คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานข้อมูลการประกันภัยอิสรภาพตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
1. ความเป็นมา สืบเนื่องจากศาลยุติธรรมได้มีแนวคิดที่จะจัดระบบการประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยใหม่แทนที่ระบบประกันโดยนายประกันอาชีพ เนื่องจากปัจจุบันมีคดีอาญาเกิดขึ้นจำนวนมาก ประชาชนซึ่งต้องตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ ต้องถูกควบคุมตัวไว้ในระหว่างดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก เพราะไม่สามารถนำหลักทรัพย์มาขอประกันตัวออกไปได้ ทำให้เกิดปัญหามากมาย การประกันภัยอิสรภาพจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น เพราะเป็นการช่วยให้ประชาชนสามารถใช้หนังสือรับรองความรับผิดชอบของบริษัทประกันภัยเป็นหลักประกันในการขอปล่อยชั่วคราว ผู้ต้องหาหรือจำเลย เพื่อวางในชั้นพนักงานสอบสวนชั้นอัยการหรือชั้นศาล ดังนั้น ศาลยุติธรรม จึงร่วมกับกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติและสมาคมประกันวินาศภัย จัดทำกรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพขึ้น
2. รูปแบบกรมธรรม์ประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการประกันภัย ได้จัดทำรูปแบบกรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพ เป็น 2 แบบ คือ แบบที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยการประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด ใช้สำหรับบุคคลทั่วไปที่ประสงค์จะมีหลักประกันตัวไว้ล่วงหน้าในคดีความผิดทางอาญาโดยประมาท โดยกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย ขั้นต่ำ 0.5% ขึ้นสูง 1% ต่อปี และแบบที่ 2 กรมธรรม์ประกันภัยการประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด ใช้สำหรับบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดทางอาญา หรือตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยทางคดีอาญาทุกฐานความผิด ประสงค์จะหาหลักประกันเพื่อนำไปขอประกันตัวต่อเจ้าพนักงาน โดยกำหนดอัตราเบี้ย ประกันภัยขั้นต่ำ 5% ขั้นสูง 20% ต่อปี ตามชั้นศาล ที่มีคำพิพากษาและฐานความผิด ขณะนี้มีบริษัทประกันภัยที่ได้รับความเห็นชอบให้ทำการรับประกันภัยอิสรภาพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 59 บริษัท
3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประกันตัว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประกันตัว ได้แก่ ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ออกระเบียบรองรับการใช้หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัยเป็นหลักประกันในการขอปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นพนักงานสอบสวน ชั้นอัยการ และชั้นศาลได้ โดยถือว่าหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์ประเภทหนึ่ง
4. ประโยชน์ของการประกันภัยอิสรภาพ กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพ นับเป็นกรรมธรรม์ประกันภัยที่ได้ชื่อว่าเป็นสินค้าประกันภัยเอื้ออาทรที่ถูกใจประชาชนมาก เนื่องจากช่วยก่อให้เกิดความเสมอภาคในสังคม ทำให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันและประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่มีการประกันภัยรูปแบบนี้ออกใช้ เพื่อให้เกิดสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของคนทั่วไป ดังนั้น การประกันภัยอิสรภาพจึงมีประโยชน์ต่อประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) ประชาชนทั่วไปที่ซื้อการประกันภัยอิสรภาพแบบก่อนกระทำความผิดสามารถนำหนังสือรับรองติดตัวและวางเป็นหลักประกันได้ทันทีทุกแห่งทั่วประเทศ สำหรับผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยแล้วก็สามารถซื้อการประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิดสำหรับใช้ประกันตัวได้เช่นกัน
