คณะรัฐมนตรีรับทราบการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการของกระทรวงคมนาคม สรุปผลการดำเนินการดังนี้
1. กำหนดกรอบและแนวทางการแก้ไขกฎหมายตามลำดับความสำคัญ (priority) ความเร่งด่วน (critical) และความจำเป็น (necessary)โดยถือเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคมและนโยบายของรัฐบาลเป็นลำดับความสำคัญหลัก
2. การเร่งจัดตั้งองค์กรกำกับดูแล (regulator) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2547 ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรดำเนินการ โดยเน้นการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลประชาชนเป็นสำคัญ ทั้งในด้านการควบคุมราคาให้เป็นธรรม และดูแลมาตรฐานการให้บริการแก่ประชาชนในเบื้องต้นได้จัดทำแผนการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลเสร็จแล้ว ซึ่งจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในโอกาสต่อไป
3. ขณะนี้ กระทรวงคมนาคมมีกฎหมายที่แก้ไขเสร็จและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำนวน 3 ฉบับ กฎหมายที่อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขปรับปรุง 37 ฉบับ (เป็นร่างพระราชบัญญัติ 19 ฉบับ กฎกระทรวง 18 ฉบับ) มีกฎหมายที่สมควรจะดำเนินการปรับปรุงแก้ไขประมาณ 24 ฉบับ และมีกฎหมายของหน่วยงานอื่นที่เห็นควรเสนอขอแก้ไข จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
ร่างพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุและการประเมินราคาทรัพย์สิน พ.ศ. …. และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวรคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
นอกจากนี้ ได้เตรียมจัดทำแผนนิติบัญญัติรายปีของกระทรวงคมนาคม ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2547 เพื่อรองรับการเสนอกฎหมายตามปีงบประมาณ โดยจะเริ่มได้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 และกระทรวงคมนาคมจะเสนอกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรีตามแผนนิติบัญญัติรายปี เมื่อได้จัดทำแผนนิติบัญญัติรายปีของกระทรวงคมนาคมเสร็จแล้ว กระทรวงคมนาคมจะเสนอแผนนิติบัญญัติดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีในโอกาสต่อไป
4. กระทรวงคมนาคม ขอให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหรือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเร่งรัดการพิจารณากฎหมายที่สำคัญเร่งด่วนและจำเป็นต้องมีผลบังคับใช้โดยเร็ว จำนวน 3 ฉบับดังนี้
(1) ร่างพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ความจำเป็นเร่งด่วน เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ออกเพื่ออนุวัติการอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ค.ศ. 1973 และพิธีสาร ค.ศ. 1978 เป็นอนุสัญญาที่มีความสำคัญในด้านการป้องกันมลพิษทางน้ำจากเรือ โดยประเทศกลุ่มอาเซียนเกือบทั้งหมดเป็นภาคีอนุสัญญานี้แล้ว การที่ประเทศไทยยังไม่เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว ทำให้เรือไทยถูกตรวจตราเป็นพิเศษเมื่อเข้าท่าเรือในประเทศต่าง ๆ
สถานะปัจจุบัน อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2542
(2) ร่างพระราชบัญญัติการรับขนของทางอากาศ พ.ศ. ….
