คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการลักลอบฝังกลบกากของเสียที่เป็นอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. มอบให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการ ดังนี้
1.1 เก็บรวบรวมกากของเสียอันตรายทั้งหมด รวมทั้งดินที่ปนเปื้อนไปกำจัดหรือทำลาย ด้วยวิธีการที่เหมาะสมโดยเร่งด่วน
1.2 ให้ดำเนินการสอบสวนและหาผู้รับผิดชอบกับกรณีที่เกิดขึ้นและดำเนินการตามกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
1.3 ไม่ให้มีการอนุญาตให้นำกากของเสียที่เป็นอันตรายจากอุตสาหกรรมมาทดลองกำจัดในเตาเผาหรือวิธีการอื่น เว้นแต่จะกำหนดระยะเวลาและปริมาณของเสียที่เป็นอันตรายที่จะนำไปทดลองกำจัดให้เหมาะสมและชัดเจน
1.4 ให้มีการจัดทำระบบบัญชี (Inventory) และระบบกำกับและติดตาม (Manifest and Tracking System) กากของเสียที่เป็นอันตรายจากอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้ทราบถึงการเกิด การเก็บ การขนย้าย และการกำจัดกากของเสียที่เป็นอันตราย เพื่อป้องกันการลักลอบนำไปทิ้งและนำไปกำจัดโดวิธีการที่ไม่เหมาะสมอย่างผิดกฎหมาย โดยจะเป็นระบบทันสมัยและสะดวกรวดเร็ว เพื่อให้ง่ายต่อการกำกับและติดตามตรวจสอบ
1.5 ให้มีการออกกฎระเบียบเกี่ยวกับระบบเอกสารกำกับการขนส่งกากของเสียที่เป็นอันตรายจากอุตสาหกรรมให้มีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น
2. มอบหมายให้จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการขยายผลสืบสวนสอบสวน เพื่อให้ได้ตัวผู้จ้างวานกลุ่มบุคคลที่ลักลอบเข้ามาดำเนินการดังกล่าวมาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
3. มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการติดตามตรวจสอบการปนเปื้อนในดิน น้ำใต้ดิน และน้ำผิวดิน ในบริเวณใกล้เคียง เพื่อเป็นการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชน
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานการลักลอบฝังกลบกากของเสียที่เป็นอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมดังนี้
1. ความเป็นมา เกิดเหตุการณ์ลักลอบฝังกลบกากของเสียที่เป็นอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2547 โดยได้มีกลุ่มบุคคลเข้าไปในพื้นที่ติดกับโรงงานของบริษัท อโศกเคมีคอล จำกัด บริเวณหมู่ที่ 1 ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นพื้นที่เก็บกากของเสียที่เป็นอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งส่งมาจากบริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) หรือ GENCO เพื่อรอนำไปเผาในเตาเผาปูนขาวของโรงงานบริษัทอโศกเคมีคอล จำกัด โดยใช้รถแบคโฮล์บดอัดถังโลหะขนาด 200 ลิตร ซึ่งภายในบรรจุกากสารเคมี และได้นำกากสารเคมีที่บรรจุอยู่ในถังซึ่งส่วนใหญ่เป็นของเหลวไปเทลงในบ่อดินที่ขุดขึ้นใหม่ในพื้นที่ โดยไม่มีการป้องกันการปนเปื้อนลงดินแต่อย่างใด และมีกากสารเคมีบางส่วนหกหล่นอยู่บนพื้นดินก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นของสารเคมีกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียง กากของเสียที่เป็นอันตรายที่พบ ได้แก่ น้ำมันเครื่องใช้แล้ว กากสี สารตัวทำละลายอินทรีย์ใช้แล้ว กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียยางมะตอย และเศษวัสดุที่ปนเปื้อนสารเคมี เป็นต้น
2. ผลดำเนินการ
2.1 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 11 และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับส่วนราชการต่าง ๆ ในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา องค์การบริหาร
ส่วนตำบลกลางดง และสถานีตำรวจภูธรตำบลกลางดง ได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งสามารถจับผู้กระทำผิดได้ 13 ราย และยึดรถแบคโฮล์ไว้ จำนวน 2 คัน โดยนำตัวผู้กระทำผิดทั้งหมดไปสอบสวน ทราบว่า ได้รับจ้างจากผู้รับเหมารายหนึ่งในเขตอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา และได้ปล่อยตัวไปแล้ว
