คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานผลการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมพัฒนาให้เกิดอาชีพ และสร้างรายได้ของประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการรายงานความก้าวหน้าในโครงการ "ดินขาวพัฒนา เมืองนราก้าวไกล" สรุปได้ดังนี้
กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส ดำเนินการนำดินขาวในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีปริมาณมากถึง 800,000 ตัน ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอ ได้แก่ อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอสุไหงปาดี เป็นต้น มาปรับปรุงคุณภาพ เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูป ที่สามารถเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบในเชิงพาณิชย์ต่อไป ซึ่งผลจากการศึกษาและสำรวจข้อมูลภาคสนาม ปรากฏว่า สามารถนำวัตถุดิบดินขาวดังกล่าวมาพัฒนาให้เกิดการลงทุนในระยะเร่งด่วน ได้ 2 ลักษณะ คือ
1. การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา การทำผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบ ดินเผาเบญจรงค์ "ลายยาวอ" โดยใช้ดินขาวจากแหล่งดินในจังหวัดนราธิวาสมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องเบญจรงค์ ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ บวกกับทักษะภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ที่มีอยู่มากมาย ซึ่งจะมีการปรับปรุงรูปแบบตามภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยนำลายพื้นบ้านที่มีการเขียนบนเรือกอและ หรือตามเชิงชายหลังคาบ้านเรือนพี่น้องชาวมุสลิมที่มีชื่อเรียกว่า "ลายยาวอ" มาทำลวดลายเบญจรงค์
2. อุตสาหกรรมบล็อคประสาน ซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างบ้านในยุคใหม่ที่ไม่ต้องก่อสร้างเสาและฉาบปูน แต่ใช้รูปแบบของผลิตภัณฑ์บล็อคที่กดยึดเข้าด้วยกัน เป็นโครงสร้างที่มั่นคงแข็งแรง โดยใช้วัตถุดิบเศษดินขาวที่มีดินทรายปะปนจากการล้างดินขาว ซึ่งเหลือทิ้งสูญเปล่าอยู่เป็นจำนวนมากนำกลับมาใช้เพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์บล็อคประสาน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาตามเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่กำลังมีความนิยมเพิ่มมากขึ้น และยังไม่มีการผลิตในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เลือกผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผาเบญจรงค์ "ลายยาวอ" เป็นผลิตภัณฑ์นำร่อง เพราะมีความสอดคล้องกับวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นและความต้องการของตลาดที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์และฝึกอบรมการทำเครื่องเคลือบดินเผาเบญจรงค์ "ลายยาวอ" เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา โดยใช้วัตถุดิบดินขาวที่มีอยู่ในพื้นที่ รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับและสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส จัดฝึกอบรมหลักสูตรเครื่องเคลือบดินเผาเบญจรงค์ "ลายยาวอ" ระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคม - 12 สิงหาคม 2547 ที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส มีราษฎรสนใจสมัครเข้ารับการฝึกอบรมมากกว่า 50 คน ซึ่งได้คัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 37 คน ใช้งบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น 281,090 บาท
2. เพื่อกระตุ้นให้เกิดความมั่นใจในการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา โดยการเตรียมความพร้อมของแรงงานในอุตสาหกรรมดังกล่าว กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส ได้จัดอบรมหลักสูตรเครื่องเคลือบดินเผาเบญจรงค์ "ลายยาวอ" รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 13 กันยายน - 15 ตุลาคม 2547 ที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส คาดว่าจะมีผู้สนใจสมัครเข้ารับการอบรมไม่ต่ำกว่า 30 คน
อนึ่ง เพื่อให้ราษฎรที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้และทักษะฝีมือในการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผาเบญจรงค์ "ลายยาวอ" ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้กำหนดหลักสูตรฝึกอบรมในขั้นเพิ่มทักษะขึ้นระหว่าง วันที่ 25 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2547
