คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานสรุปภาวะราคาสินค้าอุปโภคบริโภคประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือนกันยายน 2547 (30 ส.ค.- 3 ก.ย. 2547) โดยเปรียบเทียบกับสัปดาห์ที่ 4 เดือน สิงหาคม 2547 (23-27 สิงหาคม 2547) ดังนี้
1. ภาวะราคาสินค้า สินค้าโดยทั่วไปยังปกติ มีสินค้าที่ราคาเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จำนวน 12 สินค้า ได้แก่ สินค้าในหมวดวัสดุก่อสร้าง หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม หมวดปัจจัยการเกษตร หมวดอาหาร และหมวดผักและผลไม้ ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยภายนอกประเทศได้แก่ ราคาวัตถุดิบ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกเคลื่อนไหวในระดับสูง รวมทั้งปัจจัยภายในประเทศที่มีการเคลื่อนไหวตามภาวะตลาดและฤดูกาลสินค้า
1.1 หมวดวัสดุก่อสร้าง สินค้าที่ราคาสูงขึ้นได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กราคายังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามราคาวัตถุดิบในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น โดย เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดเหล็กรูปตัวซี (ขนาด 75x45x15x2.3 มม.) ราคาสูงขึ้นเป็น 499-508 บาท/ท่อน เฉลี่ยสูงขึ้น 4.50 บาท/ท่อน นอกจากนี้ ท่อพีวีซี (ขนาด 0.5 นิ้ว x 4 ม.) ราคาสูงขึ้นเป็น 45-60 บาท/ท่อน เฉลี่ยสูงขึ้น 6 บาท/ท่อน ซึ่งเป็นผลกระทบจากวัตถุดิบที่เป็นผลผลิตจากเม็ดพลาสติกปรับตัวสูงขึ้น
1.2 หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สินค้าในหมวดนี้ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดย เม็ดพลาสติก ราคาสูงขึ้นเป็น 55 บาท/กก. เฉลี่ยสูงขึ้น 3 บาท/กก. และ ถุงพลาสติก ราคาสูงขึ้นเป็น 63-70 บาท/กก. เฉลี่ยสูงขึ้น 3.50 บาท/กก.
1.3 หมวดปัจจัยการเกษตร สินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ รถแทรกเตอร์ ราคาสูงขึ้นเป็น 1,118,150 บาท/คัน เฉลี่ยสูงขึ้น 16,050 บาท/คัน เนื่องจากค่าระวางสินค้าปรับตัวสูงขึ้น
1.4 หมวดอาหาร สินค้าที่มีราคาเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ไก่สด ราคาสูงขึ้นเป็น 46-48 บาท/กก. เฉลี่ยสูงขึ้น 1.50 บาท/กก. สาเหตุจากมีการเร่งระบายส่งออกไปต่างประเทศเป็นจำนวนมากทำให้ปริมาณไก่สดในตลาดลดลง ในขณะที่สุกรชำแหละ ราคาลดลงเป็น 80-85 บาท/กก. เฉลี่ยลดลง 2.50 บาท/กก. เป็นผลจากผู้ผลิตเร่งระบายผลผลิตออกสู่ตลาดมากกว่าปกติ เนื่องจากใกล้เข้าสู่ช่วงเทศกาลกินเจ
1.5 หมวดผักและผลไม้ ราคาสินค้ามีทั้งสูงขึ้นและลดลงตามฤดูกาลและภาวะตลาด โดยสินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ ส้มเขียวหวาน ราคาลดลงเป็น 25-28 บาท/กก. เฉลี่ยลดลง 4.50 บาท/กก. ราคาสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผักบุ้งจีนและผักชี ราคาสูงขึ้นเป็น 18-20 บาท/กก. และ 4-7 บาท/ขีด เฉลี่ยสูงขึ้น 3 บาท/กก. และ 2 บาท/ขีด ตามลำดับ มะนาว ราคาสูงขึ้นเป็น 0.75 -1 บาท/ผล เฉลี่ยสูงขึ้น 0.12 บาท/ผล และกล้วยหอม ราคาสูงขึ้นเป็น 3-5 บาท/ผล เฉลี่ยสูงขึ้น 0.25 บาท/ผล
สำหรับสินค้าในหมวดอื่น ๆ ราคายังทรงตัว ยกเว้น สินค้าบางรายการที่มีราคาปรับลดลงช่วงสั้น ๆ ตามกลยุทธ์การส่งเสริมการขาย เช่น ผลิตภัณฑ์นม น้ำมันพืช น้ำส้มสายชู น้ำปลา น้ำซีอิ๊ว และสบู่ เป็นต้น