ความจำเป็นเร่งด่วน เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ออกเพื่ออนุมัติการตามอนุสัญญาว่าด้วยการทำให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งกฎเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (อนุสัญญามอนทรีออล ค.ศ. 1999) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วและส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการสายการบินของไทยในหลายเส้นทาง
สถานะปัจจุบัน อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2545
(3) ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศพ.ศ. 2497 เพื่อแก้ไขอัตราขั้นสูงสำหรับค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ใบสำคัญ ใบรับรอง ฯลฯ
ความจำเป็นเร่งด่วน คณะกรรมการการบินพลเรือนได้มีมติ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2546 อนุมัติให้บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ปรับอัตราค่าธรรมเนียมการขึ้นลงอากาศยาน และค่าธรรมเนียมที่เก็บอากาศยาน ณ ท่าอากาศยาน ที่อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยให้เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547
สถานะปัจจุบัน กระทรวงคมนาคมจะส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ภายในเดือนกรกฎาคม 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. กำหนดกรอบและแนวทางการแก้ไขกฎหมายตามลำดับความสำคัญ (priority) ความเร่งด่วน (critical) และความจำเป็น (necessary)โดยถือเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคมและนโยบายของรัฐบาลเป็นลำดับความสำคัญหลัก
2. การเร่งจัดตั้งองค์กรกำกับดูแล (regulator) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2547 ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรดำเนินการ โดยเน้นการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลประชาชนเป็นสำคัญ ทั้งในด้านการควบคุมราคาให้เป็นธรรม และดูแลมาตรฐานการให้บริการแก่ประชาชนในเบื้องต้นได้จัดทำแผนการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลเสร็จแล้ว ซึ่งจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในโอกาสต่อไป
3. ขณะนี้ กระทรวงคมนาคมมีกฎหมายที่แก้ไขเสร็จและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำนวน 3 ฉบับ กฎหมายที่อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขปรับปรุง 37 ฉบับ (เป็นร่างพระราชบัญญัติ 19 ฉบับ กฎกระทรวง 18 ฉบับ) มีกฎหมายที่สมควรจะดำเนินการปรับปรุงแก้ไขประมาณ 24 ฉบับ และมีกฎหมายของหน่วยงานอื่นที่เห็นควรเสนอขอแก้ไข จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
ร่างพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุและการประเมินราคาทรัพย์สิน พ.ศ. …. และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวรคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
นอกจากนี้ ได้เตรียมจัดทำแผนนิติบัญญัติรายปีของกระทรวงคมนาคม ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2547 เพื่อรองรับการเสนอกฎหมายตามปีงบประมาณ โดยจะเริ่มได้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 และกระทรวงคมนาคมจะเสนอกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรีตามแผนนิติบัญญัติรายปี เมื่อได้จัดทำแผนนิติบัญญัติรายปีของกระทรวงคมนาคมเสร็จแล้ว กระทรวงคมนาคมจะเสนอแผนนิติบัญญัติดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีในโอกาสต่อไป
4. กระทรวงคมนาคม ขอให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหรือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเร่งรัดการพิจารณากฎหมายที่สำคัญเร่งด่วนและจำเป็นต้องมีผลบังคับใช้โดยเร็ว จำนวน 3 ฉบับดังนี้
(1) ร่างพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ความจำเป็นเร่งด่วน เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ออกเพื่ออนุวัติการอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ค.ศ. 1973 และพิธีสาร ค.ศ. 1978 เป็นอนุสัญญาที่มีความสำคัญในด้านการป้องกันมลพิษทางน้ำจากเรือ โดยประเทศกลุ่มอาเซียนเกือบทั้งหมดเป็นภาคีอนุสัญญานี้แล้ว การที่ประเทศไทยยังไม่เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว ทำให้เรือไทยถูกตรวจตราเป็นพิเศษเมื่อเข้าท่าเรือในประเทศต่าง ๆ
สถานะปัจจุบัน อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2542
(2) ร่างพระราชบัญญัติการรับขนของทางอากาศ พ.ศ. ….
ความจำเป็นเร่งด่วน เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ออกเพื่ออนุมัติการตามอนุสัญญาว่าด้วยการทำให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งกฎเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (อนุสัญญามอนทรีออล ค.ศ. 1999) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วและส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการสายการบินของไทยในหลายเส้นทาง
สถานะปัจจุบัน อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2545
(3) ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศพ.ศ. 2497 เพื่อแก้ไขอัตราขั้นสูงสำหรับค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ใบสำคัญ ใบรับรอง ฯลฯ
ความจำเป็นเร่งด่วน คณะกรรมการการบินพลเรือนได้มีมติ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2546 อนุมัติให้บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ปรับอัตราค่าธรรมเนียมการขึ้นลงอากาศยาน และค่าธรรมเนียมที่เก็บอากาศยาน ณ ท่าอากาศยาน ที่อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยให้เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547
สถานะปัจจุบัน กระทรวงคมนาคมจะส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ภายในเดือนกรกฎาคม 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-