2.2 จากการตรวจสอบพบว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เก็บกากของเสียที่เป็นอันตรายที่ส่งมาจากบริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) เพื่อรอนำไปเผาในเตาเผาปูนขาวของโรงงานบริษัทอโศกเคมีคอล จำกัด ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ทดลองเผากากอุตสาหกรรมเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการทดลองเผาและปริมาณที่อนุญาตให้ทดลองเผา กากอุตสาหกรรมถูกบรรจุในถังเหล็กและถังพลาสติก วางกองไว้บนพื้นดินซึ่งเป็นพื้นที่โล่งแจ้ง โดยไม่มีการรองด้วยวัสดุกันซึม ทั้งนี้ ในขณะนั้นโรงงานของบริษัทอโศกเคมีคอล จำกัด ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการกำจัดกากของเสียที่เป็นอันตรายแต่อย่างใด แต่มาได้รับใบอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อเดือนมีนาคม 2547
พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ซึ่งติดกับบริษัท อโศกเคมีคอล จำกัด ซึ่งบริษัทฯ ได้เช่ามาเพื่อใช้เป็นที่พักเก็บกากอุตสาหกรรมเพื่อลดลองเผา โดยบริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจำกัด (มหาชน) เป็นผู้จ่ายค่าเช่าให้กับเจ้าของที่ดิน (นายนพพร สืบศิริ) เป็นจำนวนเงิน 95,000 บาท เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2546 และบริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด อยู่ในระหว่างการตกลงกับเจ้าของที่ดินเพื่อขอเช่าพื้นที่ต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อกักเก็บกากของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและรอนำไปกำจัด
2.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายสุวิทย์ คุณกิตติ)ได้เดินทางไปตรวจพื้นที่เกิดเหตุ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2547 และได้ประสานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายพินิจ จารุสมบัติ) ให้บริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชนไปดำเนินการขนย้ายกากของเสียที่เป็นอันตรายออกจากพื้นที่ รวมทั้งฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับการปนเปื้อนด้วย โดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2547 และอยู่ระหว่างการประเมินระยะเวลาในการดำเนินการ
2.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ได้สั่งการให้ตำรวจภูธรตำบลกลางดง ดำเนินการขยายผลสืบสวนสอบสวน เพื่อให้ได้ตัวผู้จ้างวานกลุ่มบุคคลดังกล่าวมาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-
1. มอบให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการ ดังนี้
1.1 เก็บรวบรวมกากของเสียอันตรายทั้งหมด รวมทั้งดินที่ปนเปื้อนไปกำจัดหรือทำลาย ด้วยวิธีการที่เหมาะสมโดยเร่งด่วน
1.2 ให้ดำเนินการสอบสวนและหาผู้รับผิดชอบกับกรณีที่เกิดขึ้นและดำเนินการตามกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
1.3 ไม่ให้มีการอนุญาตให้นำกากของเสียที่เป็นอันตรายจากอุตสาหกรรมมาทดลองกำจัดในเตาเผาหรือวิธีการอื่น เว้นแต่จะกำหนดระยะเวลาและปริมาณของเสียที่เป็นอันตรายที่จะนำไปทดลองกำจัดให้เหมาะสมและชัดเจน
1.4 ให้มีการจัดทำระบบบัญชี (Inventory) และระบบกำกับและติดตาม (Manifest and Tracking System) กากของเสียที่เป็นอันตรายจากอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้ทราบถึงการเกิด การเก็บ การขนย้าย และการกำจัดกากของเสียที่เป็นอันตราย เพื่อป้องกันการลักลอบนำไปทิ้งและนำไปกำจัดโดวิธีการที่ไม่เหมาะสมอย่างผิดกฎหมาย โดยจะเป็นระบบทันสมัยและสะดวกรวดเร็ว เพื่อให้ง่ายต่อการกำกับและติดตามตรวจสอบ
1.5 ให้มีการออกกฎระเบียบเกี่ยวกับระบบเอกสารกำกับการขนส่งกากของเสียที่เป็นอันตรายจากอุตสาหกรรมให้มีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น
2. มอบหมายให้จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการขยายผลสืบสวนสอบสวน เพื่อให้ได้ตัวผู้จ้างวานกลุ่มบุคคลที่ลักลอบเข้ามาดำเนินการดังกล่าวมาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
3. มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการติดตามตรวจสอบการปนเปื้อนในดิน น้ำใต้ดิน และน้ำผิวดิน ในบริเวณใกล้เคียง เพื่อเป็นการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชน
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานการลักลอบฝังกลบกากของเสียที่เป็นอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมดังนี้