2. การสร้างตราสัญลักษณ์ (Brand Name) โดยได้กำหนดตราสัญลักษณ์ "เซรา-ปาดี" (CERA-PADI) เป็นคำที่มาจากเซรามิก กับสุไหงปาดี ซึ่งเป็นชื่อของอำเภอที่มีดินขาวอยู่มาก แหล่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นโดยการพัฒนา ลวดลาย "ยาวอ" ลงบนผลิตภัณฑ์เบญจรงค์ พร้อมกับได้มีการรวบรวมลายในท้องถิ่นดั้งเดิมมาสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ให้รองรับกับความต้องการของตลาดเป้าหมาย คือ กลุ่มประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ทั้งที่เป็นประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน และประเทศในตะวันออกกลาง
3. จัดสร้างโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาต้นแบบ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้กำหนดแผนจัดสร้างโรงงานต้นแบบ เพื่อใช้บ่มเพาะธุรกิจอุตสาหกรรม ในวงเงินงบประมาณ 6 ล้านบาท สำหรับให้ผู้ประกอบการใหม่ที่มาลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา เช่าพื้นที่ดำเนินธุรกิจและใช้เครื่องจักรในการผลิต พร้อมกับรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต รวมทั้งการจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำการวางระบบบริหาร การจัดการ และแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ จนสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเข้มแข็งแล้วจึงย้ายออกไปตั้งโรงงานของตนเอง จากนั้นจะรับนักลงทุนใหม่เข้ามาบ่มเพาะธุรกิจเป็นรายต่อไป โดยจะใช้ระยะเวลาในการจัดสร้างโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาต้นแบบ 6 เดือน ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2547 และจะสามารถดำเนินการบ่มเพาะธุรกิจอุตสาหกรรมได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ จากการหารือกับผู้ประกอบการในพื้นที่และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส ปรากฏว่ามีผู้ประกอบการให้ความสนใจจะลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาหลายราย ซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะได้ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้เกิดการลงทุนต่อไป
4. การดำเนินงานในขั้นตอนต่อไป คือ การผลักดันให้ผู้ประกอบการใหม่ที่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาได้รับการส่งเสริมการลงทุน
สำหรับอุตสาหกรรมบล็อคประสานนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการสั่งทำอุปกรณ์การผลิต เมื่อแล้วเสร็จจะได้จัดฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้ผู้ที่สนใจลงทุนและราษฎรในพื้นที่ รวมทั้งกระตุ้นและผลักดันให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรมผลิตบล็อคประสาน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส ดำเนินการนำดินขาวในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีปริมาณมากถึง 800,000 ตัน ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอ ได้แก่ อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอสุไหงปาดี เป็นต้น มาปรับปรุงคุณภาพ เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูป ที่สามารถเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบในเชิงพาณิชย์ต่อไป ซึ่งผลจากการศึกษาและสำรวจข้อมูลภาคสนาม ปรากฏว่า สามารถนำวัตถุดิบดินขาวดังกล่าวมาพัฒนาให้เกิดการลงทุนในระยะเร่งด่วน ได้ 2 ลักษณะ คือ
1. การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา การทำผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบ ดินเผาเบญจรงค์ "ลายยาวอ" โดยใช้ดินขาวจากแหล่งดินในจังหวัดนราธิวาสมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องเบญจรงค์ ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ บวกกับทักษะภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ที่มีอยู่มากมาย ซึ่งจะมีการปรับปรุงรูปแบบตามภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยนำลายพื้นบ้านที่มีการเขียนบนเรือกอและ หรือตามเชิงชายหลังคาบ้านเรือนพี่น้องชาวมุสลิมที่มีชื่อเรียกว่า "ลายยาวอ" มาทำลวดลายเบญจรงค์
2. อุตสาหกรรมบล็อคประสาน ซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างบ้านในยุคใหม่ที่ไม่ต้องก่อสร้างเสาและฉาบปูน แต่ใช้รูปแบบของผลิตภัณฑ์บล็อคที่กดยึดเข้าด้วยกัน เป็นโครงสร้างที่มั่นคงแข็งแรง โดยใช้วัตถุดิบเศษดินขาวที่มีดินทรายปะปนจากการล้างดินขาว ซึ่งเหลือทิ้งสูญเปล่าอยู่เป็นจำนวนมากนำกลับมาใช้เพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์บล็อคประสาน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาตามเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่กำลังมีความนิยมเพิ่มมากขึ้น และยังไม่มีการผลิตในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เลือกผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผาเบญจรงค์ "ลายยาวอ" เป็นผลิตภัณฑ์นำร่อง