2. ผลการตรวจสอบ การดำเนินการตรวจสอบตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 จำนวน 5,130 ราย พบการกระทำผิด จำนวน 3 ราย และตรวจสอบตาม พ.ร.บ. มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 จำนวน 5,713 ราย พบการกระทำผิด จำนวน 1 ราย โดยผู้กระทำความผิดได้ดำเนินการเปรียบเทียบปรับตามกฏหมายเรียบร้อยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. ภาวะราคาสินค้า สินค้าโดยทั่วไปยังปกติ มีสินค้าที่ราคาเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จำนวน 12 สินค้า ได้แก่ สินค้าในหมวดวัสดุก่อสร้าง หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม หมวดปัจจัยการเกษตร หมวดอาหาร และหมวดผักและผลไม้ ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยภายนอกประเทศได้แก่ ราคาวัตถุดิบ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกเคลื่อนไหวในระดับสูง รวมทั้งปัจจัยภายในประเทศที่มีการเคลื่อนไหวตามภาวะตลาดและฤดูกาลสินค้า
1.1 หมวดวัสดุก่อสร้าง สินค้าที่ราคาสูงขึ้นได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กราคายังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามราคาวัตถุดิบในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น โดย เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดเหล็กรูปตัวซี (ขนาด 75x45x15x2.3 มม.) ราคาสูงขึ้นเป็น 499-508 บาท/ท่อน เฉลี่ยสูงขึ้น 4.50 บาท/ท่อน นอกจากนี้ ท่อพีวีซี (ขนาด 0.5 นิ้ว x 4 ม.) ราคาสูงขึ้นเป็น 45-60 บาท/ท่อน เฉลี่ยสูงขึ้น 6 บาท/ท่อน ซึ่งเป็นผลกระทบจากวัตถุดิบที่เป็นผลผลิตจากเม็ดพลาสติกปรับตัวสูงขึ้น
1.2 หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สินค้าในหมวดนี้ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดย เม็ดพลาสติก ราคาสูงขึ้นเป็น 55 บาท/กก. เฉลี่ยสูงขึ้น 3 บาท/กก. และ ถุงพลาสติก ราคาสูงขึ้นเป็น 63-70 บาท/กก. เฉลี่ยสูงขึ้น 3.50 บาท/กก.
1.3 หมวดปัจจัยการเกษตร สินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ รถแทรกเตอร์ ราคาสูงขึ้นเป็น 1,118,150 บาท/คัน เฉลี่ยสูงขึ้น 16,050 บาท/คัน เนื่องจากค่าระวางสินค้าปรับตัวสูงขึ้น
1.4 หมวดอาหาร สินค้าที่มีราคาเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ไก่สด ราคาสูงขึ้นเป็น 46-48 บาท/กก. เฉลี่ยสูงขึ้น 1.50 บาท/กก. สาเหตุจากมีการเร่งระบายส่งออกไปต่างประเทศเป็นจำนวนมากทำให้ปริมาณไก่สดในตลาดลดลง ในขณะที่สุกรชำแหละ ราคาลดลงเป็น 80-85 บาท/กก. เฉลี่ยลดลง 2.50 บาท/กก. เป็นผลจากผู้ผลิตเร่งระบายผลผลิตออกสู่ตลาดมากกว่าปกติ เนื่องจากใกล้เข้าสู่ช่วงเทศกาลกินเจ
1.5 หมวดผักและผลไม้ ราคาสินค้ามีทั้งสูงขึ้นและลดลงตามฤดูกาลและภาวะตลาด โดยสินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ ส้มเขียวหวาน ราคาลดลงเป็น 25-28 บาท/กก. เฉลี่ยลดลง 4.50 บาท/กก. ราคาสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผักบุ้งจีนและผักชี ราคาสูงขึ้นเป็น 18-20 บาท/กก. และ 4-7 บาท/ขีด เฉลี่ยสูงขึ้น 3 บาท/กก. และ 2 บาท/ขีด ตามลำดับ มะนาว ราคาสูงขึ้นเป็น 0.75 -1 บาท/ผล เฉลี่ยสูงขึ้น 0.12 บาท/ผล และกล้วยหอม ราคาสูงขึ้นเป็น 3-5 บาท/ผล เฉลี่ยสูงขึ้น 0.25 บาท/ผล
สำหรับสินค้าในหมวดอื่น ๆ ราคายังทรงตัว ยกเว้น สินค้าบางรายการที่มีราคาปรับลดลงช่วงสั้น ๆ ตามกลยุทธ์การส่งเสริมการขาย เช่น ผลิตภัณฑ์นม น้ำมันพืช น้ำส้มสายชู น้ำปลา น้ำซีอิ๊ว และสบู่ เป็นต้น
2. ผลการตรวจสอบ การดำเนินการตรวจสอบตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 จำนวน 5,130 ราย พบการกระทำผิด จำนวน 3 ราย และตรวจสอบตาม พ.ร.บ. มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 จำนวน 5,713 ราย พบการกระทำผิด จำนวน 1 ราย โดยผู้กระทำความผิดได้ดำเนินการเปรียบเทียบปรับตามกฏหมายเรียบร้อยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-