1. ความเป็นมา เกิดเหตุการณ์ลักลอบฝังกลบกากของเสียที่เป็นอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2547 โดยได้มีกลุ่มบุคคลเข้าไปในพื้นที่ติดกับโรงงานของบริษัท อโศกเคมีคอล จำกัด บริเวณหมู่ที่ 1 ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นพื้นที่เก็บกากของเสียที่เป็นอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งส่งมาจากบริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) หรือ GENCO เพื่อรอนำไปเผาในเตาเผาปูนขาวของโรงงานบริษัทอโศกเคมีคอล จำกัด โดยใช้รถแบคโฮล์บดอัดถังโลหะขนาด 200 ลิตร ซึ่งภายในบรรจุกากสารเคมี และได้นำกากสารเคมีที่บรรจุอยู่ในถังซึ่งส่วนใหญ่เป็นของเหลวไปเทลงในบ่อดินที่ขุดขึ้นใหม่ในพื้นที่ โดยไม่มีการป้องกันการปนเปื้อนลงดินแต่อย่างใด และมีกากสารเคมีบางส่วนหกหล่นอยู่บนพื้นดินก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นของสารเคมีกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียง กากของเสียที่เป็นอันตรายที่พบ ได้แก่ น้ำมันเครื่องใช้แล้ว กากสี สารตัวทำละลายอินทรีย์ใช้แล้ว กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียยางมะตอย และเศษวัสดุที่ปนเปื้อนสารเคมี เป็นต้น
2. ผลดำเนินการ
2.1 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 11 และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับส่วนราชการต่าง ๆ ในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา องค์การบริหาร
ส่วนตำบลกลางดง และสถานีตำรวจภูธรตำบลกลางดง ได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งสามารถจับผู้กระทำผิดได้ 13 ราย และยึดรถแบคโฮล์ไว้ จำนวน 2 คัน โดยนำตัวผู้กระทำผิดทั้งหมดไปสอบสวน ทราบว่า ได้รับจ้างจากผู้รับเหมารายหนึ่งในเขตอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา และได้ปล่อยตัวไปแล้ว
2.2 จากการตรวจสอบพบว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เก็บกากของเสียที่เป็นอันตรายที่ส่งมาจากบริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) เพื่อรอนำไปเผาในเตาเผาปูนขาวของโรงงานบริษัทอโศกเคมีคอล จำกัด ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ทดลองเผากากอุตสาหกรรมเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการทดลองเผาและปริมาณที่อนุญาตให้ทดลองเผา กากอุตสาหกรรมถูกบรรจุในถังเหล็กและถังพลาสติก วางกองไว้บนพื้นดินซึ่งเป็นพื้นที่โล่งแจ้ง โดยไม่มีการรองด้วยวัสดุกันซึม ทั้งนี้ ในขณะนั้นโรงงานของบริษัทอโศกเคมีคอล จำกัด ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการกำจัดกากของเสียที่เป็นอันตรายแต่อย่างใด แต่มาได้รับใบอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อเดือนมีนาคม 2547
พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ซึ่งติดกับบริษัท อโศกเคมีคอล จำกัด ซึ่งบริษัทฯ ได้เช่ามาเพื่อใช้เป็นที่พักเก็บกากอุตสาหกรรมเพื่อลดลองเผา โดยบริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจำกัด (มหาชน) เป็นผู้จ่ายค่าเช่าให้กับเจ้าของที่ดิน (นายนพพร สืบศิริ) เป็นจำนวนเงิน 95,000 บาท เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2546 และบริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด อยู่ในระหว่างการตกลงกับเจ้าของที่ดินเพื่อขอเช่าพื้นที่ต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อกักเก็บกากของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและรอนำไปกำจัด
2.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายสุวิทย์ คุณกิตติ)ได้เดินทางไปตรวจพื้นที่เกิดเหตุ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2547 และได้ประสานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายพินิจ จารุสมบัติ) ให้บริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชนไปดำเนินการขนย้ายกากของเสียที่เป็นอันตรายออกจากพื้นที่ รวมทั้งฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับการปนเปื้อนด้วย โดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2547 และอยู่ระหว่างการประเมินระยะเวลาในการดำเนินการ
2.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ได้สั่งการให้ตำรวจภูธรตำบลกลางดง ดำเนินการขยายผลสืบสวนสอบสวน เพื่อให้ได้ตัวผู้จ้างวานกลุ่มบุคคลดังกล่าวมาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 14 กันยายน 2547--จบ--
-กภ-