(2) โดยปกติคนที่มีฐานะดี เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาก็สามารถช่วยเหลือตนเองในการวางหลักทรัพย์ประกันตัวเองได้ แต่คนที่มีฐานะยากจนหรือชาวบ้านในระดับรากหญ้า เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาในคดี
อาญาไม่มีหลักทรัพย์ช่วยเหลือตนเองได้ บางคนต้องไปเช่าหลักทรัพย์จากนายหน้าประกันอาชีพที่หากินอยู่ตามศาลหรือสถานีตำรวจก็จะถูกขูดรีดโดยเรียกค่าตอบแทนสูงมาก ทำให้ได้รับความเดือดร้อน
(3) ข้าราชการหรือผู้มีฐานะทางสังคม อาจถูกขอร้องจากญาติพี่น้องหรือผู้รู้จักให้ช่วยเหลือในการใช้หลักทรัพย์หรือตำแหน่งในการประกันตัว อาจเกิดปัญหาในการทำความเข้าใจกับคนในครอบครัวที่จะต้องรับรู้ด้วยตามกฎหมายหรือเมื่อประกันตัวแล้ว ผู้ต้องหาหลบหนีก็จะทำให้เกิดความเดือดร้อน ดังนั้น การซื้อประกันภัยอิสรภาพให้แทนจะเป็นทางเลือกหนึ่ง
(4) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรับวางหลักประกัน ไม่ต้องเสี่ยงกับการเก็บเงินสดหรือเอกสารโฉนดที่ดิน ซึ่งหลักประกันที่วางอยู่ตามสถานีตำรวจหรือที่ศาลยุติธรรม มีหลักทรัพย์ที่เป็นโฉนดที่ดินปลอมปนอยู่มากยากต่อการตรวจสอบ และเป็นภาระต่อเจ้าพนักงาน ซึ่งเป็นปัญหาที่สะสมมานานของกระบวนการยุติธรรม (ขณะนี้มีหลักทรัพย์ที่ไม่สามารถจำหน่ายเก็บอยู่ที่ศาลยุติธรรมทั้งสิ้น มูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท)
(5) เป็นการย่นระยะเวลาในการหาหลักทรัพย์มาประกันตัวผู้ต้องหา เนื่องจากต้องใช้เวลาในการไปหาหลักทรัพย์ โดยเฉพาะถ้าเป็นโฉนดที่ดินจะต้องมีการประเมินราคาจากสำนักงานที่ดินก่อน แต่การซื้อการประกันภัยอิสรภาพใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง
จะเห็นได้ว่ากรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพจะเข้ามาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน โดยเสียเบี้ยประกันภัยถูกกว่าการวิ่งเต้นหาหลักทรัพย์มาประกันตัว ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงสามารถช่วยเหลือผู้ต้องหาซื้อประกันภัยได้แทนการเอาตัวเองเป็นนายประกัน หรือหากมีการหนีประกัน ระบบประกันภัยอิสรภาพก็จะเข้ามารับผิดชอบตามจำนวนเงินที่ได้เอาประกันภัยไว้ และที่สำคัญพนักงานสอบสวน อัยการ ศาลยุติธรรม หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการประกันตัวก็เชื่อมั่นได้ในระดับหนึ่งว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไม่หนีคดี ครอบครัวไม่ต้องเดือดร้อน
5. ผลการดำเนินงาน การรับประกันภัยอิสรภาพดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 โดยกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ ได้มีการกำหนดให้บริษัทประกันภัยนำส่งข้อมูลหนังสือรับรองการทำประกันภัยอิสรภาพทั้งแบบก่อนกระทำความผิดและแบบหลังกระทำความผิดทาง Website ของกรมการประกันภัย เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้ามาตรวจสอบได้ ซึ่งขณะนี้มีผู้ทำประกันภัยอิสรภาพ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 จนถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2547 รวมทั้งสิ้น 4,979 ราย จำนวนเงินเอาประกันภัย 704.38 ล้านบาท แยกเป็นกรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิดจำนวน 315 ราย จำนวนเงินเอาประกันภัย 50.50 ล้านบาท กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด จำนวน 4,664 ราย จำนวนเงินเอาประกันภัย 653.88 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขายกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวจาก 19 บริษัท (บริษัทประกันภัยที่ได้รับความเห็นชอบให้ขายกรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพมีทั้งสิ้น 