คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงานตามแนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวทั้งระบบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และเห็นชอบการรับจดทะเบียนนายจ้างและคนต่างด้าวเพิ่มเติม ดังนี้
1. การณีนายจ้างพาคนต่างด้าวไปรายงานตัวต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นแต่ไม่ได้จดทะเบียนนายจ้างกับกรมการจัดหางาน ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการรับจดทะเบียนนายจ้างเพิ่มเติม
2. กรณีนายจ้างและแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามมติคณะรัฐมนตรี ปี 2546 และใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุในวันที่ 25 กันยายน 2547 แต่คนต่างด้าวไม่ไปรายงานตัวต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น หรือนายจ้างไม่ได้จดทะเบียนกับกรมการจัดหางาน เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้
1) ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการรับจดทะเบียนนายจ้างเพิ่มเติม และรับคำร้องขอจดทะเบียนคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา (แบบ ท.ต. 1) พร้อมเหตุผลความจำเป็น และรวบรวมจำนวนคนต่างด้าวที่มายื่นคำร้องเพื่อให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการต่อไป
2) ให้กระทรวงมหาดไทย ใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ออกประกาศให้คนต่างด้าวตามข้อ 1) อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวเพื่อรอการสั่งกลับจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2548
3) ให้สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นดำเนินการรับรายงานตัวคนต่างด้าว บันทึกข้อมูลคนต่างด้าว ถ่ายรูป พิมพ์ลายนิ้วมือ และออกหมายเลขประจำตัว 13 หลัก
4) ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการตรวจสุขภาพและรับประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว
กระทรวงแรงงานรายงานว่า กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามแนวทางการจัดระบบการจ้างแรงงานต่างด้าว ซึ่งกำหนดให้คนต่างด้าวทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 และนายจ้างที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว มาจดทะเบียนกับหน่วยงานของทางราชการ ระหว่างวันที่ 1-31กรกฎาคม 2547 โดยมีผลการดำเนินการ ดังนี้
1. ผลการจดทะเบียนคนต่างด้าวและนายจ้าง คนต่างด้าวมาจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 1,269,074 คน นายจ้างมาจดทะเบียน จำนวน 231,376 ราย แจ้งความต้องการแรงงานต่างด้าวทั้งสิ้น 1,503,904 คน
2. การร้องขอจดทะเบียนคนต่างด้าวและนายจ้างเพิ่มเติม ภายหลังสิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคม 2547 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับการร้องขอให้รับจดทะเบียนคนต่างด้าวและนายจ้างเพิ่มเติม โดยให้เหตุผลว่ามีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในขั้นตอนของการจดทะเบียน กระทรวงแรงงานจึงได้รวบรวมข้อมูลและเหตุผลความจำเป็นเสนอคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองพิจารณาเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2547 และมีมติให้นำกรณีการร้องขอจดทะเบียนคนต่างด้าวและนายจ้างเพิ่มเติมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
3. ผลการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน (MOU) กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เจรจาและประสานกับระเทศพม่า ลาว และกัมพูชา เพื่อให้การดำเนินการจ้างแรงงานต่างด้าวมีผลในทางปฏิบัติตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงาน (MOU) ตามที่ได้ทำข้อตกลงไว้ โดยมีผลการดำเนินการดังนี้
1) ประเทศพม่า ลาว กัมพูชา ตกลงที่จะส่งคณะเจ้าหน้าที่เข้ามาดำเนินการพิสูจน์สัญชาติแรงงานของแต่ละประเทศที่ทำงานในประเทศไทย เพื่อออกเอกสารรับรองบุคคล ซึ่งกระทรวงแรงงานจะเจรจากับประเทศต้นทางให้ดำเนินการพิสูจน์สถานะคนต่างด้าวทุกคนที่จดทะเบียนไว้กับกรมการปกครอง
2) ประเทศไทยจะอำนวยความสะดวกแก่คณะเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาดำเนินการพิสูจน์สัญชาติและช่วยเหลือด้านงบประมาณบางส่วน รวมทั้งจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร
3) การพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวในระยะทดลองจะดำเนินการในเดือนธันวาคม 2547 เพื่อทดลองความพร้อมและรับทราบปัญหาอุปสรรคตลอดจนหาแนวทางแก้ไข จากนั้นจะดำเนินการในระะยะต่อไปเพื่อให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2548
4. การเก็บค่าธรรมเนียมการใช้แรงงานต่างด้าว (Levy Fee) กระทรวงแรงงานจะดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวเพื่อจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้แรงงานต่างด้าว (Levy Fee) ซึ่งจะดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อเสนอสภานิติบัญญัติพิจารณาในการประชุมสภาฯ สมัยต่อไป
5. การอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงานลักษณะมาเช้า - กลับเย็นหรือตามฤดูกาล กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานหลักในการเจรจากับประเทศต้นทาง (พม่า ลาว และกัมพูชา) เพื่อจัดทำข้อตกลงว่าด้วยการทำงานบริเวณชายแดน ในกรอบของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงาน (MOU) โดย
5.1 กระทรวงมหาดไทยออกประกาศโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เพื่อยกเว้นมาตรา 12(1) (3) ให้คนต่างด้าวที่เข้าเมืองถูกกฎหมายทำงานเป็นกรรมกรในลักษณะมาเช้า - เย็นกลับ และทำงานตามฤดูกาลในบริเวณชายแดน
