้น โดยผู้ให้การสนับสนุนต้องเข้าใจเงื่อนไขและข้อจำกัดของกำลังส่ง และผู้มีรายได้ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลจะต้องเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมาย
4. บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับคลื่นวิทยุที่รบกวนวิทยุการบิน วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตาม พรบ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 พรบ.วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498 ตลอดจนประมวลกฎหมายรัษฎากรและกฎระเบียบคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
5. ให้มีการติดตามตรวจสอบเนื้อหาการจัดรายการ โดยเฉพาะที่อาจกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยคณะอนุกรรมการกำกับดูแลด้านรายการของวิทยุกระจายเสียงในส่วนภูมิภาค ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ทั้งนี้จะจัดให้มีการอบรมด้านข่าวรายการ และด้านผู้ประกาศแก่ผู้ดำเนินรายการ และให้พิจารณามาตรการที่ผู้จัดรายการวิทยุต้องได้รับรองเป็นผู้ประกาศตามระเบียบกรมประชาสัมพันธ์ว่าด้วยการออกใบรับรองเป็นผู้ประกาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2547
6. สนับสนุนให้มีการสัมมนาระดมความคิดเห็น เพื่อให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการก่อนมี กสช. จึงควรที่จะสนับสนุนให้มีการจัดสัมมนาระดับประเทศ 1 ครั้ง และระดับนานาชาติ 1 ครั้ง เพื่อระดมความคิดเห็น สรุปบทเรียน และจัดร่างกรอบแนวทางการดำเนินการวิทยุชุมชน รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของภาคประชาชนในการจัดทำร่างแผนแม่บทวิทยุชุมชนภาคประชาชน ทั้งนี้การจัดสัมมนาดังกล่าวจะเชิญนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ได้ข้อมูลและสร้างรูปแบบว่าด้วยวิทยุชุมชนที่สอดคล้องตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 และมาตรฐานสากล โดยผลการสัมมนาจะจัดส่งให้ครม. และ กสช. ต่อไป
7. ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาในอนาคต โดยเฉพาะการออกอากาศทางอินเตอร์เน็ต โดยขอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้พิจารณาร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 สิงหาคม 2548--จบ--
1. ยืนยันในหลักการการสนับสนุนให้ชุมชนมีกลไกในการสื่อสารภายในชุมชน ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และเป็นการเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชน ตลอดจนการสร้างโอกาสให้กับประชาชน
2. ยืนยันแนวทางการดำเนินการวิทยุชุมชน ภายใต้โครงการจุดปฏิบัติการเตรียมความพร้อมวิทยุชุมชน โดยมีหลักเกณฑ์กำลังส่งไม่เกิน 30 วัตต์ เสาอากาศสูงไม่เกิน 30 เมตรจากระดับพื้นดิน และรัศมีการออกอากาศไม่เกิน 15 กิโลเมตร (กรอบกติกา 30-30-15)
3. ยืนยันการอนุญาตให้โฆษณาได้ไม่เกินชั่วโมงละ 6 นาที เพื่อที่จะเป็นการหารายได้สนับสนุนการดำเนินการของวิทยุชุมชนให้เลี้ยงตนเองได้ แต่การดำเนินการดังกล่าวจะต้องไม่เป็นการขายโฆษณาเพื่อแสวงหากำไรเชิงพาณิชย์ แต่ให้อยู่ในกรอบของการเผยแพร่ภาพลักษณ์ของสินค้าในท้องถิ่นหรือชุมชนเท่านั้น โดยผู้ให้การสนับสนุนต้องเข้าใจเงื่อนไขและข้อจำกัดของกำลังส่ง และผู้มีรายได้ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลจะต้องเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมาย
4. บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับคลื่นวิทยุที่รบกวนวิทยุการบิน วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตาม พรบ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 พรบ.วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498 ตลอดจนประมวลกฎหมายรัษฎากรและกฎระเบียบคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
5. ให้มีการติดตามตรวจสอบเนื้อหาการจัดรายการ โดยเฉพาะที่อาจกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยคณะอนุกรรมการกำกับดูแลด้านรายการของวิทยุกระจายเสียงในส่วนภูมิภาค ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ทั้งนี้จะจัดให้มีการอบรมด้านข่าวรายการ และด้านผู้ประกาศแก่ผู้ดำเนินรายการ และให้พิจารณามาตรการที่ผู้จัดรายการวิทยุต้องได้รับรองเป็นผู้ประกาศตามระเบียบกรมประชาสัมพันธ์ว่าด้วยการออกใบรับรองเป็นผู้ประกาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2547
6. สนับสนุนให้มีการสัมมนาระดมความคิดเห็น เพื่อให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการก่อนมี กสช. จึงควรที่จะสนับสนุนให้มีการจัดสัมมนาระดับประเทศ 1 ครั้ง และระดับนานาชาติ 1 ครั้ง เพื่อระดมความคิดเห็น สรุปบทเรียน และจัดร่างกรอบแนวทางการดำเนินการวิทยุชุมชน รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของภาคประชาชนในการจัดทำร่างแผนแม่บทวิทยุชุมชนภาคประชาชน ทั้งนี้การจัดสัมมนาดังกล่าวจะเชิญนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ได้ข้อมูลและสร้างรูปแบบว่าด้วยวิทยุชุมชนที่สอดคล้องตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 และมาตรฐานสากล โดยผลการสัมมนาจะจัดส่งให้ครม. และ กสช. ต่อไป
7. ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาในอนาคต โดยเฉพาะการออกอากาศทางอินเตอร์เน็ต โดยขอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้พิจารณาร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 สิงหาคม 2548--จบ--