59 บริษัท)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. ความเป็นมา สืบเนื่องจากศาลยุติธรรมได้มีแนวคิดที่จะจัดระบบการประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยใหม่แทนที่ระบบประกันโดยนายประกันอาชีพ เนื่องจากปัจจุบันมีคดีอาญาเกิดขึ้นจำนวนมาก ประชาชนซึ่งต้องตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ ต้องถูกควบคุมตัวไว้ในระหว่างดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก เพราะไม่สามารถนำหลักทรัพย์มาขอประกันตัวออกไปได้ ทำให้เกิดปัญหามากมาย การประกันภัยอิสรภาพจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น เพราะเป็นการช่วยให้ประชาชนสามารถใช้หนังสือรับรองความรับผิดชอบของบริษัทประกันภัยเป็นหลักประกันในการขอปล่อยชั่วคราว ผู้ต้องหาหรือจำเลย เพื่อวางในชั้นพนักงานสอบสวนชั้นอัยการหรือชั้นศาล ดังนั้น ศาลยุติธรรม จึงร่วมกับกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติและสมาคมประกันวินาศภัย จัดทำกรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพขึ้น
2. รูปแบบกรมธรรม์ประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการประกันภัย ได้จัดทำรูปแบบกรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพ เป็น 2 แบบ คือ แบบที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยการประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด ใช้สำหรับบุคคลทั่วไปที่ประสงค์จะมีหลักประกันตัวไว้ล่วงหน้าในคดีความผิดทางอาญาโดยประมาท โดยกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย ขั้นต่ำ 0.5% ขึ้นสูง 1% ต่อปี และแบบที่ 2 กรมธรรม์ประกันภัยการประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด ใช้สำหรับบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดทางอาญา หรือตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยทางคดีอาญาทุกฐานความผิด ประสงค์จะหาหลักประกันเพื่อนำไปขอประกันตัวต่อเจ้าพนักงาน โดยกำหนดอัตราเบี้ย ประกันภัยขั้นต่ำ 5% ขั้นสูง 20% ต่อปี ตามชั้นศาล ที่มีคำพิพากษาและฐานความผิด ขณะนี้มีบริษัทประกันภัยที่ได้รับความเห็นชอบให้ทำการรับประกันภัยอิสรภาพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 59 บริษัท
3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประกันตัว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประกันตัว ได้แก่ ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ออกระเบียบรองรับการใช้หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัยเป็นหลักประกันในการขอปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นพนักงานสอบสวน ชั้นอัยการ และชั้นศาลได้ โดยถือว่าหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์ประเภทหนึ่ง
4. ประโยชน์ของการประกันภัยอิสรภาพ กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพ นับเป็นกรรมธรรม์ประกันภัยที่ได้ชื่อว่าเป็นสินค้าประกันภัยเอื้ออาทรที่ถูกใจประชาชนมาก เนื่องจากช่วยก่อให้เกิดความเสมอภาคในสังคม ทำให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันและประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่มีการประกันภัยรูปแบบนี้ออกใช้ เพื่อให้เกิดสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของคนทั่วไป ดังนั้น การประกันภัยอิสรภาพจึงมีประโยชน์ต่อประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) ประชาชนทั่วไปที่ซื้อการประกันภัยอิสรภาพแบบก่อนกระทำความผิดสามารถนำหนังสือรับรองติดตัวและวางเป็นหลักประกันได้ทันทีทุกแห่งทั่วประเทศ สำหรับผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยแล้วก็สามารถซื้อการประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิดสำหรับใช้ประกันตัวได้เช่นกัน