5.2 กระทรวงแรงงานพิจารณารูปแบบเอกสารรับรองบุคคลที่ประเทศต้นทางจะออกให้คนต่างด้าวเพื่อใช้เป็นเอกสารการเข้ามาทำงานในลักษณะมาเช้า - กลับเย็น หรือตามฤดูกาลและมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงานตามความเหมาะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. การณีนายจ้างพาคนต่างด้าวไปรายงานตัวต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นแต่ไม่ได้จดทะเบียนนายจ้างกับกรมการจัดหางาน ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการรับจดทะเบียนนายจ้างเพิ่มเติม
2. กรณีนายจ้างและแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามมติคณะรัฐมนตรี ปี 2546 และใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุในวันที่ 25 กันยายน 2547 แต่คนต่างด้าวไม่ไปรายงานตัวต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น หรือนายจ้างไม่ได้จดทะเบียนกับกรมการจัดหางาน เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้
1) ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการรับจดทะเบียนนายจ้างเพิ่มเติม และรับคำร้องขอจดทะเบียนคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา (แบบ ท.ต. 1) พร้อมเหตุผลความจำเป็น และรวบรวมจำนวนคนต่างด้าวที่มายื่นคำร้องเพื่อให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการต่อไป
2) ให้กระทรวงมหาดไทย ใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ออกประกาศให้คนต่างด้าวตามข้อ 1) อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวเพื่อรอการสั่งกลับจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2548
3) ให้สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นดำเนินการรับรายงานตัวคนต่างด้าว บันทึกข้อมูลคนต่างด้าว ถ่ายรูป พิมพ์ลายนิ้วมือ และออกหมายเลขประจำตัว 13 หลัก
4) ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการตรวจสุขภาพและรับประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว
กระทรวงแรงงานรายงานว่า กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามแนวทางการจัดระบบการจ้างแรงงานต่างด้าว ซึ่งกำหนดให้คนต่างด้าวทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 และนายจ้างที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว มาจดทะเบียนกับหน่วยงานของทางราชการ ระหว่างวันที่ 1-31กรกฎาคม 2547 โดยมีผลการดำเนินการ ดังนี้
1. ผลการจดทะเบียนคนต่างด้าวและนายจ้าง คนต่างด้าวมาจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 1,269,074 คน นายจ้างมาจดทะเบียน จำนวน 231,376 ราย แจ้งความต้องการแรงงานต่างด้าวทั้งสิ้น 1,503,904 คน
2. การร้องขอจดทะเบียนคนต่างด้าวและนายจ้างเพิ่มเติม ภายหลังสิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคม 2547 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับการร้องขอให้รับจดทะเบียนคนต่างด้าวและนายจ้างเพิ่มเติม โดยให้เหตุผลว่ามีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในขั้นตอนของการจดทะเบียน กระทรวงแรงงานจึงได้รวบรวมข้อมูลและเหตุผลความจำเป็นเสนอคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองพิจารณาเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2547 และมีมติให้นำกรณีการร้องขอจดทะเบียนคนต่างด้าวและนายจ้างเพิ่มเติมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
3. ผลการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน (MOU) กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เจรจาและประสานกับระเทศพม่า ลาว และกัมพูชา เพื่อให้การดำเนินการจ้างแรงงานต่างด้าวมีผลในทางปฏิบัติตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงาน (MOU) ตามที่ได้ทำข้อตกลงไว้ โดยมีผลการดำเนินการดังนี้
1) ประเทศพม่า ลาว กัมพูชา ตกลงที่จะส่งคณะเจ้าหน้าที่เข้ามาดำเนินการพิสูจน์สัญชาติแรงงานของแต่ละประเทศที่ทำงานในประเทศไทย เพื่อออกเอกสารรับรองบุคคล ซึ่งกระทรวงแรงงานจะเจรจากับประเทศต้นทางให้ดำเนินการพิสูจน์สถานะคนต่างด้าวทุกคนที่จดทะเบียนไว้กับกรมการปกครอง
2) ประเทศไทยจะอำนวยความสะดวกแก่คณะเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาดำเนินการพิสูจน์สัญชาติและช่วยเหลือด้านงบประมาณบางส่วน รวมทั้งจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร
3) การพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวในระยะทดลองจะดำเนินการในเดือนธันวาคม 2547 เพื่อทดลองความพร้อมและรับทราบปัญหาอุปสรรคตลอดจนหาแนวทางแก้ไข จากนั้นจะดำเนินการในระะยะต่อไปเพื่อให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2548
4. การเก็บค่าธรรมเนียมการใช้แรงงานต่างด้าว (Levy Fee) กระทรวงแรงงานจะดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวเพื่อจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้แรงงานต่างด้าว (Levy Fee) ซึ่งจะดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อเสนอสภานิติบัญญัติพิจารณาในการประชุมสภาฯ สมัยต่อไป
5. การอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงานลักษณะมาเช้า - กลับเย็นหรือตามฤดูกาล กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานหลักในการเจรจากับประเทศต้นทาง (พม่า ลาว และกัมพูชา) เพื่อจัดทำข้อตกลงว่าด้วยการทำงานบริเวณชายแดน ในกรอบของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงาน (MOU) โดย
5.1 กระทรวงมหาดไทยออกประกาศโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เพื่อยกเว้นมาตรา 12(1) (3) ให้คนต่างด้าวที่เข้าเมืองถูกกฎหมายทำงานเป็นกรรมกรในลักษณะมาเช้า - เย็นกลับ และทำงานตามฤดูกาลในบริเวณชายแดน
5.2 กระทรวงแรงงานพิจารณารูปแบบเอกสารรับรองบุคคลที่ประเทศต้นทางจะออกให้คนต่างด้าวเพื่อใช้เป็นเอกสารการเข้ามาทำงานในลักษณะมาเช้า - กลับเย็น หรือตามฤดูกาลและมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงานตามความเหมาะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-