เพราะมีความสอดคล้องกับวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นและความต้องการของตลาดที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์และฝึกอบรมการทำเครื่องเคลือบดินเผาเบญจรงค์ "ลายยาวอ" เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา โดยใช้วัตถุดิบดินขาวที่มีอยู่ในพื้นที่ รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับและสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส จัดฝึกอบรมหลักสูตรเครื่องเคลือบดินเผาเบญจรงค์ "ลายยาวอ" ระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคม - 12 สิงหาคม 2547 ที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส มีราษฎรสนใจสมัครเข้ารับการฝึกอบรมมากกว่า 50 คน ซึ่งได้คัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 37 คน ใช้งบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น 281,090 บาท
2. เพื่อกระตุ้นให้เกิดความมั่นใจในการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา โดยการเตรียมความพร้อมของแรงงานในอุตสาหกรรมดังกล่าว กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส ได้จัดอบรมหลักสูตรเครื่องเคลือบดินเผาเบญจรงค์ "ลายยาวอ" รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 13 กันยายน - 15 ตุลาคม 2547 ที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส คาดว่าจะมีผู้สนใจสมัครเข้ารับการอบรมไม่ต่ำกว่า 30 คน
อนึ่ง เพื่อให้ราษฎรที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้และทักษะฝีมือในการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผาเบญจรงค์ "ลายยาวอ" ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้กำหนดหลักสูตรฝึกอบรมในขั้นเพิ่มทักษะขึ้นระหว่าง วันที่ 25 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2547
2. การสร้างตราสัญลักษณ์ (Brand Name) โดยได้กำหนดตราสัญลักษณ์ "เซรา-ปาดี" (CERA-PADI) เป็นคำที่มาจากเซรามิก กับสุไหงปาดี ซึ่งเป็นชื่อของอำเภอที่มีดินขาวอยู่มาก แหล่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นโดยการพัฒนา ลวดลาย "ยาวอ" ลงบนผลิตภัณฑ์เบญจรงค์ พร้อมกับได้มีการรวบรวมลายในท้องถิ่นดั้งเดิมมาสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ให้รองรับกับความต้องการของตลาดเป้าหมาย คือ กลุ่มประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ทั้งที่เป็นประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน และประเทศในตะวันออกกลาง
3. จัดสร้างโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาต้นแบบ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้กำหนดแผนจัดสร้างโรงงานต้นแบบ เพื่อใช้บ่มเพาะธุรกิจอุตสาหกรรม ในวงเงินงบประมาณ 6 ล้านบาท สำหรับให้ผู้ประกอบการใหม่ที่มาลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา เช่าพื้นที่ดำเนินธุรกิจและใช้เครื่องจักรในการผลิต พร้อมกับรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต รวมทั้งการจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำการวางระบบบริหาร การจัดการ และแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ จนสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเข้มแข็งแล้วจึงย้ายออกไปตั้งโรงงานของตนเอง จากนั้นจะรับนักลงทุนใหม่เข้ามาบ่มเพาะธุรกิจเป็นรายต่อไป โดยจะใช้ระยะเวลาในการจัดสร้างโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาต้นแบบ 6 เดือน ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2547 และจะสามารถดำเนินการบ่มเพาะธุรกิจอุตสาหกรรมได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ จากการหารือกับผู้ประกอบการในพื้นที่และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส ปรากฏว่ามีผู้ประกอบการให้ความสนใจจะลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาหลายราย ซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะได้ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้เกิดการลงทุนต่อไป
4. การดำเนินงานในขั้นตอนต่อไป คือ การผลักดันให้ผู้ประกอบการใหม่ที่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาได้รับการส่งเสริมการลงทุน
สำหรับอุตสาหกรรมบล็อคประสานนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการสั่งทำอุปกรณ์การผลิต เมื่อแล้วเสร็จจะได้จัดฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้ผู้ที่สนใจลงทุนและราษฎรในพื้นที่ รวมทั้งกระตุ้นและผลักดันให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรมผลิตบล็อคประสาน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-