(2) โดยปกติคนที่มีฐานะดี เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาก็สามารถช่วยเหลือตนเองในการวางหลักทรัพย์ประกันตัวเองได้ แต่คนที่มีฐานะยากจนหรือชาวบ้านในระดับรากหญ้า เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาในคดี
อาญาไม่มีหลักทรัพย์ช่วยเหลือตนเองได้ บางคนต้องไปเช่าหลักทรัพย์จากนายหน้าประกันอาชีพที่หากินอยู่ตามศาลหรือสถานีตำรวจก็จะถูกขูดรีดโดยเรียกค่าตอบแทนสูงมาก ทำให้ได้รับความเดือดร้อน
(3) ข้าราชการหรือผู้มีฐานะทางสังคม อาจถูกขอร้องจากญาติพี่น้องหรือผู้รู้จักให้ช่วยเหลือในการใช้หลักทรัพย์หรือตำแหน่งในการประกันตัว อาจเกิดปัญหาในการทำความเข้าใจกับคนในครอบครัวที่จะต้องรับรู้ด้วยตามกฎหมายหรือเมื่อประกันตัวแล้ว ผู้ต้องหาหลบหนีก็จะทำให้เกิดความเดือดร้อน ดังนั้น การซื้อประกันภัยอิสรภาพให้แทนจะเป็นทางเลือกหนึ่ง
(4) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรับวางหลักประกัน ไม่ต้องเสี่ยงกับการเก็บเงินสดหรือเอกสารโฉนดที่ดิน ซึ่งหลักประกันที่วางอยู่ตามสถานีตำรวจหรือที่ศาลยุติธรรม มีหลักทรัพย์ที่เป็นโฉนดที่ดินปลอมปนอยู่มากยากต่อการตรวจสอบ และเป็นภาระต่อเจ้าพนักงาน ซึ่งเป็นปัญหาที่สะสมมานานของกระบวนการยุติธรรม (ขณะนี้มีหลักทรัพย์ที่ไม่สามารถจำหน่ายเก็บอยู่ที่ศาลยุติธรรมทั้งสิ้น มูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท)
(5) เป็นการย่นระยะเวลาในการหาหลักทรัพย์มาประกันตัวผู้ต้องหา เนื่องจากต้องใช้เวลาในการไปหาหลักทรัพย์ โดยเฉพาะถ้าเป็นโฉนดที่ดินจะต้องมีการประเมินราคาจากสำนักงานที่ดินก่อน แต่การซื้อการประกันภัยอิสรภาพใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง
จะเห็นได้ว่ากรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพจะเข้ามาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน โดยเสียเบี้ยประกันภัยถูกกว่าการวิ่งเต้นหาหลักทรัพย์มาประกันตัว ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงสามารถช่วยเหลือผู้ต้องหาซื้อประกันภัยได้แทนการเอาตัวเองเป็นนายประกัน หรือหากมีการหนีประกัน ระบบประกันภัยอิสรภาพก็จะเข้ามารับผิดชอบตามจำนวนเงินที่ได้เอาประกันภัยไว้ และที่สำคัญพนักงานสอบสวน อัยการ ศาลยุติธรรม หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการประกันตัวก็เชื่อมั่นได้ในระดับหนึ่งว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไม่หนีคดี ครอบครัวไม่ต้องเดือดร้อน
5. ผลการดำเนินงาน การรับประกันภัยอิสรภาพดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 โดยกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ ได้มีการกำหนดให้บริษัทประกันภัยนำส่งข้อมูลหนังสือรับรองการทำประกันภัยอิสรภาพทั้งแบบก่อนกระทำความผิดและแบบหลังกระทำความผิดทาง Website ของกรมการประกันภัย เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้ามาตรวจสอบได้ ซึ่งขณะนี้มีผู้ทำประกันภัยอิสรภาพ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 จนถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2547 รวมทั้งสิ้น 4,979 ราย จำนวนเงินเอาประกันภัย 704.38 ล้านบาท แยกเป็นกรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิดจำนวน 315 ราย จำนวนเงินเอาประกันภัย 50.50 ล้านบาท กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด จำนวน 4,664 ราย จำนวนเงินเอาประกันภัย 653.88 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขายกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวจาก 19 บริษัท (บริษัทประกันภัยที่ได้รับความเห็นชอบให้ขายกรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพมีทั้งสิ้น 59 บริษัท)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-